ลำดับตอนที่ #2
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
จากประวัติศาสตร์ชนชาติไทยเดิมที่ได้อพยพมาจากแถบภูเขาอัลไต และอพยพเรื่อยมาจนถึงแหลมทองในปัจจุบัน และได้ปรากฏหลักฐานเป็นจดหมายของอาจารย์ที่เซี่ยงไฮ้ ซึ่งอาจารย์มนตรี ตราโมท กล่าวว่า( สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540 : 3 อ้างใน มนตรี ตราโมท. 2507 : ไม่ปรากฏหน้า) ดังนี้ “ จดหมายของอาจารย์ผู้หนึ่ง ในโรงเรียนที่เซียงไฮ้ ซึ่งมีมาถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยเรา ลงในวันที่ 11 ตุลาคม 2484 กล่าวว่า เขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าตำนานดึกดำบรรพ์ของชาติไทยในดินแดนจีน ได้หลักฐานไว้หลายอย่าง มีความในหนังสือฉบับนี้กล่าวว่า คนไทยมีอุปนิสัยทางศิลปะทางดนตรีมาแต่ดึกดำบรรพ์” จากข้อความในจดหมายที่ยกมา แสดงให้เห็นว่า ดนตรีไทยมีมาควบคู่กับคนไทย มาตั้งแต่โบราณก่อนการอพยพลงมาสู่แหลมทองในปัจจุบัน และยังมีเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับดนตรีไทย ซึ่ง อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้กล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นมาเกี่ยวกับดนตรีไทยและเพลงไทยอีกว่า (มนตรี ตราโมท. 2507 : ไม่ปรากฏหน้า) “ในตอนกลางลุ่มแม่น้ำแยงซี
เป็นที่ตั้งของอาณาจักรฌ้อ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ โดยมากกล่าวรับรองว่า ฌ้อในสมัยนั้นคือชนชาติไทย พระเจ้าฌ้อปาออง ซึ่งครองราชย์อยู่ระหว่าง พ.ศ. 310 ถึง 343 ว่าเป็นกษัตริย์ไทยในสมัยนั้นจีนได้เครื่องดนตรีไปจากชนชาติในดินแดนตอนใต้หลายอย่าง ที่ปรากฏชัดคือ กลองชนิดหนึ่งซึ่งจีนใช้อยู่จนทุกวันนี้เรียกว่า “ น่านตัง*** ” อันหมายถึง กลองชาวใต้ ลักษณะเป็นกลองขึงหนังตรึงด้วยหมุดทั้งสองหน้าอย่าง “ กลองทัด ” ของไทยเราไม่ผิดเพี้ยนเลย และรูปร่างก็แตกต่างจากกลองชนิดอื่นๆ ของจีน ซึ่งเข้าใจว่าอาจได้ไปจากกลองของชนชาติไทย ในสมัยครั้งกระโน้นก็เป็นได้” หลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึง “เครื่องดนตรีไทย” และเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ของไทยก็คือ “แคน” โดยมีหลักฐานยืนยัน ซึ่งมีบันทึกของจีนได้บันทึกไว้ว่า ( สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540 : 5)“ ที่เมือง CHANGSHA แคว้นยูนาน เป็นบ้านเกิดของประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตุง เขาได้พบศพ 2 ศพ ที่เกรียวกราวมาก คือ เป็นศพที่มีอายุตั้ง 2,000 ปี แล้วร่างกายอยู่อย่างเก่าเอาอะไรกดเข้าไปก็ไม่เป็นอะไร แล้วเครื่องแต่งกายก็วิจิตรพิสดารมาก รัฐบาลของเขาให้ชื่อศพนี้ว่า “ The Duke of Tai and his Consart “ ในข้าง ๆ ศพ ปรากฏสิ่งของอยู่ 2 อย่างคือ เครื่องใช้ประจำวันเป็นเครื่องเขิน เครื่องเขินที่คล้าย ๆ กับเชียงใหม่เรานี้ แล้วก็เป็นจำนวนนับร้อย แล้วอีกสิ่งหนึ่งก็เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ตรงกับของเราที่เรียกว่า แคน ในเรื่องที่เกี่ยวกับแคนนี้ สุมาลี นิมมานุภาพ ยังเล่าเพิ่มเติมพอสรุปได้ว่า จากบันทึกของจีนที่บันทึกว่าจีนมีแคนใช้ประมาณ 