ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นิทานชาดก จาก บทสวดพาหุงฯ (ชัยมงคลคาถา)

    ลำดับตอนที่ #8 : พระชัยมงคลคาถา บทที่ 8

    • อัปเดตล่าสุด 18 มิ.ย. 57


    --- บทที่ 8 ---
    ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
    พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
     
    --- นิทานชาดก ของบทที่ 8 "ชนะเทวดา ด้วยพระญาณ" ---
             เรื่องมีอยู่ว่า พรหมชื่อ พกะ อยู่ในพรหมโลกเป็นเวลานาน นานเสียจนแกเกิดความเข้าใจผิดว่า สรรพสิ่งเที่ยงแท้ไม่แปรผัน เป็นมาอย่างไรก็เป็นอยู่อย่างนั้นชั่วนิรันดรที่แกคิดเช่นนี้เพราะแกก็อยู่มานานมาก ไม่เห็นเป็นอย่างอื่นเลย ความเข้าในผิดอย่างนี้เรียกว่า “สัสตทิฐิ” (เห็นว่าสรรพสิ่งเป็นนิรันดร)
              ไม่ต้องอธิบายในเชิงปรัชญาให้เข้าใจยากเอาใกล้ๆ ตัวเรานี่แหละ นักการเมืองที่อยู่ในตำแหน่งใหญ่โตมานานจนนึกว่า ประเทศชาติเป็นของตนคนเดียว ไม่มีตนแล้ว ประเทศชาติคงอยู่ไม่ได้ จึงพยายามทุกวิถีทาง จะให้ตนอยู่ในตำแหน่งนั้นนานๆ เกาะเก้าอี้แน่นยิ่งกว่าตุ๊กแก เพราะแกคิดว่า สิ้นแกแล้วประเทศจะสลาย หารู้ไม่ว่า ยิ่งแกอยู่นานประเทศยิ่งล่มจมเร็วขึ้น
              คนที่คิดอย่างนี้ ย่อมยากจะเข้าใจหลักไตรลักษณ์ยากจะบรรลุสัจธรรม เพราะฉะนั้นพระคาถาจึงเปรียบเทียบ พกะพรหมผู้มีมิจฉาทิฐิชนิดนี้ เหมือนคนถูกงูพิษกัดที่มือไม่รีบรักษาอาจถึงแก่ชีวิตทันที
              พระพุทธเจ้า เสด็จไปเทศน์ โปรดพกะพรหม ให้คลายความเห็นผิดนี้เสีย แต่กว่าจะเอาแกอยู่ก็ต้องออกกำลังพอสมควร พกะพรหมท้าพระพุทธเจ้าแสดงฤทธิ์หายตัว พระพุทธองค์ทรงรับคำท้า และแล้วการประลองฤทธิ์ก็เกิดขึ้น (แน่ะ พูดยังกับหนังกำลังภายใน)
              ไม่ว่า พกะพรหมจะหายไปซ่อนตัวอยู่ที่ไหน พระพุทธองค์ทรงหายพระองค์บ้าง พกะพรหมก็หมดปัญญาค้นหา ท้ายสุดเมื่อแกยอมแพ้พระพุทธองค์ก็เสด็จออกมาจากมวยผมแก
              เรื่องก็จบแค่นี้ แต่ก็ยังไม่จบก็คือผู้อ่านอาจตีความตามตัวอักษรก็ได้ พรหมก็พรหมจริงๆ อยู่โน่น บนพรหมโลกโน่น เชื่ออย่างนี้ไม่ผิดดอก เพราะมีหลักฐานยืนยันในพระคัมภีร์ว่า พรหมมีจริง ใครไม่เชื่อ ก็ฟังเอาไว้อย่าลบหลู่ (วลีนี้กำลังฮิตในปัจจุบัน)
              แต่ถ้าจะตีความตามภาษาธรรมก็ได้ พกะพรหมเป็นสัญลักษณ์ของคนโง่ คนที่มีความเห็นผิดไม่เข้าใจหลักไตรลักษณ์ คนที่โง่แล้วยังหยิ่งน่าหยิกอีกต่างหาก คนประเภทนี้ยากจะสอนให้สละความเห็นผิดได้ แะลการสามารถสอนคนโง่แกมหยิ่งให้คลายความเห็นผิดนั้น มิใช่เรื่องง่าย เป็นเรื่องใหญ่ พอๆ กับเอาชนะ “พรหม” ซึ่งชาวโลกสมัยนั้นเชื่อกันว่าเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่
              การหายตัวแล้วยังหาพบอยู่ (แบบพกะพรหม) แสดงว่า ตราบใดที่ยังละตัณหา มานะ ทิฐิ ไม่หมด ละได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็ยังไม่เข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์ ส่วนการหายตัวแล้วหาอย่างไรก็ไม่พบ (แบบพระพุทธเจ้า) นั่นแหละคือการถึงที่สุดแห่งทุกข์โดยสิ้นเชิง
              และการที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกมาจากมวยผมพรหม เท่ากับเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่า พระองค์ทรงเอาชนะได้ในทางปัญญาทรงสอนให้คนโง่แกมหยิ่งหัดใช้ “สมอง” คิดให้เข้าใจธรรมดาของสังขารทั้งหลายเสียบ้างแล้วจะเข้าถึงสัจธรรมอันสูงสุด
              แล้วแต่ท่านจะตีความเอาเถอะครับอย่างไรก็ได้ ขอเพียงอย่าให้ขัดกับหลักการของพระพุทธศาสนาเป็นใช้ได้
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×