ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มาทำ WEBSITE หรือ HOMEPAGE ของตัวเองกันเถอะ !

    ลำดับตอนที่ #2 : วางแผนและทำความเข้าใจกับขั้นตอนรวมถึงรายจ่ายต่าง ๆ

    • อัปเดตล่าสุด 10 ธ.ค. 54


    ในตอนนี้จะกล่าวถึงเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้นะครับ
    - ราคาและรายจ่ายคร่าว ๆ
    - หลักการทำงานและกรณีที่ต้องการจ้างคนมาทำงาน
    - การศึกษาและทำความเข้าใจการทำเว็บเบื้องต้น





    มาถึงตอนนี้บางท่านที่เริ่มสนใจการมีเว็บไซท์เป็นของตัวเองอาจจะเริ่มรวบรวมข้อมูลแล้วว่าต้องสนใจอะไรบ้าง
    ( ปล.ยังไงก็ขออภัยที่บทแรกกับบทสองมันห่างกันครึ่งปีเชียว เพราะว่าคนเขียนงานยุ่งนะ แต่น้ำท่วมเลยว่าง ฮา ๆ )
    โดยจากปัญหาที่เคยเจอมาสำหรับการทำเว็บไซท์ส่วนมากมักมีปัญหาดังนี้
    - เรื่องของการ Design
    - เรื่องของการเขียนโปรแกรมให้มันรองรับกับ Design หรือความต้องการ
    - ระยะเวลาและงบประมาณ


    บางท่านอาจคิดว่า ก็ไม่ได้ไปจ้างใครทำนี่ ทำไมต้องใส่ใจปัญหาพวกนี้ด้วย?
    อันนี้ขอตอบว่า สำหรับปัญหาที่ยกมานั้นเป็นเรื่องสำคัญจริง ๆ เนื่องจากการทำงานทุกอย่างมันจำเป็นต้องนึกภาพรวมให้ได้ก่อนว่างานที่เราต้องการมันมีจุดที่พึงพอใจระดับไหน
    ( เหมือนกับคำว่าประสพความสำเร็จ ที่เราต้องตั้งเป้าไว้ว่าคำว่าประสพความสำเร็จที่เราต้องการนี่ต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง )
    ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนเลยอยากแนะนำให้ลองตีกรอบเรื่องทำเว็บไซท์ และนึกภาพรวมว่าเว็บที่จะทำมีความต้องการอะไรบ้าง
    เพราะว่ายังไงซะการวางแผนก่อนทำอะไรก็เป็นเรื่องที่ดีกว่าการมั่วไปเรื่อยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์นะแหละ


    เริ่มด้วยระยะเวลา
    สำหรับการทำเว็บไซท์ส่วนมาก เจอปัญหาเยอะที่สุดก็คือมันเกินขอบระยะเวลา ซึ่งเหตุผลมันก็มาด้วยหลาย ๆ เรื่องเช่นกันว่า
    - ระหว่างทำไปต้องการโน่นนี้เพิ่มบ้างล่ะ
    - ที่จินตนาการและต้องการนั้นมันเกินความสามารถจนต้องใช้เวลาศึกษานานหน่อยบ้างล่ะ

    งบประมาณ
    อันนี้คงเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่จ้างคนอื่นทำ เพราะไม่รู้จะอยู่ที่ราคาเท่าไรถึงจะดี โดยส่วนมากก็มักจะเลือกราคาที่ถูกที่สุดไว้ก่อนเพื่อประหยัดงบ แต่เรื่องนี้ผู้เขียนแนะนำว่าถ้าจ้างให้ทำเว็บนี่ควรดูความต้องการของตัวเองเป็นหลักก่อน แล้วค่อยหาจ้างผู้ให้บริการทำเว็บไซท์ จะช่วยให้งบไม่บานปลายได้ดีกว่า ซึ่งคำถามถัดมาคือแล้วรูปแบบเว็บที่ต้องการนี่จะรู้ได้ไงว่าราคามันอยู่ที่เท่าไร?

    โดยเรื่องราคานี่จริง ๆ คงต้องทำการตกลงหรือคุยอย่างละเอียดกับผู้รับทำอีกทีนึง
    ซึ่งส่วนมากปัจจุบันผู้ให้บริการHosting(ให้เช่าพื้นที่ทำฝากเว็บ) ส่วนมากจะมีบริการทำเว็บไซท์อยู่ด้วย
    โดยบางที่อาจเป็นแพกเกจรวมมากับ host เลย ซึ่งราคาอยู่ที่ประมาณ 800-4500 ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับโปรโมชั่น)
     โดยตัวเว็บไซท์ส่วนมากก็จะเป็น สคริปหรือโปรแกรมสร้างเว็บสำเร็จรูปที่มีการพัฒนาและแจกจ่ายกันตามอินเทอร์เนตมาสร้างเป็นหน้าเว็บให้ใช้ หรือไม่ก็โค้ดที่ทางผู้ให้บริการดัดแปลง/จัดทำขึ้นมา ให้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเปิดเว็บไซท์บางประเภท

