ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สังคมศึกษา

    ลำดับตอนที่ #4 : สงครามช้างเผือก

    • อัปเดตล่าสุด 6 ธ.ค. 50


     ๔ สงครามช้างเผือก .....“ เมื่อปีพศ.๒๑๐๖ พระเจ้าหงสาวดีได้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ เพื่อจะทูลขอช้างเผือก ๒ ช้าง(เนื่องจากกรุงศรีอยุธยามีช้าง เผือกอยู่ ๗ ช้าง) นับว่าเป็นกลอุบายเพื่อจะหาเรื่องยกทัพมาตีไทย ขุนศึกและ เสนาบดีจึงแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเห็นด้วยที่จะประทานช้างเผือก ๒ ช้าง เพื่อป้องกันการเกิดศึกสงครามเพราะว่าพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองมีความชำนาญ การศึกมาก ฝ่ายที่สองไม่เห็นด้วยที่จะประทานช้างเผือก(มีพระราเมศวร พระยา จักรี พระสุนทรสงคราม) เพราะจะเป็นการอ่อนข้อให้ ในวันข้างหน้าพระเจ้าหงสา วดีจะต้องเอาไทยเป็นเมืองขึ้น สรุปก็คือให้หรือไม่ให้ก็จะตี
    สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงมีพระราชดำริไม่ประทานช้างเผือก แล้วมีพระราชสาสน์ตอบกลับไปดังนี้
    “ช้างเผือกย่อมเกิดสำหรับบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นเจ้าของ เมื่อพระเจ้าหงสาวดีได้บำเพ็ญธรรมให้ไพบูรณ์คงจะได้ช้างเผือกมาสู่บารมีเป็นมั่นคงอย่าได้ทรงวิตกเลย”
    และรับสั่งให้เตรียมไพร่พลพร้อมรบอย่างเข้มแข็ง ทางฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีได้ยกทัพรวมพลที่เมืองเมาะตะมะ จัดทัพใหญ่ออก เป็น ๕ ทัพ มีเจ้าเมืองเชียงใหม่ควบคุมกองเรือเสบียง ล่องลงมาถึงเมืองตาก รวมไพล่พลเป็นจำนวนประมาณ ๕ แสนคน ส่วนทางอยุธยาได้เตรียมพลพร้อมรบและเรือรบจำนวนมาก เพื่อป้องกันการ โจมตีจากทัพหลวงของหงสาวดีทางด่านเจดีย์สามองค์ แต่ผิดคาดพม่ายกทัพ มาทางด่านแม่ละเมาเข้าตีกำแพงเพชรได้เมืองแล้วแยกทัพไปตีสุโขทัย เนื่องด้วยทางสุโขทัยมีกำลังน้อยกว่ามากแต่ก็สู้รบเป็นสามารถในที่สุดก็ถูกยึดเมือง จากนั้นพม่าจึงล้อมเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาก็ต่อสู้เป็นสามารถเช่นกัน แต่เกิดไข้ทรพิษขึ้นในเมืองและเสบียงอาหารก็หมดจึงยอมจำนน หลังจากที่พม่าได้หัวเมืองฝ่ายเหนือแล้วจึงบังคับให้พระมหาธรรมราชาและเจ้าเมืองถือน้ำกระทำสัตย์ให้อยู่ใต้บังคับของพม่า พร้อมทั้งสั่งให้ยกทัพตามลงมาเพื่อตีกรุงศรีฯด้วย
    กองทัพพม่ายกมาประชิดเขตเมืองใก้ลทุ่งลุมพลีพระมหาจักรพรรดิทรงให้กองทัพบก เรือ ระดมยิงใส่พม่าเป็นสามารถ แต่สู่ไม่ได้จึงถอย ทางพม่าจึงยึดได้ป้อมพระยาจักรี(ทุ่งลุมพลี) ป้อมจำปา ป้อมพระยามหาเสนา(ทุ่งหันตรา) แล้วล้อมกรุงศรีฯอยู่นาน พระมหาจักรพรรดิทรงเห็นว่าพม่ามีกำลังมากการที่จะออกไปรบเพื่อเอาชัย คงจะยากนัก จึงทรงสั่งให้เรือรบนำปืนใหญ่ล่องไปยิงทหารพม่าเป็นการถ่วงเวลาให้ เสบียงอาหารหมดหรือเข้าฤดูน้ำหลากพม่าคงจะถอยไปเอง แต่พม่าได้เตรียมเรือรบ และปืนใหญ่มาจำนวนมากยิงใส่เรือรบไทยพังเสียหายหมด แล้วตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามา ในพระนครทุกวัน ถูกชาวบ้านล้มตาย บ้านเรือน วัด เสียหายมาก ทางพระเจ้าหงสา วดีจึงมีสาสน์มาว่า จะรบต่อไปหรือยอมเป็นไมตรี เนื่องด้วยทางไทยเสียเปรียบมาก พระมหาจักรพรรดิจึงทรงยอมเป็นไมตรี ทำให้ฝ่ายไทยต้องเสียช้างเผือกจาก ๒ ช้าง เป็น ๔ ช้าง และทุกปีต้องส่งช้างให้ ๓๐ เชือก พร้อมเงิน ๓๐๐ ชั่ง จับตัวพระยาจักรี ไปเป็นตัวประกัน นอกจากนี้ยังจะขอเก็บภาษีอากรจากเมืองมะริดที่ขึ้นกับไทยอีกด้วย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงพระชมมายุได้ ๙ พรรษาถูกนำเสด็จไปประทับที่กรุง หงสาวดีเพื่อเป็นองค์ประกันด้วย

