ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Timelines of World History ( ย้อนรอยประวัติศาสตร์โลก )

    ลำดับตอนที่ #2 : คลีโอพัตรา(Cleopatra)ราชินีองค์สุดท้ายแห่งอียิปต์

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.91K
      18
      3 พ.ค. 54

    ขอบคุณ เนื่องจากบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์อัน ชอบธรรมของผู้เขียน และอาจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลบ้างตามความเหมาะสม ในการนำบทความไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ จึงขอความร่วมมือให้ใช้วิธีการคัดลอกเฉพาะ Link หรือ URL Address แทนการคัดลอกบทความทั้งหมด  หากมีการคัดลอกไปในลักษณะแอบอ้างเป็นผู้เขียน หรือมีเจตนาอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทางเว็บ iseehistory.com แล้ว จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย

    ขอบคุณ http://zensuz.exteen.com/20100426/entry







    ากถามว่าราชินีองค์ใดเลอโฉม ฉลาดหลักแหลม และมีเสน่ห์ที่เย้ายวนในราชวงศ์อียิปต์ หลายคนคงตอบว่า "คลีโอพัตรา" เพราะเธอได้รับฉายาว่าเป็นหญิงสาวเจ้าเสน่ห์ที่กษัติย์นักรบผู้เกรียงไกรแห่งโรมันอย่าง "จูเลียส ซีซ่าร์" และ "มาร์ค แอนโทนี่ " ต้องยอมศิโรราบบนตักของนางอย่างละมุนละม่อม คลีโอพัตราเป็นราชินีที่มีความชาญฉลาดในทางการเมืองและการรู้เท่าทันคน เพื่อรักษาราชวงศ์อียิปต์ไว้ภายใต้การเรืองอำนาจแห่งโรมันที่พระนางไม่ยอมก้มหัวให้จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตที่ประวัติศาสตร์ชาติอียิปต์ต้องบันทึกไว้ในความทรงจำไปชั่วนิรันด์

    ระมาณ 322 ปีก่อนคริตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหราชแห่งกรีกได้กรีฑาทัพพร้อม "พโตเลมี" ซึ่งเป็นยอดขุนพลคู่ใจบุกเข้าครอบครองอียิปต์แล้วตั้งเมืองหลวงอียิปต์แห่งใหม่ชื่อว่า "อเล็กซานเดรีย" ตามพระนามของพระองค์



    (อเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นนักรบกรีกผู้ยิ่งใหญ่ที่ได้รับการขนานนามว่
    "นักรบผู้ไม่เคยพ่ายแพ้ )โดยรบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้ง และมีพระชนมายุเพียง 32 พรรษา)เมืองหลวงแห่งใหม่สร้างยังไม่ทันเสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคตลงเสียก่อน ทำให้บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ "พโตเลมี" ขุนพลผู้ชาญศึกได้เป็นผู้รวบรวมดินแดนอียิปต์ให้เป็นปึกแผ่นขึ้นอีกครั้ง โดยสถาปนาตนเป็กษัตริย์พโตเลมีที่ 1และมีการสืบราชวงศ์จนกระทั่งสมัยคลีโอพัตราที่ 7 (ราชินีองค์สุดท้ายแห่งอียิปย์ : คลีโอพัตราราชินีแห่งไอยคุปต์นั้นมีกันถึง 7 พระองค์ แสดงว่าชื่อนามนี้ได้รับความนิยมและฮอทฮิตพอสมควรเมื่อครั้งโบราณ)



