ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    - ห้องเก็บของ -

    ลำดับตอนที่ #10 : .★ บทเรียนที่ 2 ★.

    • อัปเดตล่าสุด 27 เม.ย. 53


    บทเรียนที่ 2 วิธีการปรุงยาสมุนไพร

    วิธีการปรุงยาสมุนไพร

    สมุนไพร นอกจากเราจะสามารถใช้สดๆ กินสดๆ หรือกินเป็นอาหารแล้ว ยังมีวิธีการปรุงยาสมุนไพรมากมายหลายวิธีเพื่อให้ได้สมุนไพรในรูปแบบที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพในการรักษาโรค ใช้ได้สะดวก มีรสและกลิ่นที่ชวนกิน อีกทั้งยังสามารถพกพาได้สะดวกและเก็บไว้ได้นาน

     

    วิธีการปรุงยาตามตำราเวชศึกษาระบุวิธีการปรุงยาไว้  25  วิธี  ดังนี้

    1.  ยาผง                 ยาตำเป็นผงแล้วบดให้ละเอียดละลายน้ำกระสายต่าง  ๆ  ดื่ม  เช่น  ยาหอม

    2.  ยาเม็ด                ยาตำเป็นผงแล้วปั้นเป็นลูกกลอนรับประทาน

    3.  ยาต้ม นำตัวยาใส่หม้อ  เติมน้ำน้ำให้ท่วมตั้งบนไฟเคี่ยวให้เดือด  รินน้ำดื่ม

    4.  ยาน้ำด่าง          เอาตัวยาเผาไฟให้ไหม้เป็นด่าง  แล้วเอาด่างนั้นแช่น้ำทิ้งไว้  รินน้ำดื่ม

    5.  ยาดอง               นำตัวยาแช่ในน้ำสะอาดหรือน้ำสุรา  รินน้ำดื่ม

    6.  ยาคั่ว (ยาเผา)   นำยาเผาหรือคั่วไฟให้ไหม้  บดเป็นผงละเอียด  ละลายน้ำดื่ม

    7.  ยากลั่น              เอาตัวยาใส่เครื่องต้มกลั่นเอาแต่ไอหรือน้ำเหงื่อดื่ม

    8.  ยาดม ยาประสมแล้วห่อผ้า  หรือบรรจุลงในกลัก  เอาไว้ใช้ดม

    9.  ยานัตถุ์              ยาประสมแล้ว  ตำหรือบดให้ละเอียด  ใส่กล้องเป่าทาจมูกและลำคอ

    10.  ยาหุงน้ำมัน   เอาหุงด้วยน้ำมัน  ใช้น้ำมันที่หุงทาหรือพ่น  แก้ขัดยอก  ฟกช้ำ

    11.  ยาผสมน้ำมัน                เอาเครื่องยาผสมน้ำมัน  เช่น  น้ำมันมะพร้าว  น้ำมันถั่ว  น้ำมันงาใช้ใส่แผล

    12.  ยาสูบ              เอาเครื่องยาผสมกัน  แล้วมวนเป็นบุหรี่สูบ  หรือยัดกล้องสูบ

    13.  ยาอม               ยาต้มเอาน้ำอมหรือบ้วนปาก

    14.  ยาอาบ            เอาเครื่องยาผสมกันแล้วต้มกับน้ำให้สะอาด  ใช้น้ำยานี้อาบ

    15.  ยาชะ              เอาเครื่องยาผสมกันแล้วต้มกับน้ำสะอาด  ใช้น้ำยาชะล้างบาดแผล

    16.  ยาแช่              เอาเครื่องยาผสมกันแล้วต้มกับน้ำสะอาดใช้แช่

    17.  ยารมไอน้ำ     เอาเครื่องยาผสมกันแล้วต้มกับน้ำสะอาดจนเดือด  ใช้ไอน้ำเดือดรม (ใช้รมในกระโจมผ้าก็ได้)

    18.  ยาทา               เอาตัวยาตำหรือบดเป็นผง  ผสมกับน้ำใช้เนยาทา  หรือเอาตัวยาฝนกับน้ำใช้เป็นยาทาก็ได้

    19.  ยาสุม              เอาตัวยาผสมกันแล้วพอก  หรือโปะลงบนกระหม่อม  เรียกว่า  ยาสุมกระหม่อม