    ๕ เสียกรุงครั้งแรก .....“ ปีพศ. ๒๑๑๒ ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พม่าผู้รุกรานยังพยายามจะ ตีไทยให้ได้ จากพงศาวดารได้กล่าวไว้ว่า ถึงแม้บุเรงนองจะเก่งในการศึกแต่ไม่ เคยรบชนะไทยด้วยการนำทหารเข้าประจันบานเลย แต่จะใช้เล่ห์เหลี่ยมและอุบาย ต่างๆเข้าช่วยเสมอ จึงใช้วิธีทำให้ไทยแตกแยกเป็น ๒ ฝ่าย โดยพม่ายกพระมหา ธรรมราชาให้เป็นใหญ่ทางเหนือ หลังจากพระมหาจักรพรรดิทรงเสด็จออกผนวช พระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์และทรงคิดกำจัดพระมหาธรรมราชา จึงส่งสาสน์ ไปถึงพระไชยเชษฐาผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุตให้ยกทัพมาตีพิษณุโลก ทางพระ มหาธรรมราชาจึงขอทหารจากเมืองหงสาวดีและกรุงศรีฯขึ้นมาช่วยป้องกันเมือง พระมหินทร์ฯทรงแกล้งส่งพระยาสีหราชเดโชยกทัพไปช่วย แท้จริงแล้วให้ร่วมกับ ทัพพระไชยเชษฐาตีพิษณุโลก แต่ว่าพระยาสีหราชเดโชแปรพักไปเข้ากับพระมหา ธรรมราชาแล้วทูลความจริงให้ทราบ พระมหาธรรมราชาจึงรับสั่งป้องกันเมืองไว้ ประจวบเหมาะกองทัพหงสาวดียกมาช่วยทัน กองทัพพระไชยเชษฐาจึงถอยกลับ เวียงจันทร์ เมื่อเหตุการณ์เริ่มบานปลายพระมหาจักรพรรดิทรงลาผนวช แล้วเสด็จขึ้นครอง ราชย์อีกครั้ง ทรงยกทัพขึ้นมาเมืองพิษณุโลก รับพระวิสุทธิกษัตรีพร้อมด้วยโอรส ธิดาของพระมหาธรรมราชา(ขณะนั้นอยู่กรุงหงสาวดี) ลงมาเป็นองค์ประกันอยู่ที่ กรุงศรีอยุธยา
    ทางพระมหาธรรมราชาเมื่อทราบว่าพระอัครชายาและโอรสธิดาถูกจับเป็นองค์ ประกันก็ทรงวิตกยิ่งนัก แล้วรีบส่งสาสน์ไปยังพระเจ้าหงสาวดีให้ยกทัพมาตีกรุง ศรีอยุธยารวมทั้งหมด ๗ ทัพ มีกำลังพลร่วม ๕ แสนคน ยกทัพมาทางด่านแม่ ละเมาเข้าเมืองกำแพงเพชร ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาเมื่อทราบว่าหัวเมืองทางเหนือเป็นของพม่าแล้ว จึงเตรียมรบ อยู่ที่พระนคร นำปืนนารายณ์สังหารยิงไปยังกองทัพพระเจ้าหงสาวดีที่ตั้งอยู่บริ เวณทุ่งลุมพลี ถูกทหาร ช้าง ม้าล้มตายจำนวนมาก พม่าจึงถอยทัพมาตั้งที่บ้าน พราหมณ์ให้พ้นทางปืน แล้วพระเจ้าหงสาวดีจึงเรียกประชุมการศึก พระมหา อุปราชเห็นสมควรให้ยกทัพเข้าตีไทยทุกด้านเพราะมีกำลังมากกว่า แต่พระเจ้า หงสาวดีไม่เห็นด้วยเพราะกรุงศรีอยุธยามีทำเลดีมีน้ำล้อมรอบ จึงสั่งให้ตีเฉพาะ ด้านตะวันออกเพราะคูเมืองแคบที่สุด พม่าพยายามจะทำสะพานข้ามคูเมืองแต่ ถูกทหารไทยยิงตายเป็นจำนวนมาก ( ศพแล้วศพเล่าที่นำดินมาถมสะพาน )
    ระหว่างการสงคราม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงประชวรและสวรรคตในเวลา ต่อมา พระเจ้าหงสาวดีได้โอกาสจึงสั่งให้ทหารเข้ามาตีพระนครด้านตะวันออก พร้อมๆกัน ฝ่ายไทยมีพระมหาเทพนายกองรักษาด่านอย่างเต็มสามารถ ทำให้ พม่าล้มตายจำนวนมากจึงถอยข้ามคูกลับไป ไม่ได้ด้วยฝีมือต้องใช้เล่ห์กล พระเจ้าหงสาวดีจึงถามพระมหาธรรมราชาว่าจะ ทำอย่างไรให้ชนะศึกโดยเร็ว พระมหาธรรมราชาทรงแนะว่าพระยารามเป็นแม่ทัพ สำคัญให้ได้ตัวมาการยึดพระนครจักสำเร็จ จึงมีสาสน์มาถึงพระอัครชายาว่า
