การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง - การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นิยาย การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : Dek-D.com - Writer

    การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    ผู้เข้าชมรวม

    8,734

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    9

    ผู้เข้าชมรวม


    8.73K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  25 ก.พ. 50 / 18:13 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      ::: การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง :::

       

      โครงการสัมมนาเรื่อง การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นโครงการต่อเนื่องจากการทำงานของกลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยโครงการดังกล่าวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนแลกเปลี่ยนทรรศนะและสังเคราะห์องค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ตลอดจนเพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ ซึ่งเป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศอีกด้วย

      ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ การสามารถนำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ความรู้และประสบการณ์ของผู้นำชุมชน ไปใช้ประโยชน์ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อจะได้กำหนดแนวทางการพัฒนาบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ การที่ผู้นำชุมชนได้มีโอกาสพบปะกันยังสามารถเป็นการสร้างและขยายเครือข่ายกลุ่มผู้ปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคอีกด้วย

       

      เศรษฐกิจพอเพียง

      เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

      ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

      เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลก ยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคน ในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

      ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในโอกาสต่างๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

      ๑ ความหมายของ เศรษฐกิจพอเพียง

      ในการค้นหาความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น โดยทั่วไปแล้วสามารถทำได้ ๒ วิธีคือ คิดค้นหาความหมายจากเชิงทฤษฎี (Deductive) หรือ กลั่นกรองความหมายโดยการนำประสบการณ์ที่มีอยู่มาสังเคราะห์ (Inductive) เพื่อถอดออกมาเป็นข้อคิดและหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง การสัมมนาครั้งนี้ได้ถอดความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้วิธีการแบบหลัง คือกลั่นกรองข้อคิดจากประสบการณ์ ของผู้ปฏิบัติจริงในพื้นที่ โดยเชิญผู้นำชุมชนจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับกิจกรรมที่ชุมชนของตนเองทำอยู่ ในส่วนที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แล้วแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ตามความ เข้าใจของแต่ละคน ผ่านประสบการณ์ที่เกิดจากกิจกรรมและแนวทางปฏิบัติในแต่ละชุมชน


      .๑ กิจกรรมในชุมชนที่สอดคล้องกับ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

      ผู้นำชุมชนได้ใช้เวลาทบทวนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำในพื้นที่ของตน โดยเฉพาะกิจกรรมที่เห็นว่าสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยที่ยังไม่มีการกล่าวถึงความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเราสามารถจัดประเภทของกิจกรรมที่ผู้นำชุมชนเสนอได้เป็น ๓ กลุ่มกิจกรรมหลัก ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

      ·       กิจกรรมการผลิต โดยเฉพาะในภาคการเกษตร ที่ไม่ทำลาย สิ่งแวดล้อมแต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่า ด้วยการหมุนเวียนทุนธรรมชาติภายในพื้นที่ และด้วยวิธีการทำเกษตร ที่เน้นปลูกเพื่อกินเองก่อน ที่ผ่านมาชุมชนได้ทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมการทำปุ๋ยชีวภาพ การปลูกผักและข้าวที่ปลอดสารพิษ การทำสวนสมุนไพรของชุมชน การคิดค้นสารไล่แมลงสมุนไพร การทำถ่านชีวภาพ การรวมกลุ่มขยายพันธุ์ปลา การแปรรูปผลผลิตและการทำการ เกษตรผสมผสาน เป็นต้น

      ·       การรวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในชุมชน ด้วยทุนทางสังคมที่มีอยู่ ชุมชนได้รวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากความรักและความเอื้ออาทรของสมาชิกในชุมชน เช่น กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด การนมัสการพระให้มาช่วยสอนจริยธรรมและศีลธรรมในโรงเรียนของชุมชน กิจกรรมการรวมกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านศูนย์การเรียนรู้ หรือโรงเรียนเกษตรกรในหมู่บ้าน การร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในชุมชนทำกิจกรรมต่างๆภายในวัด การจัดตั้งร้านค้าที่เป็นของชุมชนเอง การจัดทำแผนแม่บทชุมชน การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ การรวมกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และกิจกรรมการผลิตของกลุ่มต่างๆ เช่น การรวมกลุ่มทำขนมของแม่บ้าน หรือรวมกลุ่มเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว นอกจากนี้ชุมชน ยังได้ตั้งกองทุนข้าวสารร่วมกับชุมชนอื่นๆในต่างภูมิภาค เพื่อค้าขายหรือผลิตระหว่างกัน รวมทั้งเพื่อการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และขยายผลการพัฒนาไปยังเครือข่ายชุมชนอื่นๆ ด้วย