    20.  ยาประคบ      เอาเครื่องยาห่อผ้า  ทำเป้นลูกประคบ  นาบ  หรือนวดด้วยลูกประคบ  เรียกว่า  ยาประคบ

    21.  ยาเหน็บทวาร               เอาตัวยาผสมกันแล้วทำเป็นแท่ง  แล้วเหน็บที่ทวารหนัก  ให้อุจจาระออก

    22.  ยาสวนทวารหนัก        เอาตัวยาผสมกันแล้ว  ต้มเอาน้ำยาสวนทวารหนัก  ให้อุจจาระออก

    23.  ยาหลาม         เอาตัวยาผสมกัน  บรรจุลงในกระบอกไม้ไผ่  ใส่น้ำสะอาด  หรือสุราจนเต็มกระบอก  อุดปากกระบอกให้แน่น  หลามไฟให้สุก  รินน้ำกิน  รักษาโรคได้

    24.  ยาพอก           เอาตัวยาผสมกันตำสห้แหลก  ใช้พอกหัวฝี  แก้ปวด  บวม

    25.  ยากรวด          เอายาที่ใช้กรวด  เตรียมให้พร้อม  เอานิ้วป้ายยากวาดลงในคอ

     

    10  วิธีปรุงยาสมุนไพรที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

    ถึงแม้วิธีการปรุงยาตามตำราจะมีถึง 25 วิธี ตามที่กล่าวถึงข้างต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วมีอยู่เพียงไม่กี่วิธีที่นิยมนำมาใช้ รวมถึงกรรมวิธีละอุปกรณ์ที่ใช้ก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมาก ซึ่งได้คัดเลือก 10 วิธียอดนิยมในการปรุงยา ดังนี้

    1.  การชง (Infusion)
    2.  การต้ม (Decoction)
    3.  การดอง (Tincture)
    4.  การเชื่อม (Syrup)
    5.  การสกัดด้วยน้ำมัน (Infused  Oils)
    6.  ครีม (Cream)
    7ขี้ผึ้ง (Ointment)
    8.  ผง  แคปซูล  และลูกกลอน  (Powders  Capsuls  And  Pills)
    9.  การประคบ (Compress)

    10.  การพอก (Poultice)

    ครีม (Cream)
                              
    ครีมเป็นส่วนผสมของน้ำกับไขมันหรือน้ำมัน  เมื่อทาครีมลงบนผิดหนังแล้วเนื้อครีมจะซึมผ่านผิวหนังลงไปได้  ดังนั้นการทำครีมสมุนไพร  จะต้องใช้ตัวที่ช่วยผสาน  น้ำให้เข้ากับน้ำมันที่เรียกว่า  Emulisifying  Ointment  ซึ่งหาซื้อมาได้จากร้านขายเครื่องปรุงยา  แต่ที่จะแนะนำในที่นี้จะแนะวิธีที่ใช้น้ำมันพืชกับขี้ผึ้งเป็นตัวผสาน


     

                    การทำครีมสมุนไพรไว้ใช้เองภายในบ้านสามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน  โดยเฉพาะถ้าเก็บไว้ในตู้เย็น  ถ้าต้องการให้เก็บได้นานกว่านั้นจะต้องเติมสารที่ช่วยกันบูดลงไป

                    1.  ใช้ขี้ผึ้งสีขาว  (White  Beewax)  25  กรัม  ผสมกับลาโนลีน (Anhydrous  Lanolin)  25  กรัม  ลงในหม้อ  ชั้น  ตั้งไฟอ่อนให้ขี้ผึ้งละลายและผสมเข้ากับลาโนลีน  จากนั้นเติมน้ำมันพืช  100  มิลลิลิตร  กลีเซอรีน  25  มิลลิกรัม  น้ำ  75  มิลลิลิตร  และสมุนไพรแห้ง  50  กรัม  เคี่ยวด้วยไฟอ่อน  ๆ  นาน  ชั่วโมง

                    2.  จากนั้นกรองส่วนผสมผ่านผ้าขาวบางเอาของเหลวที่ได้ใส่ในชาม  อ่าง  เอากากทิ้งไป  คนจนกระทั่งเย็นจะได้ครีมสมุนไพร

