ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #4 : เกณฑ์รับตรงของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    • อัปเดตล่าสุด 7 ต.ค. 50


    โครงการรับตรง

    คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ประจำปีการศึกษา 2551

    คุณสมบัติผู้สมัคร

    1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 หรือ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า

    2. มีผลการเรียนอยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่ต่ำกว่า 2.50 ทั้งนี้ผู้สมัครสอบที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม. 6 คะแนนเฉลี่ยสะสมคำนวณจากผลการเรียน 5 ภาคการศึกษา คือ ตั้งแต่ ม.4 ภาค 1 จนถึง ม.6 ภาค 1 และผู้สมัครที่ไปศึกษาระดับมัธยมปลาย ณ ต่างประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ให้คำนวณผลการเรียนเฉพาะภาคที่ได้ศึกษาในประเทศไทย ทั้งนี้ต้องยื่นเอกสารแสดงการไปศึกษาต่างประเทศในวันสอบสัมภาษณ์

    3. เป็นผู้ที่ตั้งใจจะเข้าศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    หลักเกณฑ์การคัดเลือกให้เข้าศึกษา

    คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะพิจารณาคัดเลือกจากคะแนน SMART-I และคะแนนสอบสัมภาษณ์ที่คณะฯ เป็นผู้ดำเนินการจัดสอบ โดยมีค่าน้ำหนักคะแนนดังนี้

    คะแนน SMART-I

    ร้อยละ 95

    ความสามารถด้านคณิตศาสตร์

    ร้อยละ 30

    ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ

    ร้อยละ 30

    ความสามารถด้านการอ่าน

    ร้อยละ 25

    ความรู้รอบตัว

    ร้อยละ 10

    คะแนนสอบสัมภาษณ์

    ร้อยละ 5

    รวม

    100

    คณะพาณิชย์ฯ ให้ความสำคัญกับคะแนนทุกส่วน ดังนั้น ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาต้องมีคะแนน SMART-I ทุกส่วนจากการสอบครั้งเดียวกัน และคะแนนสอบสัมภาษณ์สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่โครงการรับตรงฯ เป็นผู้กำหนดขึ้น

    เกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนน SMART-I

    1. คะแนนแต่ละส่วนของ SMART-I จากการสอบครั้งเดียวกันไม่น้อยกว่า 30 คะแนน

    2. คะแนนรวมเมื่อแปลงเป็นคะแนนสำหรับโครงการรับตรงฯ ตามค่าน้ำหนักที่กำหนดแล้วไม่น้อยกว่า 47.5 คะแนน จาก 95 คะแนน (ใช้โปรแกรมแปลงคะแนนที่ http://smart.bus.tu.ac.th )

    หลักเกณฑ์การคัดเลือกให้เข้าสัมภาษณ์

    ผู้มีสิทธิได้รับคัดเลือกให้เข้าสอบสัมภาษณ์ จะต้อง

    1. เป็นผู้ที่ยื่นคะแนนสมัครระหว่างวันที่ 1-13 ธันวาคม 2550 และ

    2. มีคะแนน SMART-I ที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี ในแต่ละส่วนจากการสอบครั้งเดียวกันไม่น้อยกว่า 30 คะแนน แล

    3. มีคะแนนรวม SMART-I ที่แปลงเป็นคะแนนโครงการรับตรง ตามค่าน้ำหนักที่กำหนดแล้วไม่น้อยกว่า 47.5 คะแนน จากคะแนนเต็ม 95 คะแนน (คลิกที่นี่ เพื่อแปลงคะแนน)

    คณะกรรมการโครงการรับตรงฯ จะคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 1 ถึง 3 ตามลำดับคะแนนในจำนวนที่คณะกรรมการฯ เห็นสมควรเพื่อเข้าสอบสัมภาษณ์

    ขั้นตอนการสมัคร

    1. สมัครโครงการรับตรงฯ ทางอินเทอร์เน็ต ที่ www.reg.tu.ac.th ในระหว่างวันที่ 1-13 ธันวาคม 2550 โดยระบุครั้งที่ของการสอบ SMART-I แต่ไม่ต้องกรอกคะแนน เนื่องจากโครงการรับตรงฯ จะประสานงานกับSMART Center เพื่อขอคะแนนที่ดีที่สุดของผู้สมัครทุกคน ทั้งนี้คะแนนแต่ละส่วนของ SMART-I ต้องเป็นคะแนนจากการสอบในครั้งเดียวกัน

    2. ระบุเลือกสาขาวิชา 1 สาขาวิชาจาก 4 สาขาวิชา ดังต่อไปนี้

    - หลักสูตร 4 ปี - การบัญชี ศึกษาที่ศูนย์รังสิต

    - หลักสูตร 4 ปี - บริหารธุรกิจ ศึกษาที่ศูนย์รังสิต

    - หลักสูตร 5 ปี (ตรี-โท) - การบัญชี ศึกษาที่ท่าพระจันทร์

    - หลักสูตร 5 ปี (ตรี-โท) - บริหารธุรกิจ ศึกษาที่ท่าพระจันทร์

    การสอบ SMART-I

    ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับวันสอบและการสมัครได้จาก http://smart.bus.tu.ac.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ทดสอบทักษะด้านการจัดการ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาศาสตร์ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โทรศัพท์: 02-613-2199, 02-224-9730, 02-226-4511 E-mail: smart@tu.ac.th

    คณะพาณิชย์ฯ ให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก จำนวน 20 ทุน สำหรับผู้สอบเข้าได้คะแนนสูงสุด ดูรายละเอียด และเงื่อนไข ที่ เมนู ทุนการศึกษา

    คะแนนต่ำสุดของผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา โครงการรับตรงฯ ประจำปีการศึกษา 2549 - 2550

    (คะแนนสอบข้อเขียน 95 คะแนน)

    หลักสูตร

    รหัสหลักสูตร

    คะแนนต่ำสุด

    ปี 2549

    คะแนนต่ำสุด

    ปี 2550

    หลักสูตร 4 ปี การบัญชี ศึกษาที่ศูนย์รังสิต

    0201

    54.10

    60.05

    หลักสูตร 4 ปี บริหารธุรกิจ ศึกษาที่ศูนย์รังสิต

    0202

    52.90

    55.05

    หลักสูตร 5 ปี (ตรี-โท) - การบัญชี ศึกษาที่ท่าพระจันทร์

    0203

    58.15

    61.10

    หลักสูตร 5 ปี (ตรี-โท) - บริหารธุรกิจ ศึกษาที่ท่าพระจันทร์

    0204

    55.80

    58.20

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×