สารวัตรนักเรียนเดนนรก ภาคประวัติโครงการจัดหารถถังหลัก T-80UD (เพื่อทดลองใช้งาน) - นิยาย สารวัตรนักเรียนเดนนรก ภาคประวัติโครงการจัดหารถถังหลัก T-80UD (เพื่อทดลองใช้งาน) : Dek-D.com - Writer
×

    สารวัตรนักเรียนเดนนรก ภาคประวัติโครงการจัดหารถถังหลัก T-80UD (เพื่อทดลองใช้งาน)

    โดย AAG_th

    พ.ศ.๒๕๓๕ เหตุก่อความไม่สงบของเยาวชนที่รุนแรง ทำให้กองทัพตั้งหน่วยรบพิเศษสังกัดยุวชนทหารเพื่อคุ้มครองโรงเรียน จนถึง พ.ศ.๒๕๓๗ ผู้ก่อความไม่สงบมีรถถังใช้! พวกเขาจึงต้องการรถถังหลักใหม่สักคันด่วน แต่..

    ผู้เข้าชมรวม

    4,889

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    18

    ผู้เข้าชมรวม


    4.88K

    ความคิดเห็น


    12

    คนติดตาม


    36
    หมวด :  สงคราม
    จำนวนตอน :  24 ตอน (จบแล้ว)
    อัปเดตล่าสุด :  28 ต.ค. 62 / 18:37 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูรายการอีบุ๊กทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    ประวัติโครงการจัดหารถถังหลัก T-80UD (เพื่อทดลองใช้งาน)


    ความเป็นมาของโครงการ

                ยานยนต์สายสรรพาวุธที่เป็นรถรบในอัตราจัดที่ หมู่ลาดตระเวนตอบโต้ฉุกเฉินที่๑๓ กองร้อยยุวชนทหารประจำโรงเรียน A71 ได้รับมอบในเพื่อใช้ภารกิจการลาดตระเวนและคุ้มครองนักเรียน อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ก่อความไม่สงบโดยกลุ่มเด็กเยาวชนติดอาวุธที่เรียกตนเองว่า โอตาคุ เฮฟเวน(Otaku Heaven) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นต้นมานั้นคือ ยานเกราะล้อยางขับเคลื่อนสี่ล้อแบบ V-150 ติดป้อมปืนใหญ่รถถัง Cockerill ขนาด ๙๐ มม. และแท่นยิงปืนกลหนัก ปก.๙๓ M2 ขนาด .๕๐นิ้ว (๑๒.๗x๙๙ มม.)

    แม้ว่ายานเกราะล้อยาง V-150 4x4 ติด ปถ.๙๐ มม.จะเป็นรถรบที่มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูงโดยเฉพาะบนถนนซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการหลัก มีเกราะป้องกันตัวจากอาวุธยิงขนาดเล็กของข้าศึกได้ดี และมีอำนาจการยิงสูงสำหรับการทำลายเป้าหมายกองกำลังติดอาวุธเดินเท้าที่เป็นกลุ่มก้อน ที่มั่นดัดแปลงแข็งแรง และรถยนต์บรรทุกพลเรือนดัดแปลงติดอาวุธ (Technical) ของผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งรถมีประสิทธิภาพและสมรรถนะเป็นที่พึ่งพอใจของผู้ใช้งานก็ตาม

    อย่างไรตามจนถึงปัจจุบัน (พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๗) ยานเกราะ V-150 ดังกล่าวได้อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมเนื่องจากเป็นรถที่เคยผ่านการใช้งานมาแล้วอย่างหนักใน กองพลทหารม้าที่๑ ระหว่างที่กองทัพภาคที่ ๓ ทำสงครามในแนวรบภาคเหนือกับอดีตสหพันธรัฐอินโดจีนที่รุกรานประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๒-๒๕๓๓ ประกอบกับระหว่างการปฏิบัติการรุกเพื่อปราบปรามกลุ่มก่อความไม่สงบในเขตกรุงเทพฯชั้นนอกล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๓๗ ที่ผ่านมา พบว่าข้าศึกได้มีการนำอาวุธสงครามขนาดหนักมาใช้ต่อต้านเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลไทยเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง RPG-7 จนถึงรถถังหลัก T-54 และเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง BM-21 Grad ขนาด ๑๒๒ มม. เป็นต้น