    นยุคปลายราชวงศ์
    "พโตเลมี" มีการแย่งชิงราชสมบัติกันภายในราชวงศ์ประจวบเหมาะกับการแผ่ขยายอำนาจของโรมัน ทำให้ฟาโรห์"พโตเลมีที่ 11" ติดสินบนพวกโรมด้วยทรัพย์สมบัติมหาศาลเพื่อตอบแทนการสนับสนุนให้ตนได้ครองบัลลังก์ เมื่อทรงครองราชย์ก็ขูดรีดภาษีประชาชนเป็นจำนวนมากเพื่อจ่ายให้พวกโรม เมื่อฟาโรห์ "พโตเลมีที่ 12" บิดาของคลีโอพัตราขึ้นครองราชย์ก็ต้องแบกรับหนี้สินมากมายและมีการก่อกบฏขึ้ฟาโรห์พโตเลมีที่ 12  หลบหนีไปยังโรมเพื่อขอความช่วยเหลือและกู้ราชบัลลังก์คืนมา โดยมีทหารโรมันคุมเชิงอยู่ซึ่งมีสภาพเป็นกึ่งเมืองขึ้นของโรม เพื่อรักษาอำนาจฟาโรห์ไว้ก็ต้องแลกด้วยการเอาอกเอาใจโรม หลังจากนั้นไม่นานฟาโรห์ก็สิ้นพระชนม์ และมีพินัยกรรม แต่งตั้งให้คลีโอพัตราเป็นราชินีเคียงคู่กับาโรห์พโตเลมีที่ 13 ซึ่งเป็นน้องชายของคลีโอพัตรา (ตามกฏมณเฑียรบาลของอียิปต์นั้น ฟาโรห์ต้องสมรสกับพี่สาวหรือน้องสาวเพื่อปกครองอียิปต์ร่วมกัน)


    ลีโอพัตรา เป็นราชินีที่มีความฉลาดหลักแหลมและรู้เท่าทันคนซึ่งยากที่พวกขุนนางจะเชิดได้ เพราะในขณะนั้นฟาโรห์มีพระชนม์ 12 พรรษา และคลีโอพัตรามีอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น แต่เหล่าขุนนางก็สามารถยุยงให้ฟาโรห์ขับไล่นางออกจากวังได้สำเร็จคลีโอพัตราหนีออกจากอเล็กซานเดรียไปซีเรีย เพื่อจัดกองทัพบุกอียิปต์ (ซีเรียเคยเป็นหนี้บุญคุณนางมาก่อน) ซึ่งในขณะนั้นอาณาจักรโรมันเกิดสงครามกลางเมืองระหว่าง "จูเลียส ซีซ่าร์" กับ "ปอมเปย์ แมกนัส" ผู้ชนะคือซีซ่าร์ ปอมเปย์ได้หนีไปพึ่งอียิปต์แต่กลับถูกฟาโรห์สั่งสังหารเพื่อเอาศรีษะไปกำนัลแด่ซีซาร์และขอความช่วยเหลือให้จัดการกับทัพของคลีโอพัตราซีซ่าร์ไม่ทรงพอพระทัยที่ฟาโรห์สั่งฆ่าตัดศรีษะปอมเปย์เพราะทรงเห็นว่าเป็นการไม่ให้เกียรติย์นักรบแห่งโรม



    นคืนนั้นคลีโอพัตราได้วางแผนเพื่อเข้าพบซีซ่าโดยเข้าไปอยู่ในม้วนพรมเพื่อเป็นของขวัญให้ซีซ่าร์เมื่อนางกำนัลยกห่อพรมดังกล่าวไปถวายองค์ซีซ่าร์เมื่อคลี่พรมออกก็ทรงพบกับคลีโอพัตราที่มีรูปโฉมงดงาม ซีซ่าร์ก็หลงรักในทันทีในขณะนั้นซีซ่าร์อายุกว่า 50 ปีแล้วแต่มีอำนาจมากในยุคนั้นด้วยเหตุผลนี้ทำให้คลีโอพัตราต้องเข้าหาซีซ่าร์ ในการปลดอำนาจฟาโรห์พโตเลมีที่ 13 และพวกคณะขุนนางและใช้อำนาจของซีซ่าร์ตั้งตนเป็นราชินีแห่งอียิปต์ ("จูเลียส ซีซ่าร์" เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโรมันที่ต่อมาได้มีการขนานนามจักรพรรดิ์แห่งโรมทุกพระองค์ว่า "ซีซ่าร์")ทั้งคู่ครองรักกันที่อียิปต์จนมีบุตรชายด้วยกัน 1 คน คือ "ซีซาร์เรี่ยน"  ซีซ่าร์อยู่กับคลีโอพัตราเป็นเวลานานโดยไม่กลับโรม ทำให้สภาซีเนทแห่งโรมพากันโจมตีซีซ่าร์ว่าหลงผู้หญิงจนลืมโรมทำให้ฝ่ายต่อต้านโรมรวมตัวกันกบฏขึ้นที่เอเชียไมเนอร์ซีซ่าร์ได้ปราบกบฏจนสำเร็จ เมื่อทรงกลับโรมจึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและสภาซีเนท ต่อมาซีซ่าร์ได้พาคลีโอพัตราเข้าไปยังกรุงโรม และให้ช่างปั้นรูปคลีโอพัตราโดยให้ชื่อรูปปั้นว่า "เทพีวีนัสเจเนทริกซ์" เพื่อประดับในเทวาลัยที่สร้างใหม่ ทั้งนี้ ฝ่ายต่อต้านซีซ่าร์ในสภาซีเนทกริ่งเกรงว่าคลีโอพัตราจะชี้แนะให้ซีซ่าร์รวบอำนาจเป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียวโดยมีซีซาเรี่ยนเป็นรัชทายาท (โรมเขามีรัฐสภาบริหารประเทศ)พวกนักการเมืองก็กลัวจะสูญเสียอำนาจเลยมีการปล่อยข่าวให้ร้ายคลีโอพัตรา และสมคบคิดกันรุมฆ่าซีซ่าร์ด้วยมีดสั้นที่แอบนำเข้าไปในที่ประชุมรัฐสภา





