ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    1 Liter of tear

    ลำดับตอนที่ #2 : บันทึกหน้าที่ 2 ( โรคนี้เป็นยังไง )

    • อัปเดตล่าสุด 6 มิ.ย. 51


    ประเภทของโรค

    สไปโนซีรีเบลลาร์ดีเจเนอเรชั่น ยังแบ่งได้อีกหลายประเภทตามแต่ตำแหน่งของยีนบนโครโมโซมที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้

    ชื่อชนิดช่วงเวลาตั้งต้นของโรคโดยเฉลี่ยความยาวนานของโรคอาการเด่นชัดของผู้ป่วยแหล่งที่พบมากอาการในโครงสร้างทางพันธุกรรม
    เอสซีเอ-1 (อทาซิน-1)สี่สิบปี
    (น้อยกว่าสิบปีหรือ
    อาจเกินกว่าหกสิบปี)
    สิบห้าปี
    (สิบถึงยี่สิบแปดปี)
    - hypermetric saccades
    - ภาวะสูญเสียเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน (loss of upper motor neuron)
    - slow saccades
     - โครโมโซม 6-พี (อทาซิน 1) และ
    - การผลิตซ้ำของโครงสร้างทางพันธุกรรมอะมิโนกลูตาไมน์ (CAG repeated sequence)
    เอสซีเอ-2 (อทาซิน-2)สามสิบปีถึงสี่สิบปี
    (น้อยกว่าสิบปีหรือ
    อาจเกินกว่าหกสิบปี)
    สิบปี
    (หนึ่งปีถึงสามสิบปี)
    ภาวะสูญเสียรีเฟล็กซ์ (areflexia)คิวบา- โครโมโซม 12-คิว และ
    -การผลิตซ้ำของโครงสร้างทางพันธุกรรมอะมิโนกลูตาไมน์ (CAG repeated sequence)
    - เอสซีเอ-3 (อทาซิน-3) หรือ
    - โรคมาชาโด-โจเซฟ
    (Machado-Joseph disease)
    สี่สิบปี
    (สิบปีถึงเจ็ดสิบปี)
    สิบปี
    (หนึ่งปีถึงยี่สิบปี)
    - อาการตากระตุกขณะเพ่งมอง (Gaze-evoked nystagmus)
    - ภาวะสูญเสียเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน (loss of upper motor neuron)
    - slow saccades
    หมู่เกาะอซอส์ (Azores)
    โปรตุเกส
    - โครโมโซม 14-คิว และ
    - การผลิตซ้ำของโครงสร้างทางพันธุกรรมอะมิโนกลูตาไมน์ (CAG repeated sequence)
    เอสซีเอ-4 (พีแอลอีเคเอชจี-4)สี่สิบปีถึงเจ็ดสิบปี
    (สิบเก้าปีถึงเจ็ดสิบสองปี)
    หลายสิบปีภาวะสูญเสียรีเฟล็กซ์ (areflexia) โครโมโซม 16-คิว
    เอสซีเอ-5 (เอสพีทีบีเอ็น-2)สามสิบปีถึงสี่สิบปี
    (สิบปีถึงหกสิบแปดปี)
    ยี่สิบห้าปีขึ้นไปpure cerebellar โครโมโซม 11
    เอสซีเอ-6 (ซีเอซีเอ็นเอวันเอ)ห้าสิบปีถึงหกสิบปี
    (สิบเก้าปีถึงเจ็ดสิบเอ็ดปี)
    ยี่สิบห้าปีขึ้นไป- อาการตากระตุกลง (downbeating nystagmus)
    - positional vertigo
    (อาการแสดงของชนิดนี้มักเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
    อย่างช้าเมื่ออายุ 65 ปี)
     - การผลิตซ้ำของกรดอะมิโนกลูตาไมน์ (CAG repeated sequence)