                    3.  บรรจุในขวดสีทึบ  เก็บไว้ใช้ได้นาน

    ที่มา:http://thaicam.org/herbpage7.php

    การบ้าน:หาภาพอุปกรณ์ในการทำครีมสมุนไพร ดังต่อไปนี้
    1.ขี้ผึ้ง
    2.ลาโนลีน (น้ำมันขนแกะ หรือ รถแกะ หรือสารสกัดจากรถแกะ)
    3.น้ำมันพืช
    4.กลีเซอรีน (ก้อน หรือน้ำ หรือจะเป็นสบู่กลีเซอรีน)
    5.น้ำเปล่า
    6.สมุนไพร (ต้องการกลิ่นสมุนไพร เช่น มะกูด มะนาว ใบเตย เป็นต้น)
    7.หม้อปรุงยา
    8.ผ้าขาวบาง
    9.ชาม หรือ อ่าง (ภาชนะ)
    10.ขวด (ขวดอะไรก็ได้ ได้ทุกชนิด)

    บทเรียนที่ 2 ประเภทของเวทย์มนต์

    โดยเวทย์หลักๆส่วนมากจะมี 3 ระดับ เราจะแบ่งเวทย์มนต์ตามประเภทดังนี้

    เวทย์พื้นพลัง (รักษาอาการเหนื่อยล้า)
    เพิ่มพลังระดับต่ำ  พื้นพลังเดี่ยว 1 คน
    เพิ่มพลังระดับกลาง พื้นพลังกลุ่ม 2-5 คน
    เพิ่มพลังชีระดับสูง พื้นพลังหมู่ เขต หรือเป็นพื้นที่


    เวทย์ชุบชีวิต (ใช้พลังชีวิตของผู้รักษา)
    ชุบชีวิตชีวิตระดับต่ำ พื้นพลังเล็กน้อย 1 คน ต่อวัน
    ชุบชีวิตชีวิตระดับกลาง พื้นพลังปานกลาง 3 คน ต่อวัน
    ชุบชีวิตชีวิตระดับสูง พื้นพลังระดับสูง 5 คน ต่อวัน


    เวทย์พื้นพลัง
    (ออโต้) พื้นพลังเป็นพื้นที่ เมื่อเหนื่อยล้า หรือ เมื่อหมดสภาพ
    เพิ่มพลังระดับต่ำ  คงพื้นพลังได้ 15 นาที 
    เพิ่มพลังระดับกลาง คงพื้นพลังได้ 30 นาที
    เพิ่มพลังชีระดับสูง คงพื้นพลังได้ 1 ช.ม. 



    เวทย์รักษา
    - รักษาอาการ "พิษ,พิษร้าย"
    - รักษาอาการ "ชา,อัมพาต"
    - รักษาอาการ "หิน"
    - รักษาอาการผิดปกติทุกชนิด


    เวทย์พื้นฟูต่อเนื่อง
    - สร้างม่านพลังบางๆ เพื่อพื้นพลังทีละน้อย

    เวทย์ไฟ
    เวทย์ไฟระดับต่ำ โจมตี-ป้องกันเดี่ยว
    เวทย์ไฟระดับกลาง โจมตี-ป้องกันกลุ่ม
    เวทย์ไฟระดับสูง โจมตี-ป้องกันหมู่

    เวทย์น้ำ หรือน้ำแข็ง
    เวทย์น้ำหรือน้ำแข็ง ระดับต่ำ โจมตี-ป้องกันเดี่ยว
    เวทย์น้ำหรือน้ำแข็ง ระดับกลาง โจมตี-ป้องกันกลุ่ม
    เวทย์น้ำหรือน้ำแข็ง ระดับสูง โจมตี-ป้องกันหมู่


    เวทย์ระเบิด
    เวทย์ระเบิด ระดับต่ำ โจมตีเดี่ยว
    เวทย์ระเบิด ระดับกลาง โจมตีกลุ่ม
    เวทย์ระเบิด ระดับสูง โจมตีหมู่

    เวทย์ไม้
    เวทย์ไม้ ระดับต่ำ โจมตี-ป้องกันเดี่ยว
    เวทย์ไม้ ระดับกลาง โจมตี-ป้องกันกลุ่ม
    เวทย์ไม้ ระดับสูง โจมตี-ป้องกันหมู่


    เวทย์ดิน
    เวทย์ดิน ระดับต่ำ โจมตี-ป้องกันเดี่ยว
    เวทย์ดิน ระดับกลาง โจมตี-ป้องกันกลุ่ม
    เวทย์ดิน ระดับสูง โจมตี-ป้องกันหมู่

