ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประชาธิปไตย อำนาจและการปกคอง

    ลำดับตอนที่ #1 : Chapter 1 : คณะราษฎร

    • อัปเดตล่าสุด 23 เม.ย. 49



    Chapter :  1  คณะราษฎร

    คณะราษฏรกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475


    การเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฏรเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

    มีสาเหตุมาจากการที่คนไทยส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดแบบประชาธิปไตย โดยได้รับการศึกษาจากโลกตะวันตกในขณะนั้น

    รวมทั้งการได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียขณะนั้น เช่น ญี่ปุ่น ตุรกี และจีน เป็นต้น

    ประกอบกับประเทศไทยกำลังประสบกับความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจ

    ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ทรงแก้ไขเศรษกิจด้วยวิธีการต่าง ๆ

    เช่น การประหยัดงบประมาณแผ่นดิน การปลดข้าราชการที่เรียกว่า "ดุลยภาพ"

    หรือการเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้น เป็นต้นก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขให้เป็นปกติได้

                  

               ด้วยเหตุนี้  คณะราษฎรจึงได้ก่อการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475


    ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ผู้ก่อการของคณะราษฏรรุ่นแรก

    ได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกจำนวน 7 คน ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

    บุคคลเหล่านั้นประกอบด้วย

    1. ร้อยพลโทประยูร ภมรมนตรี

    2. ร้อยโทแปลก ขีตตะสังคะ

    3. ร้อยตรีทัศนัย  มิตรภักดี

    4. นายตั้ว  ลพานุกรม

    5. หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ  สิงหเสนี)

    6. นายแบบ  พหลโยธิน

    และ 7 .  นายปรีดี  พนมยงค์

    ที่ประชุมลงมติให้นายปรีดี  พนมยงค์ เป็นประธานและหัวหน้าคณะราษฎรไปก่อนชั่วคราว

    ผลการประชุมได้ตกลงที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

    มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริยทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

    โดยคณะราษฎรจะต้องดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายหลัก 6 ประการ

              
                อนึ่ง  บุคคลที่ร่วมเป็นสมาชิกคณะราษฎรก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ถือว่าเป็น "ผู้ก่อการ"
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×