ลำดับตอนที่ #25
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #25 : บทวิจารณ์ The remedy shipper โดย H.ot Gossip* (ได้รับเหรียญทองแดง)
The remedy shipper โดย H.ot Gossip*
ผู้วิจารณ์ : ผู้สร้าง
ภาษาที่ใช้ : 17/25 คะแนน
- เอกลักษณ์
ภาษาที่ใช้อยู่ในระดับที่แตกต่างจากนิยายเด็กดีส่วนมาก ผู้อ่านรู้สึกได้ถึงความเป็นเอกลักษณ์ แต่ไม่ปรากฏเทคนิคที่ใช้เท่าไร
- บทบรรยาย
บรรยายได้ดี ผู้อ่านสามารถนึกภาพตามได้ บทบรรยายไม่ยืดเยื้อ ผู้อ่านไม่รู้สึกเบื่อกับบทบรรยาย
- ประโยคสนทนา
ค่อนข้างมีความสมดุลกับบทบรรยายดี ส่วนนี้จะมีผลต่อความจริงจังของนิยายมาก สำหรับงานเขียนเรื่องนี้ บทสนทนาค่อนข้างขำขันเบาสมองดี
- การสะกดคำ
มีการสะกดคำผิดบ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นคำที่สะกดผิดเพราะความไม่รอบคอบ แต่มีบางคำที่ไม่แน่ใจว่าไม่รู้หรือไม่รอบคอบ สำหรับส่วนนี้แนะนำให้เปิดพจนานุกรมเพื่อตรวจสอบบ้าง
- เพิ่มเติม
เกี่ยวกับคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ควรเขียนโดยพิจารณาจากตัวสะกดในภาษาอังกฤษนิดหนึ่ง เช่น ดีเพลส ก็ควรจะเป็น ดีเพรส เพราะสะกดด้วย "R" ไม่ใช่ "L"
ในบทแรกที่ตัวเอกพูดว่า "และผู้คนในเมืองเวนิสต่างเรียกข้าว่า... the boy in midnight" ตรงนี้เขียนเป็นภาษาไทยน่าจะดีกว่า
ความน่าสนใจ หรือความน่าติดตาม : 17/20 คะแนน
- บทนำ
เป็นมุมมองบุคคลที่หนึ่ง เป็นการเกริ่นเรื่องราวเล็ก ๆ น้อยของ เด็กหนุ่มยามเที่ยงคืน (ตัวเอก) ผู้คอยบรรเทาความเศร้าโศรกของผู้คน นอกจากผู้อ่านจะสัมผัสได้ถึงอารมณ์แปลกใหม่แล้ว ภาษาที่ใช้ก็อยู่ในเกณฑ์ดีเช่นเดียวกัน
- ความน่าสนใจ
ชายหนุ่มตกลงทำสัญญาเพื่อแลกกับความทรงจำในวัยเด็กของเขา สัญญาที่อาจบรรลุเมื่อเด็กชายสามารถบรรจุความหดหู่ของผู้คนได้เต็มกระปุก แนวคิดที่ถูกนำเสนอเป็นแนวคิดที่แปลกดี และนอกจากจะแปลกใหม่แล้วยังน่าสนใจอีกด้วย
- ความน่าติดตาม
งานเขียนเรื่องนี้เหมาะสำหรับผู้อ่านหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นผู้อ่านที่ชื่นชอบนิยายที่ภาษาค่อนข้างสละสลวย ผู้อ่านที่ชื่นชอบความแปลกใหม่ ผู้อ่านที่ชื่นชอบความเบาสมอง หรืออ่านนิยายเพื่อความผ่อนคลาย แต่สำหรับนักอ่านที่ชื่นชอบนิยายแฟนตาซีที่มีเนื้อหาค่อนข้างเคร่งเครียดจริงจัง หรือนักอ่านที่ค่อนข้างเป็นผู้ใหญ่ อาจไม่เห็นว่างานเขียนเรื่องนี้น่าสนใจเท่าไร
ความมีมิติของตัวละคร ความมีลักษณะเฉพาะของตัวละครแต่ละตัว : 7/15 คะแนน