    เวทย์หิน
    เวทย์หิน ระดับต่ำ ทำให้ศัตรูเป็นหินเดี่ยว 15 วินาที
    เวทย์หิน ระดับต่ำ ทำให้ศัตรูเป็นหินกลุ่ม 3 นาที
    เวทย์หิน ระดับต่ำ ทำให้ศัตรูเป็นหินหมู่ 30 นาที

    เวทย์น้ำ
    เวทย์น้ำ ระดับต่ำ โจมตี-ป้องกันเดี่ยว
    เวทย์น้ำ ระดับกลาง โจมตี-ป้องกันกลุ่ม
    เวทย์น้ำ ระดับสูง โจมตี-ป้องกันหมู่


    เวทย์ความมืด
    เวทย์ความมืด ระดับต่ำ โจมตี-ป้องกันเดี่ยว
    เวทย์ความมืด ระดับกลาง โจมตี-ป้องกันกลุ่ม
    เวทย์ความมืด ระดับสูง โจมตี-ป้องกันหมู่


    เวทย์ความตาย
    เวทย์ความตาย ระดับต่ำ ดึงวิญญาณออกจากร่างของศัตรูเดี่ยว
    เวทย์ความตาย ระดับกลาง ดึงวิญญาณออกจากร่างของศัตรูกลุ่ม
    เวทย์ความตาย ระดับสูง ดึงวิญญาณออกจากร่างของศัตรูหมู่


    เวทย์แสง
    เวทย์แสง ระดับต่ำ โจมตี-ป้องกันเดี่ยว
    เวทย์แสง ระดับกลาง โจมตี-ป้องกันกลุ่ม
    เวทย์แสง ระดับสูง โจมตี-ป้องกันหมู่


    เวทย์ลม
    เวทย์ลม ระดับต่ำ โจมตี-ป้องกันเดี่ยว
    เวทย์ลม ระดับกลาง โจมตี-ป้องกันกลุ่ม
    เวทย์ลม ระดับสูง โจมตี-ป้องกันหมู่


    เวทย์ดาวตก
    เวทย์ดาวตก ระดับต่ำ โจมตีเดี่ยว
    เวทย์ดาวตก ระดับกลาง โจมตีกลุ่ม
    เวทย์ดาวตก ระดับสู่ง โจมตีหมู่


    เวทย์สายฟ้า
    เวทย์สายฟ้าก ระดับต่ำ โจมตีเดี่ยว
    เวทย์สายฟ้า ระดับกลาง โจมตีกลุ่ม
    เวทย์สายฟ้า ระดับสู่ง โจมตีหมู่


    เวทย์เหล็กไหล
    เวทย์เหล็กไหล ระดับต่ำ โจมตีเดี่ยว
    เวทย์เหล็กไหล ระดับกลาง โจมตีกลุ่ม
    เวทย์เหล็กไหล ระดับสู่ง โจมตีหมู่


    เวทย์แรงดึงดูด
    - เวทย์แรงดึงดูดระดับต่ำ ลดพลังชีวิตศัตรู ลง 50%
    - เวทย์แรงดึงดูดระดับกลาง ลดพลังชีวิตศัตรู ลง 75%
    - เวทย์แรงดึงดูดระดับกลาง ลดพลังชีวิตศัตรู ลง 90%


    เวทย์พิษ
    - เวทย์พิษระดับต่ำ โจมตีศัตรู ศัตรูมีโอกาศติดเกิดอาการ "พิษ" 50%
    - เวทย์พิษระดับกลาง โจมตีศัตรู ศัตรูมีโอกาศติดเกิดอาการ "พิษ" 75%
    - เวทย์พิษระดับสูง โจมตีศัตรู ศัตรูมีโอกาศติดเกิดอาการ "พิษ" 90%


    เวทย์เพิ่ม/ลด สเตตัส
    - เพิ่ม-ลด พลังโจมตีชั่วขณะหนึ่ง
    - เพิ่ม-ลด พลังป้องกันชั่วขณะหนึ่ง
    - เพิ่ม-ลด ความเร็วชั่วขณะหนึ่ง
    - เพิ่ม-ลด ความฉลาดชั่วขณะหนึ่ง ทุกคน


