การเปลี่ยนแปลงของไอทีวีที่สำคัญ - การเปลี่ยนแปลงของไอทีวีที่สำคัญ นิยาย การเปลี่ยนแปลงของไอทีวีที่สำคัญ : Dek-D.com - Writer

    การเปลี่ยนแปลงของไอทีวีที่สำคัญ

    เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของไอทีวี

    ผู้เข้าชมรวม

    497

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    497

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  7 มี.ค. 50 / 13:41 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ประวัติความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ                   

      บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2538 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้นและชำระแล้ว 250 ล้านบาท และมีการเพิ่มทุนเป็น 1,000 ล้านบาทในปีเดียวกัน ต่อมาในปี 2541 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจสถานีโทรทัศน์ระบบยู เอช เอฟ แห่งแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่อ " สถานีโทรทัศน์ไอทีวี " โดยบริษัท ฯ ได้รับสัมปทานจาก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นผู้ดำเนินการบริหารสถานีเป็นระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 โดยบริษัท ฯ มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการที่สำคัญ เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ และการบริหารงานดังนี้

      ปี 2538

      กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด นำโดยธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ธนาคารฯ) ได้รับอนุมัติ ให้เป็นผู้ดำเนินงาน โครงการโทรทัศน์ช่องใหม่ระบบยู เอช เอฟ จากสำนักงาน ฯ โดยได้ก่อตั้งบริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด เพื่อลงนามในสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2538

      ปี 2539

      บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ และได้เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2539

      ปี 2540

      บริษัทฯ มีสถานีส่งรวมทั้งสิ้น 36 สถานี สามารถให้บริการ ครอบคลุมพื้นที่ บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทยเพียงบางจังหวัด นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามที่กำหนด ในสัญญาสัมปทาน และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2541

      ปี 2541

      บริษัทฯ ได้ติดตั้งสถานีส่งบนอาคารใบหยก 2 มีขนาดกำลังส่ง ออกอากาศ 1,000 กิโลวัตต์ สามารถให้บริการ ในรัศมีประมาณ 100 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดในภาคกลาง

      ปี 2542

      กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด นำโดยธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ธนาคารฯ) ได้รับอนุมัติ ให้เป็นผู้ดำเนินงาน โครงการโทรทัศน์ช่องใหม่ระบบยู เอช เอฟ จากสำนักงาน ฯ โดยได้ก่อตั้งบริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด เพื่อลงนามในสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2538

      ปี 2543

      บริษัทฯ มีสถานีส่งรวมทั้งสิ้น 36 สถานี สามารถให้บริการ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทยเพียงบางจังหวัด นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามที่กำหนด ในสัญญาสัมปทาน และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2541

      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทย เพียงบางจังหวัด นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามที่กำหนดในสัญญาสัมปทาน และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2541






         

       

      ปี 2544 เมื่อวันที่13 พฤศจิกายน 2544มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทฯ โดยชินคอร์ป ได้ตกลง ซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ จากธนาคารฯ จำนวน 106,250,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 10.6573 บาท รวมทั้งได้ดำเนินการเสนอ ซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ จากผู้ถือหุ้นรายอื่นในราคาเดียวกัน เป็นผลให้ ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด ทั้งนี้การดำเนินงานของบริษัทฯ ยังอยู่ภายใต้บริหารเดิม ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2544 ได้มีมติเปลี่ยนแปลง มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น จากเดิม 10 บาทต่อหุ้นเป็น 5 บาทต่อหุ้น ทำให้หุ้นทั้งหมดของบริษัทฯ เพิ่มเป็น 1,200 ล้านหุ้น โดยเป็นหุ้นที่ชำระแล้วจำนวน 850 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท

      ปี 2545 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มีนาคม 2545 บริษัทฯ ได้เสนอขายหุ้นของบริษัทฯแก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 300 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 6 บาท เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2545 บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วเป็น 5,750 ล้านบาทและในวันที่ 13 มีนาคม 2545 บริษัทฯ ได้เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

      ปี 2546 เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของธุรกิจให้มีพื้นที่สำนักงานและสตูดิโอเพิ่มขึ้นเนื่องจาก บริษัทฯ มีการผลิตรายการเองมากขึ้น เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 บริษัทฯ ได้ดำเนินการย้ายสำนักงาน รวมทั้งสตูดิโอไปยังที่ทำการใหม่ เลขที่ 1010 อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3

      บริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ เพื่อพร้อมรับการแข่งขันของธุรกิจสื่อโทรทัศน์ ที่มีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการปรับเปลี่ยนผังรายการใหม่ ภายใต้ Concept " Speed & Spice " ความมีพลัง ทันสมัย สร้างสรรค์ ทางด้านรายการข่าว ที่เน้นความลึก เข้มข้น ถูกต้อง และเป็นธรรม ส่วนรายการบันเทิง มีพลังแห่งสีสัน ความหลากหลาย เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ตรงใจผู้ชมทุกรุ่น

      เดือนธันวาคม 2546 คณะกรรมการบริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทเป็น 7,800 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 1,560 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท โดยออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 300 ล้านหุ้น เป็นเงิน 1,500 ล้านบาท จัดสรรเป็นการเฉพาะเจาะจง ให้นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ และบริษัทกันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งการขายหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบ Due Diligence ของบริษัท ทั้งนี้การเข้ามาร่วมงานของพันธมิตรทั้ง 2 รายเพื่อพัฒนาคุณภาพรายการ และเสริมฐานเงินทุนของไอทีวีให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

      ปี 2547 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2547 คณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดตามข้อพิพาท มีสาระสำคัญดังนี้

      • ให้สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ชดเชยความเสียหายโดยชำระเงินให้แก่บริษัทฯ จำนวน 20 ล้านบาท
      • ให้ปรับลดผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 5 วรรคหนึ่ง ในส่วนจำนวนเงินรับประกันผลประโยชน์ขั้นต่ำ ให้ปรับลดจากเดิมลงเหลือปีละ 230 ล้านบาท โดยไม่ต้องชำระขั้นต่ำส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี และปรับลดผลประโยชน์ตอบแทน เป็นอัตราร้อยละจากเดิมลงเหลือ อัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย และภาษีใดๆ โดยเปรียบเทียบ ระหว่างจำนวนเงินที่คำนวณได้ ตามอัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายและภาษีใดๆ กับเงินประกัน ผลประโยชน์ตอบแทน ขั้นต่ำ ปีละ 230 ล้านบาท จำนวนใดมากกว่าให้ชำระตามจำนวนที่มากกว่านั้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป
      • ให้สปน. คืนผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำที่บริษัทได้ชำระ โดยมีเงื่อนไขระหว่างพิจารณาข้อพิพาทนี้เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2546 จำนวน 800 ล้านบาท โดยคืนให้แก่บริษัทฯ จำนวน 570 ล้านบาท
      • ให้บริษัทฯ สามารถออกอากาศช่วงเวลา Prime Time คือช่วงเวลาระหว่าง 19.00 - 21.30 น. ได้โดยไม่ต้องถูกจำกัด เฉพาะรายการข่าว สารคดี และสาระประโยชน์ แต่ต้องเสนอรายการข่าว สารคดี และสาระประโยชน์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเวลาออกอากาศทั้งหมด ทั้งนี้ภายใต้ข้อบังคับของกฎระเบียบที่ทางราชการออกใช้บังคับแก่สถานีวิทยุโทรทัศน์โดยทั่วไป

      ทางด้านการปรับเปลี่ยนผังรายการนั้น หลังจากได้พันธมิตรใหม่ทั้ง 2 รายมาร่วมงานแล้ว ไอทีวีก็ได้ปรับราย การให้เหมาะสม กับกลุ่มผู้ชมทั่วประเทศ โดยเพิ่มเติมรายการประเภท บันเทิง และรายการเพื่อ ครอบครัวสมัยใหม่มากขึ้น และยังเพิ่มสัดส่วน ของรายการข่าวมากขึ้น นอกเหนือไปจากรายการข่าวประจำวันแล้ว ยังเพิ่มรายการไอทีวี ฮอตนิวส์ และรายการ ร่วมมือ ร่วมใจ ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นอย่างดี

      ปัจจุบัน สถานีโทรทัศน์ไอทีวีมีสถานีเครือข่ายทั้งสิ้น 50 สถานี ซึ่งนับว่าเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มี เครือข่ายมากที่สุด ในบรรดาสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง ครอบคลุมประชากร ที่สามารถรับชมได้ ประมาณร้อยละ 98 ของประชากรทั้งหมดในประเทศไทย

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×