- เหตุอันเนื่องมาจากรูปแบบการนำเสนอ
นิยายเรื่องนี้เป็นนิยายมุมมองบุคคลที่สาม (บทแรกเป็นบุคคลที่หนึ่ง) แต่นำเสนอเรื่องราวผ่านตัวละครตัวเดียว จึงทำให้ไม่สามารถเห็นลักษณะเฉพาะของตัวละครอื่นเท่าไร
- ความมีมิติของตัวละครหลัก
ตัวละครหลักมีลักษณะค่อนข้างกระดี๊กระด๊า เป็นอารมณ์สนุก ๆ เสียมากกว่า ในส่วนนี้ตัวละครจึงไม่ค่อยมีมิติเท่าไร เหมือนตัวการ์ตูนส่วนใหญ่
ความสมจริงของฉาก ความเป็นเหตุเป็นผล ความน่าเชื่อถือ การตัดสินใจของตัวละคร ความเป็นมนุษย์ ฯลฯ : 8/15 คะแนน
- ฉาก
เป็นฉากที่ผู้เขียนคิดจินตนาการขึ้นเอง ไม่ปรากฏการอิงความจริงอื่น ๆ เช่น ความเป็นไปได้ทางภูมิศาสตร์ถ้าพิจารณาจากสภาพอากาศ ฯลฯ
- ความสมเหตุสมผล
ไม่ปรากฏความไม่สมเหตุสมผลเท่าไร เนื่องจากเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ผู้เขียนคิดจินตนาการขึ้นเอง
- เหตุอันเนื่องมาจากความมีมิติ
ตัวละครมีลักษณะค่อนข้างเป็นการ์ตูน จึงไม่สะท้อนความเป็นมนุษย์เท่าไรนัก
ความสามารถในการสื่ออารมณ์ถึงผู้อ่านผ่านตัวอักษร ผู้อ่านเข้าถึงตัวละครได้แค่ไหน : 8/15 คะแนน
- ความเบาสมอง
นิยายค่อนข้างขำขันเบาสมอง ในส่วนนี้ไม่มีการเน้นเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครเท่าไร ผู้อ่านจะสนุกสนานไปกับเรื่องราว แต่อาจไม่เข้าถึงในส่วนของอารมณ์ความรู้สึก เนื่องจากไม่มีปรากฏให้เห็นเท่าไร
การค้นคว้าของผู้เขียน / ผู้อ่านได้ความรู้บางอย่างเพิ่มเติมในการอ่านนิยายเรื่องนั้น ๆ หรือไม่ เพียงใด : 2/5 คะแนน
- การค้นคว้าของผู้เขียน
ผู้อ่านไม่รู้สึกว่างานเขียนผ่านการค้นคว้ามาอย่างดี อีกทั้งไม่ปรากฏความรู้เพิ่มเติมที่อาจได้รับ แต่ผู้เขียนค่อนข้างมีความสามารถในการเขียน ความสามารถซึ่งปรากฏในบทบรรยาย
และ
คะแนนพิเศษ (ขึ้นอยู่กับผู้วิจารณ์) : 3/5 คะแนน
- น่ารัก
มีความรู้สึกว่าน่ารักดี ลักษณะการบรรยายและลักษณะของตัวละคร
รวม : 62/100 คะแนน
เหรียญที่ได้ : เหรียญทองแดง, เหรียญเจสเตอร์แฟนตาซีบุ๊คคริติก
หากว่าท่านผู้ใดมี ความเห็นที่แตกต่างไปจากนี้ -- ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ ภาษา ความน่าสนใจ ความสมจริง และส่วนอื่น ๆ ที่ประกฏในบทวิจารณ์ -- โปรดอย่าลังเลที่จะแสดงความคิดเห็น ความเห็นของท่านจะมีส่วนช่วยในการพัฒนางานวิจารณ์ต่อไป และที่สำคัญไปกว่านั้น ความเห็นของท่านจะมีส่วนช่วยในการพัฒนางานเขียนนี้ด้วย
