ใต้เงาตะวัน - นิยาย ใต้เงาตะวัน : Dek-D.com - Writer
×

    ใต้เงาตะวัน

    โดย Ellab

    เมื่อคำทำนายจากโบราณกาลเป็นความจริง และเธอผู้เป็นความหวังเดียวในการคงอยู่ของเผ่าพันธุ์มนุษย์ทั้งมวลได้ปรากฏตัวขึ้นท่ามกลางไฟแห่งสงคราม กงล้อแห่งโชคชะตาจึงหมุนทวนอีกครั้ง...[Ending]

    ผู้เข้าชมรวม

    31,036

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    49

    ผู้เข้าชมรวม


    31.03K

    ความคิดเห็น


    432

    คนติดตาม


    92
    จำนวนตอน : 60 ตอน (จบแล้ว)
    อัปเดตล่าสุด :  25 พ.ค. 54 / 18:12 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



    "....วันใดที่ท้องฟ้าถูกฉาบด้วยเพลิงแห่งไฟสงคราม 

    ผู้คนฟั่นเฟือนและเต็มไปด้วยจิตใจอันโสมม

    เหล่าปีศาจร้ายเข้ายึดครองและบันดาลให้ทุกสิ่งดำมืด

    เมื่อนั้นธิดาของเราจะปรากฏตัวจากโลกต่าง

    เพื่อนำแสงสว่างมาสู่พวกเจ้าอีกครั้ง.....

    เมื่อคำทำนายจากโบราณกาลเป็นจริง โชคชะตาของเธอจึงเริ่มต้นขึ้น!!


    <<My Banner>>


    GG ..
    <<Thanks>>

    แจกTHEMEบทความ

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    "บทวิจารณ์ ใต้เงาตะวัน"

    (แจ้งลบ)

    ใต้เงาตะวัน ของ สเลเต เป็นนิยายรักขนาดยาว เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคแรก คือ ลำนำยามรุ่งทิวา ซึ่งจบแล้ว ภาคที่ 2 คือ ภาคท่วงทำนองแห่งอุษาสีเลือด ขณะนี้โพสต์ถึงตอนที่ 8 ด้วยเหตุนี้จึงจะวิจารณ์เฉพาะภาคแรกเท่านั้น นิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องราวความรักระหว่างพินทุ์ศิลา หรือ ยูเรซิส เทลาซาร์ ธิดาเทพแห่งสงครามและชัยชนะ ผู้มีอดีตที่ลึกลับ กับ เจ้ ... อ่านเพิ่มเติม