      ·       กิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม จิตสำนึกท้องถิ่น ส่งเสริมวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนได้ริ่เริ่มกิจกรรม ที่มุ่งปลูกฝังจริยธรรมความดีงามและจิตสำนึกรักท้องถิ่นให้เกิดขึ้นแก่สมาชิกของชุมชน เช่น กิจกรรมที่ปลูกฝังสมาชิกในชุมชนให้มีความเอื้ออาทรต่อกันมากกว่าคำนึงถึงตัวเงินหรือวัตถุเป็นพื้นฐานความสัมพันธ์ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้สมาชิกทำบัญชีอย่างโปร่งใสและสุจริต กิจกรรมการพัฒนาครูในชุมชนให้มีคุณภาพและมีจิตผูกพันกับท้องถิ่นเป็นสำคัญ รวมทั้งกิจกรรมที่ส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนพึ่งตนเองก่อนที่จะพึ่งหรือขอความช่วยเหลือจากคนอื่น

      .๒ ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง จากมุมมองของชุมชน

      หลังจากที่ผู้นำชุมชนได้ทบทวนถึงกิจกรรมที่ตนเองทำอยู่ และคิดว่าสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ผู้นำชุมชน ยังได้ร่วมกันค้นหาความหมายและให้คำนิยามเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากประสบการณ์ของแต่ละคน ซึ่งอาจมีมุมมองที่แตกต่างกัน โดยสามารถสรุปและแบ่งแยกความหมายของหลักปรัชญาดังกล่าว ได้เป็น ๓ ระดับคือ ระดับจิตสำนึก ระดับปฏิบัติ และระดับปฏิเวธ (ผลที่เกิดจาการปฏิบัติ) ดังนี้คือ

      ·       ระดับจิตสำนึก เกิดขึ้นจากการที่สมาชิกในชุมชนแต่ละคนตระหนักถึงความสุขและความพอใจในการใช้ชีวิตอย่างพอดี (ความสันโดษ) และรู้สึกถึงความพอเพียง คือดำเนินชีวิต อย่างสมถะ ประกอบสัมมาอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้อย่างถูกต้อง ไม่ให้อดอยาก หรือโลภแล้วตักตวงหรือเบียดเบียนผู้อื่นจนเกินความจำเป็น แต่คิดเผื่อแผ่แบ่งปันไปยังสมาชิกคนอื่นๆในชุมชนด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าระดับความพอเพียงของสมาชิกแต่ละคนจะไม่เท่าเทียมกัน แต่สมาชิกทุกคนที่ดำเนินชีวิตตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงเห็นสอดคล้องกันในการยึดมั่นหลักการ ๓ ประการ คือ

      􀂋 การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง รู้จักพัฒนาตนเองด้วยการพยายามทำจิตใจให้ผ่องใส รวมทั้งมีความเจริญและมีความเย็นในจิตใจอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

      􀂋 การคิดพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกันในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ คือเมื่อมีปัญหาจากการดำเนินชีวิต ก็ให้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขไป ตามเหตุและปัจจัย ด้วยความสามารถและศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ ก่อนที่จะคิดพึ่งผู้อื่น และมีการปรึกษาหารือ ถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน เป็นต้น

      􀂋 การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักลดกิเลสและลดความต้องการของตนเองลง เพื่อให้เหลือแรงและเวลาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากขึ้น


      ·       ระดับปฏิบัติ จากการที่ได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นให้ผู้นำของแต่ละชุมชนทบทวนกิจกรรมที่ตนเองได้ทำมา พร้อมกับสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความหมายของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามมุมมองของผู้แทนในแต่ละชุมชนว่า มีความเห็นเกี่ยวกับความหมายของหลักปรัชญาดังกล่าวว่าอย่างไร พบว่า ผู้นำชุมชนจากแต่ละพื้นที่ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปเป็นแนวทาง ในการนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในระดับปฏิบัติ ได้เป็น ๔ ขั้นคือ () พึ่งตนเองได้ () อยู่ได้อย่างพอเพียง () อยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร และ () อยู่ดียิ่งขึ้นด้วยการเรียนรู้ โดยแต่ ละขั้นตอนมีรายละเอียด ดังนี้

       

      ขั้นแรก                  สมาชิกในชุมชนควรยึดหลักของการ พึ่งตนเอง คือ ต้องพยายามพึ่งตนเองให้ได้ ในระดับครอบครัวก่อน ให้แต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดีและประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย โดยสมาชิกแต่ละคนจะต้องรู้จักตนเอง เช่น รู้ข้อมูลรายรับ-รายจ่ายในครอบครัวของตนเอง และสามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตนไม่ให้เป็นหนี้ และสมาชิกจะต้องรู้จักดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองออก มาใช้ให้ได้เกิดประโยชน์ที่สุด โดยเฉพาะควรสามารถพึ่งตนเองในเรื่องของปัจจัยสี่ ให้ได้ระดับหนึ่ง