    ซีซ่าร์ได้ทำพินัยกรรมโดยระบุให้ออคตาเวี่ยน ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้ปกครองโรม บ้างว่าในภายหลังซีซ่าร์ได้ยกตำแหน่งให้ซีซาเรี่ยนแล้วมีการบิดเบือนโดยคนในสภาซีเนท คลีโอพัตราพร้อมลูกหนีกลับอเล็กซานเดรียเพื่อรักษาอียิปต์"มาร์คแอน โทนี่" แม่ทัพผู้เกรียงไกรของซีซ่าร์ได้ออกไล่ล่าสังหารพวกลอบสังหารซีซ่าร์องค์ก่อนจนสำเร็จทำให้เป็นวีรบุรุษของชาวโรม ออคตาเวี่ยนผู้ครองโรมได้แต่งตั้งให้ "มาร์ค แอนโทนี่"ไปดูแลพื้นที่ตะวันออกทั้งหมดโดยตั้งค่ายบัญชาการที่ทาร์ซัสและยกน้องสาวชื่อ "ออคตาเวีย" ให้เป็นภรรยาคลีโอพัตราได้ผูกสัมพันธ์เป็นพันธมิตรกับ "มาร์ค แอนโทนี่" เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยให้กับชาติอียิปต์ จนแอนโทนี่เกิดความสิเหน่หาในคลีโอพัตราและย้ายมาอยู่ที่อเล็กซานเดรีย ทำให้อียิปต์ได้แม่ทัพที่แข็งแกร่งไว้ป้องกันราชบัลลังก์ทำให้ออคตาเวี่ยนเคืองแค้นเป็นยิ่งนักและฉวยโอกาสนี้ประนามแอนโทนี่ว่าไปหลงหญิงอียิปต์จนละทิ้งภรรยาชาวโรมที่เป็นถึงน้องผู้ปกครองโรมันและประเทศชาติ จนผู้คนกล่าวหาคลีโอพัตราว่า "หญิงแพศยา"และเกิดสงครามระหว่างโรมกับอียิปต์ขึ้นและอีกเหตุผลที่ออคตาเวี่ยนต้องการทำสงครามก็เพราะต้องการฆ่า "ซีซ่าเรี่ยน" ซึ่งเป็นหน่อเนื้อของอดีตซีซ่าร์ที่อาจจะมาทวงความชอบธรรมในราชบัลลังก์โรมได้




