คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : การจำแนกสาร
การจำแนกสาร
แบ่งตามสถานะ ได้ 3 สถานะคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
1. ของแข็ง [Solid]
เป็นกลุ่มสารที่มีรูปร่าง และปริมาตรคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะ เนื่องจากอนุภาคของของแข็งจัดเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ อยู่ชิดติดกันจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันสูงมาก
เช่น เกลือแกง ด่างทับทิม น้ำตาล เหล็ก อะลูมิเนียม สังกะสี ทองคำ ตะกั่ว กำมะถัน ดินปืน เป็นต้น
2. ของเหลว [Liquid]
เป็นกลุ่มสารที่มีปริมาตรคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับรูปร่างของภาชนะที่บรรจุอยู่ เนื่องจากอนุภาคของของเหลวจะอยู่ห่างกัน อย่างไม่เป็นระเบียบ มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยกว่าของแข็ง ของเหลวจึงสามารถไหลไปมาได้ อาจเรียกว่า "ของไหล" และของเหลวจะไหลลงสู่ก้นภาชนะเสมอ เพราะแรงโน้มถ่วงของโลก และแรงยึดเหนี่ยวที่มีต่อกัน
เช่น น้ำอัดลม น้ำฝน แอลกอฮอลล์ น้ำส้มสายชู น้ำนม น้ำยาล้างห้องน้ำ สบู่เหลว แชมพู น้ำหมึก น้ำยาลบคำผิด เป็นต้น
3. ก๊าซ [Gas]
เป็นกลุ่มสารที่มีรูปร่าง และปริมาตร ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ตามรูปร่างและปริมาตรของภาชนะที่บรรจุอยู่ เนื่องจากอนุภาคของก๊าซอยู่ห่างกันมาก น้อยกว่าของเหลวและของแข็ง อนุภาคของก๊าซจึงสามารถฟุ้งกระจายได้เต็มภาชนะที่บรรจุอยู่ จึงจัดก๊าซเป็นของไหลอีกชนิดหนึ่ง
เช่น อากาศ ออกซิเจน ไฮโดรเจน บิวเทน มีเทน ก๊าซปิโตรเลียม ก๊าซเฉื่อย คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น
แบ่งตามเนื้อสาร ได้ 2 ประเภท คือ สารเนื้อเดียว และสารเนื้อผสม
1. สารเนื้อเดียว [Homogeneous substance]
เป็นสารที่มีลักษณะเนื้อสารเหมือนกันทั้งหมด มีสมบัติทุกส่วนเหมือนกัน อาจประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียวหรือมีสารหลายชนิดผสมกันอยู่อย่างกลมกลืน
เช่น ทองคำ เงิน ทองเเดง นาก น้ำทะเล น้ำแร่ สารละลายจุนสี ก๊าซหุงต้ม ออกซิเจน นีออน ฮีเลียม เป็นต้น
2. สารเนื้อผสม [Heterogeneous substance]
เป็นสารที่มีลักษณะเนื้อสารไม่กลมกลืนกัน มีสมบัติไม่เหมือนกันทุกส่วน และมองเห็นองค์ประกอบได้ชัดเจน สารเนื้อผสมประกอบไปด้วยสารหลายชนิด ซึ่งอาจมีสถานะเดียวกัน หรือมีสถานะต่างกันมาผสมกัน
เช่น น้ำโคลน น้ำคลอง พริกเกลือ น้ำผสมน้ำมัน ควันบุหรี่ในอากาศ ควันไฟ คอนกรีต น้ำส้มคั้น ดินปืน เป็นต้น
(แหล่งที่มา ... คู่มือเตรียมสอบวิทยาศาสตร์ รวม ม.1-2-3 อ.สถาพร ทัพพะกุล ณ อยุธยา และคณะ)
ความคิดเห็น