ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการของยุโรปสมัยกลาง

    ลำดับตอนที่ #2 : 2) การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของยุโรปสมัยกลาง

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 7.24K
      2
      11 พ.ย. 52


    การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของยุโรปสมัยกลาง
    หลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของยุโรปตะวันตกเต็มไปด้วยความวุ่นวาย แต่เป็นช่วงเวลาของการสร้างอารยธรรมใหม่ขึ้น มีความแตกต่างจากอารยธรรมสมัยโบราณ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

    ยุโรปสมัยกลางตอนต้น
    เป็นยุคแห่งความยุ่งยากซึ่งบางครั้งถูกเรียกว่าเป็นยุคมืด (Dark Age)จักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ในสภาพที่ป่าเถื่อนสงครามและความเดือดร้อนมี อยู่ทุกหย่อมหญ้า
     
    ด้านการเมือง
    เผ่าเยอรมันได้ตั้งอาณาจักรปกครองส่วนต่างๆของโรมัน ได้แก่
    1.) ชนเผ่าแฟรงก์
    2.) ชนเผ่าออสโตรกอท
    3.) ชนเผ่าลอมบาร์ด
    4.) ชนเผ่าแองโกล-แซกซัน
    5.) ชนเผ่าเบอร์กันเดียน
    6.) ชนเผ่าวิสิกอธ
    7.) ชนเผ่าแวนดัล
    หลังจากจักรพรรดิชาร์ลเลอ-มาญสิ้นพระชนม์ จักรวรรดิก็เริ่มแตกแยกจนในที่สุด จักรวรรดิถูกแบ่งแยกเป็น 3 ส่วน ซึ่งพัฒนามาเป็นอาณาจักรฝรั่งเศส เยอรมันและอิตาลีในเวลาต่อมา ขุนนางท้องถิ่นมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆจนสามารถแยกดินแดนออกเป็นแคว้น นำไปสู่การปกครองระบบศักดินาสวามิภักดิ์ในช่วงต่อมา
     
    ระบอบแมนเนอร์
    เป็นระบบการปกครองในฟิวดัล เจ้าหน้าที่ในเขตปกครองแต่ละครอบครัวทำกินจะขยายหรือโยกย้ายไม่ได้ ถ้าเจ้าของที่ดิน (Lord) ไม่สั่ง
    ชนชั้นในแมนเนอร์สามารถแบ่งได้ดังนี้
    1.ชนชั้นขุนนางหรือเจ้าของแมนเนอร์
    2.ชนชั้นไพร่
    3.ชนชั้นเสรีชน
     
    ด้านเศรษฐกิจ
    เกษตรกรรมมีความสำคัญต่อจักรวรรดิเป็นอย่างมาก ดังนั้นเกษตรกรจึงมีความสำคัญและได้รับความคุ้มครองจากรัฐ
    การเพาะปลูกในแมนเนอร์มีวิธีการเพาะปลูก 2 วิธีการ คือ
    1.ระบบนา 2 ทุ่ง
    2.ระบบนา 3 ทุ่ง
     
    ด้านสังคม
    สังคมในช่วงเวลาสมัยกลางตอนต้นมีความวุ่นวายมาก ขาดระเบียบวินัยและความมั่นคง สังคมเมืองแทบล่มสลายในช่วงเวลานี้คริสต์ศาสนาได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนในยุคกลางตั้งแต่เกิดจนถึงสิ้นชีวิตศาสนจักรจึงทำหน้าที่แทนจักรวรรดิโรมันในการยึดเหนี่ยวประชาชนยุโรปไว้   และรักษาวัฒนธรรมความเจริญต่างๆสืบต่อมา
     

    ยุโรปสมัยกลางตอนปลาย
    ช่วงเวลานี้เป็นช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ศาสนาถูกลดบทบาทลง มีความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในดินแดนต่างๆ ได้แก่ ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมันอันศักสิทธิ์ และการเกิดของรัฐชาติในฝรั่งเศส อังกฤษ และสเปน
    ด้านการเมือง
    ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรวรรดิโรมันอันศักสิทธิ์จึงกลายเป็นเพียงสัญลักษณ์ทางการเมืองของดินแดนเยอรมนีเท่านั้น การเกิดขึ้นของรัฐชาติเปิดโอกาสให้กษัตริย์สามารถรวบรวมอำนาจและก่อตั้งรัฐชาติขึ้นมา
    วิกฤติกาลของปลายสมัยกลางของยุโรป ”(Crisis of the Late Middle Ages) บางครั้งก็เรียกว่ากบฏชาวนา”(Peasant revolt) ที่เป็นการปฏิวัติของชุมชนที่ครอบคลุมอย่างกว้างไม่เฉพาะแต่เกษตรกรหรือชาวนา สาเหตุสำคัญห้าสาเหตุที่ทำให้เกิดการก่อความไม่สงบก็ได้แก่ 1) ช่องว่างที่เพิ่มขึ้นระหว่างคนจนและคนรวย, 2) รายได้ที่ลดลงของผู้มีฐานะดี, 3) ภาวะเงินเฟ้อและภาษีที่เพิ่มขึ้น, 4) วิกฤติกาลภายนอกที่รวมทั้งความอดอยาก, โรคระบาด และสงคราม และ 5) ความกดดันจากสถาบันศาสนา
    ด้านเศรษฐกิจ
    การค้าจึงเริ่มฟื้นตัวขึ้นในยุโรปตะวันตกพ่อค้าเริ่มเดินทางค้าขายระหว่างแหล่งการค้าต่างๆ มีการสร้างถนนหนทางและสะพาน  การค้าทางทะเลก็ก้าวหน้าควบคู่ไปกับการค้าทางบก  มีการตั้งศูนย์กลางการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเหนือ และทะเลบอลติค  สินค้าต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาในยุโรป เช่น ผ้าไหม ข้าว ผลมะเดื่อ ฝ้าย เครื่องเทศ และสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆทำให้การค้าขยายตัวอย่างรวดเร็ว  ความ เจริญรุ่งเรืองทางการค้าทำให้บรรดาพ่อค้ามั่งคั่งร่ำรวย มีอำนาจในทางเศรษฐกิจ มีบทบาททางสังคม และสามารถขยายอำนาจของตนสู่การเมือง  
    ด้านสังคม
    เกิดลักษณะของสังคมเปลี่ยนแปลงไป คือ
    1) ระบบสังคมแบบฟิลดัลเสื่อมสลายลง
    2) ชนชั้นกลางขึ้นมามีอำนาจแทนที่ชนชั้นขุนนาง
    3) เกิดขบวนการนักวิชาการสายมนุษยนิยม
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×