    ทัพของออคตาเวี่ยนได้เคลื่อนพลสู่ดินแดนอียิปต์ทหารอียิปต์พากันหนีทัพเหลือเพียงขุนพลคนเดียวแอนโทนี่ออกไปเผชิญหน้ากับทัพของออคตาเวี่ยนเพียงผู้เดียว แต่ไม่มีใครฆ่าเขาเลย แอนโทนี่จึงกลับอเล็กซานเดรีย และทราบข่าวผิดพลาดว่าคลีโอพัตราสิ้นแล้วจึงเสียอกเสียใจปลิดชีพตนเอง นางสนมนำร่างแอนโทนี่ที่กำลังจะสิ้นใจมายังคลีโอพัตรา ทั้งนี้ พระนางได้สวมกอดสามีและแอนโทนี่ก็สิ้นใจในอ้อมกอดของนาง คลีโอพัตราได้ตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยงูพิษตามแอนโทนี่ไป ออคตาเวี่ยนได้เดินทัพไปฆ่าซีซาเรี่ยน หลังจากนั้นอียิปต์ก็ตกอยู่ใต้อำนาจของโรมันและค่อยๆ สูญสิ้นอารยธรรมไปในที่สุด สมบัติอันล้ำค่าต่างๆ ได้ขนไปยังโรมเป็นจำนวนมากมาย เมื่อยุคอียิปต์สิ้นสุดลงก็เป็นยุคทองของอาณาจักรโรมัน  เมื่อครั้งที่คลีโอพัตราสิ้นนั้นนางได้สวมชุดทองของฟาโรห์และสวมมงกุฏรูปงูเห่าทองคำเหนือหน้าผาก วีรกรรมของนางที่หลายคนประนามว่ามากรักนั้นนางทำไปเพื่อปกป้องอียิปต์ซึ่งเป็นอาณาจักรของบรรพบุรุษที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนนับพันปีในลุ่มน้ำไนล์


    ข้อมูลเพิ่มเติม



    แผนที่แสดงที่ตั้งของอิยิปต์ซึ่งเป็นแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์และมั่งคั่งที่สุด ในภูมิภาค ทำให้กลายเป็นที่หมายตาของประเทศต่างๆซึ่งต้องการจะเข้ามายึดครองเป็นเมืองขึ้น





     



    เมื่อซีซาร์คลี่พรมออกก็ได้พบคลีโอพัตราซึ่งม้วนตัวออกมา เข้ารู้ทันทีว่านี่คือ “คลีโอพัตรา” ที่เขาเคยได้ยินกิตติศัพท์มานานแล้วว่านางเป็นเจ้าหญิงที่ทั้งสวยทั้งฉลาดปราดเปรื่องยิ่ง





    กลุ่มสมาชิกสภาซีเนทที่ไม่ต้องการให้ซีซาร์ก้าวขึ้นเป็นจักรพรรดิ์ของโรมัน วางแผนสังหารซีซาร์ในที่ประชุมสภาด้วยมีดสั้นที่แอบซ่อนติดตัวเข้าไป และช่วยกันรุมแทงซีซาร์จนเสียชีวิต










    แผนที่แสดงอาณาเขตของอาณาจักรโรมันในช่วงการปกครองร่วมกันของคณะผู้ปกครองสูงสุด 3 คนรุ่นที่สอง คือ มาร์ค แอนโทนี่, ออคตาเวี่ยน และเลปิดัส เมื่อประมาณ 40 ปีก่อนคริสตกาล โดยออคตาเวียนมีอำนาจปกครองกรุงโรม พื้นที่สวนกลางในอิตาลี และด้านตะวันตก ลีปิดัสปกครองอาฟริกา และมาร์ค แอนโทนี่ปกครองดินแดนภาคตะวันออกทั้งหมด








    เรือสำราญของคลีโอพัตราที่ใช้เดินทางไปพบมาร์ค แอนโทนี่ที่เมืองทาร์ซัส พลูตาชนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกได้บรรยายความงามของเรือลำนี้ไว้ดังนี้ “เรือพระที่นั่งสง่างามราวบัลลังก์ทองเหลืองอร่าม ลวดลายแกะสลักรอบลำเรือสวยงามปราณีตยิ่ง ใบเรือเป็นสีม่วง ใบพายทุกใบเคลือบด้วยเงินและทอง ฝีพายทุกคนแต่งตัวอย่างงดงาม จังหวะการโบกพายสอดคล้องกับเสียงดนตรีที่เล่นออกมาจากขลุ่ย และพิณ ล่องลอย มาบนท้องทะเล บนเรืออบอวลไปด้วยกลิ่นหอมจากดอกไม้นานาพันธุ์ที่หอมขจรขจายไปถึงริ่มฝั่งน้ำ ซึ่งมีประชาชนจำนวนมากพากันมามุงดูจนแน่นขนัดไปหมด ตลาดร้านค้าแทบจะร้างไปทั้งเมืองเพราะผู้คนพากันออกจากบ้านมาที่ริมฝั่งน้ำกันหมด ตัวคลีโอพัตราเองแต่งกายด้วยชุดของเทพเจ้าวีนัสซึ่งเป็นเทพแห่งความงามและความรักของพวกโรมัน (ดาวพระศุกร์) ความงามของนางเฉิดฉายเปล่งประกายท้าทายแสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และข่มแสงจันทร์ให้ซีดจางลงในเวลาค่ำคืน คนรับใช้ชายแต่งตัวอย่างสวยงามในชุดของกามเทพและหญิงรับใช้แต่งตัวในชุดนางเงือกทะเล บางคนก็ทำงานอยู่ที่พวงมาลัยเรือ บางคนอยู่ที่เส้นเชือกระโยงระยางต่างๆ เสียงเล่าขานปากต่อปากของประชาชนชาวทาร์ซัสร่ำลือไปจนถึงขนาดว่า เทพธิดาวีนัสได้มาเสวยพระกระยาหารร่วมกับเทพแบคคัสที่ชายฝั่งทาซัสเพื่อพิจารณาการให้ความช่วยเหลือแก่ชาวโลก”







