ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #1 : ประวัติคณะบัญชี มธ.

    • อัปเดตล่าสุด 5 ต.ค. 50


    ประวัติความเป็นมาของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองสมัยก่อนมีหลักสูตรศึกษาเฉพาะวิชากฎหมาย เมื่อสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิตแล้วจึงแยกออกไปศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาต่างๆ ในปี 2478 วิชาการบัญชีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญโดยเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ และมีหลวงดำริอิศรานุวรรตเป็นผู้สอน ในสมัยนั้นการบัญชียังไม่แพร่หลาย ยังมิได้มีการบันทึกบัญชีเป็นกิจจะลักษณะ ผู้มีความรู้ทางบัญชีมีจำนวน 3-4 คนเท่านั้นและหนึ่งในนั้นเป็นผู้มีบทบาทในการก่อตั้งและพัฒนาวิชาการบัญชี ซึ่งก็คือ หลวงดำริอิศรานุวรรต โดยท่านเป็นผู้ริเริ่มให้มีกฎหมายรับรองการจัดตั้งสภาบัญชี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวิชาชีพสอบบัญชี และเพื่อเป็นองค์การให้รัฐบาลในการจัดดำเนินการทดสอบความชำนาญงานทางบัญชีเพื่อออกประกาศนัยบัตรวิชาชีพรับรองว่าผู้นั้นเป็นผู้ที่มีความรู้ทางการบัญชีดีพอที่จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตอิสระได้
                    แต่เนื่องจากรัฐบาลในสมัยนั้นพิจารณาเห็นว่ายังไม่สมควรที่จะจัดตั้งสภาบัญชี เนื่องจากผุ้มีความรู้ความสามารถมีน้อยมาก จึงเห็นว่าควรจะส่งเสริมในการให้วิชาความรู้ทางการบัญชีเพื่อให้แพร่หลาย ดังนั้นหลวงดำริอิศรานุวรรตจึงขอให้รัฐบาลรับนโยบายอนุมัติให้มีการศึกษาวิชาการบัญชีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองโดยระยะแรกได้ก่อตั้งแผนกวิชาการบัญชีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2481 ซึ่งทางคณะถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนาคณะฯ
                    ปี 2492 ได้ยกฐานะเป็น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มีการเพิ่มแผนกพาณิชยศาสตร์เข้าไป นอกเหนือจากแผนกวิชาการบัญชี
                    ปี 2505 แผนกพาณิชยศาสตร์ในระดับปริญญาตรีได้แบ่งออกเป็น 3 สาขาวิชา ประกอบด้วย
    -          สาขาการบริหารการเงินและการธนาคาร
    -          สาขาการตลาด
    -          สาขาการบริหารทั่วไป
    ปี 2513 เพื่อให้เป็นไปตามหลักสูตรสากล ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรจากการศึกษาในระบบเดิมมาเป็นระบบหน่วยกิตพร้อมทั้งได้มีการแบ่งหลักสูตรออกเป็นวิชาเอก 4 สาขาวิชาได้แก่
    -          สาขาการบัญชี
    -          สาขาการบริหารการเงินและการธนาคาร
    -          สาขาการตลาด
    -          สาขาการบริหารทั่วไป
    ปี 2518 ได้มีการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะฯให้สอดคล้องกับการพัฒนาของคณะฯ ซึ่งมีการแบ่งสาขาวิชาเอกออกเป็น 5 สาขาวิชาดังนี้
    -          สาขาการบัญชี
    -          สาขาการบริหารการเงินและการธนาคาร
    -          สาขาการตลาด
    -          สาขาการบริหารทั่วไป
    -          สาขาการบริหารบุคคล
    ปี 2523 ได้เปลี่ยนชื่อสาขาเทคนิคการบริหารเป็นสาขาบริหารอุตสาหการ
    ปี 2526ได้เพิ่มสาขาการพาณิชยนาวีขึ้นมาอีก 1 สาขาวิชาเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนธุรกิจพาณิชยนาวี
    ปี 2533 คณะฯ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ.2526 จากหลักสูตรการบัญชีบัณฑิตและพาณิชยศาสตร์ เป็นหลักสูตร ฉบับ พ.ศ. 2533 หลักสูตรบัญชีบัณฑิตและบริหารธุรกิตบัณฑิต และเปลี่ยนชื่อปริญญาด้านพาณิชยศาสตร์บัณฑิต เป็นบริหารธุรกิจบัณฑิต โดยหลักสูตร พ.ศ.2533 ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 6 สาขาวิชาเอก เช่นเดียวกับ พ.ศ.2526 แต่มีการปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจ 2 สาขาวิชา คือ