    ยานเกราะ V-150 ติด ปถ.๙๐ มม.ที่ได้รับความเสียหายในปฏิบัติการครั้งนั้นจึงไม่สามารถที่จะรับมือกับภัยคุกคามปรากฎใหม่ที่เกิดขึ้นได้อีกต่อไป ดังนั้นหน่วยผู้ใช้งานจึงพิจารณาว่าจำเป็นที่จะต้องมีการจัดหา รถถังหลัก เพื่อทดแทนความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างเร่งด่วน ทั้งด้านความอยู่รอดในสนามรบ เกราะป้องกัน และอำนาจการยิงที่มากกว่ายานเกราะล้อยาง V-150 ที่มีอยู่เดิม

    การพิจารณาคัดเลือกแบบรถ

                หมู่ ลว. ร้อย.ยวท.ร.ร.A71 ผู้ใช้งานได้กำหนดความต้องการรถถังหลักเพื่อการทดลองใช้งานจำนวน ๑คัน ตามข้อจำกัดด้านงบประมาณและกำลังพล โดยได้พิจารณาแบบรถถังหลัก ๓แบบ ดังนี้

    ๑.รถถังหลัก Leopard 1A5 เยอรมนี เป็น ถ.หลักที่เคยประจำการในกองทัพบกเยอรมนี (Heer) ซึ่งเป็นรถส่วนเกินที่เก็บสำรองสงครามหลังการรวมชาติเยอรมันใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ โดยเป็นรถถังหลักที่ใช้อาวุธมาตรฐาน NATO ที่มีใช้งานในกองทัพบกไทย เช่น ปืนใหญ่รถถัง L7 ขนาด ๑๐๕ มม.

                อย่างไรก็ตามรัฐบาลเยอรมนีมีนโยบายที่จะไม่ขายอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนให้ประเทศที่มีแนวโน้มว่าจะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือเพื่อการทำสงคราม ประกอบกับเยอรมนีมีเงื่อนไขข้อจำกัดที่ไม่สามารถจะขายรถถังเพียงคันเดียวให้ได้ จึงถูกตัดออกไป

                ๒.รถถังหลัก M60A1 สหรัฐฯ เป็น ถ.หลักที่เข้าประจำการกองทัพบกไทย ณ กองพันทหารม้าที่ ๒๐ รักษาพระองค์ฯ กรมทหารม้าที่ ๕ รักษาพระองค์ฯ กองพลทหารม้าที่ ๒ รักษาพระองค์ฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๔ โดยเป็นรถที่เคยประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯ (U.S. Army) มาก่อน ซึ่งใช้อาวุธมาตรฐาน NATO ที่มีใช้งานในกองทัพบกไทย เช่น ปืนใหญ่รถถัง M68 ขนาด ๑๐๕ มม.

                อย่างไรก็ตามเงื่อนไขการขายตามโครงการความช่วยเหลือของรัฐบาลสหรัฐฯไม่สามารถที่จะขายรถถังให้เพียงคันเดียวได้ ประกอบกับกองทัพบกไทยมีงบประมาณจำกัดที่จะต้องใช้ในโครงการจัดหารถถังหลักเพิ่มเติมสำหรับเหล่าทหารม้ากำลังหลักไม่สามารถที่จะแบ่งรถมาให้กับหน่วยได้ จึงถูกตัดออกไป

                ๓.รถถังหลัก T-80UD ยูเครน หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ยูเครนซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศเกิดใหม่ในเครือจักรภพรัฐอิสระได้เป็นเจ้าของโรงงาน Malyshev ในเขต Kharkiv สำหรับสายการผลิตรถถังหลัก T-80UD มีน้ำหนักรถ ๔๖ตัน ใช้เครื่องยนต์ดีเซลแบบ 6TD-1 กำลัง ๑,๐๐๐ แรงม้า สามารถทำความเร็วบนถนนได้สูงสุด ๗๐กิโลเมตรต่อชั่วโมง (มีพื้นฐานจากรถถังหลัก T-80U ที่ประจำการในกองทัพบกรัสเซีย ซึ่งใช้ ย.แก๊สเทอร์ไบน์ GTD-12500 กำลัง ๑,๒๕๐ แรงม้า) โดย T-80 นับเป็นรถถังหลักชั้นยอดที่เคยมีประจำการเฉพาะในกองทัพรถถังของอดีตสหภาพโซเวียตเท่านั้น

