คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : สำรวจความต้องการของตัวเองว่าต้องการทำ เป็น website ประเภทใด
จริง ๆ เนื้อหานี้ควรจะอยู่รวมกับตอนที่สองแต่ขอแยกออกมา เป็นอีกหัวข้อ
น่าจะเข้าถึงได้ง่ายกว่า
โดยสำหรับเนื้อหาตอนนี้ก็คือ การสำรวจความต้องการของตัวเองว่าเว็บที่จะทำเนี่ย จัดอยู่ในรูปแบบประเภทใด
ซึ่งพอพูดถึงประเภทของเว็บไซท์แล้วเนี่ย เราก็ต้องมองสิ่งสำคัญเป็นหลัก ๆ เลยนั่นคือ
1.เรื่อง interface หรือหน้าตา
2.ประเภทของเว็บว่าเปิดเพื่อจุดประสงใดเช่น ขายของ,หรือเปิดส่วนตัว
มาดูข้อแรกก่อนคือ เว็บไซท์จำพวกที่มี interface สวยงาม?
หากเป็นสมัยก่อนละก็ทุกคนคงได้ยินคำว่าอยากทำเว็บสวย ๆ ก็ต้องพึ่งเจ้าสิ่งที่เรียกว่า flash ในการทำเว็บซะมากทีเดียว โดยปัญหาที่ตามมาของเจ้า flash ที่พบบ่อยสุดก็คือขนาดของไฟล์ที่ใหญ่โข และจะหาคนมาทำแฟรชเก่ง ๆ ก็ไม่ค่อยไม่หรือไม่ถ้ามีก็คิดแพง หรือครั้นจะทำเองก็ติดที่ว่าหนังสือที่ขายทั่วไปตามท้องตลาดมันสอนแค่ทำเคลื่อนไหวไปมา ไม่ก็อย่างมากไม่ได้สอนวิธีเขียนสคริปเพื่อสั่งงาน วัตถุในโปรแกรมแฟรชให้ได้ลูกเล่นตามต้องการ
โดยปัญหาถัดมาของการพึ่งโปรแกรม flash ในการทำหน้าเว็บก็คือ search engine ต่าง ๆ มิสามารถอ่านข้อมูลในโปรแกรมแฟรชได้ ด้วยเหตุนี้เว็บหลาย ๆ เว็บที่ทำด้วยโปรแกรมแฟรชจึงไม่ค่อยมีหน้ามีตา หรือติดโผโผล่อยู่หน้าแรก ๆ ของกูเกิ้ลสักเท่าไร
ซึ่งในปัจจุบัน( บทความนี้เขียนตอน ธ.ค. ปี 2554 ) ผู้ที่ทำเว็บหลาย ๆ คนก็หันมาใช้ javascript มันมากขึ้น โดยหลาย ๆ คนนิยมใช้โค้ดสำเร็จรูปที่เป็นตัวช่วยอย่าง jqurey ในการสนองความต้องการ ของการทำภาพเคลื่อนไหว,สไลด์โชว์ หรือเอฟเฟกบางอย่างในการสร้างเว็บ ซึ่งวิธีทำก็ไม่ยุ่งยากมากเพราะส่วนมากก็จะมีคนใจดีเขียนโค้ดแจกไว้เป็นตัวอย่างกันอย่างมากโข
โดยข้อดีของการใช้ jquery นี้ ก็คือมันไม่ต้องพึ่ง flash ในการทำ effect ให้เว็บดูวูบวาบ ๆ ในหลาย ๆ อย่างนั่นแหละ ทั้งนี้เนื่องจากมันเป็นโค้ดที่ search engineer สามารถเข้าถึงเพื่อดึงข้อมูลได้ เพราะฉะนั้นเลยไม่ต้องเป็นกังวลเรื่อง ข้อมูลในหน้าเว็บเราจะไม่ขึ้นไปแสดงกับ search engineer ชื่อดังต่าง ๆ เช่น google.com
มาถึงตอนนี้อาจจะคิดว่าตัวเว็บแค่ไม่ต้องทำเป็นแฟรชก็พอสินะ?
