อภิปราย (เผด็จการ) - อภิปราย (เผด็จการ) นิยาย อภิปราย (เผด็จการ) : Dek-D.com - Writer

    อภิปราย (เผด็จการ)

    ผู้เข้าชมรวม

    6,177

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    6.17K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  25 ก.พ. 50 / 17:58 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      ตอนที่
      4.2 : ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
      เรื่องที่ 4.2.1 : ความหมายของระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
      1. ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ มีความหมายเป็น 2 นัย กล่าวคือ
      (1) เป็นระบอบการปกครองชั่วคราวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปกปักรักษาระบอบการปกครองเดิมที่เผชิญกับวิกฤติการณ์ร้ายแรงในทางสังคม อันอาจเป็นอันตรายต่อสถาบันการเมืองการปกครองที่มีอยู่ในขณะนั้น
      (2) เป็นระบอบการปกครองที่อำนาจปกครองของรัฐบาลไม่ได้มีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนไม่มีโอกาสถอดถอนรัฐบาลซึ่งตนไม่พอใจ และเป็นระบอบการปกครองที่ไม่มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากรัฐบาล
      2. ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ แบ่งตามระบบเศรษฐกิจออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
      (1) การปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
      (2) การปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม


      เรื่องที่ 4.2.2 : ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
      1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยอมให้เอกชนเป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิต และเปิดโอกาสให้เอกชนแข่งขันกันในการประกอบการทางเศรษฐกิจ รัฐจะเข้าแทรกแซงเศรษฐกิจเฉพาะในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
      2. การปกครองแบบเผด็จการ จะเกิดขึ้นเมื่อสังคมของประเทศเกิดวิกฤติ ซึ่งแยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
      (1) วิกฤติการณ์ในสังคม (ความวุ่นวายจากการเรียกร้อง ประท้วง และเดินขบวน)
      (2) วิกฤติการณ์เกี่ยวกับความชอบธรรมแห่งอำนาจการปกครอง (ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ของกลุ่ม
      การเมือง)
      3. การปกครองแบบเผด็จการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
      (1) เผด็จการแบบปฏิวัติ เป็นเผด็จการชนิดพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ กล่าวคือ เป็นเผด็จการที่พยายามเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองแบบใหม่ทั้งหมด เพื่อทดแทนแบบเดิม
      (2) เผด็จการแบบปฏิรูป เป็นเผด็จการแบบอนุรักษ์นิยม กล่าวคือ เป็นเผด็จการที่ไม่ได้มุ่งหมายที่จะนำระบบการเมืองแบบใหม่ทั้งหมด มาทดแทนที่มีอยู่เดิม ยังคงอาศัยพึ่งพากันอยู่
