ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สารพัดเรื่องคอสเพลย์

    ลำดับตอนที่ #1 : อะไรคือ Cosplay

    • อัปเดตล่าสุด 3 ก.ย. 54



    Cosplay

    From CosplayWiki

    Jump to: navigation, search

    Contents

    [hide]

    ความหมาย

    คอสเพลย์ (Cosplay หรือ Cos'Play) เป็นการผสมคำภาษาอังกฤษระหว่างคำว่า

    • Costume ซึ่งแปลว่า เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย 
    • Play ที่แปลว่า การเล่นดังนั้น

    Costume + Play จึงแปลตรงๆว่า การเล่นเสื้อผ้า แต่ที่นิยามให้ชัดเจนที่สุดคือ "การแต่งตัวเลียนแบบ"

    เนื่องจากศัพท์คำว่า Cosplay นั้น เป็นศัพท์เฉพาะที่ไม่มีการบัญญัติในภาษาอังกฤษนั้น จึงทำให้มีการพูดถึงนิยามอยู่เสมอ ทั้งนี้ ก็มีอีกนิยามว่า Cosplay มาจาก Costume+Roleplay ซึ่งคำว่า Roleplay นี้แปลว่า สวมบทบาท ซึ่งก็จะทำให้นิยามความหมายได้ชัดกว่าคือ "การแต่งกายสวมบทบาท"


    แต่ทั้งนี้ Cosplay = Costume + Play ก็ยังถือว่าเป็นนิยามที่ได้รับการยอมรับในทางสากลมากกว่าอยู่ดี


    สำหรับการมีการใช้คำว่า Cosplay อย่างชัดเจนที่สุดเกิดขึ้นเมื่อ Nov Takahashi (ซึ่งมาจากสตูดิโอ Studio Hard ของญี่ปุ่น) บัญญัติศัพท์คำว่า "Cosplay" ขึ้นมาเพื่อเป็นการย่อคำจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า costume play เมื่อตอนที่แสดงงานเมื่อ ค.ศ. 1984 (พ.ศ.2527) ณ งาน Los Angeles Science Fiction Worldcon ซึ่งเค้าได้บอกว่าเป็นชุดที่มีในหนังสือนวนิยายวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น

    สำหรับคำว่า Cosplay ในปัจจุบันนั้น นิยามที่ชัดที่สุดคือ "การแต่งกายเลียนแบบ" โดยเป็นการเลียนแบบตัวละคร หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น การ์ตูน เกม วงดนตรี นวนิยาย Visual Kei วงศิลปิน ภาพยนตร์ ฯลฯ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความชอบ ในสิ่งที่ได้เลียนแบบนั้นๆ ทั้งนี้นอกจากเลียนแบบชุดแต่งกายแล้ว ยังอาจจะรวมไปถึงเลียนแบบกิริยา ท่าทาง บุคคลิก ต่างๆของต้นแบบอีกด้วย โดยผู้ที่คอสเพลย์นั้นมักเรียกว่า เลเยอร์ หรือย่อมาจาก Cosplayer นั่นเอง


    cos001.jpg
    (ตัวอย่าง การคอสเพลย์จาก Final Fantasy Type-0)


    สำหรับในไทยนั้น ที่นิยมมากที่สุด เช่น

    ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้จะมีการแบ่งประเภทของคอสเพลย์ แต่ในแต่ละประเภทนั้นก็จะมีจุดเชื่อมต่อที่บางครั้งก็สามารถรวมเข้าด้วยกันได้ เช่น Harry Potter ที่แต่ต้นนั้นเป็นนิยาย แต่ต่อมาก็ได้สร้างเป็นภาพยนตร์ การคอสเพลย์ Harry Potter จึงเป็นการคอสเพลย์ทั้งนิยาย และหนังไปในตัวได้เลย เป็นต้น


    โดยทั้งนี้การแต่งกายเลียนแบบนั้น อาจจะมีทั้ง แต่งกายให้เหมือนทั้งหมด หรือ ดัดแปลงเล็กน้อย สร้างสรร แต่ยังคงเอกลักษณ์ของตัวที่เลียนแบบนั่นๆ