    สมรภูมิแอคติอุม    ยุทธนาวีที่เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลก เมื่อกองทัพของออคตาเวี่ยนสามารถได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพของมาร์ค แอนโทนี่ และคลีโอพัตรา






    คลีโอพัตราได้เสียชีวิตมาเป็นเวลานานกว่าสองพันปีแล้ว แต่เรื่องราวและชีวิตที่น่าประทับใจของนางยังคงได้รับการกล่าวขานสืบเนื่องกันมาตลอดทุกช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา กวี ศิลปิน และนักเขียนจำนวนมากได้กล่าวถึงนางและเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของนางมาตลอดทุกยุคทุกสมัยเช่น ยอร์จ เบอร์นาดชอว์นักแต่งละครชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ได้นำเรื่องราวของนางมาเขียนเป็นบทละครอมตะเรื่อง “ซีซาร์กับคลีโอพัตรา” ในขณะที่เช็คสเปียร์กวีเอกของโลกก็ได้นำเรื่องราวของนางมาแต่งเป็นบทกลอนเรื่อง “แอนโทนี่กับคลีโอพัตรา” จากแรงบันดาลใจที่ได้อ่านเรื่องราวของนาง บทประพันธ์ทั้งสองนั้นเนื้อหาหลักเป็นการกล่าวยกย่อง ความงามสง่า และเสน่หานุภาพของนาง และบรรยายเรื่องราวความรักอมตะระหว่างนางกับจูเลียส ซีซาร์ และมาร์ค แอนโทนี่ ไมเคิล แองเจโล ศิลปินเอกของโลกก็ได้วาดภาพนางไว้เช่นกัน โดยในภาพเขียนต่างๆทั่วไปนั้นก็มักจะบรรยายภาพให้จูเลี่ยส ซีซาร์เป็นแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ มาร์ค แอนโทนี่เป็นวีระบุรุษที่มีหน้าตาดี และมีบุคลิกสง่างาม และภาพของคลีโอพัตราให้เป็นผู้หญิงที่งดงามและมีเสน่หานุภาพยิ่ง แม้ในปัจจุบันนี้เรื่องราวของนางก็ยังคงได้รับการนำมาบอกเล่าบนจอภาพยนตร์ ละครเวที หรือรายการโทรทัศน์ และในข้อเขียน บทความ สิ่งตีพิมพ์ต่างๆมากมาย ซึ่งประเด็นต่างๆที่น่าสนใจเกียวกับ “คลีโอพัตรา” นั้นพอจะสรุปได้ดังนี้

    (1) “คลีโอพัตรา” เป็นฟาโรห์องค์สุดท้าย ในระบอบการปกครองของอิยิปต์โบราณที่เป็นอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่และเจริญรุ่งเรืองยิ่งในประวัติศาสตร์ สืบทอดอำนาจการปกครองผลัดเปลี่ยนราชวงศ์ต่างๆกันมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอดเป็นระยะเวลากว่าสามพันปี และต้องมาสิ้นสุดลงในสมัยของคลีโอพัตราจากการรุกรานของอาณาจักรโรมัน หลังจากสมัยของคลีโอพัตราอิยิปต์ก็กลายสภาพเป็นเพียงแค่เขตยึดครองของโรมันเท่านั้น

