คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : ธุรกิจนำเที่ยวกับงานมัคคุเทศก์
ธุรกิจนำเที่ยว
ตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ปี 2551 ได้ให้ความหมายของธุรกิจนำเที่ยวไว้ว่า คือ “ธุรกิจเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวเดินทาวไปท่องเที่ยวหรือเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยจัดให้มีการบริการหรือการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง อันได้แก่ สถานที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์ หรือบริการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง” ทั้งนี้ธุรกิจนำเที่ยวจะมุ่งเน้นการนำเที่ยวเชิงธุรกิจ มีการดำเนินการเป็นกิจการ โดยมีผลตอบแทนในการดำเนินงาน ทางบริษัทนำเที่ยวอาจดำเนินการจัดบริการด้านต่าง ๆ ในการเดินทางหรือจัดนำเที่ยวเอง หรืออาจเป็นเพียงบริษัทตัวกลางระหว่างนักท่องเที่ยวกับบริษัทนำเที่ยวอื่น ๆ และอาจเป็นตัวกลางหรือตัวแทนให้บริการระหว่างนักท่องเที่ยวกับสถานประกอบการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เช่นกัน เช่น เป็นตัวกลางหรือตัวเทนของโรงแรม แหล่งท่องเที่ยว ที่เข้าชมต่าง ๆ ฯลฯ ทั้งนี้บริษัทนำเที่ยวอาจรวมถึง บริษัทตัวแทนขนาดเล็กที่ทำหน้าที่ขายบัตรโดยสารเครื่องบินเป็นนายหน้าให้เช่ารถ หรือรับจองโรงแรม หรือติดต่อหามัคคุเทศก์ให้นักท่องเที่ยวด้วยก็ได้ (ฉันทัช วรรณถนอม , 2542 : 112)
วิธีการจัดตั้งและเริ่มต้นธุรกิจ (สำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ , 2543)
1. การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ
1.1 ประเภทบุคคลธรรมดา
มีลักษณะเป็นกิจการที่มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา คนเดียวหรือหลายคน หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ประเภทไม่จดทะเบียน ผู้ประกอบธุรกิจ
บริการนำเที่ยวประเภทบุคคลธรรมดา ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
1.2 ประเภทนิติบุคคล บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ผู้ประกอบการธุรกิจต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สถานที่ยื่นขอจดทะเบียน
กรุงเทพฯ ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 - 7 และส่งจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนา
ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ต่างจังหวัด ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ที่ห้างหุ้นส่วนบริษัทมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
ค่าธรรมเนียม
จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
- ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกินสามคน 1,000 บาท
- ผู้เป็นหุ้นส่วนเกินสามคน ชำระเพิ่มสำหรับจำนวนในที่เกินอีก คนละ 200 บาท
จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
- จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ 500 - 25,000 บาท
- จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด 5,000 - 250,000 บาท
ภาษีเงินได้
- บุคคลธรรมดา
ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่ ที่ตั้งของสถานประกอบการ
• ต้องยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีและครึ่งปี (ภ.ง.ด.90 และ 94)
• หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ. 30
- นิติบุคคล
ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่ ที่ตั้งของสถานประกอบการ
• ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ประจำปี และ ครึ่งปี (ภ.ง.ด.50 และ 51)
• หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ. 30
ภาษีป้าย
ผู้ประกอบธุรกิจที่ติดตั้งป้ายใหม่ หรือแสดงป้ายใหม่ จะต้องชำระภาษีป้ายต่อเจ้าพนักงาน ภายใน 15 วัน และจะต้องยื่นชำระ
ภาษีป้ายทุกปีที่ยังติดตั้งป้าย
สถานที่ขออนุญาต
กรุงเทพฯ ยื่นขอ ณ สำนักงานเขต ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่
ต่างจังหวัด ยื่นขอ ณ สำนักงานเทศบาล หรือสุขาภิบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งดูแลพื้นที่ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่
นอกจากนี้ยังมีกฎและระเบียบด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม สวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่ต้องถือปฏิบัติ
2. กฎหมายและระเบียบเฉพาะธุรกิจ
ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
สถานที่ขออนุญาต
กรุงเทพฯ และจังหวัดภาคกลาง ยื่นขอ ณ สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กทม.