    องค์ประกอบที่ระบุชัดถึงความเป็นคอสเพลย์

    ในการที่จะเรียกว่าเป็นคอสเพลย์ได้นั้น จะมีองค์ประกอบต่างๆกัน ทั้งที่เป็นรูปธรรม และ นามธรรม ทั้งนี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีครบก็ได้ เพียงแต่ว่า หากขาดบางอย่างมากไป การคอสเพลย์ตามนิยามที่แท้จริงนั้นก็อาจจะหายไป


    • ชุดคอสเพลย์: เป็นองค์กระกอบรูปธรรม นั่นคือ เครื่องแต่งกายที่จะแสดงให้เห็นถึงการแต่งกายเลียนแบบ คำว่าชุดคอสเพลย์นั้น ไม่ได้หมายถึง ชุดที่แปลกตา อลังการ แต่หมายถึงชุดที่เหมือนกับต้นแบบ เพราะต้นแบบนั้นไม่ได้มีชุดที่อลังการเสมอไป และยังรวมไปถึงส่วนอื่นๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ อุปกรณ์เสริมคอสเพลย์
    •  ความรักและความชอบ : เป็นองค์ประกอบนามธรรม เพราะคอสเพลย์แต่ต้นคือ การแสดงออกถึงความรักความชอบต่อตัวนั้นๆ จึงได้แต่งกายเลียนแบบ (กล่าวคือ หากมีคนที่ไม่ได้ชอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ได้ชุดคอสเพลย์มาใส่ เมื่อพบก็จะเห็นได้ว่าเป็นคอสเพลย์ แต่ก็จะไม่สามารถแสดงออกถึงตัวละครนั้นๆได้ เช่นการ โพสท่า การแสดงกิริยาของตัวละครนั้นๆ)
    • ความเหมือน การเลียนแบบ : เป็นนิยามที่เป็นเอกลักษณ์ของคอสเพลย์ นั่นคือ การแต่งกายเลียนแบบ หากไม่มีสิ่งนี้ คอสเพลย์อาจจะไม่ต่างกับการแต่งชุดแฟนซีทั่วไปได้


    งานคอสเพลย์ครั้งแรกของประเทศไทย

    สำหรับจุดเริ่มต้นของคอสเพลย์ในไทยนั้น ต้องแบ่งเป็น 2 แบบนั่นคือ งานแรกที่มีลักษณะของคอสเพลย์ในงาน กับงานแรกที่ใช้คำว่าคอสเพลย์

    สำหรับงานแรกที่มีลักษณะคอสเพลย์ในไทยนั้น เท่าที่ระบุได้เก่าที่สุด คือ งาน "งานมหกรรมช่อง 9 การ์ตูน ส่งท้ายปี 2525 รับปีใหม่ปี 2526" ซึ่งมีการเปิดประกวดแต่งกายตัวการ์ตูน โดยมีเด็กๆได้เข้าประกวดเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยว่าสมัยนั้น ในประเทศไทยยังไม่ได้มีการนำคำว่า "คอสเพลย์" มาใช้ โดยใช้เพียงแค่ว่า "ประกวดการแต่งกาย"

    1983.jpg


    สำหรับช่วงเริ่มต้นใช้คำว่าคอสเพลย์นั้น ในช่วงเริ่มต้น การคอสเพลย์ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ "คอสเพลย์การ์ตูน" และ "คอสเพลย์ J-Rock"

