สัตว์เคี้ยวเอื้อง - สัตว์เคี้ยวเอื้อง นิยาย สัตว์เคี้ยวเอื้อง : Dek-D.com - Writer

    สัตว์เคี้ยวเอื้อง

    โดย spak_bogie

    ระบบการย่อยอาการของสัตว์เคี้ยวเอื้อง

    ผู้เข้าชมรวม

    12,249

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    12.24K

    ความคิดเห็น


    6

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  20 ธ.ค. 50 / 18:40 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      สัตว์เคี้ยวเอื้อง

                      สัตว์เคี้ยวเอื้องเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารเช่น โค กระบือ แพะ แกะ อูฐ เป็นต้น สัตว์เคี้ยวเอื้องมี 4 กระเพาะ คือกระเพาะหมัก หรือ รูเมน (rumen) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ยังมีกระเพาะรังผึ้ง (reticulum) กระเพาะสามสิบกลีบ (omasum) และกระเพาะแท้ (abomasum) มีโครงสร้าง หรือหน้าที่คล้ายกับสัตว์กระเพาะเดี่ยว มีข้อยกเว้นเหมือนกัน ว่าสัตว์ที่กินพืชทุกชนิดไม่จำเป็นต้องเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง

       เช่น ม้า  ม้าเป็นสัตว์ที่กินพืช หรือหญ้าเป็นอาหารเหมือนกัน แต่ม้าเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว การที่สัตว์ต้องเคี้ยวเอื้องก็เพื่อช่วยย่อยอาหาร หรือบดอาหาร เป็นการย่อยเชิงกล สัตว์ไม่สามารถย่อยเซลล์พืชได้ ต้องอาศัยการย่อยของแบคทีเรียด้วยการหมักใน rumen ดังนั้นสัตว์เคี้ยวเอื้องจึงต้องอาศัยการย่อยของแบคทีเรียเหมือนกัน  การเคี้ยวเอื้องก็เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวให้กับแบคทีเรียในการย่อยเซลล์พืชได้ดีขึ้น สารที่ได้จากการหมักย่อยของแบคทีเรีย เป็น กรดไขมันมันระเหย  (volatile fatty acids) ร่างกายของสัตว์เหล่านี้ก็จะดูดซึมไปใช้ในการสร้างพลังงาน สร้างเนื้อและนม

       

       

      ระบบการย่อยอาหาร (Digestive System)

                     ระบบการย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง   เริ่มจาก

      ปาก ลิ้น ฟัน  หลอดอาหาร กระเพาะต่างๆ  ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่  อาหารที่สัตว์กินเข้าไปจะผ่านอวัยวะเหล่านี้จะถูกบด, หมัก, ย่อย  ส่วนที่ย่อยได้จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ส่วนที่ไม่ถูกย่อยจะถูกขับถ่ายออกนอกร่างกายทางทวารหนัก

      1. ปาก ลิ้น และฟัน (Mouth, Tongue and Teeth)

             สัตว์เคี้ยวเอื้องโดยเฉพาะโค จะใช้ ลิ้น  ริมฝีปาก ฟันและเพดานปาก เพื่อนำอาหารเข้าสู่ปาก ถ้าเป็นการแทะเล็มหญ้า จะใช้ฟันกัด (incisors) ด้านล่างจะกัดขบ กับเพดานปาก

      (hard pad) ด้านบน ถ้าเป็นการกินฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง ฟันกัดจะช่วยในการดึงอาหารเข้าสู่ปาก  

       

      2. หลอดอาหาร (Esophagus)

             อยู่ระหว่างปากกับ rumen เป็นทางผ่านให้อาหารลงสู่  rumen และอาหารจาก rumen กลับมาที่ปากเพื่อเคี้ยวเอื้อง

      3. กระเพาะอาหาร (Stomach)

      ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ

               Rumen (กระเพาะหมัก หรือ กระเพาะผ้าขี้ริ้ว) ในโคกระเพาะส่วนนี้มีความจุประมาณ 80 % ของความจุกระเพาะทั้งหมด เป็นที่พักและหมักอาหารพวกที่มี fiber สูง เช่น หญ้า ฟางข้าว เป็นต้น  rumen จะอยู่ติดกับผนังด้านซ้ายของช่องท้อง ตัวกระเพาะแบ่งออกเป็นหลายตอนผิวด้านนอกของ rumen ถูกแบ่งโดยร่องลึก ออกเป็นส่วนที่เห็นได้ชัด คือ ส่วนบน และส่วนล่าง นอกจากนี้มีร่องที่แบ่งผนังด้านนอกออกเป็นส่วนหน้า  ส่วนกลาง และส่วนหลัง  ส่วนต่างๆเหล่านี้ทำหน้าที่บีบและขยายตัวทำให้เกิดการไหลเวียนของอาหารที่อยู่ในกระเพาะ  ผนังด้านในของ rumen จะประกอบด้วย papillae คือส่วนที่มีลักษณะคล้ายนิ้วยื่นออกมา จำนวนมาก อวัยวะส่วนนี้จะกระจายอยู่ทั่วไปภายใน rumen ทำหน้าที่เพิ่มพื้นที่ผิวเพื่อการย่อยอาหาร การเคลื่อนบีบตัวของ rumen ผนังด้านในของ rumen จะถูกแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆโดย pillars ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ การแบ่งของ pillars จะตรงกับร่องลึก ที่แบ่งลักษณะภายนอกออกจากกัน