    -          สาขาการบัญชี
    -          สาขาการบริหารการเงินและการธนาคาร
    -          สาขาการตลาด
    -          สาขาการบริหารอุตสาหการ
    -          สาขาการการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ(เดิมชื่อสาขาการบริหารบุคคล)
    -          สาขาการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศ(เดิมชื่อสาขาวิชาการพาณิชยนาวี)
    และในปีเดียวกันนี้เอง คณะฯ ได้เพิ่มสาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในแผนกบริหารธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถทางด้านการบริหารธุรกิจและเทคโนโลยสารสนเทศ
    ปี 2535 คณะฯได้จัดตั้งโครงการปริญญาตรีบริหารธุรกิจ(หลักสูตรนานาชาติ)เพื่อสร้างบรรยากาศความเป็นนานาชาติภายในคณะฯให้มีมากขึ้น โครงการนี้ใช้หลักสูตรเดียวกับหลักสูตรปริญญาตรีภาคภาษาไทยแต่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
    ปี 2540 คณะฯ ได้ปรับปรุงหลักสูตร ฉบับ 2533 เป็นหลักสูตรฉบับ พ.ศ.2540 ในหลักสูตรยังคงกำหนดให้มี 7 สาขาวิชาเช่นเดียวกับหลักสูตร พ.ศ. 2533 แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนสาขาวิชา 2 สาขาวิชาคือ
    สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร เป็น สาขาวิชาการเงิน
    สาขาวิชาบริหารอุตสาหการ เป็น สาขาบริหารอุตสาหกรรมและปฏิบัติการ
    นอกนั้นยังคงใช้ชื่อเดิม คือ
    -          สาขาการบัญชี
    -          สาขาการตลาด
    -          สาขาการการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
    -          สาขาการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศ
    -          สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
    นอกจากนี้ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ได้เริ่มวิธีการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคภาษาไทย ซึ่งจะเป็นการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในปีการศึกษา 2540 นอกเหนือจากวิธีการคัดเลือกเดิมซึ่งดำเนินการโดยทบวงมหาวิทยาลัย โครงการสอบคัดเลือกนักศึกษาเข้าตรง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความถนัด และความตั้งใจที่จะเข้าศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างแท้จริงและรองรับนโยบายของทบวงมหาวิทยาลัยที่จะให้มีระบบใหม่ในการสอบคัดเลือกในปีการศึกษา 2542 โดยจะให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในคณะต่างๆของมหาวิทยาลัย
    ปี 2543 คณะได้เปิดสาขาวิชาเพิ่มใหม่ในระดับปริญญาตรี ได้แก่สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
    ปี 2547 คณะฯได้รับอนุมัติให้บรรจุหลักสูตรระดับปริญญาตรี 2 สาขาวิชาไว้ในแผนฯ 9 ได้แก่ หลักสูตรวิชาธุรกิจระหว่างประเทศและหลักสูตรสาขาวิชาการบริหารโลจิสติกส์ ซึ่งคาดว่าจะเปิดสอนในปี 2548
    ปี 2548 สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยได้มีบันทึกฉบับลงวันที่ 22 ธันวาคม 2547 ที่ ศธ 0516.13/4946 เรื่องแนวทางการขยายปริญญาตรีไปศูนย์รังสิตของคณะฯ พร้อมให้คณะฯกำหนดแผนการใช้พื้นที่ท่าพระจันทร์ในทางวิชาการ คณะฯจึงได้วางแผนการใช้พื้นที่ท่าพระจันทร์และหนึ่งในแผนนั้นคือ การเปิดหลักสูตรใหม่ ตรี-โท ระยะเวลาศึกษา 5 ปี ดังนี้
    หลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต(การจัดการแบบบูรณาการ) และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ประกอบด้วย 3 สาขาวิชาคือ
    -          สาขาวิชาการบริหารการเงิน
    -          สาขาการบริหารการตลาด
    -          สาขาวิชาการบริหารโลจิสติกส์และการปฏิบัติการ
