ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    :====หอหนังสือ====:

    ลำดับตอนที่ #12 : Owatatsumi : เทพมังกรริวจิน (龍神)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 257
      1
      22 มิ.ย. 56

    เทพมังกรริวจิน (龍神)




    เทพเจ้ามังกรของทางญี่ปุ่นนั้น มีชื่อว่า Owatatsumi (โอวาทะทสึมิ) หรือแฟนๆ
    มังงะและอนิเมะทั้งหลายก็คงจะเคยได้ยินเขาเรียกกันว่า
     
    Ryujin (ริวจิน) ไม่ก็ Ryojin (เรียวจิน) 
    อยู่บ่อยๆ ซึ่งตามตำนานของญี่ปุ่นนั้น ริวจินก็คือเทพเจ้าผู้พิทักษ์ท้องทะเล 



    ริวจินถือเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังอำนาจของมหาสมุทร เชื่อว่ามีลักษณะคล้ายงู ปากใหญ่
    และสามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ อาศัยอยู่ในพระราชวังใต้ทะเลเรียกว่า
     
    Ryugu-jo (ริวกุโจ) 
    ที่สร้างขึ้นด้วยสาหร่ายทะเลสีแดงและสีขาว ปกติจะมีเต่าทะเล ฝูงปลา และแมงกระพรุนเป็นบริวาร
    โดยมีผู้ส่งสารคือ
     
    Riuja (ริวจะ) งูขาวตัวเล็กๆ ซึ่งมีหน้าเป็นมนุษย์

     

    มีตำนานหนึ่งเกี่ยวกับเทพเจ้ามังกร กล่าวว่าริวจินเป็นบิดาของเจ้าหญิง Otohime (โอโตะฮิเมะ) 
    ซึ่งแต่งงานกับเจ้าชาย Hoori (โฮริ)
     จักรพรรดิ Jimmu (จิมมุ) จักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่นที่เชื่อกันว่าเป็นหลานของ
    Otohime และ Hoori ดังนั้นเทพเจ้ามังกรริวจินนั้นจึงเป็นหนึ่งในบรรพบุรุษของราชวงศ์อิมพีเรียล


    เพิ่มเติมอีกเล็กน้อยด้วยความเชื่อที่ว่า Koi (ปลาคาร์ฟ) ปลาที่มีความอดทน ซึ่งพยายามว่าย
    จนถึงต้นน้ำเพื่อไปวางไข่นั้น เมื่อสามารถเดินทางฝ่าฝันอุปสรรถไปถึงต้นน้ำก็กลายร่างเป็นมังกร
    วันเด็กผู้ชายจึงมักจะประดับด้วยธงปลาคาร์ฟ เพราะพ่อแม่ต่างก็อยากให้ลูกชายของตนอดทน แข็งแกร่ง
    และเก่งกล้าเหมือนกับมังกร

     

    นอกจากริวจินจะเป็นเทพเจ้าแห่งท้องทะเลแล้ว ทางศาสนาชินโตยังเชื่อมโยงเทพเจ้า
    องค์นี้เข้ากับการเกษตร ทำให้ริวจินเป็นเสมือนของเทพเจ้าแห่งน้ำด้วย ดูแลคุ้งน้ำต่างๆ ทั้งแม่น้ำ หนอง คลอง บึง
    ใครใคร่จะขอฝนก็ขอจากเทพเจ้าริวจินได้เช่นกัน อีกประการหนึ่งเทพเจ้าริวจินก็ยังมีความเกี่ยวพันกับ
     Raijin (ไรจิน) 
    เทพเจ้าผู้นำมาซึ่งสายฝนหรือเทพเจ้าแห่งสายฟ้านั่นเอง บ้างก็เรียกว่า Kaminarisama (คามินาริซามะ) 
    และ 
    Raidensama (ไรเด็นซามะ) เชื่อกันว่าเมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนองก็หมายถึงเทพเจ้ามังกรกำลังจะลงมาจากสรวงสวรรค์ 

     

    ชาวประมงญี่ปุ่นจึงมักจะขอพรจากเทพเจ้าริวจินก่อนออกเรือ โดยหวังให้คลื่นลมสงบและ
    จับสัตว์น้ำได้เยอะๆ ชาวประมงศรัทธาในเทพเจ้ามังกรมากทำให้มีเทศกาลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทพเจ้ามังก
    รหลายเทศกาล อาทิ
     Uramatsuri (เทศกาลแห่งร่องน้ำ) Isomatsuri (เทศกาลแห่งชายหาด) 
    และเทศกาล Shiomatsuri (เทศกาลแห่งกระแสน้ำ) เป็นต้น

     

    สำหรับผู้ที่ศรัทธาในเทพเจ้ามังกร สถานที่หนึ่งที่อยากจะแนะนำนักท่องเที่ยวทั้งหลายให้รู้จักไว้
    นั่นคือ
     Kuzuryu Shrine (ศาลเจ้าคุซุริว) ซึ่งตั้งอยู่ที่ทะเลสาบอาชิในเมืองฮาโกเนะนั่นเอง ที่ศาลเจ้าแห่งนี้เชื่อ
    ว่านอกจากริวจินจะให้ความสมดุล (หยิน-หยาง) เพราะสามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งในน้ำและบนอากาศ เป็นได้ทั้งมังกรน้ำ
    และมังกรฟ้า ยังเชื่อว่าริวจินเป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดใหม่ด้วย เหตุเพราะว่างู (แน่นอนว่ามังกรมีรูปลักษณ์คล้ายงู)
    สามารถลอกคราบซึ่งเหมือนการกำเนิดใหม่นั่นเอง ตามตำนานของศาลเจ้าแห่งนี้กล่าวว่าเคยมีมังกร
    9 หัว อาละวาด
    อยู่บริเวณทะเลสาบอาชิ พระรูปหนึ่งชื่อว่า
     
    Mangen (มังเงน) จึงสร้างสถูปขึ้นที่ทะเลสาบแห่งนี้ จากนั้นมังกรดุร้ายตนนั้น
    ก็กลายเป็นเทพเจ้าริวจิน ที่ศาลเจ้าคุซุริวมีพิธีกรรมเพื่อสักการะเทพเจ้ามังกรในวันที่
    13 ของทุกเดือน โดยจะมี
    การจัดเทศกาลประจำปีขึ้นในวันที่
    13 เดือนมิถุนายน แต่เนื่องจากศาลเจ้าแห่งนี้เข้าถึงได้ค่อนข้างลำบากหน่อย
    เพราะต้องเดินผ่านป่าไปประมาณ
    30 นาที ทำให้มีการสร้างศาลเจ้าย่อยขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าริวจินไว้ที่
     
    Hakone Jinja (ศาลเจ้าฮาโกเนะ) และรู้จักกันในชื่อ Kuzuryu Shingu (ศาลเจ้าคุซุริวใหม่) ถ้ามีโอกาสไปเยือน
    ทะเลสาบอาชิครั้งหน้า ก็แวะไปสักการะกันได้นะ

     

     นี่ก็เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับเทพเจ้ามังกรของญี่ปุ่นเพียงเล็กๆ น้อยๆ อันที่จริงยังมี
    ตำนานญี่ปุ่นเกี่ยวกับริวจินอีกหลายตำนาน และมีความเชื่ออีกมากมายในญี่ปุ่นที่เกี่ยวกับริวจิน
    จึงไม่น่าแปลกใจที่คนญี่ปุ่นมีความผูกพันกันเทพเจ้าองค์นี้พอสมควรทีเดียว

    =====================================================================

    เครดิต : 
    http://www.marumura.com/tale/?id=2626
    quality
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×