ประวัติ ปาจี๋เฉวียน - ประวัติ ปาจี๋เฉวียน นิยาย ประวัติ ปาจี๋เฉวียน : Dek-D.com - Writer

    ประวัติ ปาจี๋เฉวียน

    ปาจี๋เฉวียน หนึ่งในยอดเพลงมวยแห่งราชวงศ์หมิง

    ผู้เข้าชมรวม

    1,181

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    1.18K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  25 พ.ค. 49 / 15:06 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ประวัติ ปาจี๋เฉวียน

       


      ปาจี๋เฉวียน มีถิ่นกำเนิดในมลฑลเหอเป่ย อำเภอชาง ตำบลตงหนาน ในท้องถิ่นเรียนมวยนี้ว่าปาจื่อเฉวียน

      เนื่องจากทางภาคเหนือของจีนคำว่าปาจื่อออกเสียงเดียวกับคำว่าปาจื่อที่แปลว่าจอบ บางครั้งก็ใช้ปาจื่อเป็นตัวย่อของปาจื่อ(จอบ) เนื่องจากเขียนง่ายกว่า ดังนั้นจริงๆแล้วชื่อเดิมคือปาจื่อเฉวียน(มวยจอบ) และชื่อมวยจอบนั้นชื่อมาจากรูปมือซึ่งการงอนิ้วทำมือเป็นรูปจอบซึ่งใช้ขุดดินทางภาคเหนือ

       

      ในราชวงศ์หมิง แม่ทัพผู้โด่งดัง ชีจี้กวง(ผู้นำทัพปราบญี่ปุ่นทางตอนเหนือของจีนในเวลานั้น)ก็ได้บันทึกในหนังสือจี้เซี่ยวซินซู ถึงปาจื่อเฉวียนไว้อยู่ตอนหนึ่งว่าเป็นมวยที่มีชื่อในเวลานั้น นี่แสดงให้เห็นว่ามวยปาจื่อเฉวียนนั้นมีมาตั้งแต่ราชวงศ์หมิงแล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่ามีขึ้นในราชวงศ์ชิง สมัยคังซี โดยท่านอู๋จงตามที่เล่ากันมา

       

      และเนื่องจากทางภาคเหนือคำว่าปาจื่อ กับปาจี๋ ออกเสียงคล้ายกัน และสมัยก่อนไม่มีการจดบันทึก จึงทำให้เสียงเพี้ยนไป และนอกจากนี้ คำว่าปาจื่อนั้นความหมายไม่เพราะ จึงแก้เป็นปาจี๋เฉวียน(มวยแปดปรมัตถ์) ตามลักษณะแปดท่า แปดทิศทาง แปดส่วน(แปดอวัยวะ)

       

      แต่แท้จริงแล้วปาจื่อเฉวียนเริ่มกำเนิดเมื่อไหร่นั้นไม่ทราบได้ เพราะหลักฐานต่างๆไม่มีแล้ว แต่ในท้องถิ่นสมัยก่อนนั้นมวยนี้เป็นการแสดงศิลปะอย่างหนึ่ง(คล้ายๆงิ้ว) ต่อมาจึงพัฒนาเป็นมวยที่มีชื่อในท้องถิ่น และได้บันทึกไว้ตั้งแต่ราชวงศ์หมิง ดังกล่าว

       

      สมัยก่อนมวยนี้เป็นความลับในท้องถิ่น แต่ต่อมาที่ในชางโจวห่างไป 70 ลี้(35กิโลเมตร) ได้กลายเป็นแหล่งของปาจี๋เฉวียน และยังมีมวยในท้องถิ่นนั้นคือ พิกัวจ่าง ทำให้ผู้ฝึกมวยปาจี๋ฝึกพิกัวด้วย

       

      ในสมัยราชวงศ์ชิง รัชกาลถงจื้อ มลฑลเหอเป่ย อำเภอชาง ตำบลตงหนาน หมู่บ้านจางซา ท่านหลี่ซูเหวินเกิดที่นี่

      ท่านหลี่ซูเหวินมีชื่อรองคือถงเฉิน ครอบครัวมีอาชีพชาวนา ในวัยเด็กได้เรียนมวยกับจินเตี้ยนเซิง โดยได้เรียนปาจี๋เฉวียนกับต้าเชียงซู่(ทวนใหญ่) ที่หมู่บ้านเมิ่ง ต่อมาจึงได้เรียนพิกว่าจ่างด้วย