    ใต้เงาตะวัน ของ สเลเต เป็นนิยายรักขนาดยาว เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคแรก คือ ลำนำยามรุ่งทิวา ซึ่งจบแล้ว ภาคที่ 2 คือ ภาคท่วงทำนองแห่งอุษาสีเลือด ขณะนี้โพสต์ถึงตอนที่ 8 ด้วยเหตุนี้จึงจะวิจารณ์เฉพาะภาคแรกเท่านั้น นิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องราวความรักระหว่างพินทุ์ศิลา หรือ ยูเรซิส เทลาซาร์ ธิดาเทพแห่งสงครามและชัยชนะ ผู้มีอดีตที่ลึกลับ กับ เจ้าชายกราเซียส โควาร์ด รัชทายาทแห่งอาเซนทาร์ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเริ่มสงครามของแคว้นใหญ่ทั้ง 7 แคว้นแห่งเอสเตน่า ในภาคแรกเน้นเป็นการเปิดตัวยูเรซิส สาวน้อยปริศนาที่อยู่ๆก็มาปรากฏตัวในพระราชวังแห่งอาเซนทาร์ และอยู่ในความดูแลปกป้องของเจ้าชายกราเซียสให้พ้นจากเงื้อมมือของราชินีไอร่า แม่เลี้ยงผู้โหดเหี้ยมของพระองค์ ต่อมาสาวน้อยปริศนานางนี้ก็กลายเป็นธิดามหาเทพเซซิส ซึ่งตรงตามคำทำนายเก่าแก่ จนกลายเป็นที่ต้องการของแคว้นใหญ่ทั้ง 7 เพราะเธอเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะเหนือแคว้นอื่น เรื่องนี้น่าสนใจและชวนให้ติดตาม เนื่องจากผู้แต่งได้สร้างความลับและปริศนาไว้โดยตลอด และค่อยคลี่คลายเปิดเผยความลับเหล่านี้เป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็นความลับเรื่องชาติกำเนิดของยูเรซิส หรือความผูกพันระหว่างยูเรซิสกับชายในฝันที่เธอฝันเห็นมาโดยตลอด ขณะเดียวกันก็มีการเพิ่มปริศนาใหม่ๆ เข้ามาด้วย โดยเฉพาะการยอมตกเป็นทาสจอมมารของกราเซียส ตั้งแต่พระชนมายุ 12 พรรษา เพื่อให้พระมารดาของตนฟื้นคืนชีพ ซึ่งสัญลักษณ์ของจอมมารก็ยังคงฝังติดอยู่บนแผ่นหลังของเขา รอเวลาสำแดงเดช ทำให้ผู้อ่านต้องติดตามต่อไปว่า ท้ายที่สุดแล้วเรื่องราวเหล่านี้จะลงเอยอย่างไร ขณะเดียวกันก็น่าเป็นห่วงว่า กลวิธีที่ผู้แต่งนำมาใช้สร้างความตื่นเต้นและน่าสนใจให้กับเรื่อง ทั้งการเปิดตัวละคร เหตุการณ์ และเค้าเงื่อนใหม่ๆอยู่โดยตลอดนั้น ท้ายที่สุดแล้วผู้แต่งจะสามารถขมวดปมปัญหาและเนื้อเรื่องที่ดูจะกว้างออกไปเข้าหากันได้อย่างไร ไม่เช่นนั้นเรื่องนี้ก็จะกลายเป็นการเปิดประเด็นใหม่ๆ และละทิ้งประเด็นเก่าๆ ให้ค้างไว้ ดังกรณีของยูเรซิส จนจบภาคแรกแล้ว ผู้อ่านก็ยังไม่ทราบเหตุผลที่ผู้แต่งกำหนดให้ยูเรซิสจะต้องถูกส่งมาซ่อนตัวอยู่ที่เมืองไทยนานนับสิบปีในฐานะพินทุ์ศิลา และเรื่องราวตอนภาคแรกก็ไม่ได้ให้เหตุผลรองรับการมาอยู่เมืองไทยของนางเอก การใช้ชีวิตอยู่ในเมืองไทยในช่วงสิบปีก็ไม่ได้เพื่อเตรียมยูเรซิสให้พร้อมรับตำแหน่งธิดาเทพ เพราะยูเรซิสยังต้องกลับไปฝึกฝนทักษะและความสามารถต่างๆให้เหมาะกับตำแหน่งนี้ เมื่อเดินทางกลับมายังเอสเตน่าที่เป็นดินแดนบ้านเกิดอยู่ดี จึงเห็นว่าหากผู้เขียนกำหนดให้ยูเรซิสมาจากดินแดนสมมุติอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทย ก็จะช่วยลดความคลุมเครือนี้ลงได้ ผู้แต่งสามาถสร้างบุคลิกและลักษณะเฉพาะของตัวละครแต่ละตัวได้อย่างโดดเด่น ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านสามารถจดจำตัวละครต่างๆได้ แม้ว่าในเรื่องจะมีตัวละครกว่า 