ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการของยุโรปสมัยกลาง

    ลำดับตอนที่ #1 : 1) อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในสมัยกลาง

    • อัปเดตล่าสุด 11 พ.ย. 52



    1.              อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง

    ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4-5 จักรวรรดิโรมันได้ถูกรุกรานจากพวกเผ่าอนารยชนหลายเผ่า 

    พวกอนารยชนเหล่านี้ได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งในดินแดนส่วนต่าง ๆ ของจักรวรรดิโรมัน

    ตะวันตก จักรพรรดิโรมันพยายามสร้างความเข้มแข็งให้จักรวรรดิโรมันที่กว้างขวางยิ่งใหญ่ให้คง

    อยู่ด้วยการแบ่งจักรวรรดิออกเป็น 2 ภาค คือ จักรวรรดิโรมันตะวันตก มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงโรม 

    และจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล แต่ก็ไม่สามารถทำให้

    จักรวรรดิโรมันมั่นคงอยู่ได้ พวกอนารยชนได้รุกรานจักรวรรดิโรมันหลายครั้ง จนกระทั่งใน ค.ศ.
     
    476  แม่ทัพเผ่าเยอรมันได้ปลดจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกลง ถือเป็นการสิ้น

    สุดจักรวรรดิโรมันตะวันตก ดินแดนยุโรปตะวันตกจึงได้แตกแยกเป็นอาณาจักรของอนารยชนเผ่า

    ต่าง ๆ ทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม

                    ส่วนจักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) ยังดำรงสืบต่อ

    มาอีกเกือบ 1000 ปี จนกระทั่งล่มสลายใน ค.ศ.1453

               การที่จักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงดำรงอยู่ต่อมา นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออารยธรรมตะวัน

    ตก เนื่องจากจักรวรรดิแห่งนี้ได้ถ่ายทอดมรดกทางอารยธรรมกรีก-โรมันในด้านต่าง ๆ ในเวลาต่อมา 


    คริสต์ศาสนาได้กำเนิดขึ้นในช่วงต้นของสมัยจักรวรรดิโรมัน ผู้ก่อตั้งศาสนา คือ พระเยซูคริสต์

     
    หลังจากนั้นประมาณ 300 ปี  คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาต้องห้ามของจักรวรรดิโรมันและถูกทางการ

    ปราบปรามอย่างรุนแรง  จนกระทั่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 

    (Constantine I ค.ศ. 306-337) ทรงนับถือคริสต์ศาสนา และใน ค.ศ. 394 จักรพรรดิทีโอโดซิอัสที่ 1 

    (Theodosius I ค.ศ. 379-395) ได้ประกาศให้คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิโรมัน ทำให้

    คริสต์ศาสนาขยายตัวมีผู้นับถือมากขึ้น

     

    เหตุที่คริสต์ศาสนามีความเจริญรุ่งเรื่องและแผ่ขยายได้อย่างกว้างขวางเนื่องจาก 

    (1) จักรพรรดิโรมันในยุคนั้นขาดความสามารถในการบริหารและขาดคุณสมบัติของความเป็นผู้นำ 

    (2) ผู้นำทางคริสต์ศาสนาในเวลานั้นมีคุณสมบัติที่จักรพรรดิไม่มี 

    (3) ความแตกแยกและเสื่อมโทรมของสังคมและการเมืองในจักรวรรดิสมัยนั้น คนจึงหวังมีชีวิตอย่างมี

    ความสุขในโลกหน้า 

    (4) อานารยชนที่รุกรานเข้ามาได้ทำลายแต่ความรุ่งเรืองของโรมันในด้านสถาบันการเมืองการปกครอง

    เท่านั้น หาได้ยุ่งเกี่ยวกับคริสต์ศาสนาแต่อย่างใดไม่

                    เมื่อจักรวรรดิโรมันเสื่อมลง สถาบันคริสต์ศาสนากลับมีความแข็งแกร่งมากขึ้น และเมื่อ

    จักรวรรดิโรมันล่มสลายไป ดินแดนในยุโรปมีแต่ความปั่นป่วน ศาสนาจึงได้เข้ามามีบทบาทเป็นผู้

    นำในทางจิตวิญญาณของชาวยุโรป และสามารถมีอิทธิพลครอบงำยุโรปสมัยกลางทั้งด้านสังคม
     
    เศรษฐกิจ และการเมือง


     1.1 บทบาททางสังคม

    ในสมัยกลางคริสต์ศาสนาได้เข้ามามีบทบาทต่อสังคมยุโรป เพราะสังคมมีแต่ความวุ่นวายและความ

    เสื่อม ผู้ที่ปรารถนาจะหลบหนีจากความวุ่นวายได้พบว่า คริสต์ศาสนาสามารถให้ความรู้สึกที่มั่นคงทาง

    จิตใจได้ คริสต์ศาสนาจึงแผ่อิทธิพลไปทั่วยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13 

    ศาสนจักรมีอำนาจสูงสุดเหนือสถาบันใด ๆ และเข้าไปมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวยุโรปอย่างกว้าง

    ขวาง
    คริสตจักรได้เสริมสร้างระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพตามแบบโรมันด้วยการสร้างความเป็น

    เอกภาพของคริสต์ศาสนิกชน และคริสตจักรยังมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรทางโลก เช่น การสถาปนา

    จักรพรรดิโรมันในสมัยกลาง ทำให้คริสตจักรมีความสัมพันธ์กับรัฐ พร้อมกับสร้างความชอบธรรมทาง

    การเมืองให้แก่ศาสนจักรในสมัยกลาง คริสตจักรได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของชาวยุโรปกลางเป็น

