ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #3 : อาชีพหลังจบการเรียนในแต่ละสาขา

    • อัปเดตล่าสุด 7 ต.ค. 50


    บัญชี AC

    วิชาการบัญชียังเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลนบุคลากรด้านนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลกรบัญชีที่มีคุณภาพ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางการบัญชีสามารถประกอบอาชีพได้กว้างขวางทั้งในภาครัฐและเอกชน เช่น สมุห์บัญชี ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ที่ปรึกษาด้านการบัญชีและวางแผนภาษีอากร หรือด้านการลงทุน หรืออาจประกอบอาชีพอิสระ เช่น การมีสำนักงานรับทำบัญชี และตรวจสอบบัญชี นอกจากนี้ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางการบัญชีสามารถโยกย้ายไปรับตำแหน่งในฝ่ายอื่นๆ ได้เกือบทุกสายงานธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การบริหารบุคคล การจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศ ฯลฯ 

    การเงิน FN

    ภาควิชาการเงิน ได้ให้ความรู้กว้างขวางแก่นักศึกษาเพียงพอที่จะนำไปใช้ประกอบอาชีพ จากลักษณะวิชาที่สอนซึ่งเน้นทางด้านวิเคราะห์ คาดคะเนและตัดสินใจทำให้บัณฑิตมองภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้กว้างและไกล งานในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจึงท้าทายความสามารถอย่างมาก วิชาความรู้ที่เรียนมาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในการประกอบธุรกิจส่วนตัวหรือทำงานในสถาบันการเงินต่างๆ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย สถาบันการเงินเฉพาะด้านต่างๆ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ตลาดอนุพันธ์ทางการเงิน ตลอดจนธุรกิจการผลิตการค้าและบริการทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ สำหรับงานที่สามารถทำได้ในธุรกิจต่างๆ เหล่านั้นคือ เจ้าหน้าที่การเงิน นักวิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน นักวิเคราะห์การลงทุนและโครงการ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และบริหารความเสี่ยง ตำแหน่งงานเหล่านี้ยังสามารถพัฒนาให้เป็นผู้บริหารระดับสูง (CFO และ CEO) ได้ทั้งในธุรกิจเอกชน รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานราชการ ตลอดจนองค์กรการกุศลและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ 

    การตลาด MK

    นักการตลาดที่มีความรู้ความสามารถนั้น ยังเป็นที่ต้องการอีกมาก ทั้งในภาคราชการและเอกชน โดยเฉพาะในภาคเอกชน ความสามารถในการแข่งขันกับคู่เเข่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะขึ้นอยู่กับนักการตลาดที่มีความสามารถ แม้กระทั่งการทำธุรกิจส่วนตัวหรือธุรกิจขนาดย่อม จะประสบผลสำเร็จได้ดี ก็ต้องอาศัยความรู้ทางด้านการตลาดเข้ามาช่วยดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ถ้าจะจำแนกตำแหน่งงานที่ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาทางการตลาดเข้าไปทำจะได้แก่

    - งานขาย
    - งานวิเคราะห์ตลาดและการกำหนดกลยุทธ์
    - งานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ และการพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า
    - งานส่งเสริมการขาย
    - งานวิจัยตลาด
    - งานวางแผนการตลาดและจัดทำงบประมาณ
    - งานพัฒนาผลิตภัณฑ์
    - งานระบบข้อมูลทางการตลาด
    - งานขายตรงและการตลาดทางตรง
    - งานให้บริการต่างๆ

    ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ IS

    บัณฑิตที่สำเร็จจากภาควิชา MIS เหมาะสมจะทำงานทางด้านสารสนเทศเป็นหลัก ซึ่งมีดังต่อไปนี้ :

    1. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer)
    2. ผู้จัดการฝ่ายสารสนเทศ (Information Manager)
    3. ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยี (Technology Manager)
    4. ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator)
    5. ผู้บริหารทั่วไป (General Manager) 