อันนี้ยังไม่ใช่ประเด็น คือจริง ๆ แฟรชก็สามารถเขียนโดยใช้เทคนิคนิดหน่อยเช่นให้มันดึงข้อมูลตัวหนังสือผ่าน xml ซึ่งตัว search engineer ก็จะสามารถอ่านข้อมูล (ตัวอักษร) ต่าง ๆ ที่ขึ้นแสดงอยู่ใน flash ที่ทำได้ แต่ปัญหาหลัก ๆ ก็คือมันยุ่งยากพอควร ( แต่ถ้าคุณลองศึกษาและถนัดแฟรชจริง ๆ ล่ะก็จะรู้สึกว่ามันสนุกมาก?)
มีบางคนก็ยังมีความเข้าใจผิด ๆ โดยเฉพาะคนที่ทำเว็บร้านค้าขายของที่ชอบ crop ภาพจาก brochure มาแปะลงโฆษณาบนเว็บเลยโดย แล้วก็จะมางงทีหลังหว่า ทำไมหาสินค้าตัวเองใน google แล้วไม่เห็นเจอ ทั้ง ๆ ที่ตัวหนังสือในภาพออกจะใหญ่โต แต่ก็เห็นเว็บอื่นนเขาทำกัน ทำไมเวลาค้นสินค้าแล้ว มันเจอชื่อสินค้าของเค้า
เรื่องนี้ผู้ที่ไม่เคยข้องเกี่ยวกับการทำเว็บก็อาจจะแยกไม่ออกว่า อะไรคือตัวหนังสือจริง ๆ แล้วอันไหนเป็นภาพ
เนื่องจากหลาย ๆ เว็บต้องการความสวยงามจึงได้มีการใช้ ตัวช่วยสำหรับ แปลงตัวหนังสือเป็นรูปภาพ ( โดยให้เข้าใจว่าก่อน load ข้อมูลในแต่ละหน้านั้น เว็บจะทำการส่งค่าต่าง ๆ มาเป็นตัวหนังสือ แล้วพอสคริปที่โปรแกรมเม่อเขียนไว้ทำงานมันก็จะกลายเป็นรุปภาพทันที) ซึ่งจริง ๆ แล้ว นักพัฒนาเว็บรุ่นใหม่ ๆ มักจะทำเว็บเพื่อเน้นให้ขอมูลในเว็บง่ายต่อการ ค้นหาจาก bot ของ search engine ต่าง ๆ
แล้วถ้าตัดรูปภาพเป็นชิ้น มาประกอบเป็นเว็บจาก photoshop หรือโปรแกรมมออกแบบอาร์ตอื่น ๆ ล่ะ?
ส่วนมากโปรแกรมสำหรับออกแบบ เหล่านี้แม้จะมี feature ที่สามารถสร้างเว็บได้ แต่ว่ามันจะมีผลในการแก้ไขระยะยาว ( ระยะสั้นก็เริ่มมีแล้ว ) และส่วนมากก็จะเซฟข้อมูลตัวหนังสือออกมาเป็นรูปภาพด้วยซึ่ง อาจเสียเวลาตอนแก้ไขหรือไม่ก็เป็นปันหากับการมีข้อมูลแสดงอยู่ใน search engine
กลับมาเรื่องอินเตอเฟสต่อ
สำหรับการดีไซน์เว็บ
หากคุณเป็นคนดีไซน์เว็บ ปัจจุบันสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหลัก ๆ ก็ไม่มีอะไรมาก ซึ่งนั่นขึ้นอยู่กับความต้องการของตัวคุณและความสามารถของคนทำเว็บ ( ว่าจะสนองความต้องการที่บรรเจิดนั้นได้หรือเปล่า ) แต่ส่วนมากการดีไซน์ก็เน้นสามอย่างหลัก ๆ ขึ้นว่าจะเลือกไปทางไหน โดยมีดังนี้
1.เน้นสวยงามไม่สนใจว่าจะติด top ของผลการค้นหาใน google หรือไม่
2.ออกแบบมาเพื่อให้ติด top ของ google ง่าย ๆ
ขขข ตาลาย.... ค่อยมาเขียนต่อ
ความคิดเห็น