    งานแรกของคอสเพลย์การ์ตูนนั้นคืองาน ACHO Meeting ครั้งที่ 3 วันที่15 มีนาคม พศ. 2541 โดยกลุ่ม ACHO ซึ่งเป็นกลุ่มการ์ตูนกลุ่มแรกๆของสังคมการ์ตูน

    acho.jpg


    แต่สำหรับทาง J-Rock นั้นยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นงานไหน แต่ด้วยกระแส Cosplay J-Rock นั้น ก็จะต้องมาจากทางดนตรี J-Rock เช่นวง X-Japan, Luna Sea, Dir en grey ฯลฯ ดังนั้นจึงเชื่อว่าคอสเพลย์ J-Rock จึงเริ่มมาจากงานพบปะผู้ที่ชื่นชอบใน J-Rock เหมือนกัน หรือ งานที่มีลักษณะการแสดงวง Cover เพลง J-Rock นั่นเอง


    การเติบโตของคอสเพลย์ในประเทศไทย

    กระแสคอสเพลย์ในไทยเริ่มค่อยๆขยายในทีละกลุ่มมากขึ้น เช่น คอสเพลย์จากเกมนั้น ก็มีงานอย่างงาน Ragnarok Online จัดการประกวดคอสเพลย์มาโดยตลอด คอสเพลย์จากการ์ตูน ก็มีงานอย่าง Vibulkij Comics Party, Cartoon & Animation ฯลฯ ในส่วนของทาง J-Rock นั้น ก็มีเหล่าคนผู้จัดจัดงานจำนวนมากขึ้น โดยควบคู่กับการแสดงสด Cover J-Rock

    • พ.ศ.2547-2548 [2004-2005] ถือเป็นช่วงปีที่คอสเพลย์เริ่มต้นขยายตัวออกไปในทางมุมกว้างอย่างรวดเร็ว เริ่มมีผู้จัดหลากหลายมากยิ่ง รวมไปถึงงานที่คนคอสเพลย์ หรือคนในสังคมจัดกันเองที่เริ่มกลับมาอีกครั้ง เช่นงานโดจินชิอย่าง Comic Market Thailand หรืองาน Only Event ต่างๆ ส่วนในทาง J-Rock นั้นก็นิยมจัดโดยไปเช่นสถานที่อย่างตามผับต่างๆ
      * ต้นปี พ.ศ. 2549 [2006] ได้มีงาน Manga Mania ซึ่งจัดโดยทางบริษัทค่ายเพลง RS Promotion ซึ่งนับจากจุดนั้น งานคอสเพลย์ก็เริ่มขยายตัวด้วยความรวดเร็ว และกว้างขวาง และยังเป็นปีแรกที่มีการจัดการประกวด World Cosplay Summit เป็นครั้งแรกเพื่อคัดเลือกคอสเพลย์ไทย ไปแข่งขันระดับนานาชาติที่ประเทศญี่ปุ่นและยังเป็นปีแรกที่รูปแบบงานที่แบ่ง คอสเพลย์การ์ตูน และ คอสเพลย์ J-Rock เริ่มหายไป โดยงานที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด ก็คืองาน J-Trends in Town ซึ่งมีทั้งคอสเพลย์สไตล์การ์ตูน และ J-Rock มาร่วมงานด้วยกันอย่างชัดเจน
      * พ.ศ.2550 [2007] นั้นก็ถือเป็นอีกปีที่มีจำนวนงานมากกว่า 50 งานภายในปีเดียว โดยก็มีผู้จัดมากเจ้าขึ้น เช่น Oishi, Hot Wave เป็นต้น เริ่มมีการใช้คำว่า คอสเพลย์ ทั่วไปมากยิ่งขึ้น จึงนับว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่คอสเพลย์ขยายออกสู่สังคมภายนอกได้มากขึ้นในระดับ หนึ่ง


    การเติบโตสู่ต่างจังหวัด


    โดยหลักแล้ว สังคมคอสเพลย์จะกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพมหานครเป็นหลัก แต่เมื่อสังคมคอสเพลย์เริ่มขยายตัวไปนั้น ก็เริ่มมีงานที่จัดที่ต่างจังหวัดบ้าง ทั้งนี้ มักเกิดจากการรวมตัวกันสร้างสังคมที่รักและชอบในเรื่องเดียวกัน และบางครั้งยังเป็นการรวมกลุ่มกันโดยตั้งเป็นชมรม เช่น