    เวทย์โล่
    - เวทย์โล่ระดับต่ำ เพิ่มพลังป้องกันทางกายภาพ 2 เท่า ชั่วขณะหนึ่ง เดี่ยว
    - เวทย์โล่ระดับกลาง เพิ่มพลังป้องกันทางกายภาพ 2 เท่า ชั่วขณะหนึ่ง กลุ่ม
    - เวทย์โล่ระดับสูง เพิ่มพลังป้องกันเวทย์มนต์ 2 เท่า ชั่วขณะหนึ่ง หมู่

    - เวทย์โล่ระดับต่ำ สร้างบาเรียป้องกันเวทย์ความร้อน
    - เวทย์โล่ระดีบกลาง สร้างบาเรียป้องกันเวทย์ทุกชนิด
    - เวทย์โล่ระดับสูง สร้างบาเรียป้องกันการโจมตีทุกชนิด แต่ขยับไม่ได้ 10 วินาที


    เวทย์ทำให้เกิดอาการผิดปกติ
    - ทำลายเวทย์มนต์เสริมพลัง
    - ทำให้ศัตรูติดอาการ "บอด"
    - ทำให้ศัตรูติดอาการ "หลับ"
    - ทำให้ศัตรูติดอาการ "ลืม"
    - ทำให้ศัตรูติดอาการ "สับสน"
    - ทำให้เวลาของศัตรู หยุดเดิน
    - ทำให้ศัตรูติดอาการ "บ้าคลั่ง"
    - ทำให้ศัตรูติดอาการ "บอด,สับสน,พิษร้าย,ลืม,คำสาป"


    เวทย์ตรวจสอบ
    - เวทย์ตรวจสอบระดับต่ำ ตรวจสอบสิ่งมีชีวิต ระยะ  100 เมตร
    - เวทย์ตรวจสอบระดับกลาง ตรวจสอบสิ่งมีชีวิต ระยะ  500 เมตร
    - เวทย์ตรวจสอบระดับสูง ตรวจสอบสิ่งมีชีวิต ระยะ  1 กิโลเมตร


    แห่งที่มา:http://www.kidmaioak.com/forum/viewthread.php?tid=819&extra=page%3D1




    การบ้าน 

     1) ให้นักเรียนเล่นเกมส์ทายใจ "คุณเป็นนักเวทย์ธาตุอะไร" ที่ >http://my.dek-d.com/harribel/funnyquiz/view.php?id=27856<

    2) ให้นักเรียนคิดเวทย์มนต์ลับของตัวเอง มาคนละ 10 เวทย์มนต์
         - คำร่ายเวทย์มนต์
         - ผลของเวทย์มนต์

    เช่น 
    กิลก้า ดอมบัลส์ลุค - ทำให้พวกเดียวกันเกิดอาการ "บ้าคลั่ง" 

    Anti-Dissaparation Jinx
    : คาถาต่อต้านการหายตัว 
    ผลของเวทมนตร์: ต่อต้านการหายตัวหรือปรากฏตัวในสถานที่ที่อยู่ในอาณาเขตของคาถา 



    วิชาศาสตราวุธ (การต่อสู้) [GP321] ~ GP = Grappling



    บทเรียนที่ 2 ประเภทของอาวุธ

    จากพจนานุกรมราชบัณฑิตยฐาน ได้นิยามอาวุธไว้ว่า

    ดาบ คือ มีดยาวปลายแหลมชนิดหนึ่ง สันแอ่นปลายงอนเล็กน้อย มักใช้เป็นอาวุธสำหรับฟันแทง 

    หอก คือ อาวุธสำหรับแทงชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ มีด้ามยาว

    ทวน คือ อาวุธชนิดหนึ่งคล้าย( หอก ) แต่เรียวเล็กและเบากว่า ด้ามยาวมาก

    กระบี่ คือ มีดรูปดาบ มีฝัก ที่ด้ามถือมีโกร่ง (โกร่ง = โลหะรูปโค้งที่ด้ามกระบี่หรือดาบบางชนิด สำหรับป้องกันไม่ให้อาวุธถูกมือ)

    พลอง คือ เรียกไม้ใช้เป็นอาวุธยาวประมาณ ๔ ศอกว่า ไม้พลอง

    กระบอง คือ ไม้สั้นสำหรับใช้ตี มีรูปกลมบ้าง เหลี่ยมบ้าง คล้ายพลอง แต่สั้นกว่า.

