ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โครงการในพระราชดำริ*

    ลำดับตอนที่ #9 : ทฤษฎีการพัฒนาเพื่อตนเองของเกษตรกร

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.31K
      2
      8 ก.พ. 50

    ทฤษฎีการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (Self Reliance Theory)

    แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทที่สำคัญ คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนา
    ให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนใน ชนบทเป็นหลัก กิจกรรมและโครงการตามแนว
    พระราชดำริที่ดำเนินการอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศในปัจจุบันนั้นล้วนแล้วแต่มีเป้าหมาย
    สุดท้ายอยู่ที่การ พึ่งตนเองได้ ของราษฎรทั้งสิ้น โดยการพัฒนาทั้งด้านอาชีพและส่งเสริม
    การเกษตร ให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นปึกแผ่น ทรงดำเนินการ
    แนะนำสาธิตให้ประชาชน ดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาทเป็นไปตามหลักการพัฒนา
    สังคมชุมชนอย่างแท้จริง โดยทรงมีหลักอยู่ว่า

    1. ทรงไม่ใช้วิธีการสั่งการให้เกษตรกรปฎิบัติ
    2. ทรงเน้นให้พึ่งตนเองและช่วยเหลือตนเองเป็นสำคัญ
    3. ทรงใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
    4. ทรงใช้หลักประชาธิปไตยในการดำเนินการ หากเจ้าหน้าที่ทักท้วงสิ่งใดทางวิชาการ
      จะทรงรับฟังข้อสรุปอย่างเป็น กลาง หากสิ่งใดที่เจ้าหน้าที่กราบบังคมทูลว่า
      ปฎิบัติได้ แต่ผลลัพธ์อาจไม่คุ้มค่ากับเงินที่ลงไป ก็ทรงให้เปลี่ยนแปลงโครงการ
      ได้เสมอ
    5. ทรงยึดสภาพของท้องถิ่นเป็นหลักในการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจาก
      พระราชดำริ ทั้งด้านสภาพแวดล้อม ทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม
      ประเพณีของแต่ละท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคของประเทศ
    6. การสร้างความแข็งแรงให้ชุมชน ด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลักที่จำเป็นต่อ
      การผลิตอันเป็นรากฐานนำไปสู่การ พึ่งตนเองได้ในระยะยาว ซึ่งเป็นการพัฒนา
      ในลักษณะการเตรียมชุมชนให้พร้อมต่อการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก
      ทรงเรียกว่า "การระเบิดจากข้างใน" และทรงชี้แนะว่าควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป
    7. ทรงสนับสนุนให้มีการส่งเสริมความรู้ด้านต่างๆ ด้วยทรงตระหนักว่า ชาวชนบท
      ควรจะมีความรู้ในเรื่องของการทำ มาหากิน การทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี
      ที่เหมาะสม โดยทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี "ตัวอย่างแห่งความสำเร็จ"
      ที่ชาวบ้านสามารถรับและนำไปปฎิบัติได้ผลจริง
    8. ทรงปฏิรูประบบราชการให้เกิดเอกภาพทางการบริหาร (Single Management
      or Unity Administration) อันเป็นลักษณะ พิเศษของศูนย์ศึกษาการพัฒนา
      อันเนื่องมาจากพระราชดำริ คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
      มีเอกภาพทางการบริหาร โดยได้ทำหน้าที่บริหารทั้งสองทางในเวลา เดียวกัน คือ
      บริหารงานองค์กรของระบบราชการและบริการประชาชนพร้อมกันไปด้วย ดังนี้คือ
    • ก. ทำหน้าที่รวบรวมประชาชนที่เดือดร้อนให้รวมตัวกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
      และส่วนราชการก็จะเข้าร่วมแก้ไขปัญหา ตามหลักทางวิชาการ
    • ข. ทำหน้าที่รวบรวมความต้องการพื้นฐานอันแท้จริงของประชาชน และนำกลับมา
      หาวิธีการพัฒนาเพื่อ ให้บรรลุถึง เป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในลักษณะ
      แผนงานและโครงการ
    • ค. ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐและประชาชน เป็นการลดช่องว่าง
      แห่งความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันให้ลดน้อยลง
    • ง. ทำหน้าที่เป็นแหล่งเสริมสร้างการเรียนรู้ของประชาชนและราชการ คือ
      ประชาชนสามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้เพื่อ พัฒนาอาชีพและราย ได้ให้มั่นคง
      ในทำนองเดียวกันเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถเรียนรู้การแก้ไขปัญหาของ
      แต่ละท้องถิ่น นำไปเป็นแบบฉบับการพัฒนาแก่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป

    ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : มรรควิธีที่ช่วยเหลือให้เกษตรกร
    ได้บรรลุผลในการ พึ่งตนเอง

    1. ความหมายและแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งหวัง
      ที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรให้สามารถช่วยเหลือพึ่งตนเองได้
      วิธีการ หนึ่งที่ทรงเล็งเห็น คือการได้เรียนรู้และพบเห็นด้วยประสบการณ์ของตนเอง
      ด้วยเหตุนี้จึงพระราชทานพระราช ดำริให้มีศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก
      พระราชดำริ โดยทำหน้าที่เสมือน "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต"
      เพื่อเป็นศูนย์รวมของการศึกษาค้นคว้า ทดลอง วิจัย และแสวงหาแนวทาง
      และวิธีการพัฒนาด้านต่าง ๆที่เหมาะ สมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและ
      การประกอบอาชีพของราษฎรที่อยู่ในภูมิ ประเทศนั้น ๆ และเมื่อค้นพบพิสูจน์
      ได้ผลแล้ว ก็จะนำผลที่ได้ไปพัฒนาสู่ราษฎรในหมู่บ้านใกล้เคียงจนกระทั่งขยายผล
      กระจายวงกว้าง ออกไปเรื่อย ๆ
    2. แนวทางและวัตถุประสงค์ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
      ที่สำคัญมีดังนี้
      • 2.1 การแก้ไขปัญหาตามสภาพความเป็นจริงที่แตกต่างกัน
      • 2.2 การแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักปฏิบัติและประชาชน
      • 2.3 การพัฒนาแบบผสมผสาน
      • 2.4 การประสานงานระหว่างหน่วยราชการ
      • 2.5 เป็นศูนย์รวมในการให้บริการแก่ประชาชน นับเป็นการปฏิรูปมิติใหม่
        ของระบบบริหารราชการแผ่นดิน โดยมี ลักษณะเป็น One Stop Service
        หรือ "การบริการแบบเบ็ดเสร็จ" นั่นเอง
    3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในปัจจุบันมี 6 ศูนย์
      อยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ คือ
      • 3.1 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
        ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
      • 3.2 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
        ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
      • 3.3 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
        ตำบลสนามไชย อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
      • 3.4 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านนานกเค้า
        ตำบลห้วยยาง อำเภอ เมือง จังหวัดสกลนคร
      • 3.5 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
        อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
      • 3.6 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
        ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

       

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับ
    และนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ
    กล่าวคือ

    1. ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ ในทุกคราเมื่อเสด็จฯไปทรงเยี่ยม
      ประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบ
      ถึงสิ่งที่ควรรับรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดิน พังทลาย
      และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้
      สามารถกระทำได้ การตัด ไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น
    2. ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น
      มักจะมีนามเรียกขานแปลกหู น่าสน ใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง
      โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือ
      โครงการน้ำสามรส ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น ซึ่งพระองค์จะมีพระราชาธิบาย
      แต่ละโครงการอย่างละเอียดเป็นที่เข้าใจง่ายแก่ ประชาชนด้วย
    3. ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ
      ว่าโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริเป็นเช่นไร สามารถนำไปปฏิบัติได้หรือไม่
      ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง
    4. ขั้นทดลอง เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่
      ซึ่งในบางกรณีหากการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน
    5. ขั้นยอมรับ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้นเมื่อผ่านกระบวนการมาหลาย
      ขั้นตอน มีการทดลองเป็นเวลา นาน โดยเฉพาะในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่อง
      มาจากพระราชดำริที่ประชาชนสามารถเข้าไปดูและศึกษาถึงตัวอย่าง
      แห่งความสำเร็จได้

    ดังนั้น แนวพระราชดำริจึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้เองว่าจะเป็นผลดีต่อชีวิต
    และความ เป็นอยู่ของตนอย่างไร แนวพระราชดำริทั้งหลายนี้ แสดงถึง
    พระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา
    ตรากตรำพระวรกายเพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความ
    ร่มเย็นเป็นสุข นับเป็นพระมหา กรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทย
    ตลอดเวลา 50 ปี จึงกล่าวได้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์ นั้นสมควรอย่างยิ่ง
    ที่ทวยราษฎรจักได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทตามที่ทรงแนะนำสั่งสอน
    และวางแนว ทางไว้เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนทั่วกัน
    + +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×