    เชียงใหม่
    โดยงานแรกๆนั้นเป็นงานการ์ตูนของทาง ชมรมการ์ตูนเชียงใหม่ ซึ่งได้จัดงาน เชียงใหม่การ์ตูนและอนิเมชั่น ซึ่งงานที่คอสเพลย์เริ่มมีบทบาทในงานอย่างชัดเจนงานแรกก็คืองาน Freedom Cartoon & Animation 3 : Chiang Mai วันที่ 27-28 มีนาคม พ.ศ.2547 จัดที่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลกาดสวนแก้ว และหลังจากนั้นก็มีการจัดงานนี้เป็นประจำทุกปีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และมีงานในลักษณะอื่นๆจากผู้จัดเจ้าอื่นๆมากขึ้น

    chiangmai.jpg

    ขอนแก่น
    มีงานการ์ตูนงานแรกที่ชัดเจนคือ Ota Ota Suki วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2549 จัดที่โรงแรมเจริญธานี ปรินเซส โดยแม้ว่าจำนวนงานจะยังไม่มากเท่าเชียงใหม่ แต่ก็เป็นจังหวัดที่ 3 ที่มีงานคอสเพลย์อย่างเป็นรูปธรรม


    นครราชสีมา
    ซึ่งก็เคยมีงาน Honda Cover&Cosplay


    อย่างไรก็ตาม สังคมคอสเพลย์ยังเป็นสังคมเล็กๆ รวมไปถึงว่าแต่ละจังหวัดก็มีองค์ประกอบแตกต่างกันไป อย่างไรเสีย จุดศูนย์กลางของคอสเพลย์ก็ยังเป็นกรุงเทพนั่นเอง


    ความแตกต่างหรือจุดเด่นของคอสเพลย์

    โดยปกติแล้วคนทั่วๆไปมักจะคุ้นเคยกับคำว่า "ชุดแฟนซี" มากกว่า ซึ่งเมื่อเทียบกับคอสเพลย์แล้ว ก็ต้องถือว่ามีส่วนที่คล้ายกันอยู่บ้าง แต่ในคอสเพลย์เองนั้นมีจุดเด่นที่ทำให้แยกออกมาจากแฟนซีอย่างชัดเจน ดังที่จะเปรียบเทียบดังนี้


    ความสวยงาม ความสร้างสรร ความแปลกตา การเลียนแบบต้นแบบ
    แฟชั่น มี มี ไม่จำเป็น(คือมีก็ได้ ไม่มีก็ได้) ไม่จำเป็น
    แฟนซี มี มี มี ไม่จำเป็น
    คอสเพลย์ มี มี มี มี


    จะเห็นได้ว่า การแต่งกายเลียนแบบ ถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญมากในการแยกคอสเพลย์ออกจากการแต่งชุดแฟนซี แต่อย่างไรก็ดี เนื่องจากไม่มีการบัญญัตินิยามคำว่าคอสเพลย์อย่างชัดเจน จึงยังมีการถกเถียงอยู่ในหลายๆประเด็น และประเด็น


    ที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องนี้ก็คือ คอสเพลย์ออริจินอล นั่นเอง


    ขั้นตอนการคอสเพลย์

    สำหรับลักษณะการคอสเพลย์ของไทยนั้น โดยส่วนใหญ่ยังเป็นการไปซื้อผ้า และ ตัดชุดที่ พาหุรัด รวมไปถึง ประตูน้ำ แต่ทั้งนี้ก็ยังมีคนคอสเพลย์หลายๆคนที่สามารถตัดชุดเองได้อีกด้วยดู ขั้นตอนการคอสเพลย์

    See Also


    External links

    1.Shunacho, "คอสเพลย์ครั้งแรกในประเทศไทย"
    2.Patstudio, "ประมวลภาพการประกวดCOSPLAYครั้งแรกในประเทศไทย!!!"
    3.TACES, "บันทึกงานคอสเพลย์"


    เครดิต // http://propsops.com/cosplaywiki/Cosplay

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×