    (2) “คลีโอพัตรา” ในตลอดระยะเวลาสองพันกว่าปีที่ผ่านมา นางได้รับการกล่าวขวัญถึงว่าเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ (ตะวันตก) ซึ่งโดยทั่วไปประวัติศาสตร์ตะวันตกบอกว่ามีผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ 3 คนคือ ราชินีเนเฟอร์ตีติ (อิยิปต์โบราณ), เฮเลน แห่งทรอย (กรีก) และ ฟาโรห์คลีโอพัตรา (ยุคสุดท้ายของอิยิปต์โบราณ) และถ้าจะมีผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ของฝรั่งเพิ่มขึ้นอีกก็ดูเหมือนว่าจะยกให้ ราชินีกินิเวียร์ (อังกฤษ) ของกษัตริย์อาเธอร์แห่งคาเมล็อต (ผู้ก่อตั้งอัศวินโต๊ะกลม) ว่าเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์คนที่ 4 (เท่ากับของจีนพอดีซึ่งมีผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ 4 คนคือ ไซซี, เตียวเสี้ยน, หยางกุ้ยเฟย และหวังเจาจิน)

    (3) “คลีโอพัตรา” นอกจากจะได้รับการกล่าวขานถึง ว่าเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์แล้ว ยังได้รับการยอมรับอีกว่าเป็นผู้หญิงที่ฉลาดปราดเปรื่อง เชี่ยวชาญในวิชาการแขนงคณิตศาสตร์ รัฐศาสตร์การปกครอง ศิลปะศาสตร์ และยังเชี่ยวชาญภาษาศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม  สามารถพูดได้ 14 ภาษารวมถึง พูดภาษาอิยิปต์โบราณได้คล่องแคล่วอีกด้วย ถ้าไม่ใช่เพราะนางเป็นผู้หญิงประวัติศาสตร์คงจะต้องยกตำแหน่ง “ปราชญ์” ให้นางไปแล้วอย่างแน่นอน

    (4) “คลีโอพัตรา” เป็นผู้หญิงที่น่าสงสารมากคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ ตลอดชีวิตของนางได้อุทิศตนต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติบ้านเมืองภายใต้บัลลังก์ของราชวงศ์พโตเลมี ให้ยืนยงคงอยู่นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ในที่สุดความเข้มแข็ง สติปัญญา และการทุ่มเทความพยายามของนาง ก็ไม่สามารถต้านทานแสนยานุภาพที่เกรียงไกรยิ่งใหญ่ของมหาอาณาจักรโรมันได้ ผลตอบแทนที่นางได้รับในที่สุด จึงมีแต่ความผิดหวัง อาภัพอับวาสนา ต้องสูญเสียชาติบ้านเมือง ราชบัลลังก์ บุตร ธิดา คนรัก ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต และต้องจบชีวิตด้วยการทำอัตวินิบาตกรรมตัวเองในที่สุด

    (5) “คลีโอพัตรา” แสดงตัวตนที่แท้จริงของนางโดยตลอด อย่างองอาจกล้าหาญและเปิดเผยว่านางเป็นราชินีที่มีอำนาจ เป็นเทพธิดาไอซิสมาจุติ ในการปกป้องเอกราชอธิปไตยของชาติบ้านเมืองนั้น นางต่อสู้กับผู้มีอำนาจแห่งโรมราวกับนางสิงห์ทะเลทราย ไม่เคยยอมก้มหัวให้กับทั้งแสนยานุภาพที่ยิ่งใหญ่ของอภิมหาอาณาจักรโรมัน และผู้ชายของโรมันที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกไม่ว่าคนไหนทั้งสิ้น แม้เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต นางก็ยอมตายมากกว่าที่จะยอมก้มหัวให้กับ ออคตาเวียน และอภิมหาอาณาจักรโรมันของเขา

    (6) “คลีโอพัตรา” เป็นอัจฉริยะทางการเมือง ที่ต้องการสืบสานเจตนารมณ์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชที่ว่า เพื่อความเจริญไพบูลย์ของมนุษย์ชาติ โลกควรจะอยู่ภายใต้ระบบการปกครองที่เป็นหนึ่งเดียว จูเลียส ซีซาร์, เจ็งกิสข่าน และนโปเลียน โบนาปาร์ต ฯลฯ ก็คิดแบบนี้ ในขณะที่พวกเขาได้รับการยกย่องจากโลกว่าเป็น มหาบุรุษ/มหาราช แต่เพียงเพราะนางเป็นผู้หญิงจึงถูกประณามว่าเป็น “นางแพศยาที่กระหายอำนาจ”???