    หลักสูตรควบบัญชีบัณฑิตและมหาบัณฑิต(บูรณาการ) มีสาขาวิชาการบัญชี 1 สาขาวิชา
    ปี 2549 ได้รับอนุมัติให้เปิดหลักสูตรควบบัญชีบัณฑิตและมหาบัณฑิต(บูรณาการ) และหลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต(การจัดการแบบบูรณาการ) และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ซึ่งเริ่มรับนักศึกษาเข้าเรียนตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โดยจัดการเรียนการสอนชั้นปีที่ 1-5 ที่ท่าพระจันทร์
    ที่มา รายงานประจำปี ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ประจำปี 2548
    แผนการรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรีของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    สาขาวิชา
    สอบผ่านโครงการ
    รับตรง
    สอบผ่าน สกอ.
    รวม
    หลักสูตร 4 ปี ที่รังสิต - การบัญชี
    90
    30
    120
    หลักสูตร 4 ปี ที่รังสิต - บริหารธุรกิจ
    180
    60
    240
    หลักสูตร 5 ปี (ตรี-โท) ที่ท่าพระจันทร์ - การบัญชี
    45
    45
    90
    หลักสูตร 5 ปี (ตรี-โท) ที่ท่าพระจันทร์ - บริหารธุรกิจ
    30
    30
    60
    รวม
    345
    165
    510

     
    ที่มา www.bus.tu.ac.th
     
    แผนผังการจัดการเรียนการสอนของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์จัดให้มีการเรียนการสอนโดยมีทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ ดังนี้
    1.       ระดับปริญญาตรี
    Ø    หลักสูตร 4 ปี
    v   บัญชีบัณฑิต
    ·       การบัญชี
    v   บริหารธุรกิจบัณฑิต
    ·       การเงิน
    ·       การตลาด
    ·       ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
    ·       การบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
    ·       บริหารอุตสาหกรรมและปฏิบัติการ
    ·       บริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง
    ·       ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
    Ø    หลักสูตร 5 ปี ตรีทา ที่ท่าพระจันทร์
    v   หลักสูตรควบบัญชีบัณฑิตและมหาบัณฑิต(บูรณาการ)
    ·    การบัญชี
    v   หลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต(การจัดการแบบบูรณาการ) และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
    ·        การบริหารการเงิน
    ·       การบริหารการตลาด
    ·       การบริหารโลจิสติกส์และการปฏิบัติการ
    Ø    หลักสูตร 4 ปี นานาชาติ BBA ที่ท่าพระจันทร์
    v   บัญชีบัณฑิต
    ·       การบัญชี
    v   บริหารธุรกิจบัณฑิต
    ·       การเงิน
    ·       การตลาด
    2.       ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
    -          การประเมินราคาทรัพย์สิน (GPV)
    3.       ระดับปริญญาโท (หลักสูตรภาคภาษาไทย)
    -          บริหารธุรกิจ MBA
    -          บริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร X-MBA
    -          บริหารธุรกิจ เน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ HRM
    -          ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ MRE
    4.       ระดับปริญญาโท (หลักสูตร 2 ภาษา)
    -          การบัญชี MAP
    -          สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MSMIS
    5.       ระดับปริญญาโท (ภาคภาษาอังกฤษ/นานาชาติ)
    -          การตลาด MIM
    -          การเงิน MIF
    -          บริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ IMBA
    6.       ระดับปริญญาเอก (หลักสูตรนานาชาติ)
    -          การจัดการธุรกิจ PHD
    -          บริหารธุรกิจ JDBA
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×