    ทีนี้มาดูความต้องการขอบเว็บกันก่อน (ก่อนที่จะพาออกทะเลไปไกล)
            ความต้องการของเว็บหลัก ๆ ที่ต้องคำนึงก็คือ ลูกเล่น, การนำเสนอที่ดูวูบวาบวิ๊งวับให้น่าสนใจต่าง ๆ รวมไปถึง บริการต่าง ๆ ภายในเว็บไซท์ด้วยเช่น บริการฝากข้อความลงเว็บไซท์ ( webbord,guestbook,postbox,messagebox ) ,บริการส่ง e-mail ผ่านหน้าเว็บไซท์มายังบริษัท โดยแนะนำให้จดความต้องการเหล่านี้ลงกระดาษหรือที่ไหนซักที่ก่อน หรือจด url ของเว็บที่มีลูกเล่นที่ต้องการเก็บไว้ก็ดี อันนี้เวลาอธิบายให้คนอื่นฟังจะได้เข้าใจได้ง่าย ๆ
    จากนั้นเมื่อจดสิ่งที่นึกได้จนหมดแล้ว ขั้นตอนถัดมาก็คือการดูว่าอันไหนทำได้บ้าง ( หรือคนที่เราจ้างทำเขาทำได้รึเปล่า )

    หลังจากที่ list ความต้องการของเว็บมาแล้ว
    กรณีที่ทำเอง(กรณีพอเขียนโค้ดเป็นบ้างแล้ว)
    - ดูแล้วแบ่งว่าอันไหนพอทำได้อันไหนยังทำไม่ได้
    - จัดตารางเวลาหรือกำหนดการแล้วเสร็จในแต่ล่ะส่วนงานว่าควรทำเสร็จเมื่อไร


    กรณีที่จ้างคนอื่นทำ
    - ให้คุยกับผูรับจ้างว่าสามารถทำได้หรือไม่แล้วแต่ละย่างใช้เวลาในการทำเท่าไร
    - คุยเรื่องราคาด้วยเพราะบางอย่างที่เราต้องการ ( ที่มีลูกเล่นมากเกิน ) อาจมีราคาในการทำแพงตามไปด้วย
      ( *บางอย่างลูกเล่นยิ่งมากก็ยิ่ง(ยุ่ง)ยาก อาจทำให้เสียเวลาเขียนมากขึ้น )


    *รู้จักเสตปการทำงานสักนิด เขาแบ่งการทำงานกันยังไงเวลาทำเว็บ
    1.เขียนภาพรวมว่ามีหน้าอะไรบ้าง โดยใจแต่ละหน้ามีลูกเล่นอะไร
    2.คนเขียนภาพรวมมาปรึกษากับคนเขียนโค้ดหรือโปรแกรมมิ่งว่าทำได้แค่ไหน
    3.เป็นขั้นตอนที่คนทำหน้าที่ design จะรับหน้าที่ จับยัดสิ่งต่าง ๆ ที่คนในข้อ 1 คิดไว้ให้มันลงตัวและเป็นหน้าเว็บที่สวยงาม
    4.คนดีไซน์ส่ง disign ให้คนเขียน code ทำการขึ้นโครงเว็บและเขียนโค้ดให้ใช้ได้ตามนั้น
    5.คนเขียนโปรแกรมมิ่งเอาให้คนในข้อ 1 ดูว่าใช่ที่ต้องการรึเปล่า

    โดยหลังจากที่เราได้จดสิ่งที่เราต้องการแล้วก็จะเริ่มเห็นภาพรวมแล้วละครับว่าเว็บไซท์ที่ต้องการทำนั้น
    อยู่ในประเภทใหนและมีความยุ่งยากในการจัดทำแค่ไหน




    กลับมาพูดถึงเรื่องราคากันต่อ
    เกี่ยวกับการจ้างทำเว็บนี่ เมื่อก่อนหลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินว่าจ้างทำเว็บสักเว็บมีราคาค่อนข้างแพงบางเว็บก็ 10,000 หรือ 20,000 ไม่ก็ 50,000 เลยก็มี แต่พอมาเดียวนี้ผู้ที่มาศึกษาเรื่องการทำเว็บใหม่ ๆ จะคิดว่ามันจริงเหรอ? ที่แพงขนาดนั้นเห็นเพื่อนทำเว็บบริษัทกับเว็บส่วนตัวยังเสียไม่ถึง 5,000 เลย