     (7) “คลีโอพัตรา” ผู้ชายในชีวิตของนางทั้งสองคน คือ จูเลียส ซีซาร์ และมาร์ค แอนโทนี่ล้วนเป็นผู้ชายที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกในยุคนั้น ซึ่งไม่เคยมีผู้หญิงนางใดในประวัติศาสตร์ สามารถครอบครองหัวใจของบุรุษที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกได้ถึงสองคนเช่นนาง อีกทั้งเรื่องราวในการเข้าครอบครองหัวใจของผู้ชายในชีวิตของนางทั้งสองคนนั้น ก็เป็นเรื่องราวความรักอมตะบันลือโลกที่ลือลั่นสะท้านแผ่นดิน เล่าขานสืบเนื่องติดต่อกันมากว่าสองพันปีทุกชั่วอายุคนจวบจนปัจจุบัน

    (8) “คลีโอพัตรา” ในทางโหราศาสตร์นั้นคำว่า “ผู้ชายในชีวิต” สำหรับผู้หญิง ถ้าไม่ใช่ “สามี” ก็จะเป็น “ผู้ชายที่เป็นศัตรูเปิดเผย และประจันหน้าโดยตรง” กับผู้หญิงคนนั้น .ซึ่งเนื้อหาในภาพยนตร์ทั้งสองเวอร์ชั่น และบันทึกโบราณบางส่วนก็ชี้บอกเหมือนกันว่า ออคตาเวี่ยนเองก็มีส่วน “พอใจ” คลีโอพัตราเช่นกัน แต่เขาฉลาดพอและเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของ “อำนาจทางการเมือง” มากกว่าที่จะมาลุ่มหลงในอิสตรี แต่ถ้าสมมติว่าคลีโอพัตรายอมไปกรุงโรมตามความต้องการของออคตาเวี่ยนเมื่อเขายึดครองอิยิปต์ได้แล้วนั้น วีรบุรุษทิ่ยิ่งใหญ่ที่สุดทั้งสามคนของมหาอาณาจักรโรมันยุคนั้นอาจล้วนเคยคุกเข่าให้นางมาหมดแล้วทุกคนก็ได้!!

     (9) “คลีโอพัตรา” ภาพยนตร์เรื่องคลีโอพัตรา เวอร์ชั่นปี 1963 ที่แสดงนำโดย เอลิซาเบธ เทย์เล่อร์ ริชาร์ด เบอร์ตัน และเร็ค แฮริสัน เป็นภาพยนตร์ที่ลงทุนสร้างด้วยต้นทุนที่สูงที่สุดในโลก (มูลค่าลงทุน ณ ปี 1963 คือ 44 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าคิดอัตราเงินเฟ้อมาจนถึงปัจจุบันจะประมาณระหว่าง 500 – 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 25,000 ล้านบาท!) และคาดได้ว่าในอนาคตจะไม่มีภาพยนตร์เรื่องใด ที่ผู้สร้างจะกล้าลงทุนด้วยต้นทุนที่สูงเช่นนี้อีกแล้ว และโอกาสที่จะสร้างภาพยนตร์โดยใช้ฉากจริง ฝูงชนจริง และอะไรต่ออะไรจริงๆ ทั้งหมดในยุคนี้ก็ยิ่งจะทำให้เป็นไปไม่ได้ยิ่งขึ้นไปอีก

    (10) “คลีโอพัตรา” เอลิซาเบธ เทย์เลอร์ ซึ่งแสดงเป็น “คลีโอพัตรา” ตามข้อ (9) เป็นดาราที่โด่งดังที่สุดคนหนึ่งเท่าที่ฮอลลีวูดเคยมีมา และเป็นดาราภาพยนตร์คนแรกของฮอลลีวูดที่ได้ค่าตัวในการแสดงสูงถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ( ณ ปี 1963) และเธอเองก็ได้รับเลือกจากโพลสำนักต่างๆในยุคนั้นเช่นเดียวกันให้เป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลก และดูเหมือนว่าเธอเป็นนางเอกที่ได้รับความรังเกียจจากสังคมอเมริกันในยุคนั้นมากที่สุดด้วย จากพฤติกรรมการเปลี่ยนสามีบ่อยครั้งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีสัมพันธ์สวาทกับริชาร์ด เบอร์ตันนอกจอในระหว่างแสดงเป็นคู่พระคู่นางในภาพยนตร์เรื่องนี้ ทั้งๆที่ทั้งคู่ต่างก็มีสามีและภรรยาตามกฎหมายเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว ในช่วงปี 1963 นั้น เอลิซาเบธ เทย์เลอร์ไม่เพียงได้รับการกล่าวขวัญถึงว่าเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในอเมริกาเท่านั้น แต่เธอได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็น “ผู้ทำลายสถาบันครอบครัวอย่างต่อเนื่อง (serial home breaker)” ที่เป็นภัยยิ่งต่อคุณค่าทางศิลธรรมของสังคมอเมริกันในขณะนั้นอีกด้วย