    ถ.หลัก T-80UD รหัส Object 478BE เป็นรถถังผลิตใหม่โดยใช้ป้อมปืนเหล็กกล้าและวัสดุผสมแบบเชื่อมทรงห้าเหลี่ยม แทนป้อมปืนแบบหล่อเดิมที่ใช้กับ T-80B (Object 219R), T-80U (Object 219AS) และ T-80UD (Object 478B) มีเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด (Explosive Reactive Armor) แบบ Kontakt-5 และระบบป้องกันเชิงรุก (Active Protection System) แบบ Shtora-1 ระบบอาวุธปืนใหญ่รถถัง 2A46M-1 ขนาด ๑๒๕ มม. พร้อมระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติ สามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบไต่ลำแสงเลเซอร์ 9M119 Refleks ได้ ปืนกลร่วมแกน PKTM ขนาด ๗.๖๒x๕๔R มม. และปืนกลหนักต่อสู้อากาศยาน NSVT ขนาด ๑๒.๗x๑๐๘ มม.

    แม้ว่าระบบอาวุธและอุปกรณ์ประจำรถของรถถังหลัก T-80UD จะเป็นระบบค่ายรัสเซีย แต่กองทัพบกไทยเองก็มีประสบการณ์ในการใช้และจัดหารถถังหลักจากค่ายตะวันออกมาแล้วคือ ถ.หลัก ๓๐ Type 69-II จีนที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๐ ซึ่งใช้ ปก.ร่วมแกน ๗.๖๒ มม. และ ปกน.๑๒.๗ มม. ขนาดเดียวกัน ประกอบกับเมื่อพิจารณาด้านประสิทธิภาพต่อราคาแล้วเห็นว่า ถ.หลัก T-80UD เป็นรถถังผลิตใหม่ มีสมรรถนะการขับเคลื่อน การป้องกัน และระบบอาวุธดีที่สุดในราคาต่อคันที่ตั้งไว้ประมาณ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท โดยทางยูเครนพร้อมที่จะขายรถถังคันเดียวให้ หน่วยผู้ใช้งานจึงเลือก T-80UD

    ข้อสรุป

                หน่วยผู้ใช้งานมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีรถถังหลักเป็นยุทโธปกรณ์ในอัตราจัด จึงหวังว่าทางคณะกรรมการสภานักเรียนจะกรุณาพิจารณาอนุมัติงบประมาณตามที่แจ้งมานี้โดยเร็วที่สุด

     

    จึงเรียนมาเพื่อทราบ

    จ่าสิบเอก อรันต ซาราฮาณี ผู้บังคับการรถ/ผู้บังคับหมู่ลาดตระเวนตอบโต้ฉุกเฉินที่๑๓

    จ่าสิบเอก บัญชา กาจกุญชร พลซุ่มยิง/รองผู้บังคับหมู่ลาดตระเวนตอบโต้ฉุกเฉินที่๑๓

    สิบเอก สุเทพ โภชณาหารนุกูล นายสิบเสนารักษ์ หมู่ลาดตระเวนตอบโต้ฉุกเฉินที่๑๓

    สิบเอก นิพนธ์ แซ่ฉี พลปืนกล หมู่ลาดตระเวนตอบโต้ฉุกเฉินที่๑๓

    สิบโท ชัยวุฒิ บุญสุขเจริญ พลขับ /พลเครื่องยิงลูกระเบิด หมู่ลาดตระเวนตอบโต้ฉุกเฉินที่๑๓

    สิบโท ประพน โนนหิน พลยิง/พลเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง หมู่ลาดตระเวนตอบโต้ฉุกเฉินที่๑๓

    และ สิบตรี ชินกร นาสะอาด พลวิทยุ หมู่ลาดตระเวนตอบโต้ฉุกเฉินที่๑๓

    วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๗

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น