3,000 ปี แต่จีนมีแคนใช้หลังไทย เพราะฉะนั้นแคนไทยต้องมีอายุมากกว่า 3,000 ปี ที่กล่าวว่าจีนมีแคนใช้หลังไทยเพราะถ้าใช้หลังการเปรียบเทียบจะเห็นว่าแคนของจีนสวยงามประณีต กะทัดรัดกว่าของไทย เพราะจีนได้แบบอย่างและรูปแบบไปจากแคนไทย ซึ่งมีรูปร่างยาว ใช้วัสดุที่ไม่ทนทานเท่าแคนของจีน ซึ่งเมื่อจีนเห็นข้อบกพร่องของแคนไทยแล้วจึงนำไปปรับปรุงให้กะทัดรัดและสวยงามจากแคนของไทย ได้พัฒนาเป็นเครื่องดนตรีอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ขลุ่ย และปี่ซอ เพราะขลุ่ยทำง่ายกว่าแคน เพียงแต่เจาะรูที่ไม้ไผ่ก็เป่าได้แล้ว อย่างเช่น ขลุ่ยผิวของจีน ส่วนปี่ซอก็คือลูกของแคนนั้นเองใช้ลิ้นโลหะประกอบกับไม้ไผ่เข้าแล้วเจาะรูเพื่อบังคับเสียง อย่างเช่น ปี่ซอของทางภาคเหนือในปัจจุบัน ซึ่งต่อมาจึงใช้ไม้ทำเครื่องบังคับลมเรียกว่า “ดาก” เข้าไปในตัวของไม้ไผ่แล้วเจาะลิ้น (ปากนกแก้ว) ทำให้เกิดเสียง เช่น ขลุ่ยชนิดต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ (สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540 : 6 อ้างใน จารุวรรณ ไวยเจตน์. 2529 : 213)สรุปได้ว่า ดนตรีไทย มีประวัติความเป็นมาควบคู่กับชนชาติไทย ก่อนที่จะอพยพมาสู่ถิ่นแหลมทองในปัจจุบัน เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ค้นพบคือ กลองและแคน ต่อมาได้พัฒนาจากแคนเป็นปี่ซอและขลุ่ย ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า เพราะทำได้ง่าย เพียงแต่เจาะรูแล้วทำเครื่องบังคับลมก็สามารถเป่าเป็นเสียงดนตรีได้แล้ว
จากประวัติศาสตร์ชนชาติไทยเดิมที่ได้อพยพมาจากแถบภูเขาอัลไต และอพยพเรื่อยมาจนถึงแหลมทองในปัจจุบัน และได้ปรากฏหลักฐานเป็นจดหมายของอาจารย์ที่เซี่ยงไฮ้ ซึ่งอาจารย์มนตรี ตราโมท กล่าวว่า( สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540 : 3 อ้างใน มนตรี ตราโมท. 2507 : ไม่ปรากฏหน้า) ดังนี้ “ จดหมายของอาจารย์ผู้หนึ่ง ในโรงเรียนที่เซียงไฮ้ ซึ่งมีมาถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยเรา ลงในวันที่ 11 ตุลาคม 2484 กล่าวว่า เขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าตำนานดึกดำบรรพ์ของชาติไทยในดินแดนจีน ได้หลักฐานไว้หลายอย่าง มีความในหนังสือฉบับนี้กล่าวว่า คนไทยมีอุปนิสัยทางศิลปะทางดนตรีมาแต่ดึกดำบรรพ์” จากข้อความในจดหมายที่ยกมา แสดงให้เห็นว่า ดนตรีไทยมีมาควบคู่กับคนไทย มาตั้งแต่โบราณก่อนการอพยพลงมาสู่แหลมทองในปัจจุบัน และยังมีเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับดนตรีไทย ซึ่ง อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้กล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นมาเกี่ยวกับดนตรีไทยและเพลงไทยอีกว่า (มนตรี ตราโมท. 2507 : ไม่ปรากฏหน้า) “ในตอนกลางลุ่มแม่น้ำแยงซี
