ลำดับตอนที่ #6
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : 6. วิธีการเป่าขลุ่ย
6. วิธีการเป่าขลุ่ย
วิธีเป่าขลุ่ย ใช้ริมฝีปากแตะเลาขลุ่ย ใช้ลมตรงจากปอด และลมที่มาจากกระพุ้งแก้ม ในลักษณะเหมือนผิวปาก ขณะเป่าลมเข้าไปในรูเป่า นิ้วมือทั้งสองข้าง จะกดรูให้มิด เสียงขลุ่ยจะดังออกมาตามระดับเสียง มีลักษณะที่เป่าเป็นพื้นฐานดังนี้
1. การเป่าตอด คือการใช้ลมเป่าตัดที่เป็นช่วงๆไปตามหน่วยเสียงที่ต้องการ
2. การเป่าลมเปล่า คือคือการใช้ลมเป่าเข้าไปในลักษณะยาว เบา แรง หรือหยุดเสียง
3. การเป่าเก็บ คือการเป่าที่มีพยางค์ถี่ติดกันโดยตลอด จนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่เรียกว่า" ทางขลุ่ย "
4. การเป่าเสียงโหยหวน คือการเป่าที่มีเสียงยาวๆ ลดเลื่อนระดับเชื่อมโยงกับเสียงอื่นๆได้อย่างสนิทสนม โดยการใช้ลมและนิ้วบังคับเพื่อให้เสียงต่อเนื่องระหว่างสองเสียง เช่น เสียงคู่สาม คู่ห้า ซึ่งเป็นเสียงที่มีความกลมกลืนกันมากเท่ากับเสียงโดและเสียงซอล เป็นต้น
5. การเป่าตอด คือการเป่าที่ใช้ลิ้นตัดลมเป็นช่วงๆ ไปตามหน่วยเสียงที่ต้องการ
6. การเป่าพรมหรือการเป่าเสียงรัว คือการเป่าให้มีพยางค์ถี่ๆโดยการ ปิดเปิดรูเร็วๆ
7. การเป่าปริบหรือการเป่าเสียงสั่น คือการเป่าบังคับลม และนิ้วให้เกิดเสียงสั่น ในลักษณะสั้น หรือการเป่าที่ต้องบังคับลมให้ออกมาเป็นช่วงๆ ให้ลมทยอยออกมาถี่ๆหรือห่างๆตามต้องการที่จะทำให้เกิดเสียงคล้ายคลื่นตามอารมณ์ของเพลง
8. การเป่าครั่น คือการเป่าที่ทำให้เสียงสะดุด หรือสั่นสะเทือน ด้วยการบังคับลมให้สะเทือนมาจากลำคอ เช่นเดียวกับครั่นในการร้อง
9. การเป่าเสียงเอื้อน คือ การใช้นิ้วค่อยๆ เปิดบังคับลมให้เสียงขลุ่ยโรยจากหนักไปเบาหรือจากเบาไปหนักที่เสียงใดเสียงหนึ่ง
10. การหยุดหรือการชะงักลม การเป่าขลุ่ยบางจังหวะควรมีการหยุด การเบา การเน้นเสียงบ้าง เพื่อให้เพลงเกิดความไพเราะมากขึ้น
วิธีเป่าขลุ่ย ใช้ริมฝีปากแตะเลาขลุ่ย ใช้ลมตรงจากปอด และลมที่มาจากกระพุ้งแก้ม ในลักษณะเหมือนผิวปาก ขณะเป่าลมเข้าไปในรูเป่า นิ้วมือทั้งสองข้าง จะกดรูให้มิด เสียงขลุ่ยจะดังออกมาตามระดับเสียง มีลักษณะที่เป่าเป็นพื้นฐานดังนี้
1. การเป่าตอด คือการใช้ลมเป่าตัดที่เป็นช่วงๆไปตามหน่วยเสียงที่ต้องการ
2. การเป่าลมเปล่า คือคือการใช้ลมเป่าเข้าไปในลักษณะยาว เบา แรง หรือหยุดเสียง
3. การเป่าเก็บ คือการเป่าที่มีพยางค์ถี่ติดกันโดยตลอด จนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่เรียกว่า" ทางขลุ่ย "
4. การเป่าเสียงโหยหวน คือการเป่าที่มีเสียงยาวๆ ลดเลื่อนระดับเชื่อมโยงกับเสียงอื่นๆได้อย่างสนิทสนม โดยการใช้ลมและนิ้วบังคับเพื่อให้เสียงต่อเนื่องระหว่างสองเสียง เช่น เสียงคู่สาม คู่ห้า ซึ่งเป็นเสียงที่มีความกลมกลืนกันมากเท่ากับเสียงโดและเสียงซอล เป็นต้น
5. การเป่าตอด คือการเป่าที่ใช้ลิ้นตัดลมเป็นช่วงๆ ไปตามหน่วยเสียงที่ต้องการ
6. การเป่าพรมหรือการเป่าเสียงรัว คือการเป่าให้มีพยางค์ถี่ๆโดยการ ปิดเปิดรูเร็วๆ
7. การเป่าปริบหรือการเป่าเสียงสั่น คือการเป่าบังคับลม และนิ้วให้เกิดเสียงสั่น ในลักษณะสั้น หรือการเป่าที่ต้องบังคับลมให้ออกมาเป็นช่วงๆ ให้ลมทยอยออกมาถี่ๆหรือห่างๆตามต้องการที่จะทำให้เกิดเสียงคล้ายคลื่นตามอารมณ์ของเพลง
8. การเป่าครั่น คือการเป่าที่ทำให้เสียงสะดุด หรือสั่นสะเทือน ด้วยการบังคับลมให้สะเทือนมาจากลำคอ เช่นเดียวกับครั่นในการร้อง
9. การเป่าเสียงเอื้อน คือ การใช้นิ้วค่อยๆ เปิดบังคับลมให้เสียงขลุ่ยโรยจากหนักไปเบาหรือจากเบาไปหนักที่เสียงใดเสียงหนึ่ง
10. การหยุดหรือการชะงักลม การเป่าขลุ่ยบางจังหวะควรมีการหยุด การเบา การเน้นเสียงบ้าง เพื่อให้เพลงเกิดความไพเราะมากขึ้น
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น