20 ตัว โดยเฉพาะองครักษ์ทั้งสี่ที่มีหน้าที่ดูแลและปกป้องธิดาเทพ ก็มีบุคลิกลักษณะ อุปนิสัย และความสามารถต่างกันอย่างชัดเจน แม้ว่าผู้แต่งจะเปิดตัวละครใหม่ทั้งสี่ตัวนี้พร้อมกัน ผู้อ่านก็สามารถกำหนดจดจำตัวละครแต่ละตัวได้ ในอีกส่วนหนึ่ง ผู้แต่งยังให้ความสำคัญกับการบรรยายฉากสถานที่ บรรยากาศ หรือแม้แต่การต่อสู้ต่างๆได้อย่างละเอียดและชัดเจน รวมทั้งการพรรณนาความรู้สึกและอารมณ์ของตัวละครต่างๆ ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านสามารถสร้างจินตนาการตามที่ผู้แต่งต้องการได้ไม่ยาก นอกจากนี้ การที่ผู้แต่งรีไรท์เรื่องทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง ก็ช่วยให้การดำเนินเรื่องกระชับ ลื่นไหล และเรียงร้อยต่อกันได้อย่างไม่สะดุด มีคำผิดให้เห็นไม่มากนัก คำผิดที่ส่วนใหญ่จะเป็นคำเดิมๆ ซึ่งผู้แต่งน่าจะเข้าใจผิดไปว่าคำนี้เขียนเช่นนั้น เช่น สมเพช เขียนเป็น สมเพศ เวทมนตร์ เขียนเป็น เวทมนต์ กะพริบตา เขียนเป็น กระพริบตา มั้ง เขียนเป็น มั๊ง เอิกเกริก เขียนเป็น เอิกเหริก พลการ เขียนเป็น พละการ ส่วนข้อด้อยที่พบ คือ บางฉาก บางตอนยังขาดความสมเหตุผลอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวที่เกี่ยวกับยูเรซิส เช่นในแง่การสื่อสาร อยู่มาวันหนึ่งพินทุ์ศิลาก็ถูกราชินีไอร่านำตัวจากประเทศไทยไปยังอาเซนทาร์ เมื่อไปถึงต่างถิ่นต่างแดนยูเรซิสก็สามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว จนเกิดข้อสงสัยว่าถ้าเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่าภาษาไทยเป็นภาษากลางใช่หรือไม่ แต่ต่อมาก็แน่ใจว่าภาษาที่ใช้สื่อสารกันนั้นไม่ใช่ภาษาไทย เพราะเจ้าชายกราเซียสมีปัญหากับการออกเสียงชื่อพินทุ์ศิลา จนในที่สุดต้องเรียกเธอว่ายูเรซิสแทน เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงทำให้สงสัยต่อไปอีกว่าคนทั้งสองกลุ่มนี้สื่อสารกันด้วยภาษาใดแน่ เพราะผู้แต่งไม่ได้บอกไว้ อีกทั้งการปรับตัวของยูเรซิสก็ดูจะใช้เวลาน้อยมาก ราวกับว่าคุ้นเคยกับการอยู่ในเอสเตน่ามาเป็นอย่างดี (แม้ว่าในตอนท้ายจะเฉลยว่านางเอกเป็นคนที่ดินแดนแห่งนี้มาก่อนที่จะถูกส่งไปอยู่เมืองไทยก็ตาม แต่ก็อธิบายไว้อีกเช่นกันว่าความรู้และความทรงจำเกี่ยวกับดินแดนนี้สูญหายไปแล้ว) หรือไม่เช่นนั้นก็เพราะสถานที่แห่งนี้มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทยมาก แต่จากที่อ่านก็พบว่าดินแดนใหม่นี้แตกต่างจากประเทศไทยโดยสิ้นเชิง ทั้งในเรื่องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ อย่างน้อยที่สุดจากการปรับตัวของคนธรรมดาที่ต้องไปอยู่ในพระราชวังก็ยากแล้ว และยิ่งเป็นพระราชวังต่างแดนก็น่าจะมีปัญหาและความยากลำบากมากขึ้นเป็นหลายเท่า แต่ดูเหมือนว่านางเอกของเราจะตกใจเพียงในช่วงวันแรกๆเท่านั้น หลังจากนั้นก็อยู่ได้อย่างสบายราวกับอยู่บ้านของตนเอง นอกจากนี้ ความเก่งกาจของทั้งนางเอกและพระเอกดูจะมีมากเหนือคำบรรยาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้แต่งยังคงยึดติดกับการสร้างตัวละครเอกยอดนิยมอยู่ ในกรณีของพระเอกก็ยังพอทำใจยอมรับได้บ้าง