เป็นที่ตั้งของอาณาจักรฌ้อ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ โดยมากกล่าวรับรองว่า ฌ้อในสมัยนั้นคือชนชาติไทย พระเจ้าฌ้อปาออง ซึ่งครองราชย์อยู่ระหว่าง พ.ศ. 310 ถึง 343 ว่าเป็นกษัตริย์ไทยในสมัยนั้นจีนได้เครื่องดนตรีไปจากชนชาติในดินแดนตอนใต้หลายอย่าง ที่ปรากฏชัดคือ กลองชนิดหนึ่งซึ่งจีนใช้อยู่จนทุกวันนี้เรียกว่า “ น่านตัง*** ” อันหมายถึง กลองชาวใต้ ลักษณะเป็นกลองขึงหนังตรึงด้วยหมุดทั้งสองหน้าอย่าง “ กลองทัด ” ของไทยเราไม่ผิดเพี้ยนเลย และรูปร่างก็แตกต่างจากกลองชนิดอื่นๆ ของจีน ซึ่งเข้าใจว่าอาจได้ไปจากกลองของชนชาติไทย ในสมัยครั้งกระโน้นก็เป็นได้” หลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึง “เครื่องดนตรีไทย” และเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ของไทยก็คือ “แคน” โดยมีหลักฐานยืนยัน ซึ่งมีบันทึกของจีนได้บันทึกไว้ว่า ( สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540 : 5)“ ที่เมือง CHANGSHA แคว้นยูนาน เป็นบ้านเกิดของประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตุง เขาได้พบศพ 2 ศพ ที่เกรียวกราวมาก คือ เป็นศพที่มีอายุตั้ง 2,000 ปี แล้วร่างกายอยู่อย่างเก่าเอาอะไรกดเข้าไปก็ไม่เป็นอะไร แล้วเครื่องแต่งกายก็วิจิตรพิสดารมาก รัฐบาลของเขาให้ชื่อศพนี้ว่า “ The Duke of Tai and his Consart “ ในข้าง ๆ ศพ ปรากฏสิ่งของอยู่ 2 อย่างคือ เครื่องใช้ประจำวันเป็นเครื่องเขิน เครื่องเขินที่คล้าย ๆ กับเชียงใหม่เรานี้ แล้วก็เป็นจำนวนนับร้อย แล้วอีกสิ่งหนึ่งก็เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ตรงกับของเราที่เรียกว่า แคน ในเรื่องที่เกี่ยวกับแคนนี้ สุมาลี นิมมานุภาพ ยังเล่าเพิ่มเติมพอสรุปได้ว่า จากบันทึกของจีนที่บันทึกว่าจีนมีแคนใช้ประมาณ 3,000 ปี แต่จีนมีแคนใช้หลังไทย เพราะฉะนั้นแคนไทยต้องมีอายุมากกว่า 3,000 ปี ที่กล่าวว่าจีนมีแคนใช้หลังไทยเพราะถ้าใช้หลังการเปรียบเทียบจะเห็นว่าแคนของจีนสวยงามประณีต กะทัดรัดกว่าของไทย เพราะจีนได้แบบอย่างและรูปแบบไปจากแคนไทย ซึ่งมีรูปร่างยาว ใช้วัสดุที่ไม่ทนทานเท่าแคนของจีน ซึ่งเมื่อจีนเห็นข้อบกพร่องของแคนไทยแล้วจึงนำไปปรับปรุงให้กะทัดรัดและสวยงามจากแคนของไทย ได้พัฒนาเป็นเครื่องดนตรีอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ขลุ่ย และปี่ซอ เพราะขลุ่ยทำง่ายกว่าแคน เพียงแต่เจาะรูที่ไม้ไผ่ก็เป่าได้แล้ว อย่างเช่น ขลุ่ยผิวของจีน ส่วนปี่ซอก็คือลูกของแคนนั้นเองใช้ลิ้นโลหะประกอบกับไม้ไผ่เข้าแล้วเจาะรูเพื่อบังคับเสียง อย่างเช่น ปี่ซอของทางภาคเหนือในปัจจุบัน ซึ่งต่อมาจึงใช้ไม้ทำเครื่องบังคับลมเรียกว่า “ดาก” เข้าไปในตัวของไม้ไผ่แล้วเจาะลิ้น (ปากนกแก้ว) ทำให้เกิดเสียง เช่น ขลุ่ยชนิดต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ (สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540 : 6 อ้างใน จารุวรรณ ไวยเจตน์. 2529 : 213)สรุปได้ว่า ดนตรีไทย มีประวัติความเป็นมาควบคู่กับชนชาติไทย ก่อนที่จะอพยพมาสู่ถิ่นแหลมทองในปัจจุบัน เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ค้นพบคือ กลองและแคน ต่อมาได้พัฒนาจากแคนเป็นปี่ซอและขลุ่ย ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า เพราะทำได้ง่าย เพียงแต่เจาะรูแล้วทำเครื่องบังคับลมก็สามารถเป่าเป็นเสียงดนตรีได้แล้ว
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น