      4. สถาบันการเมืองของระบอบการปกครองแบบเผด็จการ ประกอบด้วย
      (1) กำลังทหาร เพื่อทำหน้าที่คุ้มครองหรือสนับสนุนระบบเผด็จการ
      (2) พรรคการเมืองแบบพรรคเดียว เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดต่อระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ช่วยเผย
      แพร่ความรู้ทางการเมือง โฆษณา ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมือง
      5. วิธีการทำให้ประชาชนยอมรับอำนาจปกครองแบบเผด็จการ มี 2 แนวทาง คือ
      (1) การปราบปราม
      - การปราบปรามประชาชนที่โต้แย้งคัดค้านระบบเผด็จการ จะใช้วิธีการทางกฎหมาย ศาล และ
      ตำรวจ แต่ถ้าต้องการปราบปรามเด็ดขาด จะใช้ตำรวจลับ
      - การกำจัดศัตรูทางการเมือง จะใช้ตำรวจติดตามเฝ้ามองพฤติกรรมต่างๆ ก่อน
      - วิธีการต่างๆ ที่ใช้ปราบปรามคือ การจับกุมคุมขัง การส่งตัวไปกักกันในค่าย การทรมาน และ
      การประหารชีวิต
      (2) การโฆษณาชวนเชื่อ
      - รูปแบบและวิธีการโฆษณาชวนเชื่อขึ้นอยู่กับว่าเป็นเผด็จการแบบไหน
      6. รูปแบบของการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
      (1) การปกครองแบบเผด็จการฟาสซิสม์
      - เป็นการปกครองของประเทศอุตสาหกรรม
      - เป็นการปกครองที่มีพรรคการเมืองพรรคเดียว
      - เป็นการปกครองที่จัดให้มีการโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบทันสมัย
      (2) การปกครองแบบเผด็จการที่อาศัยพรรคการเมืองพรรคเดียว
      - มักเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา
      - มักเป็นเผด็จการแบบอนุรักษ์นิยม
      (3) การปกครองแบบเผด็จการทหาร
      - มักเกิดขึ้นในประเทศด้อยพัฒนา
      - มีทั้งแบบทหารเป็นผู้ปกครอง และแบบทหารอยู่เบื้อหลังให้พลเรือนปกครอง
      7. สถาบันการเมืองการปกครองของเผด็จการแบบฟาสซิสม์ ได้แก่
      (1) พรรคการเมืองแบบพรรคเดียว เป็นเครื่องค้ำจุนการปกครองแบบฟาสซิสม์มากกว่ากองทัพ
      (2) การจัดตั้งสมาคมอาชีพ โดยรวมกิจการประเภทเดียวกันของเอกชนให้องค์กรของรัฐดูแล
      (3) การโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยคำขวัญ สัญลักษณ์ขิงพรรค และภาพผู้นำ ผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ
      (4) การปราบปรามฝ่ายตรงข้าม ด้วยวิธีการรุนแรงและเหี้ยมโหด โดยใช้ตำรวจลับ
      8. คำว่าโฟรบันซิอามิเอ็นโดเป็นระบบเผด็จการที่กองทัพไม่ได้เข้ามามีอำนาจปกครองเอง แต่จะใช้วิธีการสนับสนุนพรรคการเมืองหนึ่งหรือคณะบุคคลพลเรือนหนึ่ง ให้เป็นหัวหน้าปกครองประเทศ
      9. คำว่า เพลโตเลียนหมายถึง เผด็จการทหารที่ทหารเข้ามาปกครองประเทศ โดยมุ่งหวังแต่ผลประโยชน์ของทหารด้วยกัน แทนที่จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน

