ชื่อและเลข IP - ชื่อและเลข IP นิยาย ชื่อและเลข IP : Dek-D.com - Writer

    ชื่อและเลข IP

    โดย FioRaNo

    ผู้เข้าชมรวม

    737

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    737

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 พ.ค. 50 / 13:55 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ชื่อและเลข IP
      อินเตอร์เน็ตมีคอมพิวเตอร์ต่ออยู่เป็นล้านเครื่อง หลายท่านอาจตั้งข้อสงสัยว่าการที่เราส่งอีเมล์ไปยังปลายทางจะไปได้อย่างไร หรือเมื่อเราต้องการ LOGIN เข้าเครื่องอื่นที่อยู่บนเครือข่าย ระบบเครือข่ายรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องนั้นอยู่ที่ใด

      รหัสหมายเลข IP ประจำเครื่อง

      คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายจะมีหมายเลขรหัสประจำเครื่องหมายเลขรหัสนี้เรียกว่า IP number ตัวเลข IP แต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องไม่ซ้ำกันตัวเลขนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ให้แต่ละองค์กรนำไปปฎิบัติ โดยผู้ที่จะสร้างเครือข่ายต้องทำการขอหมายเลขประจำเครือข่าย เพื่อมากำหนดส่วนขยายต่อสำหรับเครื่องเอาเอง
      เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ SUN ที่ทำหน้าที่เป็นเกทเวย์สำหรับเมล์ของเครือข่ายนนทรี ชื่อ nontri มีหมายเลข IP เป็นตัวเลขประจำเครื่องนี้มีขนาด 32 บิต แบ่งเป็น 4 ฟิลด์ แต่ละฟิลด์จะมี 8 บิต แต่เมื่อเรียกรหัสหมายเลข IP นี้ ใช้ตัวเลขฐานสิบแบ่งเป็น 4 ตัว โดยมีจุด (.) คั่นระหว่างตัวดังนั้นจากตัวเลข 32 บิต ดังกล่าวเรียกได้เป็น
      158.108.2.71
      ตัวเลขไบนารี 32 หลัก เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยากแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ใช้เลขเหล่านี้ได้อย่างถูกตัอง แต่เมื่อกำหนดเลข 4 ฟิลด์ แต่ละฟิลด์มีขนาด 0-255 เมื่อดูแล้วจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น

      เครือข่ายก็มีหลายเลขประจำด้วย

      การแบ่งเลขหมาย IP ออกเป็น 4 ฟิลด์นั้น ความจริงแล้วตัวเลขที่ประกอบอยู่นั้นเป็นตัวเลขของเครือข่ายประกอบอยู่ด้วย เช่น เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้รหัส 158.108 เครือข่ายของบริษัท IBM ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ระดับโลก ใช้รหัส 9 ส่วนของบริษัท AT+ T ใช้เลขรหัส IP เป็น 12 ส่วนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 192.150.249 เป็นต้น
      เนื่องจากขนาดของเครือข่ายมีขนาดแตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงมีการกำหนดการแบ่งคลาของเครือข่ายออกเป็นสามคลาคือ คลาส A. คลาส B. คลาส C.
      คลาส A. กำหนดตัวเลขเพียงฟิลด์แรกฟิลด์เดียว ที่เหลืออีกสามฟิลด์จึงเป็นรหัสประจำเครื่องอยู่ในเครือข่าย คลาส B. กำหนดตัวเลขของฟิลด์ จึงเหลือให้กำหนดรหัสเครื่องสองฟิลด์ คลาส C. กำหนดตัวเลขสามฟิลด์จึงมีที่ให้กำหนดรหัสเครื่องเพียงฟิลด์เดียว
      เมื่อพิจารณาตัวเลข IP ใด ๆ หากตัวเลขขึ้นต้นระหว่าง 1-126 ก็จะเป็นคลาส A. ถ้าขึ้นต้นด้วย 128-191 ก็จะเป็นคลาส B. และขึ้นต้นด้วย 192-223 ก็เป็นคลาส C. (ดูตามตารางที่ 1)
      การให้หมายเลขเครือข่ายนี้ทางองค์กรบริหารเครือข่ายเป็นผู้กำหนดให้เป็นที่น่าสังเกตุว่า การกำหนดเลขจะกำหนดให้เรียงกันไป ใครขอมาก่อนก็จะให้เลขน้อยเรียงตามลำดับเวลาที่จอและเมื่อพิจารณาการเติบโตของเครือข่ายที่ค่อนข้างจะ หมายเลข IP คงจะเต็มพิกัดครบทุกคราในไม่ช้านี้ แต่ทางองค์กรบริหารเครือข่าก็เตรียมแผนการขยายหมายเลขต่อไปแล้ว

      คลา ตัวเลขฟิลด์แรก ความยาวของฟิลด์รหัสเครือข่าย จำนวนเครื่องในเครือข่าย
      A.
      B.
      C.
      1-126
      128-191
      192-223
      1
      2
      3
      16,387,064
      64,516
      254