    - โครโมโซม 19-พี และ
    - ยีนช่องแคลเซียม (calcium channel gene)
    เอสซีเอ-7 (อทาซิน-7)สามสิบปีถึงสี่สิบปี
    (ครึ่งปีถึงหกสิบปี)
    ยี่สิบปี
    (หนึ่งปีถึงสี่สิบห้าปี; การเกิดโรคครั้งแรกสัมพันธ์กับระยะเวลาของโรคที่สั้น)
    - ภาวะการเสื่อมสภาพของมาคิวลา (macular degeneration)
    - ภาวะสูญเสียเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน (loss of upper motor neuron)
    - slow saccades
     - โครโมโซม 3-พี (อทาซิน 7) และ
    - การผลิตซ้ำของกรดอะมิโนกลูตาไมน์ (CAG repeated sequence)
    เอสซีเอ-8 (ไอโอเอสซีเอ)สามสิบเก้าปี
    (สิบแปดปีถึงหกสิบห้าปี)
    ช่วงชีวิตปรกติอาการตากระตุกในแนวราบ (horizontal nystagmus) - โครโมโซม 13-คิว และ
    - การผลิตซ้ำของลำดับพันธุกรรมซีทีจี (CTG repeated sequence)
    เอสซีเอ-10 (อทาซิน-10)สามสิบหกปีเก้าปีภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ (ataxia) และการชัก (seizure)เม็กซิโก- โครโมโซม 22-คิว และ
    - การผลิตซ้ำของโครงสร้างทางพันธุกรรมเพ็นทานิวคลีโอไทด์ (pentanucleotide repeated sequence)
    เอสซีเอ-11สามสิบปี
    (สิบห้าปีถึงเจ็ดสิบปี)
    ช่วงชีวิตปรกติภาวะอ่อนแอ (mild)
    [แต่ยังสามารถเดินได้ด้วยตนเอง (ambulatory)]
     โครโมโซม 15-คิว
    เอสซีเอ-12 (พีพีพีทูอาร์ทูบี)สามสิบสามปี
    (แปดปีถึงห้าสิบห้าปี)
     - อาการสั่นของศีรษะและมือ (head and hand tremor) และ
    -ภาวะเสียการเคลื่อนไหว (akinesia)
     - โครโมโซม 5-คิว และ
    - การผลิตซ้ำของกรดอะมิโนกลูตาไมน์ (CAG repeated sequence)
    เอสซีเอ13ขึ้นอยู่กับการกลายพันธุ์ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมเคเอ็นซีเอ็น 3
    (KCNC3, พันธุกรรมชนิดหนึ่ง)
    ภาวะปัญญาอ่อน (mental retardation) โครโมโซม 19-คิว
    เอสซีเอ-14 (พีอาร์เคซีจี)ยี่สิบแปดปี
    (สิบสองปีถึงสี่สิบสองปี)
    สหทศวรรษ
    (หนึ่งปีถึงสามสิบปี)
    ภาวะกล้ามเนื้อกระตุกรัว (myoclonus) โครโมโซม 19-คิว
    เอสซีเอ-16สามสิบเก้าปี
    (ยี่สิบปีถึงหกสิบหกปี)
    หนึ่งปีถึงสี่สิบปีอาการสั่นของศีรษะและมือ (head and hand trumor) โครโมโซม 8-คิว
    เอสซีเอ-17 (ทีบีพี)    - การผลิตซ้ำของโครงสร้างทางพันธุกรรมอะมิโนกลูตาไมน์ (CAG repeated sequence) และ
    - โครโมโซม 6-คิว (พันธะโปรตีนโกลด์เบิร์ก-ฮอกเนสบ็อกซ์, TATA-binding protein)
    เอสซีเอ-19 และ
    เอสซีเอ-22
      - อาการสมองน้อยอ่อน (Mild cerebellar syndrome) และ
    - อาการพูดไม่เป็นความ (dysarthria)
      