       

      เรื่องที่ 4.2.3 : ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
      1. ลักษณะสำคัญของประเทศสังคมนิยม ได้แก่
      (1) เป็นสังคมที่เครื่องมือในการผลิตเป็นของส่วนรวม ซึ่งอาจเป็นของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วน
      ท้องถิ่นหรือของสหกรณ์
      (2) เอกชนสามารถประกอบกิจการส่วนตัวได้ แต่การประกอบกิจการนั้นต้องไม่มีความสำคัญต่อ
      ระบบเศรษฐกิจของประเทศ
      (3) ระบบเศรษฐกิจนั้น ยึดถืออุดมการณ์มาร์กซิสม์เป็นสำคัญ
      (4) ใช้อำนาจเผด็จการในการปกครอง โดยมีพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว
      (5) ให้ความสำคัญกับโครงสร้างทางสังคมและอุดมการณ์สังคมนิยม
      2. ลัทธิมาร์กซิสม์ มีความเห็นว่า มนุษย์ยังไม่อาจมีเสรีภาพได้ ตราบใดที่ยังมีเอกชนเป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิต และมีการขูดรีดเอารัดเอาเปรียบระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
      3. อุดมการณ์ของมาร์กซิสม์ในเรื่องรัฐและอำนาจทางการเมือง คล้ายกับอุดมการณ์เสรีนิยม กล่าวคือ รัฐและอำนาจทางการเมือง หมายถึง สิ่งทั้งหลายที่เป็นเครื่องมือในการปกครองในการใช้อำนาจ เช่น กำลังตำรวจ กำลังทหาร ศาล และคุก เป็นต้น
      4. ตามความเห็นของพวกมาร์กซิสม์ ทฤษฎีว่าด้วยรัฐและอำนาจทางการเมือง สามารถเปลี่ยนแปลงพัฒนาได้ ซึ่งมี 3 ขั้นตอน คือ
      (1) รัฐมีฐานะเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจปกครองของชนชั้นหนึ่ง ต่ออีกชนชั้นหนึ่ง
      (2) รัฐมีฐานะเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคม ที่มีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
      (3) รัฐจะหมดสภาพสิ้นสูญไปจากสังคมมนุษย์
      5. ทฤษฎี จาโคแบงค์ถือกันว่าเป็นต้นกำเนิดของทฤษฎีมาร์กซิสม์ ที่ว่าด้วยการใช้อำนาจเผด็จการ มีรายละเอียด ดังนี้
      (1) ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นสมัยปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส
      (2) จาโคแบงค์ คือกลุ่มบุคคลที่ได้อำนาจรัฐเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.1793 ซึ่งตอนนั้นมีกองทัพต่างชาติ
      บุกรุกเข้าประเทศฝรั่งเศสถึง 5 ประเทศ และเขตปกครองต่างๆ ภายในประเทศก็แตกแยก
      (3) จาโคแบงค์ จึงต้องใช้อำนาจเผด็จการในการปกครองประเทศ
      (4) ทฤษฎีจาโคแบงค์ มีหลักการสำคัญ ดังนี้คือ
      - การปกครองแบบเผด็จการต้องเด็ดขาดและแข็งกร้าว เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย
      - การใช้อำนาจเผด็จการ เพียงเพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงนิสัยที่เคยชินของประชาชน
      - เป็นระบบการปกครองแบบเผด็จการชั่วคราวเท่านั้น

       

       

      เรื่องที่ 4.2.4 : รัฐธรรมนูญของประเทศเผด็จการสังคมนิยม
      1. การปกครองของประเทศเผด็จการสังคมนิยม มีส่วนคล้ายและต่างกับประเทศในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย กล่าวคือ
      (1) มีรัฐธรรมนูญ มีบทบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน มีการเลือกตั้งทั่วไป และมีรัฐสภา
      (2) การปกครองโดยการผสมผสานระหว่างสถาบันการเมืองกับการเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว
      (3) การเลือกตั้งทั่วไปนั้นใช้วิธีให้การรับรองผู้สมัครรับการเลือกตั้ง ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจคัดเลือก
      (4) มีรัฐสภาทำหน้าที่ควบคุมและจำกัดอำนาจของฝ่ายรัฐบาล แต่การแบ่งแยกอำนาจนั้น ฝ่ายรัฐบาลจะมีอำนาจกว้างขวางกว่า ส่วนฝ่ายรัฐสภามีอำนาจค่อนข้างจำกัด
      2. สาเหตุที่ต้องให้อำนาจของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า เนื่องจากเหตุผลสำคัญ 3 ประการ
      (1) พรรคคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลครอบงำกลไกต่างๆ ของรัฐ
      (2) กฎหมายจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของจุดมุ่งหมายแห่งการปฏิวัติ
      (3) ความอ่อนแอของรัฐสภา
      3. ลักษณะโดยทั่วไปของประเทศเผด็จการสังคมนิยม ได้แก่
      (1) อำนาจทางการเมืองใช้อยู่ 2 ทางคือ ทางกลไกของพรรคคอมมิวนิสต์ และกลไกของรัฐ
      (2) กลไกของพรรคคอมมิวนิสต์มีอำนาจเหนือกว่ากลไกของรัฐ
      (3) ผู้นำที่แท้จริงคือ ผู้นำพรรค ไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
      (4) รัฐบาลไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากเป็นกรณีที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการปฏิวัติ

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×