    เรื่องนี้ต้องขอพูดเกี่ยวกับการตีราคาของเว็บก่อนครับ
    เนื่องด้วยปัจจุบันผู้ให้บริการส่วนมากหันมาใช้ ฟรีสคริป ที่มีการแจกจ่ายกันตามอินเตอร์เน็ทมาให้บริการลูกค้าที่ต้องการเปิดเว็บเป็นของตัวเอง เว็บที่เปิดส่วนมากที่เข้าข่ายประเภทนี้จึงมีราคาค่อนข้างถูก (เพราะต้นทุนมาถูกกับเสียเวลาทำน้อยไง)
    แต่ในเรื่องนี้ก็ขอแนะนำว่าไม่ใช่ทุกรายหรอกนะครับที่แก้ไขโค้ดให้ตัวเว็บพลิกแพลงตาม order ที่เราต้องการได้ ( หลาย ๆคนที่เป็นผู้ให้บริการก็รู้แค่ว่าเปิดเว็บสร้าง account ให้ใช้งานได้ยังไงเท่านั้น พอถามให้จัดการอะไรหลาย ๆ อย่างก็เริ่มทำไม่ได้แล้ว )
    *นี่เป็นปัญหาปัจจุบันทีพบกันโดยมากนะครับระวังไว้ให้ดี เพราะเวลาเว็บมีปัญหาขึ้นมาเขาจะหายต๋อมเข้ากอไผ่ไปเลย ( ไม่ก็ปิดโทรสับหนีเปลี่ยนเบอร์ เป็นกันมาก)

    กลับมาเข้าเรื่องต่อ..
    การตีราคาของเว็บก็ไม่มีอะไรมาก คือหลังจากที่เราเขียนสิ่งที่เราต้องการแล้ว แล้วก็เริ่มดูจาก บริการที่ผู้ให้บริการเว็บไซท์นั้นมีให้ว่ามีลุกเล่นตรงกับที่เราต้องการหรือเปล่า (เช่นเว็บบอร์ดตอบคำถาม หน้าสำหรับส่งอีเมล,ดูแผนที่บริษัท, ตะกร้าขายสินค้า,หน้าแสดงสินค้า,หรือซื้อสินค้าออนไลน์ได้) ซึ่งถ้าผู้ให้บริการเปิดเว็บไซท์มีบริการเหล่านี้รองรับอยู่ใน script หรือ code ที่เขาทำไว้ล่ะก็ราคาคงขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นที่ผู้ให้บริการได้วางเอาไว้ ซึ่งส่วนมากราคาไม่แพง (ไม่เกิน 4,500-7,000
    บาท ถ้าเกินนี้แสดงว่ากำลังจะโดนฟันคอขาด หรือไม่แน่ก็ไปจ้างทำอะไรเพิ่มเอง)

    แล้วพวกเว็บแพง ๆ ล่ะที่เป็น หมื่นขึ้นนี้มันแตกต่างอย่างไรบ้าง
    เว็บส่วนมากที่มีการจ้างทำแพง ๆ นั้นเป็นเพราะมีระบบเฉพาะตัว เช่นหน้าแสดงสินค้าที่แตกต่างออกไปหรือมีรูปแบบเป็นของตัวเอง ไม่ก็มีการจ้างทำส่วนต่าง ๆ เพิ่มขึ้นโดยแต่ละส่วนนั้นมีความยากเฉพาะตัวและเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นเองไม่สามารถหาโค้ดฟรีมาแก้ไขได้ ยกตัวอยางเว็บที่จำเป็นต้องจ้างทำเช่น dek-d.com,sanook.com,facebook.com,hotmail.com โดยจะสังเกตุได้ว่าเว็บจำพวกนี้มีรูปแบบการใช้งานเฉพาะตัว และในแต่ละหน้าก็จะมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่แยกย่อยออกไป โดยจำเป็นต้องมีผู้มีความรู้ในการพัฒนาเฉพาะด้าน (โดยในแต่ละด้านก็ราคาไม่เท่ากันอีก)
    ยกตัวอย่างเช่น
    ถ้าเว็บ dek-d.com พัฒนาด้วยภาษา php ค่าพัฒนาอาจมีมูลค่าประมาณ 50,000 บาท
    แต่ถ้าเว็บ dek-d.com ถูกพัฒนาด้วยภาษา java/asp ค่าพัฒนาอาจมีมูลค่าสูงถึง 100,000 บาท
    โดยตัวอย่างที่ยกมาอาจพอสังเกตได้ว่า พอมาเขียนด้วย asp แล้วราคาในการพัฒนายิ่งสูงขึ้นไปอีก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยเช่น การที่มีผู้มีความรู้ด้านภาษานี้น้อยและการที่เขียนด้วย asp สามารถรองรับลูกเล่นอะไรได้มากกว่าหลายอย่าง
    *ทั้งนี้ การเลือกใช้ภาษาในการเขียนขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้เขียนด้วยเช่นกัน โดยส่วนมากจะถนัดไปคนละทางถึงแม้วิธีการเขียนจะคล้าย ๆ กัน (บางคนเขียนได้ภาษาเดียวก็มี)




    ( ขอพักไว้เท่านีก่อนคนเขียนตาลาย ไปแปลซับหน้งต่อก่อนละ..)
    ปล.แล้วจะมาเรียบเรียงใหม่อีกที

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×