    เอสซีเอ-25หนึ่งปีครึ่งถึงสามสิบเก้าปีไม่ทราบ- ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการเหตุประสาทพิการ
    - การอาเจียน และ
    - ภาวะเจ็บปวดในทางเดินอาหาร (gastrointestinal tract pain)
     โครโมโซม 2-พี

    หมายเหตุ

    1. "ซีเอซีเอ็นเอวันเอ" (CACNA1A) หมายถึง ช่องแคลเซียมอาศัยศักย์ไฟฟ้าประเภทพี/คิว หน่วยย่อยแอลฟา 1-เอ (calcium channel, voltage-dependent, P/Q type, alpha 1-A subunit)
    2. "ทีบีพี" (TBP) หมายถึง พันธะโปรตีนโกลด์เบิร์ก-ฮอกเนสบ็อกซ์ (TATA box binding protein)
    3. "พีพีพีทูอาร์ทูบี" (PPP2R2B) หมายถึง โปรตีนฟอสฟาเทส 2 ส่วนควบคุมย่อยบี บีทาไอโซฟอร์ม (protein phosphatase 2, regulatory subunit B, beta isoform)
    4. "พีอาร์เคซีจี" (PRKCG) หมายถึง โปรตีนไคเนส-ซี, แกมมา (protein kinase-C, gamma)
    5. "พีแอลอีเคเอชจี" (PLEKHG) หมายถึง แพล็กสทรินฮอมอโลยี-ตระกูลจี (pleckstrin homology-family G)
    6. "อทาซิน" (ataxin) หมายถึง ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ
    7. "เอสซีเอ" (SCA) หมายถึง ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการเหตุสมองน้อยและไขสันหลังพิการ หรือสไปโนซีรีเบลลาร์อาแท็กเซีย
    8. "เอสพีทีบีเอ็น" (SPTBN) หมายถึง สเปกตริน บีทา นอน-อิริโทรไซคลิก (spectrin, beta, non-erythrocytic)
    9. "ไอโอเอสซีเอ" (IOSCA) หมายถึง ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการเหตุสมองน้อยและไขสันหลังพิการ หรือสไปโนซีรีเบลลาร์อาแท็กเซีย ซึ่งเริ่มเกิดในเด็ก (infantile onset spinocerebellar ataxia)
    10. "ความยาวนานของโรค" หมายถึง ระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่

    วิธีหนึ่งในการวินิจฉัยโรคนี้ได้แก่การใช้ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือ เครื่องฉายภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI) ในการตรวจวิเคราะห์สมอง หากป่วยเป็นโรคนี้จริงจะพบว่าสมองน้อยของผู้ป่วยฝ่อลงอย่างเห็นได้ชัด

    การวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุดได้แก่การตรวจโครงสร้างทางพันธุกรรมของผู้ป่วย วิธีนี้ยังสามารถใช้ตรวจวิเคราะห์เด็กว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางพันธุกรรมนี้ได้



    การวินิจฉัย โรคนี้ต้องอาศัยความรู้ทางพันธุศาสตร์และประสาทวิทยาอย่างมาก เพราะอาจสับสนกับโรคทางระบบประสาท (neurological condition) อื่น ๆ ได้ เป็นต้นว่า โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)

    ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาผู้ป่วยเป็นโรคนี้ และไม่มีวิธีฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยให้กลับเป็นปกติเช่นเดิมได้ แต่ยังสามารถบรรเทาความรุนแรงของอาการได้ โดยอาศัยการทำกายภาพบำบัดและรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น

    การบรรเทาความรุนแรงของอาการต่าง ๆ นั้น ได้แก่การใช้อุปกรณ์ภายนอกช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองมากที่สุดเท่าที่กระทำได้ เช่น ไม้เท้า (cane) ไม้ยันรักแร้ (crutch) เครื่องช่วยเดิน (walker) และหรือเก้าอี้รถเข็น (wheelchair) ช่วยในการเคลื่อนไหว กับทั้งอุปกรณ์ช่วยเขียน ช่วยป้อนอาหาร และช่วยดูแลผู้ป่วยในกรณีที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวของมือ ตลอดจนอุปกรณ์ช่วยติดต่อสื่อสารในกรณีที่สูญเสียความสามารถของขากรรไกรล่าง


     
    (บันทึกของอายะที่พิมพ์ที่ณี่ปุ่น)

    อยากให้มาพิมพ์ที่ไทยเราบ้างจัง . . แต่หาไม่เจอ หรือยังไม่ได้ตีพิมพ์ . . 

    BY ... เจ้าหญิงแอโรลล่า01 
              
              - อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี





    สไปโนซีรีเบลลาร์อะแท็กเซีย
    เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งทำให้สมองน้อย (cerebellum) ไขสันหลัง (spinal cord) และระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system) ซึ่งอยู่บริเวณไขสันหลังของผู้ป่วยทำงานผิดปรกติเนื่องจากมีการฝ่อลีบลงจาก โรคนี้จะปรากฏโดยช้าและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่สามารถยับยั้งได้ ดังนั้นจึงสามารถเรียกโรคนี้ได้อีกอย่างว่า 

    "สไปโนซีรีเบลลาร์ดีเจเนอเรชัน "
    (spinocerebellar degeneration) 

    โดยมีอัตราการเกิดโรคประมาณสิบหกคนต่อหนึ่งแสนคน . . .
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×