    สนับมือ คือ เครื่องสวมมือทำเป็นรูปเหมือนแหวน ๔ วงติดกันสำหรับสวมนิ้วมือเวลาชก.

    ปลอกแขน คือ สิ่งที่ทำเป็นวงสำหรับสวมหรือรัดป้องกันแขน

    ขวาน คือ เครื่องมือสำหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทำด้วยเหล็กมีสันหนาใหญ่

    ค้อน คือ ชื่อเครื่องมือสำหรับเคาะ ตอก ตี ทุบ

    เคียว คือ เครื่องมือทำด้วยเหล็กรูปโค้ง มีคม

    ลูกตุ้ม คือ ไม้หรือเหล็กยาวๆ มีลูกกลมข้างปลาย ใช้สำหรับเป็นอาวุธ

    แส้ คือ อุปกรณ์ที่ปลายถักหรือฟั่นเป็นเกลียว ยาวอย่างไม้เรียว

    มีด คือ เครื่องมือสำหรับฟัน ผ่า จัก เหลา

    ง้าว คือ ดาบด้ามยาว

    หลาว คือ ไม้ที่เสี้ยมแหลม เป็นอาวุธสำหรับแทงหรือพุ่งเข้าใส่

    อาวุธซัด คือ อาวุธที่ใช้โดยต้องปล่อยไปหรือเหวี่ยงไปโดยแรง

    โล่ เครื่องปิดป้องศัตราวุธ

    คทา คือ ไม้สำหรับถือ ใช้ตี โดยมากมีรูปกลม

    กรงเล็บ คือ กลุ่มเล็บของแมวหรือนกเป็นต้นเมื่อขยุ้มเหยื่อ มีเค้าคล้ายกรง

    ปืน คือ อาวุธสำหรับยิงให้ลูกออกจากลำกล้องด้วยกำลังดินระเบิดหรือแรงอัดดันด้วยลมเป็นต้น

    อืม...ต่อไปจะเป็นส่วนข้อมูลเนื้อหาของอาวุธ ข้อมูลค่อนข้างเยอะ คาบนี้เอาแค่เรื่องดาบแล้วกันเนาะ
    1. ดาบ เป็นอาวุธที่หลายคนนิยมใช้ และพระเอกในฟิกหรือในอนิเมชั่นหลายเรื่องนิยมมาก สาเหตุก็คงเพราะ ดาบเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ หรือ ผู้นำ ละมั้ง ในสมัยก่อนอัศวินอังกฤษเวลาแต่งตั้ง ต้องเอาดาบของพระราชามาแตะไหล่ เมืองจีนก็มีกระบี่อาญาสิทธิ์ ส่วนเมืองไทยยังมีพระแสงอาญาสิทธิ์ แต่ถ้าเรามองดูจากลักษณะการใช้งานแล้วมันก็เป็นอาวุธสู้ประชิดตัวที่มีวงโจมตีในระดับกลางและมีการพลิกแพลงรูปแบบการโจมตีได้ดี โดยการโจมตีของอาวุธประเภทดาบจะมีทั้งหมด 9 รูปแบบ คือ ฟันผ่าลง ฟันทวนขึ้น ฟันตัดซ้าย ฟันตัดขวา ฟันฉียงลงซ้าย ฟันเฉียงลงขาว ฟันเฉียงขึ้นซ้าย ฟันเฉียงลงขวา และ แทง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพลงดาบไหนก็จะมีท่าโจมตีไม่พ้น 9 แบบนี้ ความยาวของดาบที่เรียกว่าขนาดมาตราฐานจะอยู่ราว ๆ เมตรกว่า แต่ไม่น่าจะเกิน เมตรครึ่ง โดยปกติดาบที่มีความยาวพอเหมาะ ควรจะมีความยาวใบมีดเท่ากับแขนของผู้ถือดาบ แต่บางครั้งดาบเองก็มีความยาวมากกว่าเมตรครึ่ง ดาบสามารถแบ่งประเภทออกตามลักษณะอีก ได้แก่