            Reticulum (กระเพาะรังผึ้ง) มีลักษณะเป็นถุงขนาดเล็ก จะมีความจุของ reticulum ประมาณ 5% ของ ความจุทั้งหมด  reticulum อยู่ติดกับส่วนหน้าของ rumen ระหว่าง rumen กับ reticulum มีผนังกั้นที่ปิดไม่สนิททำให้ อาหารและของเหลวใน rumen สามารถไหลผ่านเข้าหากันได้สะดวก โดยผ่านหูรูด หลอดอาหาร จะเปิดเข้าสู่ rumen ทางช่องเปิด cardia ผนังด้านในของ reticulum มีลักษณะคล้ายรังผึ้ง  (honeycomb-like) เพราะ เนื้อเยื่อมีการเจริญและขยายตัวขึ้นด้านบน ทำให้เกิดเป็นชั้นมีลักษณะ 4-6 เหลี่ยม

            โดยทั่วไป จะกล่าวถึงหน้าที่ของกระเพาะสองส่วนแรก (rumen และ reticulum) ไปพร้อมๆ กัน โดยเรียกรวมเป็น reticulo-rumen เป็นที่กักเก็บส่วนของอาหาร ทำหน้าที่คลุกเคล้าน้ำลาย และน้ำย่อยต่างๆ เข้ากับส่วนของอาหารที่กินเข้าไปและจุลินทรีย์ในกระเพาะ เมื่อแรกเกิด reticulo-rumen จะมีขนาดเล็กกว่ากระเพาะจริง (abomasum) เมื่อลูกสัตว์เริ่มกินอาหารแห้ง reticulo-rumen จะเจริญเติบโตเพิ่มปริมาตร และจำนวน

      จุลินทรีย์ก็เพิ่มด้วย ทำให้สามารถย่อยสลายเยื่อใยที่อยู่ในผนังเซลล์ของพืช (plant cell wall) เมื่อสัตว์โตเต็มที่ reticulo- rumen จะกินเนื้อที่ส่วนใหญ่ของช่องท้อง

            Omasum (กระเพาะสามสิบกลีบ) มีความจุ 7-8% ของความจุกระเพาะทั้งหมด อยู่ระหว่าง ทางเปิดเข้าสู่ abomasum  มีลักษณะกลม ผนังด้านในมีลักษณะเป็นแถบเรียกว่า laminae บนผิวของ laminae มีปุ่มจำนวนมาก บทบาทสำคัญของ omasum คือทำหน้าที่ดูดซับน้ำและสารละลายต่างๆไว้ โดยปล่อยอาหารให้ผ่านเข้าสู่ abomasum

            Abomasum (กระเพาะจริง หรือ true stomach) มีความจุประมาณ 8% ของความจุกระเพาะทั้งหมด อยู่ด้านขวาของกระเพาะ rumen และติดกับพื้นล่างของช่องท้อง มีลักษณะเหมือนลูกแพร์ (pear-shaped) กระเพาะจริงนี้สามารถแบ่งได้ 2 ส่วน คือ ส่วนฐานของอวัยวะ (fundus portion) มีหน้าที่ขับ HCl และ enzyme ต่างๆที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เป็นกรด ส่วนที่สองคือ ส่วนท้ายของกระเพาะอาหาร (pyrolus portion) เป็นที่รวมของอาหารก่อนที่จะถูกบีบให้เป็นก้อน (bolus) โดยการรัดตัวของกล้ามเนื้อให้ผ่าน กล้ามเนื้อหูรูด เข้าสู่ duodenum

       

      4. ลำไส้เล็ก (Small Intestine)

            ลำไส้เล็กประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ลำไส้เล็กท่อนต้น(duodenum), ลำไส้เล็กส่วนกลาง( jejunum)และลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยและดูดซึมอาหารที่ผ่านจาก abomasum เข้าสู่ duodenum จะมีสภาพเป็นกรด และจะถูกทำให้เป็นกลางใน duodenum เพื่อการย่อยโดย enzymes ต่างๆแล้วผ่านเข้าสู่ jejunum และ ileum ผนังด้านในของลำไส้เล็กจะมีส่วนที่คล้ายนิ้ว ขนาดเล็กมากๆเป็นจำนวนล้านๆ

      5. ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine)

              ประกอบด้วย กระพุ้งลำไส้ใหญ่(caecum) และ ลำไส้ใหญ่(colon) การย่อยอาหารจะเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่น้อยมาก ทำหน้าที่เป็นส่วนที่2 ในการหมักโดยจุลินทรีย์ และดูดซึมน้ำ - สารละลาย เช่น เกลือแร่ (mineral salts)

       

       

       

       

       

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×