    อย่างมาก ตั้งแต่กำเนิดจนเสียชีวิต เป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุด โดยผูกอำนาจในการตีความพระธรรม

    และนำพาให้มนุษย์หลุดพ้นทางวิญญาณ เนื่องจากศาสนจักรเป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า 

    มนุษย์ต้องดำเนินชีวิตตามคำสอนของศาสนาอย่างเคร่งครัด

                    การปฏิบัติตามคำสอนของศาสนจักรเป็นทางให้มนุษย์พบความสงบสุขในโลกของพระเจ้า ดังนั้น

    ชาวยุโรปในสมัยกลางจึงมีความเชื่อฝังแน่นอยู่กับความเชื่อทางศาสนา และปฏิบัติตามคำสอนอย่าง

    เคร่งครัด ถ้าผู้ใดหรือชนกลุ่มใดมีความเห็นขัดแย้งกับศาสนจักรจะต้องถูกศาสนจักรไต่สวนและลง

    โทษ เช่น

            
       - การไล่ออกจากศาสนาหรือบัพพาชนียกรรม
    (excommunication) เป็นการห้ามผู้ต้องโทษไม่ให้เข้า

    ร่วมกิจกรรมหรือพิธีกรรมใด ๆ ทางศาสนา ทำให้วิญญาณไม่ได้หลุดพ้น รวมทั้งห้ามติดต่อกับ

    ศาสนิกชนอื่น ๆ ด้วย

     

            - การตัดขาดจากศาสนาทั้งชุมชน (interdiction) เป็นการลงโทษประชาชนทั้งดินแดน โบสถ์ในดิน

    แดนนั้นจะปิด ไม่ประกอบพิธีกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น เท่ากับทำให้ประชาชนในดินแดนนั้นขาดการติดต่อ

    กับพระเจ้าและไม่ได้หลุดพ้น ส่วนมากกฎข้อนี้ใช้ในการลงโทษการกระทำของผู้นำรัฐ

            การลงโทษทำให้ศาสนจักรมีอำนาจเหนือประชาชนในสังคมทุกระดับชั้น ตั้งแต่กษัตริย์ ขุนนาง จน

    ถึงข้าติดที่ดินระดับล่างสุด และการลงโทษดังกล่าวนี้เองที่ศาสนจักรใช้ต่อสู้ทางอำนาจกับอาณาจักร

    ตลอดช่วงสมัยกลาง ประชาชนในยุคสมัยกลางมีความเกรงกลัวการลงโทษของคริสตจักรเป็นอย่างยิ่ง 

    จึงมีความเคารพเชื่อฟังศาสนา และทำให้ศาสนจักรมีความแข็งแกร่งมั่นคง การที่ศาสนจักรมีอำนาจมาก

     ทำให้คริสต์ศาสนามีบทบาททางด้านการเมืองและเศรษฐกิจในสังคมสมัยกลาง

     

    1.2 บทบาททางการเมือง

            ศาสนาได้เข้าไปมีส่วนร่วมในระบบการเมืองของยุโรปทั้งในระบบกษัตริย์และระบบฟิวดัลรวมทั้ง

    ระบบศาล 

    - ระบบกษัตริย์  ศาสนจักรได้อ้างอำนาจเหนือกษัตริย์และขุนนางในฐานะของผู้สถาปนา

    กษัตริย์  สันตะปาปาอ้างอำนาจได้ตั้งแต่สันตะปาปาลีโอที่ 3
    (Leo III ค.ศ. 795-816) ทรง

    ประกอบราชพิธีสวมมงกุฎแก่จักรพรรดิชาร์เลอมาญ ใน ค.ศ. 800 การอ้างอำนาจของสันตะปาปานำ

    ไปสู่การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างศาสนจักรกับจักรพรรดิเยอรมันในสมัยกลาง

            - ระบบฟิวดัล ศาสนจักรได้เข้ามามีบทบาทในการยุติสงครามการแย่งที่ดินระหว่างเจ้านายที่ดินต่าง ๆ 

    และการที่ศาสนจักรมีที่ดินจำนวนมากทำให้ศาสนจักรต้องไปเกี่ยวข้องกับเจ้าของที่ดิน

     

            - ระบบการศาล ศาสนจักรได้จัดระบบการพิจารณาศาล จึงอ้างในสิทธิที่จะพิจารณาคดีทั้งศาสนาและทางโลก


     1.3       บทบาททางเศรษฐกิจ

    ศาสนจักรเป็นแหล่งรวมความมั่งคั่งในสมัยกลาง เนื่องจากศาสนจักรได้เงินภาษีจากประชาชน 

    และบรรณาการที่ดินที่ชนชั้นปกครองมอบให้ศาสนจักร แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ศาสนจักรมีอำนาจในสมัย

    กลาง ได้แก่ การจัดการอำนาจแบบรวมศูนย์ที่มีประสิทธิภาพของศาสนจักร

                    คริสตจักรได้วางรูปแบบการบริหารงานเลียนแบบการบริหารของจักรวรรดิโรมัน ทำให้คริสตจักรเป็น

    สถาบันที่มีกฎระเบียบและมีเป้าหมายชัดเจนโดยมีสันตะปาปา
    (Pope) เป็นประมุขสูงสุด และมีคาร์ดินัล 

    (cardinal) เป็นที่ปรึกษา ในส่วนภูมิภาคแบ่งเป็นมณฑล ซึ่งมีอาร์ชบิชอป (archbishop) เป็นผู้ปกครอง ถัด

    จากระดับมณฑล คือ ระดับแขวง ภายใต้การปกครองของบิชอป
    (bishop) ส่วนหน่วยระดับล่างสุด คือ ระดับ

    ตำบล มีพระหรือบาทหลวง
    (priests) เป็นผู้ปกครอง


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×