       

      ท่านหลี่มีความเชี่ยวชาญในจ้างปาลิ่วเหอต้าเชียงมาก(ทวนใหญ่หกประสานยาว 1.8 จ้าง) จนได้รับฉายาว่าเสินเชียงหลี่”(ทวนเทพแซ่หลี่) เคยเดินทางประลองที่มลฑลเหอเป่ย,เหอหนาน,ซานตง ,และทุกๆมลฑลของภาคอีสาน โดยไม่เคยแพ้ใคร คนที่เรียนกับหลี่ซูเหวินมีเยอะมากนับไม่ถ้วน ศิษย์ในนั้นได้แก่ ฮั่วเตี่ยนเก๋อ,ซวี่หลานโจว,เยริ่นกว๋อต้ง,หลิวหู่เฉิน,จางเซียงอู่,น่าอิ้วคุน,หานฮว่าเฉิน,จ้าวซู่เต๋อ,เป่าซื่อหลง,ซวีจื้อชิง,ติงจ้งเจี๋ย,หลิวหวินเฉียว และหลิวซวี่ตง(หลาน อ.หลี่) โดยท่านหลี่นั้นตอนแรกไม่ยอมรับศิษย์ จนถึงวัยกลางคน ท่านได้รับน้ำใจจาก ฮั๋วเตี่ยนเก๋อมากมายจนเกิดความซาบซึ้งจึงยอมรับเป็นศิษย์ ต่อมาฮั่วเตี่ยนเก๋อถูกเสวียนถ่ง(ฟูยี)ฮ่องเต้ เชิญไปยังตงเป่ยเป็นอาจารย์มวย

       

      ท่านหลี่เคยออกเดินทางไปหลายๆที่(เอาตังส์เดินทางมาจากไหนก็ไม่รู้ เหมือนในหนังกำลังภายในเลย) จนเมื่อแก่แล้วจึงเดินทางกลับอำเภอชาง ต่อมาถูกบ้านสกุลหลิวว่าจ้างให้สอนมวยแก่บุตรชาย คือหลิวหวินเฉียว อยู่สิบกว่าปี และท่านหลิวได้เป็นศิษย์คนสุดท้ายของท่านหลี่

       

      ลูกศิษย์ท่านหลี่ ได้แก่ ชวี่หลานโจว,เยริ่นกว๋อต้ง,จางเซียงอู่,หน่าอิ้วคุน,หลิวหู่เฉิน,หลิวซวี่ตง ฯลฯ ล้วนเป็นทหาร หรือแม่ทัพ ได้มีการส่งลูกหลาน หรือทหารลูกน้องมาเรียนกับท่านหลี่ โดย หม่าฟ่งถู,อิงถู,ชางถู สามพี่น้อง เคยเรียนพิกวาจ่าง ต่อมาได้เรียนปาจี๋จากทางสำนักท่านหลี่ เฟิ่งถูเคยเป็นนายอำเภอ ได้เรียนหลายมวย ต่อมาคิดค้นมวยเจี้ยนจงเฉวียนได้ ส่วน อิงถู อยู่นานจิง เผยแพร่ปาจี๋เฉวียนที่ จงยากว๋อซู่กว่าน(สถาบันศิลปะแห่งชาติ) โดยได้เป็นอาจารย์ที่นั่น ส่วนชางถู เป็นทหาร มีเรื่องกับทัพอื่นแล้วตาย หางฮว่าเฉิน,จ้าวซู่เต๋อ เคยเรียนพิกว่าจ่างเหมือนสามพี่น้องสกุลหม่า ต่อมาได้เรียนปาจี๋กับท่านหลี่ซูเหวิน ได้เป็นอาจารย์ที่จงยางกว๋อซู่กว่านกับหม่ายิงถู ซึ่งท่าน

      หลี่หยวนจื้อ ก็เติบโตและเรียนปาจี๋จากทั้งสามท่านจากที่นี่

       

      ที่จงยางกว๋อซู่กว่านนั้น ปาจี๋เฉวียนเป็นวิชาหลักที่ต้องเรียน จึงทำให้ปาจี๋จากภาคเหนือใช้นานจิงเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ไปสู่ทางใต้

       

      ต่อมาท่านหลี่หยวนจื้อได้ลี้ภัยไปไต้หวันตามกว๋อหมินตั่ง และได้สอนทหารที่นั่น

      http://www.xiaochenmen.com/baji_history.html

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×