ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สารพันความรู้กับวิทยศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #3 : สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

    • อัปเดตล่าสุด 16 พ.ย. 53


    สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

    สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
    ?
    กบ จัดเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
    กบ จัดเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

    สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือเรียกอย่างทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (อังกฤษ: Amphibians) เป็นสัตว์ที่อยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดหรือขน หายใจด้วยเหงือก ปอด ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ส่วนใหญ่ตัวผู้จะมีถุงลมปากเพื่อใช้ส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม

    ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลา อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ เช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง เขียด ซาลามานเดอร์

    สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในหน้าแล้งใน

    ช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน สัตว์พวกนี่ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งมันจะหายใจไม่ได้และอาจตายได้ เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู้กระแสโลหิต ระยะนี้มันจะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้าๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่

    สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นสัตว์เลือดเย็น เช่น เดียวกับสัตว์พวกปลา กินแมลง และ หนอนที่ยังมีชีวิตอยู่

    เนื้อหา

    [ซ่อน]

    อันดับของสัตว์สะเทินน้ำสะทินบก

    วงศ์เขียดงู

    มีลักษณะเหมือนไส้เดือน ไม่มีขา และมักอาศัยอยู่ในเขตร้อน

    วงศ์กะท่าง

    กะท่าง

    ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ กะท่าง

    กะท่าง หรือ ซาลามานเดอร์ หรือ "จั๊กกิ้มน้ำ" ในภาษาไทยถิ่นเหนือ เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เป็นสัตว์จำพวกนิวต์ หรือ ซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ เพียงชนิดเดียวที่พบได้ในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tylototriton verrucosus มีรูปร่างสีน้ำตาลคล้ำ มีแต้มสีส้มเหลืองบนส่วนปากและปุ่มบนแผ่นหลังและหางสีส้ม ด้านใต้ท้องสีออกส้มจนถึงสีน้ำตาลเหลือง ความยาวประมาณ 13 - 15 เซนติเมตร โดยจะอาศัยในลำธารตามเชิงเขา มีอาณาบริเวณแคบ ๆ มีต้นไม้ใหญ่ เช่น ยาง, ปาย, ไทร, กระบาก, มะไฟ, มะกอกป่า และเถาวัลย์ขึ้นปกคลุม

    ในฤดูผสมพันธุ์ตกอยู่ในราวเดือนกันยายนจนถึงตุลาคม กะท่างโตเต็มวัยจะมารวมกลุ่มเพื่อการผสมพันธุ์กันตามแอ่งน้ำนิ่งตามลำธาร ตัวเมียจะวางไข่ติดอยู่กับพืชน้ำ และตัวอ่อนที่อาศัยอยู่ในน้ำจะมีเหงือกเป็นพู่เห็นได้ภายนอกจำนวน 3 คู่ ตัวอ่อนกินลูกอ๊อด และ แมลงน้ำเป็นอาหาร มีลักษณะพิเศษคือ เมื่อขาหรือหางขาดไป สามารถงอกใหม่ได้

    ในประเทศไทย พบอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เช่นที่ ดอยอินทนนท์, ดอยเชียงดาว, ดอยสุเทพ-ปุย และดอยอ่างขางในจังหวัดเชียงใหม่ และบนภูหลวงในจังหวัดเลย พบอยู่ในระดับสูง 1,200 - 2,000 เมตร ในป่าดงดิบเขา

    ในต่างประเทศพบที่รัฐสิกขิม, พม่าตอนเหนือ, แคว้นฉานตอนใต้, ยูนนานภาคตะวันตก และภาคเหนือของลาว

    สถานภาพของกะท่างในปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้ว แม้ในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดขอนแก่นมีรายงานเมื่อไม่นานมานี้ว่า พบประชากรกะท่างในลำธารเป็นจำนวนมากก็ตาม อันเนื่องจากถูกรุกรานทางถิ่นที่อยู่อาศัย อีกทั้งถูกจับไปเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เนื่องจากมีสีสันสวยงาม โดยเฉพาะตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ แต้มสีส้มบนลำตัวจะชัดเจนมาก จนได้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า King Salamander หรือ Emperor Salamander (มักจะถูกเรียกรวมว่าเป็น ซาลาแมนเดอร์) เป็นที่ยอมรับของนักเลี้ยงสัตว์ว่า เป็นนิวส์ที่มีสีสันสวยงามที่สุดในโลก แต่ว่าการนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงมักไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากไม่อาจปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้

    ปัจจุบัน กะท่างได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 และกรมประมงได้ทำการวิจัยเพาะขยายพันธุ์กะท่างในที่เลี้ยงเป็นที่สำเร็จได้แล้ว แต่กระนั้นก็ยังต้องเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่เป็นภูเขาสูงนั่นเอง

    กะท่าง มีชื่อเรียกในภาษาเหนือว่า "จั๊กกิ้มน้ำ" ซึ่งแปลว่า "จิ้งจกน้ำ"

    วงศ์กบ คางคก อึ่งอ่าง

    กบ
    คางคก

    ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ กบ คางคก

    กบจัดอยู่ในวงศ์รานิดี (Ranidae) สกุลรานา (Rana) ผิวหนังขรุขระ ไม่มีขนและเกล็ด ที่บริเวณผิวหนังของกบจะมีต่อมเมือกและน้ำใส ๆ เพื่อช่วยให้ผิวหนังของกบนั้น มีความชุ่มชื่นอยู่เสมอ กบไม่มีคอและหางซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการว่ายน้ำ มีขา 2 คู่ ขาด้านหน้ามีขนาดเล็กและสั้น มีนิ้วเท้าสี่นิ้วที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยนิ้วที่หนึ่งหรือนิ้วหัวแม่มือ มีลักษณะเป็นตุ่มขนาดเล็ก ขาคู่หลังมีมัดกล้ามเนื้อที่มีความแข็งแรง คอยประคองและค้ำจุนให้กบสามารถกระโดดไปด้านหน้าได้อย่างรวดเร็ว มีข้อเท้าขนาดยาวช่วยในการกระโดด ระหว่างนิ้วเท้าทั้งห้าของขาคู่หน้าและหลัง มีหนังบาง ๆ เป็นแผ่น ๆ ยึดติดกันใช้สำหรับว่ายน้ำ

    ส่วนคางคกนั้น เป็นสัตว์มีพิษ สำหรับพิษคางคกจะมีลักษณะเป็นเมือกสีขาว ชาวบ้านเรียกว่า ยางคางคก คางคกมีต่อมพิษของคางคก อยู่ที่เส้นสันหลัง ใต้ตา และเครื่องในบางส่วน ถ้านำมารับประทานอาจถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนใหญ่คนที่กินคางคกมักคิดว่ากินแล้วมีกำลังวังชาและรักษาโรคได้ แต่ความจริงแล้วคางคกไม่มีตัวยาแก้หรือรักษาโรคอะไรเลย เมื่อนำไปปรุงเป็นอาหารจะอันตรายเพราะสารพิษจะกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โดยเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบของหัวใจ

    วัฏจักรชีวิต

    วัฏจักรชีวิตของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้แก่ การผสมพันธุ์ > ไข่ > ตัวอ่อน > ตัวเต็มวัย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×