    1.1 เกรทซอร์ด อันนี้ไม่ได้แปลว่าดาบสุดยอดนะ เกรทซอร์ดหมายถึงดาบที่มีใบมีดยาวและใหญ่แถมน้ำหนักเยอะอีกตะหาก เป็นอาวุธที่นิยมใช้บนหลังม้า การโจมตีของดาบประเภทนี้แม้มันตัวดาบจะไม่คมมากแต่ด้วยน้ำหนักของมันเมื่อฟาดมาก็สร้างความเสียหายได้ไม่น้อย เกรทซอร์ดเป็นดาบที่ใช้อยู่ทางแถบยุโรป ถ้าพูดให้เห็นภาพก็ประมาณของพระเอกใน ไฟนอลแฟนตาซี 7 นั่นแหละ

    1.2 บาสตาด คำว่า Bastard แปลว่าเลว แต่เราไม่แน่ใจเหมือนกันว่า Bastard Sword จะแปลว่าดาบชั้นเลวหรือเปล่า แต่คิดว่าไม่น่าใช่นะ ส่วนมากดาบบาดตาสเป็นดาบที่ทหาร หรือ อัศวินนิยมพกพา ใบมีดไม่ใหญ่โตนักความยาวก็พอเหมาะ

    1.3 บอร์ดซอร์ด ดาบที่มีใบมีดขนาดใหญ่ แต่ความยาวยังพอเหมาะอยู่ ใบมีดของบอร์ดซอร์ดทำหน้าที่เป็นโล่ขนาดเล็กได้เลยทีเดียว แต่ก็หนักเอาเรื่องอยู่ และการโจมตีก็เน้นน้ำหนักเข้าว่าเช่นกัน

    1.4 เคย์มอ ดาบยาวแต่ใบมีดเล็ก น้ำหนักจะเบากว่าพวกต้น ๆ ที่กล่าวมาด้านบนทำให้ฟันได้เร็วกว่า

    1.5 คาตานา หรือดาบญี่ปุ่นนี่แหละ เป็นดาบที่ได้ชื่อว่าสมดุลในแทบทุกด้าน ทั้งรูปทรงน้ำหนัก และความคม ดาบญี่ปุ่นจัดได้ว่ามีความคมเป็นเลิศ เพราะตัวดาบที่โค้งงอของมันจะฟันเฉือนเนื้อสร้างบาดแผลฉกรรจ์ได้เป็นอย่างดี และด้วยน้ำหนักที่เบา ทำให้กวัดแกว่งได้อย่างคล่องแคล่ว ดาบญี่ปุ่นมักไม่เน้นแรงกระแทกแต่เน้นความเร็วในการฟันและเป็นดาบฟันเฉือนได้ดีเพราะใบมีดมีความบาง และสำคัญคือโลหะที่ใช้ทำดาบมีคุณสมบัติบางอย่างที่สร้างความเจ็บปวดอย่างรุนแรงให้กับบาดแผลที่ถูกดาบประเภทนี้ฟันได้ (เคยดูมาจากรายกาย 1 จำชื่อไม่ได้แล้วเพราะนานมากแล้ว) แต่ดาบญี่ปุ่นมีข้อเสียคือ เมื่อฟันไปเรื่อย ๆ ความคมของมันจะลดลงเพราะเลือดจะมาเคลือบที่ผิวดาบทำให้ความคมมันลดลง เพราะฉะนั้นดาบญี่ปุ่นจึงต้องมีการเช็ดขัดเป็นอย่างดีเพื่อให้พร้อมใช้งาน

    1.6 โชเทล ดาบโค้ง ๆ แบบทางอาหรับ ความคมก็จัดว่าโอเค และเป็นดาบสั้นทำให้ฟันได้รวดเร็ว และรูปลักษณ์ที่โค้งทำให้กรีดเนื้อได้ดีเชียวล่ะ

    1.7. ดาบสั้น เป็นดาบที่สั้นกว่าความยาวดาบมาตราฐานแต่ความยาวยังมากกว่ามีดอยู่ ดาบสั้นมีความสามารถในเชิงปัดป้องและสู้วงในได้ดีกว่าดาบที่ยาวมาตราฐาน หรือยาวก

    แหล่งที่มา:http://fadthought.forums-free.com/topic-t97.html

    การบ้าน:
    1)ให้นักเรียนค้นหาภาพดาบทั้ง 7 ชนิดมา (กำกับชื่อไว้ด้วยนะครับ)



    วิชาสัตวศาสตร์ [AS431] ~ AS = Animal Science


    บทเรียนที่ 2 :ว่าด้วยเรื่องของมังกร

    มังกร (อังกฤษ: dragon, จากละติน: draco) เป็นสัตว์วิเศษที่รู้จักกันในวรรณคดี มีรูปร่างลักษณะจัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานหรืองู

    ในตำนานยุโรป มังกรเป็นสัตว์อันตรายและน่าสะพรึงกลัวสำหรับมนุษย์ มังกรจึงเป็นศัตรูตัวฉกาจของเหล่าวีรบุรุษทั้งหลาย การฆ่ามังกรและขึ้นเถลิงราชย์เป็นกษัตริย์. มังกรจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ ทั้งที่มีตัวตนจริง ๆ และในตำนานต่าง ๆ เช่น กษัตริย์อาเธอร์ ซึ่งมีนามสกุลว่า Pendragon มีความหมายว่า 'ศีรษะของมังกร' หรือ 'หัวหน้ามังกร' และมงกุฎของกษัตริย์อาเธอร์ ก็เป็นรูปมังกร.

    เราพบมังกรได้ง่ายและบ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นในตำนานของทางยุโรปหรือเอเชียก็ตาม เรียกว่าที่ใดมีอารยธรรมและตำนาน ที่นั่นก็ต้องมีมังกรเป็นของคู่กัน. มังกรนั้นมีรูปร่างและลักษณะหลายอย่าง แตกต่างไปตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีจุดเด่นคือ เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ ร่างกายใหญ่โต มีพละกำลังมาก บางครั้งอาจพ่นไฟได้ หรือมีอำนาจเวทมนตร์มหาศาล และที่สำคัญคือ บินได้ (อาจจะมีปีกหรือไม่มีก็ได้) โดยขนาดรูปร่างและสีนั้น ก็แตกต่างกันไป

    อย่างไรก็ตาม มังกรที่พบในตำนานของทางยุโรปและของทางเอเชียนั้น ค่อนข้างจะแตกต่างกันในแง่สัญลักษณ์ โดยเฉพาะคติของจีนที่มักจะถือว่า มังกรนั้นคือเทพเจ้า และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมงคล รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ (ซึ่งเป็นสมมติเทพ) แต่ทางยุโรปนั้นมักจะถือมังกรเป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย (อันเป็นคติที่สืบทอดมาจากความหวาดกลัวงูของชาวยุโรป).

       ในคาบนี้เรามารู้จักมังกรของยุโรปกัน

    มังกรยุโรป (European dragon) เป็นมังกรในความเชื่อของยุโรปสมัยกลาง แต่มีความแตกต่างจากมังกรจีนหรือมังกรทิเบตมาก ซึ่งเป็นสัตว์กึ่งเทพเจ้ามีอิทธิฤทธิ์ดลบันดาลให้เกิดฝน เกิดความอุดมสมบูรณ์ได้ แต่มังกรของยุโรปเป็นสัตว์ที่เสมือนตัวแทนของความชั่วร้ายหรือปีศาจ เป็นสัตว์ที่มุ่งร้ายต่อมนุษย์ โดยมากมีลักษณะเป็นสัตว์สี่ขา มีปีกกว้างใหญ่คล้ายค้างคาว หางยาวปลายหางเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายหัวหอก สามารถพ่นไฟได้

    มังกรในตำนานพื้นบ้านของยุโรป มักเป็นสัตว์ที่เฝ้าสมบัติและหวงทรัพย์สินเหล่านั้น โดยมากมักจับเอาเจ้าหญิงแสนสวยไปขังไว้บนยอดปราสาท และเป็นอัศวินซึ่งเสมือนวีรบุรุษเข้ามาช่วยเจ้าหญิงและฆ่ามังการนั้นตาย

    ตำนานมังกรของยุโรป ที่เป็นที่รู้จัก เช่น ซิคฟรีด (Siegfried) ในตำนานแร็กนาร็อกของยุโรปเหนือ ที่สังหารมังกรแล้วเลือดมังการอาบตัวทำให้เกิดความอมตะ ไม่มีวันตาย เป็นต้น

    กระนั้นมังกรของยุโรป ก็มักใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของตระกูลขุนนาง อัศวิน หรือประดับบนธงของบางประเทศ เวลส์ เป็นต้น เพราะถือเป็นการแสดงถึงพลังอำนาจ


    การบ้าน:ให้นักเรียนหาภาพมังกรของยุโรป พร้อมประวัติเล็กน้อย(บอกชื่อด้วยถ้ามี)มาคนละ 1 ภาพ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×