      ขั้นที่สอง               หลังจากที่สมาชิกพึ่งตนเองในด้านปัจจัยสี่ดังกล่าวข้างต้นได้แล้ว สมาชิกทุกคนควรพัฒนาตนเองให้สามารถ อยู่ได้อย่างพอเพียง คือ ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักทางสายกลางมัชฌิมาปฏิปทา ให้ตนเองอยู่ได้อย่างสมดุล คือ มีความสุขที่แท้ โดยไม่ให้รู้สึกขาดแคลนจนต้องเบียดเบียนตนเอง หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดีจนต้องเบียดเบียนผู้อื่นหรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม แต่ให้ดำเนินชีวิตดังที่สมาชิกในภาคเหนือเรียกว่า เป็นดำเนินชีวิตด้วยการทำเกษตรแบบแกงโฮะคือ ให้มุ่งทำเกษตรแบบพออยู่พอกิน ปลูกไว้กินเองก่อน หากเหลือจึงขาย และขยายพันธุ์ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการลงแขกเพื่อเสริมสร้างความ สัมพันธ์ระหว่างสมาชิกแทนการใช้เครื่องจักรเพื่อทุ่นแรง

      ขั้นที่สาม               สมาชิกในชุมชนควรอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร คือ มีความคิดที่จะแจกจ่ายแบ่งปันไปให้ผู้อื่น ซึ่งจะทำให้ได้เพื่อนและเกิดเป็นวัฒนธรรมที่ดี ที่จะช่วยลดความ เห็นแก่ตัวและสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้นในจิตใจ เช่น ในการจัดการทรัพยากรป่านั้น สมาชิกที่อาศัยอยู่บริเวณป่าจะมุ่งเก็บผลผลิตจากป่า เพื่อมาใช้ในการยังชีพให้พออยู่พอกิน พอเหลือจึงค่อยแจกจ่ายออกไปด้วยวิธีให้ไม่ใช่ด้วยวิธีการขาย ซึ่งเมื่อทำได้ดังนี้ก็จะทำให้สมาชิกมีทรัพยากรใช้หมุนเวียนได้ตลอดทั้งปีอย่างพอเพียง


      เพราะเก็บไปเพื่อกิน ไม่ได้เก็บไปขายเพื่อเร่งหาเงิน ซึ่งการมีจิตใจที่แบ่งปันกันนี้จะเป็นพื้นฐานทำให้เกิดการรวมกลุ่มทางสังคม สร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างสมาชิกต่อไป

      ขั้นสุดท้าย            สมาชิกควร อยู่ดียิ่งขึ้นด้วยการเรียนรู้ คือ ต้องรู้จักพัฒนาตนเอง โดยการเรียนรู้จากธรรมชาติและประสบการณ์ในโลกกว้างด้วยตนเองหรือจากการแลกเปลี่ยนร่วมกับผู้อื่น ให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนช่วยกันพัฒนาชีวิตของตนเองและผู้อื่นร่วมกัน มีการสืบทอดและเรียนรู้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนาให้เป็นสังคมที่มั่นคงและยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้คุณธรรมและวัฒนธรรมเป็นตัวนำ ไม่ได้ใช้เงินเป็นตัวตั้ง

      ·       ระดับปฏิเวธ(ผลที่เกิดจากการปฏิบัติ) ความหมายของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากประสบการณ์ที่แลกเปลี่ยนกันนั้น ครอบคลุมไปถึงการวัดผลจากการปฏิบัติตามหลักการข้างต้นด้วย กล่าวคือ สมาชิกในแต่ละชุมชนได้พัฒนาชีวิตของตนเองให้ดีขึ้นโดยเริ่มจากการพัฒนาจิตใจ ให้เกิดความพอเพียงในทุกระดับของการดำเนินชีวิต ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และขยายไปถึงในระดับสังคม ดังนี้


      􀂋 ความพอเพียงในระดับครอบครัว คือ การที่สมาชิกในครอบครัวมีความเป็นอยู่ในลักษณะที่พึ่งพาตนเองได้อย่างมีความสุข ทั้งทางกายและทางใจ สามารถดำเนินชีวิต ได้โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมทั้งไม่เป็นหนี้หรือมีภาระด้านหนี้สินของตนเองและครอบครัว แต่สามารถหาปัจจัย ๔ มาเลี้ยงตนเองได้โดยที่ยังมีเหลือเป็นส่วนออมของครอบครัวด้วย

      􀂋 ความพอเพียงในระดับชุมชน เกิดขึ้นจากการที่สมาชิกจากแต่ละครอบครัวในชุมชนมีความพอเพียงในระดับครอบครัวก่อน ที่จะรู้จักรวมกลุ่มกันทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม เช่นบริหารจัดการปัจจัยต่างๆ เช่น ทรัพยากร ภูมิปัญญา หรือศักยภาพของสมาชิกในท้องถิ่น ที่มีอยู่ให้สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและสมดุล เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่พอเพียงของชุมชนโดยรวมในที่สุด

      􀂋 ความพอเพียงในระดับสังคม เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของชุมชนหลายๆแห่งที่มีความพอเพียง มาร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ สืบทอดภูมิปัญญาและร่วมกันพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชน ให้เกิดเป็นสังคมแห่งความพอเพียงในที่สุด

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×