เพราะประสูติในฐานะเจ้าชายรัชทายาทจึงไม่แปลกใจที่จะต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูเพื่อให้เหมาะกับการที่จะเป็นกษัตริย์ในวันข้างหน้า แม้กระนั้นก็ยังดูเป็นบุคคลที่เพียบพร้อมเกินกว่าที่คนคนหนึ่งจะเป็นได้ ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา ฐานะ ชาติกำเนิด และความสามารถต่างๆ ทั้งการได้เป็นจอมเวทตั้งแต่อายุ 13 ปี จนได้รับฉายาว่าพ่อมดอัจฉริยะแห่งอาเซนทาร์ ที่อายุน้อยที่สุด และความเก่งกล้าในเชิงต่อสู้ที่พิสูจน์ฝีมือไว้ตั้งแต่อายุเพียง 15 ที่ฟันดาบชนะผู้บัญชาการทหารของอาณาจักร ในกรณีของนางเอกนั้น ในความคิดของผู้วิจารณ์ยากที่จะทำใจให้เชื่อได้ แม้ว่าเหตุผลที่ผู้แต่งใช้สนับสนุนความเก่งกล้าสามารถของนางเอก คือการเป็นธิดาเทพทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ แต่ความสามารถบางอย่างก็ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฉากที่ให้ซ้อมฟันดาบกับคริอัน คำแนะนำเพียงประโยคเดียว และการทำให้ดูเพียงครั้งเดียว ก็ไม่น่าที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถจะเพิ่มความเร็วในการฟันดาบและหลบหลีกได้จนเกือบเอาชนะคริอัน ชายหนุ่มอัจฉริยะที่ถูกคัดเลือกจากคนทั้งแคว้นเพื่อนำมาฝึกฝนเป็นเวลานานหลายปี จนกลายเป็นทหารผู้มีความสามารถที่เหมาะสมและคู่ควรกับตำแหน่งองครักษ์ของธิดาเทพ หรือฉากที่ยูเรซิสแสดงความสามารถปราบม้าพยศ ในความเป็นจริงผู้ที่จะปราบม้าพยศได้อย่างน้อยต้องมีความเชี่ยวชาญการขี่ม้าเป็นพิเศษ และผู้ที่คลุกคลีอยู่กับม้ามานานเช่นนั้นก็ย่อมต้องดูม้าออกด้วยเช่นกัน ว่าม้าตัวใดจะถือว่าเป็นม้าลักษณะดี แต่สำหรับยูเรซิส การที่ต้องถามชาอัส หนึ่งในองค์รักษ์ของตน ว่าม้าพยศตัวที่ต้องการปราบนั้นเป็นม้าดีหรือไม่ ก็ไม่น่าจะเป็นลักษณะของผู้ขี่ม้าที่เชี่ยวชาญ ส่วนวิธีปราบม้าพยศที่นำเสนอก็แปลกมาก เพราะโดยปกติ การที่จะบังคับม้าพยศนั้น ผู้ปราบจะต้องขี่ม้าตัวนั้นไปเรื่อยๆ ในขณะที่ม้าก็พยายามที่จะสะบัดให้คนขี่ตกลงมาให้ได้ และการจะปราบม้าพยศให้เชื่องนั้นต้องขี่จนกว่าม้าจะยอมรับว่าผู้ขี่คือนาย และเชื่องพอจะยอมปฏิบัติตามคำสั่ง แต่ในเรื่องการปราบม้าพยศที่บรรยายไว้นั้นเหมือนกับการล่อวัวกระทิงมากกว่า กล่าวคือ ยูเรซิสอาศัยการหลอกล่อให้ม้าพุ่งเข้าชน แต่ม้าพลาดไปกระแทกกับคอกกั้นจนเจ็บตัวไปหลายครั้ง ในลักษณะนี้ แสดงว่าผู้เขียนไม่รู้เรื่องการขี่ม้าพยศเลย และไม่รู้ว่าถ้าม้าชนรั้วคอกขนาดนั้น อาจจะขาหักหรือคอหักไปแล้ว จนท้ายที่สุดเมื่อยูเรซิสถูกชนจนตัวลอยขึ้นไปขี่บนหลังม้าได้ (ก็คงจะอยากทำให้เป็นเรื่องปาฏิหาริย์ เหมือนว่าไม่ใช่คนธรรมดา) ม้าตัวนั้นก็เชื่องโดยทันที ยอมให้ขี่และบังคับอย่างง่ายดาย อย่างไรก็ดี ข้อบกพร่องที่พบนับว่าน้อยเมื่อพิจารณาในสัดส่วนของเรื่องทั้งหมด และไม่ได้ลดทอนความน่าติดตามของเรื่องราว หากผู้เขียนสามารถที่จะแก้ไขข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดเล็กน้อยเหล่านี้ได้ทั้งหมด ก็จะช่วยให้เรื่องถูกต้องสมบูรณ์และน่าอ่านมากขึ้น -------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 27 ม.ค. 53