      ตารางที่ 1 การแบ่งคลาของเครือข่ายกับการกำหนดหมายเลข

      ใช้ชื่อดีกว่า

      เพื่อให้ระบบการเรียกชื่อง่ายขึ้นและการบริหารเครือข่ายทำได้ดี จึงมีการกำหนดชื่นแทนรหัส IP โดยมีการตั้งชื่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่บนเครือข่าย เช่น nontri.ku.ac.th ซึ่งแทนหมายเลข 158.108.162 หรือเครื่อง maspar ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบขนานก็ใช้ชื่อ maspar.cpe.ku.ac.th โดยใช้แทนรหัส 158.108.162 ดังนั้นเครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะมีการตั้งชื่อเครื่องเพื่อให้รู้จักกันได้ง่ายขึ้น การตั้งชื่อมีการแบ่งเป็นลำดับขั้น ตัวที่อยู่ขวามือสุด คือชื่อย่อประเทศ เช่น th หมายถึงประเทศไทย เรามีชื่อย่ออยู่มากดังตารางที่ 3

      ชื่อสถาบัน ชื่อเครือข่าย รหัส IP
      เกษตรฯ NONTRI-NET 158.108.0.0
      จุฬา CHULA-NET 161.200.0.0
      ลาดกระบัง KMITL-NET 161.246.0.0
      ไทยสาร (เนคเท) THAISARN 164.115.0.0
      สงขลา MOR-OR-NET 192.100.77.0
      จุฬา1 CHULA1-NET 192.133.10.0
      ธรรมศาสตร์ TU-NET 192.150.249.0
      เนคเท NWG-BB-NET 192.150.250.0
      เนคเท NECTEC-NET 192.150.251.0
      เชียงใหม่ CHIANGMAI-NET 192.203.247.0
      จุฬา ATCCU-NET 192.207.64.0
      เอไอที AIT-CS-NET 192.41.170.0
      เอไอที AITCAMPUSNET 202.0.79.0
      สงขลา MOR-OR-NET1 202.12.73.0
      สงขลา MOR-OR-NET2 202.12.74.0
      ขอนแก่น KKU-NET 202.12.97.0
      สุโขทัย STOU-NET 202.14.117.0
      มหิดล MAHIDOL-C-14-162 202.14.162.0
      มหิดล MAHIDOL-C-14-163 202.14.163.0
      นนทบุรี KMITNB-NET 202.14.164.0
      รามคำแหง RU-NET1 202.20.67.0
      รามคำแหง RU-NET2 202.20.68.0
      สุรนารี SUTNET-C 202.21.140.0
      เซนต์จอห์น STJOHN-NET 202.21.144.0
      นิดา NIDA 202.21.149.0
      ธนบุรี KMITT-44-8 202.44.8.0
      ธนบุรี KMITT-44-9 202.44.9.0
      ธนบุรี KMITT-44-10 202.44.10.0
      ธนบุรี KMITT-44-11 202.44.11.0
      ธนบุรี KMITT-44-12 202.44.12.0
      ธนบุรี KMITT-44-13 202.44.13.0
      ธนบุรี KIMTT-11-14 202.44.14.0
      ธนบุรี KMITT-44-15 202.44.15.0
      ธนาคารชาติ GRIDBKK 202.44.134.0
      สาธารณสุข HEALTH-MOPH 202.44.137.0
      ทบวงมหาวิทยาลัย MUA-C 202.44.138.0
      ทบวงมหาวิทยาลัย MUA-CNET 202.44.139.0
      อัสสัมชัญ ABACI-NET 202.6.100.0
      จุฬา CUACC-NET 202.6.90.0
      เอไอที AITCAMPUSNET3 202.8.65.0

      ตารางที่ 2 เป็นรหัสเครือขายที่ต่ออยู่ในประเทศไทย

      นอกจากนี้มีการแบ่งโซน เพื่อใช้ในการจัดกลุ่มบริหารเครือข่าย การแบ่งกลุ่มโซนแสดงดังตารางที่ 4 สำหรับชื่อลำดับต่อมาเป็นชื่อโดเมนของเครือข่ายหรือชื่อเครือข่ายนั้นเองซึ่งเครือข่ายนี้จะต้องแจ้งลงทะเบียนไว้

