ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Introduction to Gemology...

    ลำดับตอนที่ #2 : พลอยเม็ดที่ 1…ความหมายของอัญมณี (Gemstone)

    • อัปเดตล่าสุด 16 ม.ค. 50


    อัญมณีหมายความว่าอย่างไร ใครพอจะทราบบ้างมั้ยคะ

                    ถ้าไม่ทราบ ฉันบอกให้ก็ได้...

    อัญมณี(gems)   หมายถึง   แร่ หรือหิน หรือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ รวมทั้งสารอินทรีย์ ที่เมื่อนำมาขัดมัน และเจียระไนให้ได้สัดส่วนแล้ว มีความ สวยงาม  และความคงทนถาวร สามารถนำไปทำเครื่องประดับได้ค่ะ

    รัตนชาติ(gemstone)    หมายถึง  แร่ หรือ หิน ที่ผ่านการขัด การเจียระไนจนมีคุณค่าสูงคือมีความสวยงาม มีความคงทนถาวร เป็นสิ่งที่หายาก  และมีขนาดพอเหมาะที่จะนำมาทำเครื่องประดับได้

                    แต่ส่วนใหญ่คนจะนิยมใช้คำว่าอัญมณีมากกว่าคำว่ารัตนชาติค่ะ

                    ที่นี้มารู้จักสาขาวิชาที่เรียนกันบ้างนะคะ....

                    วิชาที่เล่าเรียนเกี่ยวกับอัญมณีทั้งหลาย เรียกว่าอัญมณีวิทยาค่ะ (Gemology) ซึ่งความหมายของมันก็คือ เป็นวิทยาศาสตร์สาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับอัญมณี รวมทั้งแหล่งกำเนิด (source)   การอธิบายลักษณะต่างๆ (description)    การเกิด (origin) การจำแนกชนิด (identification)     การจัดคุณภาพ (grading)    ตลอดจนการประเมินราคา(appraisal)ค่ะ

                    ฟังดูแล้วเครียดใช่มั้ยค่ะ ...

                    ซึ่งวิชาเหล่านี้หาเรียนได้ที่สาขาวิชาอัญมณีวิทยา ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เดียวค่ะ

             

              นอกจากนี้แล้ว เพื่อนๆรู้หรือเปล่าค่ะว่าอัญมณีส่วนใหญ่นันก็คือ  แร่  ซึ่งเป็นธาตุหรือสารประกอบ  อนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีโครงสร้างภายในเป็นระเบียบ  มีสูตรเคมีและสมบัติอื่นๆ ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัดเท่านั้น

      แร่ที่เรารู้จักมีกว่า  4000  ชนิด  แต่แร่ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นอัญมณีได้มีแค่เพียง  150  กว่าชนิดเท่านั้นค่ะ น้อยมากแล้วเมื่อเปรียบเทียบกัน  และในจำนวนนี้ มีเพียง  20  กว่าชนิดเท่านั้น    ที่จัดเป็นอัญมณีสำคัญ  และรู้จักกันแพร่หลาย  นอกจากแร่แล้ว หินและสารอินทรีย์บางชนิดที่มีความสวยงาม จัดเป็นอัญมณีได้เช่นกันค่ะ เช่น มุก หรือ อำพัน เป็นต้นค่ะ

     

    To be continue…

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×