    • 18

    • 1

    คำนิยมล่าสุด

    "บทวิจารณ์ ใต้เงาตะวัน"

    (แจ้งลบ)

    ใต้เงาตะวัน ของ สเลเต เป็นนิยายรักขนาดยาว เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคแรก คือ ลำนำยามรุ่งทิวา ซึ่งจบแล้ว ภาคที่ 2 คือ ภาคท่วงทำนองแห่งอุษาสีเลือด ขณะนี้โพสต์ถึงตอนที่ 8 ด้วยเหตุนี้จึงจะวิจารณ์เฉพาะภาคแรกเท่านั้น นิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องราวความรักระหว่างพินทุ์ศิลา หรือ ยูเรซิส เทลาซาร์ ธิดาเทพแห่งสงครามและชัยชนะ ผู้มีอดีตที่ลึกลับ กับ เจ้ ... อ่านเพิ่มเติม

    ใต้เงาตะวัน ของ สเลเต เป็นนิยายรักขนาดยาว เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคแรก คือ ลำนำยามรุ่งทิวา ซึ่งจบแล้ว ภาคที่ 2 คือ ภาคท่วงทำนองแห่งอุษาสีเลือด ขณะนี้โพสต์ถึงตอนที่ 8 ด้วยเหตุนี้จึงจะวิจารณ์เฉพาะภาคแรกเท่านั้น นิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องราวความรักระหว่างพินทุ์ศิลา หรือ ยูเรซิส เทลาซาร์ ธิดาเทพแห่งสงครามและชัยชนะ ผู้มีอดีตที่ลึกลับ กับ เจ้าชายกราเซียส โควาร์ด รัชทายาทแห่งอาเซนทาร์ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเริ่มสงครามของแคว้นใหญ่ทั้ง 7 แคว้นแห่งเอสเตน่า ในภาคแรกเน้นเป็นการเปิดตัวยูเรซิส สาวน้อยปริศนาที่อยู่ๆก็มาปรากฏตัวในพระราชวังแห่งอาเซนทาร์ และอยู่ในความดูแลปกป้องของเจ้าชายกราเซียสให้พ้นจากเงื้อมมือของราชินีไอร่า แม่เลี้ยงผู้โหดเหี้ยมของพระองค์ ต่อมาสาวน้อยปริศนานางนี้ก็กลายเป็นธิดามหาเทพเซซิส ซึ่งตรงตามคำทำนายเก่าแก่ จนกลายเป็นที่ต้องการของแคว้นใหญ่ทั้ง 7 เพราะเธอเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะเหนือแคว้นอื่น เรื่องนี้น่าสนใจและชวนให้ติดตาม เนื่องจากผู้แต่งได้สร้างความลับและปริศนาไว้โดยตลอด และค่อยคลี่คลายเปิดเผยความลับเหล่านี้เป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็นความลับเรื่องชาติกำเนิดของยูเรซิส หรือความผูกพันระหว่างยูเรซิสกับชายในฝันที่เธอฝันเห็นมาโดยตลอด ขณะเดียวกันก็มีการเพิ่มปริศนาใหม่ๆ เข้ามาด้วย โดยเฉพาะการยอมตกเป็นทาสจอมมารของกราเซียส ตั้งแต่พระชนมายุ 12 พรรษา เพื่อให้พระมารดาของตนฟื้นคืนชีพ ซึ่งสัญลักษณ์ของจอมมารก็ยังคงฝังติดอยู่บนแผ่นหลังของเขา รอเวลาสำแดงเดช ทำให้ผู้อ่านต้องติดตามต่อไปว่า ท้ายที่สุดแล้วเรื่องราวเหล่านี้จะลงเอยอย่างไร ขณะเดียวกันก็น่าเป็นห่วงว่า กลวิธีที่ผู้แต่งนำมาใช้สร้างความตื่นเต้นและน่าสนใจให้กับเรื่อง