    (11) “คลีโอพัตรา” ไม่มีข่าวเรื่องใดในสหรัฐอเมริกาช่วงปี 1959 – 1964 ที่จะได้รับความสนใจเท่ากับข่าว ความสัมพันธ์ลึกซึ้งนอกจอ ระหว่างคู่พระคู่นาง ริชาร์ด เบอร์ตั้น กับเอลิซาเบ็ธ เทย์เล่อร์ ยกเว้นข่าวการลอบสังหารประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ และข่าววิกฤติการณ์การเผชิญหน้ากันที่น่านน้ำคิวบา ระหว่างกองเรือรบของสหรัฐ กับกองเรือรบของรัสเซียที่บรรทุกขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์เพื่อนำไปติดตั้งที่คิวบา

    (12) “คลีโอพัตรา” อาจจะเพราะนางเป็นผู้หญิงที่มีชื่อเสียง และน่าสนใจมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ และอาจเป็นเพราะพวกโรมันกลัวนางมากพอๆ กับที่กลัวฮันนิบาลที่เคยขี่ช้างยกกองทัพบุกไปถึงหน้าประตูกรุงโรม ดังนั้นพวกโรมันซึ่งเป็นผู้ชนะสงครามและมีอคติกับนางจึงเขียนให้ร้ายนางไว้ค่อนข้างมากในบันทึกของพวกเขา (ดังที่กล่าวก่อนหน้านี้แล้วว่าส่วนใหญ่ล้วนเป็นการกล่าวให้ร้ายโดยไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่จะอ้างอิงได้) ดังนั้นแม้คนส่วนใหญ่ในโลกจะยกย่องชื่นชมนาง แต่ก็จะมีคนส่วนน้อยบางคนมีอคติกับนางและกล่าวให้ร้ายนางเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นเรื่องความงามของนางซึ่งเป็นที่กล่าวขานเลื่องลือสืบเนื่องกันมากว่าสองพันปี ก็ยังอุตสาห์มีคนสมัยหลังๆ บางคนอ้างหลักฐานเหรียญโบราณ ที่ทำเป็นรูปสัญญลักษณ์แบบหยาบๆ ที่ค้นพบในช่วงหลังมาเป็นหลักฐานแล้วก็แสดงความเห็นในทางลบว่า คลีโอพัตราไม่ใช่ผู้หญิงสวยอะไร ขี้เหร่ด้วยซ้ำไป ทำนองนี้ ทั้งๆ ที่มีคำบรรยายชัดเจนในประวัติศาสตร์ว่านางเป็นหญิงที่งามสง่าและมีเสน่ห์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งแม้กระทั่งในส่วนที่เป็นบันทึกที่พวกโรมันเขียน และกล่าวร้ายป้ายสีนางในเรื่องต่างๆมากมาย ก็ยังยอมรับเป็นเอกฉันท์มาตลอดว่านางเป็นหญิงที่งดงาม และมีเสน่หานุภาพเป็นอย่างยิ่ง และยังมีรูปปั้นของนางอีกหลายรูปที่พอจะสันนิษฐานได้ว่านางเป็นผู้หญิงที่งดงามมากเช่น รูปประติมากรรมหินอ่อนส่วนที่เป็นใบหน้าของนางซึ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เชอเชลประเทศอัลจีเรีย รูปปั้นวีนัสเอสไควไลน์ ที่พวกโรมันปั้นให้นางแล้วใช้ชื่อเทียบเคียงกับเทพแห่งความงาม (ดาวพระศุกร์) ของพวกตน ฯลฯ

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×