    .... การศึกเกิดจากพระยารามที่ยุยงให้พี่น้องต้องทะเลอะกัน ถ้าส่งตัวพระยารามมา ให้พระเจ้าหงสาวดีจะยอมเป็นไมตรี ทางสมเด็จพระมหินทร์ฯ ทรงอ่านสาสน์แล้ว ปรึกษากับข้าราชการต่างๆจึงเห็นสมควรสงบศึกเพราะผู้คนล้มตายกันมากแล้ว สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงรับสั่งให้ส่งพระสังฆราชออกไปเจรจาและส่งตัวพระยาราม ให้พระเจ้าหงสาวดี(บุเรงนอง)เพื่อเป็นไมตรี
    แต่พระเจ้าหงสาวดีตบัตสัตย์ไร้สัจจะวาจาไม่ยอมเป็นไมตรี แต่กลับบอกว่าจะต้องยอมแพ้และเป็นเชลย ทำให้สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงพิโรธโกรธแค้นในการกลับกลอกของบุเรงนองอย่างมาก ทรงรับ สั่งให้ขุนศึกทั้งหลายรักษาพระนครอย่างเข้มแข็ง ทางฝ่ายพม่าก็เห็นว่างานนี้ก็ยัง ตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้ จึงส่งพระมหาธรรมราชามาเกลี้ยกล่อมให้ยอมแพ้ แต่ถูก ทหารไทยเอาปืนไล่ยิงจนต้องหนีกลับไป ด้วยความเจ้าเล่ห์ของพระเจ้าหงสาวดีจึงคิดอุบายจะใช้เจ้าพระยาจักรีที่จับตัวได้ ตอนสงครามช้างเผือกเป็นใส้ศึก อนิจา..พระยาจักรียอมเนรคุณแผ่นดินไทยยอม เป็นใส้ศึกให้พม่า โดยวางแผนจำคุกพระยาจักรีในค่ายด้านตะวันออก แล้วแกล้ง ปล่อยให้หนีในตอนกลางคืน(มีเครื่องพันธนาการโซ่ล่ามมาด้วย) รุ่งเช้าพม่าทำที เป็นตามหาแต่ไม่พบเลยจับตัวผู้คุมมาตัดหัวเสียบไว้ริมแม่น้ำเพื่อให้ไทยหลงกล สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงดีพระทัยที่พระยาจักรีหนีมาได้ จึงทรงแต่งตั้งให้เป็น ผู้บังคับบัญชาการรบแทนที่พระยาราม แผนชั่วร้ายจึงเริ่มขึ้นพระยาจักรีได้ใส่ ร้ายให้พระศรีสาวราชว่าเป็นกบฏจึงถูกสำเร็จโทษ นอกจากนี้พระยาจักรียังได้ ย้ายแม่ทัพที่รบเก่งๆเอาไปไว้ในตำแหน่งที่ไม่สำคัญทำให้การป้องกันพระนคร เริ่มอ่อนแอ แผนชั่วร้ายได้ดำเนินมา ๒ เดือนเมื่อเห็นว่าได้เวลาอันควรพระยา จักรีจึงให้สัญญาณแก่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาทุกด้าน ในที่สุดไทยจึงเสียกรุงแก่พม่าเพราะมีใส้ศึกคนขายชาติ (มิได้เสียกรุงเพราะ ความสามารถทางการรบ ) รวมเวลาที่พม่าล้อมกรุงศรีฯเอาไว้ ๙ เดือน
    คนทรยศต่อแผ่นดินยังมี พระยาพลเทพอีกหนึ่งคน ตามคำบอกกล่าวของ ชาวกรุงเก่าว่า “ เมื่อพระเจ้ากรุงศรีฯเห็นว่าทัพเริ่มแตกจึงรับสั่งให้ทหารปิด ประตูเมืองและรักษาหน้าที่เชิงเทินเอาไว้ให้มั่น แต่ทางพระยาพลเทพผู้ทรยศ ได้แอบส่งอาวุธ เสบียงอาหารให้พม่า พร้อมทั้งรับปากว่าจะเปิดประตูเมือง ทางด้านตะวันออกให้เมื่อพม่าบุกเข้าตี ”

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×