(แสดงความเห็นไว้ในหน้านี้เลยนะครับ อย่าไปโพสต์ที่หน้าหลักของบทความ)
ผู้วิจารณ์ : ผู้สร้าง
ภาษาที่ใช้ : 17/25 คะแนน
- เอกลักษณ์
ภาษาที่ใช้อยู่ในระดับที่แตกต่างจากนิยายเด็กดีส่วนมาก ผู้อ่านรู้สึกได้ถึงความเป็นเอกลักษณ์ แต่ไม่ปรากฏเทคนิคที่ใช้เท่าไร
- บทบรรยาย
บรรยายได้ดี ผู้อ่านสามารถนึกภาพตามได้ บทบรรยายไม่ยืดเยื้อ ผู้อ่านไม่รู้สึกเบื่อกับบทบรรยาย
- ประโยคสนทนา
ค่อนข้างมีความสมดุลกับบทบรรยายดี ส่วนนี้จะมีผลต่อความจริงจังของนิยายมาก สำหรับงานเขียนเรื่องนี้ บทสนทนาค่อนข้างขำขันเบาสมองดี
- การสะกดคำ
มีการสะกดคำผิดบ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นคำที่สะกดผิดเพราะความไม่รอบคอบ แต่มีบางคำที่ไม่แน่ใจว่าไม่รู้หรือไม่รอบคอบ สำหรับส่วนนี้แนะนำให้เปิดพจนานุกรมเพื่อตรวจสอบบ้าง
- เพิ่มเติม
เกี่ยวกับคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ควรเขียนโดยพิจารณาจากตัวสะกดในภาษาอังกฤษนิดหนึ่ง เช่น ดีเพลส ก็ควรจะเป็น ดีเพรส เพราะสะกดด้วย "R" ไม่ใช่ "L"
ในบทแรกที่ตัวเอกพูดว่า "และผู้คนในเมืองเวนิสต่างเรียกข้าว่า... the boy in midnight" ตรงนี้เขียนเป็นภาษาไทยน่าจะดีกว่า
ความน่าสนใจ หรือความน่าติดตาม : 17/20 คะแนน
- บทนำ
เป็นมุมมองบุคคลที่หนึ่ง เป็นการเกริ่นเรื่องราวเล็ก ๆ น้อยของ เด็กหนุ่มยามเที่ยงคืน (ตัวเอก) ผู้คอยบรรเทาความเศร้าโศรกของผู้คน นอกจากผู้อ่านจะสัมผัสได้ถึงอารมณ์แปลกใหม่แล้ว ภาษาที่ใช้ก็อยู่ในเกณฑ์ดีเช่นเดียวกัน
- ความน่าสนใจ
ชายหนุ่มตกลงทำสัญญาเพื่อแลกกับความทรงจำในวัยเด็กของเขา สัญญาที่อาจบรรลุเมื่อเด็กชายสามารถบรรจุความหดหู่ของผู้คนได้เต็มกระปุก แนวคิดที่ถูกนำเสนอเป็นแนวคิดที่แปลกดี และนอกจากจะแปลกใหม่แล้วยังน่าสนใจอีกด้วย
- ความน่าติดตาม
งานเขียนเรื่องนี้เหมาะสำหรับผู้อ่านหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นผู้อ่านที่ชื่นชอบนิยายที่ภาษาค่อนข้างสละสลวย ผู้อ่านที่ชื่นชอบความแปลกใหม่ ผู้อ่านที่ชื่นชอบความเบาสมอง หรืออ่านนิยายเพื่อความผ่อนคลาย แต่สำหรับนักอ่านที่ชื่นชอบนิยายแฟนตาซีที่มีเนื้อหาค่อนข้างเคร่งเครียดจริงจัง หรือนักอ่านที่ค่อนข้างเป็นผู้ใหญ่ อาจไม่เห็นว่างานเขียนเรื่องนี้น่าสนใจเท่าไร
ความมีมิติของตัวละคร ความมีลักษณะเฉพาะของตัวละครแต่ละตัว : 7/15 คะแนน
- เหตุอันเนื่องมาจากรูปแบบการนำเสนอ