ทั้งการเปิดตัวละคร เหตุการณ์ และเค้าเงื่อนใหม่ๆอยู่โดยตลอดนั้น ท้ายที่สุดแล้วผู้แต่งจะสามารถขมวดปมปัญหาและเนื้อเรื่องที่ดูจะกว้างออกไปเข้าหากันได้อย่างไร ไม่เช่นนั้นเรื่องนี้ก็จะกลายเป็นการเปิดประเด็นใหม่ๆ และละทิ้งประเด็นเก่าๆ ให้ค้างไว้ ดังกรณีของยูเรซิส จนจบภาคแรกแล้ว ผู้อ่านก็ยังไม่ทราบเหตุผลที่ผู้แต่งกำหนดให้ยูเรซิสจะต้องถูกส่งมาซ่อนตัวอยู่ที่เมืองไทยนานนับสิบปีในฐานะพินทุ์ศิลา และเรื่องราวตอนภาคแรกก็ไม่ได้ให้เหตุผลรองรับการมาอยู่เมืองไทยของนางเอก การใช้ชีวิตอยู่ในเมืองไทยในช่วงสิบปีก็ไม่ได้เพื่อเตรียมยูเรซิสให้พร้อมรับตำแหน่งธิดาเทพ เพราะยูเรซิสยังต้องกลับไปฝึกฝนทักษะและความสามารถต่างๆให้เหมาะกับตำแหน่งนี้ เมื่อเดินทางกลับมายังเอสเตน่าที่เป็นดินแดนบ้านเกิดอยู่ดี จึงเห็นว่าหากผู้เขียนกำหนดให้ยูเรซิสมาจากดินแดนสมมุติอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทย ก็จะช่วยลดความคลุมเครือนี้ลงได้ ผู้แต่งสามาถสร้างบุคลิกและลักษณะเฉพาะของตัวละครแต่ละตัวได้อย่างโดดเด่น ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านสามารถจดจำตัวละครต่างๆได้ แม้ว่าในเรื่องจะมีตัวละครกว่า 20 ตัว โดยเฉพาะองครักษ์ทั้งสี่ที่มีหน้าที่ดูแลและปกป้องธิดาเทพ ก็มีบุคลิกลักษณะ อุปนิสัย และความสามารถต่างกันอย่างชัดเจน แม้ว่าผู้แต่งจะเปิดตัวละครใหม่ทั้งสี่ตัวนี้พร้อมกัน ผู้อ่านก็สามารถกำหนดจดจำตัวละครแต่ละตัวได้ ในอีกส่วนหนึ่ง ผู้แต่งยังให้ความสำคัญกับการบรรยายฉากสถานที่ บรรยากาศ หรือแม้แต่การต่อสู้ต่างๆได้อย่างละเอียดและชัดเจน รวมทั้งการพรรณนาความรู้สึกและอารมณ์ของตัวละครต่างๆ ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านสามารถสร้างจินตนาการตามที่ผู้แต่งต้องการได้ไม่ยาก นอกจากนี้ การที่ผู้แต่งรีไรท์เรื่องทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง ก็ช่วยให้การดำเนินเรื่องกระชับ ลื่นไหล และเรียงร้อยต่อกันได้อย่างไม่สะดุด มีคำผิดให้เห็นไม่มากนัก คำผิดที่ส่วนใหญ่จะเป็นคำเดิมๆ ซึ่งผู้แต่งน่าจะเข้าใจผิดไปว่าคำนี้เขียนเช่นนั้น เช่น สมเพช เขียนเป็น สมเพศ เวทมนตร์ เขียนเป็น เวทมนต์ กะพริบตา เขียนเป็น กระพริบตา มั้ง เขียนเป็น มั๊ง เอิกเกริก เขียนเป็น เอิกเหริก พลการ เขียนเป็น พละการ ส่วนข้อด้อยที่พบ คือ บางฉาก บางตอนยังขาดความสมเหตุผลอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวที่เกี่ยวกับยูเรซิส เช่นในแง่การสื่อสาร