คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : การแต่งนิยาย กับ หลักภาษาไทย (จาลิลา Theory) [1 - END]
เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วค่ะ เพียงแต่แกล้งลืมกันไป ว่าการแต่งนิยายจำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้ความสามารถเรื่องหลักภาษาเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญด้วย
เวลาที่เราไปวิจารณ์เรื่องแล้วมีการติติง และอ้างอิงหลักภาษาที่เป็นหลักพื้นฐาน ก็มักจะมีนักเขียนหลายๆท่านกลับมาถามว่า จำเป็นด้วยหรือที่จะต้องใช้หลักภาษา ซึ่งนั่นทำให้เราถึงกับพูดไม่ออกกันเลยทีเดียว แต่งนิยายด้วยภาษาไทย แต่จะไม่ใช้หลักภาษาไทยในการแต่ง คุณจะใช้หลักภาษาฝรั่งเศสเหรอคะ...เจ๊อยากร้องไห้!
แต่เอาเถอะ ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่ บทความนี้เจ๊ก็ตั้งใจจะอธิบายถึงความเกี่ยวโยงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ของหลักภาษาไทย กับการแต่งนิยายค่ะ ว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร
เริ่มจากหลักพื้นฐานที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ก่อนเลยนะคะ ว่าหลักการสื่อสาร ประกอบไปด้วย สามสิ่งด้วยกัน คือ ผู้ส่งสาร สาร และผู้รับสาร และในที่นี้...
ผู้ส่งสาร = นักเขียน
สาร = นิยาย
ผู้รับสาร = นักอ่าน
หลัก หมายถึง สาระที่มั่นคง
ภาษา หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน
สาระ หมายถึง ส่วนสำคัญ, ข้อใหญ่ใจความ
ดังนั้น หลักภาษา คือ ส่วนสำคัญ,ข้อใหญ่ใจความที่มั่นคง ของถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความ ของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
การสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถเข้าใจตรงกันได้นั้น สารนั้นเรียกว่าเป็นภาษา แต่การที่ส่งสารแล้ว ผู้ส่งสารกับผู้รับสารเข้าใจไม่ตรงกัน สารนั้นก็ไม่เป็นภาษา!
โดยสิ่งที่จะทำให้สารนั้นมีคุณภาพและสื่อสารให้เข้าใจตรงกันนั้น จำเป็นจะต้องอาศัยหลักการที่ผู้เชี่ยวชาญได้ศึกษา คิดค้น และสรุปรวบรวมไว้
เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาสากลของคนไทย ดังนั้นหลักภาษาย่อมเป็นสิ่งที่ทำให้ภาษานั้นสามารถสื่อสารให้คนไทยเข้าใจต้องตรงกันอย่างเป็นสากลเช่นกัน
การแต่งนิยายให้ได้คุณภาพ สามารถสื่อสารให้เข้าใจต้องตรงกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้หลักภาษาเป็นพื้นฐานค่ะ
เพราะฉะนั้น การเขียนนิยายโดยใช้ภาษาไทย แต่ไม่ใช้หลักภาษาไทย นั้นจึงหมายถึง การส่งสารของผู้ส่งสารที่ไร้หลักการ หรือ ใจความสำคัญที่มันคง ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลให้ สารนั้นไร้คุณภาพ!
จาลิลา เขียน
ความคิดเห็น