ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับขลุ่ย

    ลำดับตอนที่ #5 : 5. หลักการเป่าขลุ่ย

    • อัปเดตล่าสุด 31 มี.ค. 54


    5. หลักการเป่าขลุ่ย

            การเล่นเครื่องดนตรีของไทยทุกชนิด นักดนตรีต้องสำรวมกิริยามารยาท ปฎิบัติให้เรียบร้อยให้ความเคารพต่อครูบาอาจารย์ เครื่องดนตรีผู้ฟัง ตลอดจนนักดนตรีด้วยกันเอง การนั่งเป่าขลุ่ยหรือปี่ ต้องนั่งตัวตรงเพื่อให้ลมเดินสะดวก ถ้านั่งกับพื้นควรนั่งพับเพียบ 

             ท่าจับ    การจับขลุ่ยหรือปี่นั้น แต่โบราณมาจะจับเอามือฃวาอยู่ข้างบนมือซ้าย ซึ่งสันนิษฐานว่าคนส่วนใหญ่ถนัดการใช้มือขวามากกว่ามือซ้าย การเป่าขลุ่ยหรือปี่ มือที่อยู่ด้านบนจะใช้มากกว่ามือที่อยู่ด้านล่าง ในการจับจึงควรจับมือขวาอยู่ด้านบน แต่ถ้าถนัดมือซ้ายก็ไม่ผิดแต่อย่างได้ แต่ก็ควรคำนึงถึงเอกลักษณ์ไว้บ้าง 

            ท่านั่ง     สำหรับที่นั่งของขลุ่ยในการบรรเลงในวงนั้น ถ้าเป็นวงปี่พาทย์ไม้นวม ควรนั่งด้านขวาของฆ้องใหญ่ เพราะฆ้องใหญ่เป็นหลักของวง เครื่องดนตรีอื่นควรนั่งอยู่รอบ ๆ ถ้าเป็นวงอื่น เช่น วงเครื่องสาย ควรนั่งข้างซอด้วง วงมโหรีก็ควรนั่งข้างซอด้วงเข่นกัน แต่ถ้ามีขลุ่ยหลิบก็อาจแยกกันได้ โดยปกติไม่ควรนั่งข้างซออู้ เพราะซออู้เสียงดัง สีตบหน้าตบหลัง ที่นั่งของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด จะมีอิทธิพลต่อเสียงรวมที่ออกมามาก ถ้านั่งที่ไม่เหมาะสมเสียงดนตรีรวมจะไม่ดีเท่าที่ควร อีกประการหนึ่งการนั่งที่เป็นหลักแหล่งของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด จะทำให้ผู้ดูสามารถรู้ว่าที่ตรงนั้น เป็นเครื่องดนตรีอะไร เพราะบางทีอยู่ไกลไม่สามารถมองเห็นเครื่องดนตรีที่เล่น 
            
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×