จริยธรรมในการประกอบธุรกิจ
หากการประกอบธุรกิจขาดซึ่งจริยธรรมแล้วย่อมเกิดผลกระทบต่อสังคมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผู้บริโภคถูกเอาเปรียบจากการที่ได้บริโภคสินค้าหรือบริการที่ไม่มีคุณภาพ หรือถูกหลอกลวง ทำให้คุณภาพชีวิตตกต่ำ ปัญหาระดับคุณธรรมของคนในสังคมลดต่ำลง เนื่องจากการเอาตามอย่างในสิ
ผู้เข้าชมรวม
1,594
ผู้เข้าชมเดือนนี้
0
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
จริยธรรมในการประกอบธุรกิจ
สังคมการค้าในปัจจุบันเต็มไปด้วยธุรกิจมากมายหลายประเภท ทั้งธุรกิจอุตสาหกรรม เกษตรกรรม โฆษณา ทั้งอุปโภคและบริโภค หากการประกอบธุรกิจขาดซึ่งจริยธรรมแล้วย่อมเกิดผลกระทบต่อสังคมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผู้บริโภคถูกเอาเปรียบจากการที่ได้บริโภคสินค้าหรือบริการที่ไม่มีคุณภาพ หรือถูกหลอกลวง ทำให้คุณภาพชีวิตตกต่ำ ปัญหาระดับคุณธรรมของคนในสังคมลดต่ำลง เนื่องจากการเอาตามอย่างในสิ่งที่ไม่ดี เป็นต้น
การประกอบธุรกิจใดก็ตามไม่ควรที่จะเอาเปรียบหรือหลอกลวงลูกค้า เช่น การประกอบคอมพิวเตอร์ขายโดยนำอะไหล่ที่ผลิตจากหลายๆที่มาประกอบรวมกัน(ยำอะไหล่)แล้วขายในราคาแพงที่ไม่สมกับคุณภาพ หรือศูนย์บริการซ่อมรถยนต์ แอบเปลี่ยนอะไหล่รถของลูกค้าคนหนึ่งไปใส่ให้กับลูกค้าอีกคนหนึ่ง เป็นต้น เพราะการเอาเปรียบหรือหลอกลวงลูกค้าเช่นนี้ แม้จะทำให้บริษัทได้กำลังสูงก็ตามแต่มันก็เป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น พอความจริงเปิดเผย ลูกค้าก็ย่อมจะหนีไปอุดหนุนบริษัทอื่นและฟ้องร้องธุรกิจนั้นๆได้ ดังนั้นการไม่เอาเปรียบหรือหลอกลวงลูกค้า ผลิตสินค้าหรือบริการอย่างมีคุณภาพ ถึงแม้ต้นทุนจะมากในช่วงแรก แต่เมื่อลูกค้าได้ใช้และพึงพอใจ ก็จะเกิดความเชื่อใจ และบอกต่อ ทำให้มีลูกค้ามากขึ้น ความต้องการสินค้ามากขึ้น มีการผลิตมากขึ้น มีผลกำไรมากขึ้น และทำให้บริษัทมีความมั่นคงสามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ในระยะยาว
การโฆษณาก็ต้องมีจริยธรรมเช่นกัน ในปัจจุบันมีโฆษณามากมายที่ทำออกมาโดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อเยาวชนและสังคม มีการชักจูงเยาวชนไปในทางที่ผิด ทำให้เยาวชนเกิดค่านิยมผิดๆ ส่งผลกระทบต่อความคิด ทำให้คนในสังคมอ่อนแอ เช่น การโฆษณาของสินค้าบางอย่างที่เน้นให้เยาวชนและคนในสังคมยึดติดกับวัตถุ มีจุดประสงค์ให้คนเข้าใจว่าวัตถุนั้นๆบ่งบอกความเป็นตัวตนของตัวเอง การโฆษณาเช่นนี้อาจส่งผลกระทบให้คนดูกันที่วัตถุติดความเป็นค่านิยม โดยไม่ได้ใช้ความคิดพิจารณาเหตุผลและคุณค่า นอกจากนี้ โฆษณาสินค้าบางอย่างที่เอาวัฒนธรรมของชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งๆที่วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติเป็นสิ่งที่ดีงามไม่ได้มีส่วนข้องเกี่ยวกับสินค้านั้นๆเลย การโฆษณาแบบนี้อาจทำให้คนในสังคมเข้าใจผิดไป เกิดความคิดเชื่อมโยงระหว่างเอกลักษณ์ของชาติกับสินค้านั้น กลายเป็นว่าการบริโภคสินค้านั้นเป็นเอกลักษณ์ของชาติไปแทน และโฆษณาบางอย่างที่บอกว่าทำเพื่อสังคมช่วยเหลือสังคม แต่สินค้าของเขากลับทำลายสังคมมากกว่า ดังนั้นการทำธุรกิจโฆษณาหรือการจะโฆษณาอะไรก็ตามควรจะมีจริยธรรมและคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและเยาวชน ควรเน้นการโฆษณาแบบให้คนดูคิดพิจารณาถึงคุณค่า มากกว่าเน้นค่านิยม เพื่อเป็นการทำให้คนในสังคมรู้จักใช้เหตุผลในการพิจารณามากกว่าใช้อารมณ์ด้วย
จะเห็นได้ว่าการประกอบธุรกิจใดก็ตามหากขาดซึ่งจริยธรรมแล้วย่อมทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อสังคมตามมามากมาย ถ้าธุรกิจใดก็ตามตระหนักถึงจริยธรรมในการประกอบธุรกิจแล้ว ก็จะทำให้เกิดผลดีต่อสังคมของพวกเราผลงานอื่นๆ ของ CU_SIFE ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ CU_SIFE
ความคิดเห็น