นิยายเรื่องนี้เป็นนิยายมุมมองบุคคลที่สาม (บทแรกเป็นบุคคลที่หนึ่ง) แต่นำเสนอเรื่องราวผ่านตัวละครตัวเดียว จึงทำให้ไม่สามารถเห็นลักษณะเฉพาะของตัวละครอื่นเท่าไร
- ความมีมิติของตัวละครหลัก
ตัวละครหลักมีลักษณะค่อนข้างกระดี๊กระด๊า เป็นอารมณ์สนุก ๆ เสียมากกว่า ในส่วนนี้ตัวละครจึงไม่ค่อยมีมิติเท่าไร เหมือนตัวการ์ตูนส่วนใหญ่
ความสมจริงของฉาก ความเป็นเหตุเป็นผล ความน่าเชื่อถือ การตัดสินใจของตัวละคร ความเป็นมนุษย์ ฯลฯ : 8/15 คะแนน
- ฉาก
เป็นฉากที่ผู้เขียนคิดจินตนาการขึ้นเอง ไม่ปรากฏการอิงความจริงอื่น ๆ เช่น ความเป็นไปได้ทางภูมิศาสตร์ถ้าพิจารณาจากสภาพอากาศ ฯลฯ
- ความสมเหตุสมผล
ไม่ปรากฏความไม่สมเหตุสมผลเท่าไร เนื่องจากเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ผู้เขียนคิดจินตนาการขึ้นเอง
- เหตุอันเนื่องมาจากความมีมิติ
ตัวละครมีลักษณะค่อนข้างเป็นการ์ตูน จึงไม่สะท้อนความเป็นมนุษย์เท่าไรนัก
ความสามารถในการสื่ออารมณ์ถึงผู้อ่านผ่านตัวอักษร ผู้อ่านเข้าถึงตัวละครได้แค่ไหน : 8/15 คะแนน
- ความเบาสมอง
นิยายค่อนข้างขำขันเบาสมอง ในส่วนนี้ไม่มีการเน้นเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครเท่าไร ผู้อ่านจะสนุกสนานไปกับเรื่องราว แต่อาจไม่เข้าถึงในส่วนของอารมณ์ความรู้สึก เนื่องจากไม่มีปรากฏให้เห็นเท่าไร
การค้นคว้าของผู้เขียน / ผู้อ่านได้ความรู้บางอย่างเพิ่มเติมในการอ่านนิยายเรื่องนั้น ๆ หรือไม่ เพียงใด : 2/5 คะแนน
- การค้นคว้าของผู้เขียน
ผู้อ่านไม่รู้สึกว่างานเขียนผ่านการค้นคว้ามาอย่างดี อีกทั้งไม่ปรากฏความรู้เพิ่มเติมที่อาจได้รับ แต่ผู้เขียนค่อนข้างมีความสามารถในการเขียน ความสามารถซึ่งปรากฏในบทบรรยาย
และ
คะแนนพิเศษ (ขึ้นอยู่กับผู้วิจารณ์) : 3/5 คะแนน
- น่ารัก
มีความรู้สึกว่าน่ารักดี ลักษณะการบรรยายและลักษณะของตัวละคร
รวม : 62/100 คะแนน
เหรียญที่ได้ : เหรียญทองแดง, เหรียญเจสเตอร์แฟนตาซีบุ๊คคริติก
หากว่าท่านผู้ใดมี ความเห็นที่แตกต่างไปจากนี้ -- ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ ภาษา ความน่าสนใจ ความสมจริง และส่วนอื่น ๆ ที่ประกฏในบทวิจารณ์ -- โปรดอย่าลังเลที่จะแสดงความคิดเห็น ความเห็นของท่านจะมีส่วนช่วยในการพัฒนางานวิจารณ์ต่อไป และที่สำคัญไปกว่านั้น ความเห็นของท่านจะมีส่วนช่วยในการพัฒนางานเขียนนี้ด้วย
(แสดงความเห็นไว้ในหน้านี้เลยนะครับ อย่าไปโพสต์ที่หน้าหลักของบทความ)
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น