อยู่มาวันหนึ่งพินทุ์ศิลาก็ถูกราชินีไอร่านำตัวจากประเทศไทยไปยังอาเซนทาร์ เมื่อไปถึงต่างถิ่นต่างแดนยูเรซิสก็สามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว จนเกิดข้อสงสัยว่าถ้าเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่าภาษาไทยเป็นภาษากลางใช่หรือไม่ แต่ต่อมาก็แน่ใจว่าภาษาที่ใช้สื่อสารกันนั้นไม่ใช่ภาษาไทย เพราะเจ้าชายกราเซียสมีปัญหากับการออกเสียงชื่อพินทุ์ศิลา จนในที่สุดต้องเรียกเธอว่ายูเรซิสแทน เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงทำให้สงสัยต่อไปอีกว่าคนทั้งสองกลุ่มนี้สื่อสารกันด้วยภาษาใดแน่ เพราะผู้แต่งไม่ได้บอกไว้ อีกทั้งการปรับตัวของยูเรซิสก็ดูจะใช้เวลาน้อยมาก ราวกับว่าคุ้นเคยกับการอยู่ในเอสเตน่ามาเป็นอย่างดี (แม้ว่าในตอนท้ายจะเฉลยว่านางเอกเป็นคนที่ดินแดนแห่งนี้มาก่อนที่จะถูกส่งไปอยู่เมืองไทยก็ตาม แต่ก็อธิบายไว้อีกเช่นกันว่าความรู้และความทรงจำเกี่ยวกับดินแดนนี้สูญหายไปแล้ว) หรือไม่เช่นนั้นก็เพราะสถานที่แห่งนี้มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทยมาก แต่จากที่อ่านก็พบว่าดินแดนใหม่นี้แตกต่างจากประเทศไทยโดยสิ้นเชิง ทั้งในเรื่องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ อย่างน้อยที่สุดจากการปรับตัวของคนธรรมดาที่ต้องไปอยู่ในพระราชวังก็ยากแล้ว และยิ่งเป็นพระราชวังต่างแดนก็น่าจะมีปัญหาและความยากลำบากมากขึ้นเป็นหลายเท่า แต่ดูเหมือนว่านางเอกของเราจะตกใจเพียงในช่วงวันแรกๆเท่านั้น หลังจากนั้นก็อยู่ได้อย่างสบายราวกับอยู่บ้านของตนเอง นอกจากนี้ ความเก่งกาจของทั้งนางเอกและพระเอกดูจะมีมากเหนือคำบรรยาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้แต่งยังคงยึดติดกับการสร้างตัวละครเอกยอดนิยมอยู่ ในกรณีของพระเอกก็ยังพอทำใจยอมรับได้บ้าง เพราะประสูติในฐานะเจ้าชายรัชทายาทจึงไม่แปลกใจที่จะต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูเพื่อให้เหมาะกับการที่จะเป็นกษัตริย์ในวันข้างหน้า แม้กระนั้นก็ยังดูเป็นบุคคลที่เพียบพร้อมเกินกว่าที่คนคนหนึ่งจะเป็นได้ ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา ฐานะ ชาติกำเนิด และความสามารถต่างๆ ทั้งการได้เป็นจอมเวทตั้งแต่อายุ 13 ปี จนได้รับฉายาว่าพ่อมดอัจฉริยะแห่งอาเซนทาร์ ที่อายุน้อยที่สุด และความเก่งกล้าในเชิงต่อสู้ที่พิสูจน์ฝีมือไว้ตั้งแต่อายุเพียง 15 ที่ฟันดาบชนะผู้บัญชาการทหารของอาณาจักร ในกรณีของนางเอกนั้น