      โดเมนและการบริหารโดเมน

      เพื่อให้ระบบการเชื่อมโยงเป็นไปอย่างมีระบบ จึงมีการกำหนดชื่อเครือข่ายเช่น เครือข่าย 158.108 มีชื่อเครือข่าย ku. ac.th และจัดเป็นหนึ่งโดเมนซึ่งมีเครือข่ายย่อยภายในได้อีก เช่น 158.108.1 เป็นเครือข่ายของศูนย์คอมพิวเตอร์กลาง 158.108.2 เป็นเครือข่ายของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 158.108.3 เป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้นแต่ละเครือข่ายจะมีชื่อกำกับอีกก็ได้ เช่น เป็น cpc.du.ac.th, cpe.ku.ac.th sci.ku.ac.th เป็นต้น
      ในการบริหารโดเมนนั้น ภายในระบบจะมี DNS-Domain Name System เป็นฐานข้อมูลและระบบการจัดการชื่อในเครือข่ายให้เป็นระบบ เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง เช่น เมื่อมีเอกสารจะส่งมาจากต่างประเทศมีการจ่าหน้าเป็น cc2.cpe.ku.ac.th ส่วนของ th จะถูกแกะก่อน โดยส่วนที่อยู่ที่ uunet ที่สหรัฐอเมริกาจะบอกเส้นทางส่งต่อมาที่ประเทศไทย หลังจากนั้นทางประเทศไทยในส่วน ac จะดำเนินการแกะที่จุฬาลงกรณ์บอกเส้นทางให้วิ่งมาที่เกษตรศาสตร์ ที่เกษตรศาสตร์จะดูแลโดเมนคือเครือข่ายย่อยและระบบเครื่องภายในเครือข่ายเอง

      รหัสชื่อประเทศ ประเทศ รหัสชื่อประเทศ ประเทศ
      AU ออสเตรเลีย ES สเปน
      AT ออสเตรีย JP ญี่ปุ่น
      BE เบลเยี่ยม NL เนเธอร์แลนด์
      CA แคนาดา NO นอร์เวย์
      CZ สาธารณรัฐเชค RU รัสเซีย
      DK เดนมาร์ค SU โซเวียต
      FI ฟินแลนด์ ES สเปน
      FR ฝรั่งเศส SE สวีเดน
      DE เยอรมันนี CH สวิตเซอร์แลนด์
      IN อินเดีย TH ประเทศไทย
      IE ไอร์แลนด์ TW ไต้หวัน
      IL อิสราเอล UK อังกฤษ
      IT อิตาลี US อเมริกา

      ตารางที่ 3 ชื่อย่อประเทศที่ใช้ในอินเตอร์เน็ต

      การบริหาร DNS นี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะเมื่อมีการต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายเครื่องที่ต่อเข้าระบบจะต้องบอกว่า ฐานข้อมูล DNS อยู่ที่ใด จะมีการไปปรับปรุงข้อมูล DNS อยู่ที่ใด จะมีการไปปรับปรุงข้อมูลเองอย่างอัตโนมัติ ดังนั้นหากมีการย้ายเครื่องไปยังเครือข่ายอื่น ก็สามารถปรับปรุงได้เองอย่างอัตโนมัติเช่นกัน

      โซน หมายถึง
      com หรือ co บริษัทเอกชน
      edu หรือ ac สถาบันการศึกษา
      gov หรือ go หน่วยงานรัฐบาล
      int หรือ in องค์กรระหว่างประเทศ
      mil หรือ mi องค์กรทางทหาร
      net หรือ ne องค์การเครือข่ายคอมพิวเตอร์
      org หรือ or องค์กรอื่นของรัฐบาล

      ตารางที่ 4 การแบ่งกลุ่มโซน

      การอ้างอิงยูสเซอร์

      ในการติดต่อกับยูสเซอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ใด บนเครือข่ายจะใช้ชื่อยูสเซอร์ของผู้นั้นตามด้วยชื่อเครื่อง แต่คั่นกันด้วยเครื่องหมาย @ เช่นถ้าต้องการติดต่อกับยูสเซอร์ ชื่อ yuen บนเครื่อง nontri.ku.ac.th ก็ใช้แอดเดรสดังนี้ yuen@nontri.ku.ac.th
      ดังนั้นในเครื่องหนึ่งอาจมียูสเซอร์ได้เป็นร้อยเป็นพัน ระบบยูสเซอร์บนเครือข่ายจึงเป็นระบบที่ค่อนข้างชัดเจน ผู้ใช้อยู่ที่ใดถ้า login เข้ามาในยูสเซอร์ของตนก็สามารถติดต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ระบบการตั้งชื่อยูสเซอร์จะต้องไม่ซ้ำกัน ในกรณีที่ผู้ใช้อยู่บนเครื่องเดียวกัน

      อินเตอร์เน็ต : อภิมหาเครือข่ายคอมพิวเตอร์

      จากการเชื่อมโยงต่อกันได้อย่างดี ทำให้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เติบโตเดือนละ 20 เปอร์เซนต์ และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างน่าทึ่ง จนคาดว่าในอนาคตการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตจะครอบคลุมได้กับทุกองค์กรทั่วโลก


      ที่มา : ยืน ภู่วรวรรณ วารสารไมโครคอมพิวเตอร์ยูสเซอร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 12 (พฤศจิกายน 2537)

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×