    บริหารอุตสาหการและปฏิบัติการ IM

    บัณฑิตสาขาวิชาบริหารอุตสาหการและปฏิบัติการ สามารถเข้าทำงานได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมบริการ และกิจการทุกประเภท ซึ่งต้องทำการบริหารคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต การพัฒนาระบบงาน การประหยัดต้นทุน และการส่งงานอย่างตรงเวลา เช่น ธนาคาร กิจการขนส่งทางเรือ ท่าอากาศยาน ตลาดกลางขายสินค้า ห้างสรรพสินค้า กิจการจัดจำหน่าย กิจการก่อสร้าง และบริษัทที่ปรึกษาโดยเริ่มทำงานในตำแหน่งวางแผน งานควบคุมการผลิตและปฏิบัติการ งานวิเคราะห์ระบบงาน งานบริหารคุณภาพ งานบริหารสินค้าคงคลัง งานจัดซื้อ ฯลฯ เมื่อมีประสบการณ์เพียงพอก็อาจจะได้เลื่อนเป็นผู้จัดการฝ่ายการผลิต ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการโครงการ กรรมการผู้จัดการ เป็นต้น 

    บริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์กร HO

    ระดับปฏิบัติการ :

    1. เจ้าหน้าที่ทรัพยากรมนุษย์ในฝ่าย/แผนกทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งแบ่งเป็นงานด้าน :
    - การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Planning)
    - การว่าจ้าง (Employment)
    - การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน (Training and Development)
    - ค่าตอบแทน (Compensation)
    - แรงงานสัมพันธ์ (Labor Relations)
    2. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์แผนและนโยบาย
    3. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ปัญหา
    4. เจ้าหน้าที่ธุรการ
    5. เลขานุการผู้บริหาร

    ระดับบริหาร :
    1. หัวหน้าโครงการ
    2. หัวหน้าแผนก / งานทรัพยากรมนุษย์
    3. ผู้จัดการ / ผู้อำนวยการฝ่าย / แผนกทรัพยากรมนุษย์
    4. ผู้จัดการ / ผู้อำนวยการฝ่าย / แผนกวางแผนและพัฒนาองค์การ
    5. ผู้จัดการทั่วไป
    6. พัฒนาเป็นผู้บริหารระดับสูง : ผู้อำนวยการ / กรรมการผู้จัดการ 

    การขนส่งระหว่างประเทศ โลจิสติกส์ IBLT

    นักศึกษาที่จบหลักสูตรปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง สามารถประกอบธุรกิจหรือทำงานในธุรกิจด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    • ประกอบธุรกิจหรือเข้าร่วมงานในธุรกิจการนำเข้า-ส่งออก
    • ธุรกิจผู้ให้บริการขนส่ง เช่น บริษัทเรือ บริษัทสายการบิน
    • ธุรกิจผู้ให้บริการรับจัดการขนส่ง เช่น Freight Forwarder
    • ธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์
    • ธุรกิจท่าเรือ และสนามบิน
    • ธุรกิจคลังสินค้าหรือการกระจายสินค้า
    • ธุรกิจประกันภัยสินค้า
    • ธุรกิจวิเทศธนกิจ เช่น ฝ่ายวิเทศธนกิจในสถาบันการเงิน 

    ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ RB

    บัณฑิตสาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ด้านอสังหาริมทรัพย์ เช่น นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, นักบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์, นักประเมินราคา, บริหารทรัพย์สินสถาบันการเงิน, ผู้จัดการดูแลทรัพย์สิน, ผู้จัดการการลงทุน, นักวิเคราะห์ และนักวิจัย ในหน่วยงาน ดังต่อไปนี้ ธนาคาร, สถาบันการเงิน, บริษัทพัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์, บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน, บริษัทประเมินราคา, กรมที่ดิน, กรมธนารักษ์, การรถไฟ, บริษัทนายหน้าและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์, และผู้ประกอบกิจการขนาดเล็ก 


    ปล. ประวัติของแต่ละสาขาสามารถติดตามอ่านได้จากบทความแรกนะคับ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×