ในความคิดของผู้วิจารณ์ยากที่จะทำใจให้เชื่อได้ แม้ว่าเหตุผลที่ผู้แต่งใช้สนับสนุนความเก่งกล้าสามารถของนางเอก คือการเป็นธิดาเทพทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ แต่ความสามารถบางอย่างก็ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฉากที่ให้ซ้อมฟันดาบกับคริอัน คำแนะนำเพียงประโยคเดียว และการทำให้ดูเพียงครั้งเดียว ก็ไม่น่าที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถจะเพิ่มความเร็วในการฟันดาบและหลบหลีกได้จนเกือบเอาชนะคริอัน ชายหนุ่มอัจฉริยะที่ถูกคัดเลือกจากคนทั้งแคว้นเพื่อนำมาฝึกฝนเป็นเวลานานหลายปี จนกลายเป็นทหารผู้มีความสามารถที่เหมาะสมและคู่ควรกับตำแหน่งองครักษ์ของธิดาเทพ หรือฉากที่ยูเรซิสแสดงความสามารถปราบม้าพยศ ในความเป็นจริงผู้ที่จะปราบม้าพยศได้อย่างน้อยต้องมีความเชี่ยวชาญการขี่ม้าเป็นพิเศษ และผู้ที่คลุกคลีอยู่กับม้ามานานเช่นนั้นก็ย่อมต้องดูม้าออกด้วยเช่นกัน ว่าม้าตัวใดจะถือว่าเป็นม้าลักษณะดี แต่สำหรับยูเรซิส การที่ต้องถามชาอัส หนึ่งในองค์รักษ์ของตน ว่าม้าพยศตัวที่ต้องการปราบนั้นเป็นม้าดีหรือไม่ ก็ไม่น่าจะเป็นลักษณะของผู้ขี่ม้าที่เชี่ยวชาญ ส่วนวิธีปราบม้าพยศที่นำเสนอก็แปลกมาก เพราะโดยปกติ การที่จะบังคับม้าพยศนั้น ผู้ปราบจะต้องขี่ม้าตัวนั้นไปเรื่อยๆ ในขณะที่ม้าก็พยายามที่จะสะบัดให้คนขี่ตกลงมาให้ได้ และการจะปราบม้าพยศให้เชื่องนั้นต้องขี่จนกว่าม้าจะยอมรับว่าผู้ขี่คือนาย และเชื่องพอจะยอมปฏิบัติตามคำสั่ง แต่ในเรื่องการปราบม้าพยศที่บรรยายไว้นั้นเหมือนกับการล่อวัวกระทิงมากกว่า กล่าวคือ ยูเรซิสอาศัยการหลอกล่อให้ม้าพุ่งเข้าชน แต่ม้าพลาดไปกระแทกกับคอกกั้นจนเจ็บตัวไปหลายครั้ง ในลักษณะนี้ แสดงว่าผู้เขียนไม่รู้เรื่องการขี่ม้าพยศเลย และไม่รู้ว่าถ้าม้าชนรั้วคอกขนาดนั้น อาจจะขาหักหรือคอหักไปแล้ว จนท้ายที่สุดเมื่อยูเรซิสถูกชนจนตัวลอยขึ้นไปขี่บนหลังม้าได้ (ก็คงจะอยากทำให้เป็นเรื่องปาฏิหาริย์ เหมือนว่าไม่ใช่คนธรรมดา) ม้าตัวนั้นก็เชื่องโดยทันที ยอมให้ขี่และบังคับอย่างง่ายดาย อย่างไรก็ดี ข้อบกพร่องที่พบนับว่าน้อยเมื่อพิจารณาในสัดส่วนของเรื่องทั้งหมด และไม่ได้ลดทอนความน่าติดตามของเรื่องราว หากผู้เขียนสามารถที่จะแก้ไขข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดเล็กน้อยเหล่านี้ได้ทั้งหมด ก็จะช่วยให้เรื่องถูกต้องสมบูรณ์และน่าอ่านมากขึ้น -------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 27 ม.ค. 53

    • 18

    • 1

    ความคิดเห็น