จังหวัด อื่น ยื่นขอ ณ สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ประจำภูมิภาค
ภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตั้งอยู่ที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ค่าธรรมเนียม ตั้งแต่ 100 -500 บาท ขึ้นอยู่กับประเภทของการจัดนำเที่ยว
ค่าหลักประกัน ตั้งแต่ 10,000 - 500,000 บาท/2 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของการจัดนำเที่ยว
นอกจากนี้ยังมีกฎและระเบียบด้าน สิ่งแวดล้อม สวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่ต้องถือปฏิบัติ
3. รายละเอียดการลงทุน
3.1 ค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนเริ่มต้น
จะแตกต่างกันตามขนาดและลักษณะของกิจการจากข้อมูลเฉลี่ยของการสำรวจการลงทุนเริ่มต้นของผู้ประกอบธุรกิจ
จำแนกเป็น
• ค่าตกแต่งอาคาร เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน คิดเป็นร้อยละ 48
• เงินทุนหมุนเวียน คิดเป็นร้อยละ 52 ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเป็นค่าเช่าสถานที่ ค่ามัคคุเทศก์
เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า และโทรศัพท์ เป็นต้น
3.2 อัตราผลตอบแทนทางการเงิน
อัตราผลตอบแทนทางการเงินของธุรกิจนำเที่ยวขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดของธุรกิจภาวการณ์แข่ง
ขัน และความสามารถในการบริหารธุรกิจ เป็นต้น จากการสำรวจพบว่า ผลตอบแทนที่ได้รับจากรายได้ทั้งปี ประมาณ ร้อยละ 9 ส่วนผล
ตอบแทนที่ได้จากเงินลงทุนทั้งหมด ประมาณร้อยละ 13 ต่อปี โดยจะได้รับเงินลงทุนทั้งหมดคืน ภายในระยะเวลาประมาณ 4 ปี
4. การตั้งราคาและโครงสร้างราคาที่เป็นธรรม
4.1 ปัจจัยการตั้งราคา
ประกอบด้วย
• ต้นทุน
• ลักษณะของกลุ่มลูกค้า สนใจด้านคุณภาพ หรือ ราคา
• ช่วงเวลาการให้บริการ ในหรือนอกฤดูการท่องเที่ยว
• ปริมาณของการซื้อบริการในแต่ละครั้ง
• ค่าบริการของการผู้ประกอบกิจการรายอื่นระดับเดียวกันในท้องตลาด
4.2 โครงสร้างราคา
- คำนวณโดย ต้นทุนผันแปร บวก ต้นทุนคงที่จัดสรร บวก กำไรที่ต้องการ
- ต้นทุนผันแปร ประกอบด้วย ค่าเช่ายานพาหนะ ค่าโรงแรม/ที่พักแรม ค่าน้ำมันรถ และค่ามัคคุเทศก์ เป็นต้น
- ต้นทุนคงที่จัดสรร ประกอบด้วย ค่าเช่าสถานที่ ทำการ เงินเดือนพนักงาน ค่าบริการสาธารณูปโภค ค่าเสื่อม ราคาสิ่งปลูกสร้าง
และ เครื่องมืออุปกรณ์
โครงสร้างการบริหารและการดำเนินการในธุรกิจนำเที่ยว
โครงสร้างองค์กร
ประกอบด้วยงานหลักดังนี้
1. ด้านการบริหาร รับผิดชอบด้านบัญชี การเงิน จัดซื้อ บุคคล การตลาด ธุรการ และบริหารงานทั่วไปด้านการให้บริการ
2. ด้านบริการลูกค้า รับผิดชอบด้านการจัดนำเที่ยว จำหน่ายโปรแกรมการท่องเที่ยว รับจองตั๋วโรงแรม เครื่องบิน รถไฟ และ
บริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องการการท่องเที่ยว
3. พนักงานและการอบรมพนักงาน
พนักงาน
• ธุรกิจนำเที่ยวจะมีพนักงานประจำเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า
• การจ้างมัคคุเทศก์ จะพิจารณาจากผลการทดลองงาน เพื่อกำหนดอัตราค่าจ้าง จำนวนมัคคุเทศก์จะขึ้นอยู่กับปริมาณลูกค้าที่มา
ใช้บริการ
การอบรมพนักงาน
จะเน้นเรื่องการให้บริการ โดยเลือกบุคลากรที่มีบุคลิกภาพที่ดี และมีใจรักด้านบริการเข้ารับการอบรม
การดำเนินการในธุรกิจนำเที่ยว
ด้านการบริหารจัดการ
1. ผู้ประกอบกิจการจะต้องมีพื้นฐานความรู้ในธุรกิจให้บริการของตนเอง
2. ผู้ประกอบกิจการต้องมีความเป็นผู้นำและมีพื้นฐานความรู้ด้านการบริหารจัดการ
3. ให้ความสำคัญกับการสรรหาและฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร
4. ให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่พนักงานทุกระดับ และมีระบบสิ่งจูงใจที่เหมาะสม
5. สร้างความภาคภูมิใจแก่พนักงานในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
6. ควรดำเนินการให้ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับภาครัฐ
7. ควรจัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างมีทิศทาง
8. เจ้าของหรือผู้ประกอบกิจการจะต้องให้ความสำคัญและให้เวลากับการบริหารธุรกิจอย่างใกล้ชิด
ด้านการตลาด
การบริการและสถานที่ให้บริการ
การบริการ
1. ให้บริการที่รวดเร็ว และตรงต่อเวลา แก่ผู้มาใช้บริการ
2. ให้บริการด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ ยืดหยุ่น และเป็นกันเองกับผู้มาใช้บริการ
3. สร้างตราหรือเครื่องหมายที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อให้ลูกค้าระลึกและจดจำได้ง่าย
4. สร้างมาตรฐานด้านการให้บริการและอัตราค่าบริการ
สถานที่ให้บริการ
1. เลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมและสะดวกต่อการเดินทางมาติดต่อ
2. ตกแต่งสำนักงานให้เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
การส่งเสริมการขาย
1. ลงโฆษณาในสื่อที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
2. ทำโบชัวร์ แผ่นพับ และเอกสารอื่นๆเพื่อเผยแพร่และแนะนำบริการ เพื่อแจกจ่ายยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
ด้านบัญชีและการเงิน
1. ไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายประจำมากเกินไป
2. มีโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม ไม่ก่อภาระหนี้มากเกินไป
3. บริหารด้านการเงินอย่างเหมาะสมเพื่อให้ธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินสูง
4. พยายามนำกำไรจากการดำเนินงานมาเป็นเงินทุนสำรองหรือใช้สำหรับการขยายธุรกิจ
5. แยกบัญชีและการเงินระหว่างของธุรกิจและส่วนตัว
6. ควรจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง
7. การนำระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีและอื่นๆมาช่วยในการทำงาน
วิเคราะห์ข้อดี ข้อด้อย โอกาส และอุปสรรค
ข้อดีและข้อด้อย
ข้อดี
1. เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่สูงมากนัก โดยเฉพาะการเป็นตัวแทนรับจองตั๋วเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำลงทุนต่ำ เครื่องมือ
อุปกรณ์ไม่แพง สามารถหาซื้อง่าย
2. ผู้ประกอบกิจการที่รักการเดินทางท่องเที่ยวสามารถหาความรู้เพิ่มเติมทักษะประสบการณ์ได้ตลอดเวลา
ข้อด้อย
1. พนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือมีใจรักด้านการบริการจะหาได้ค่อนข้างยากมัคคุเทศก์ที่มีความสามารถหาได้ยาก
2. ทำเลที่เหมาะสมมีค่อนข้างจำกัด ต้องเสียค่าเช่าในอัตราสูง
โอกาสและอุปสรรค
โอกาส
1. ผู้ใช้บริการนำเที่ยวในปัจจุบันมีสัดส่วนผู้สนใจใช้บริการเพิ่มขึ้น
2. รัฐบาลโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กำกับดูแลและส่งเสริมการท่องเที่ยว
3. ค่าเงินบาทอ่อนตัว ทำให้ราคาสินค้า อาหารและที่พักในประเทศถูกลง จูงใจให้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่อง
เที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น
4. ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมที่น่าสนใจเป็นจำนวนมากและมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
5. ประเทศไทยมีการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างต่อเนื่องและการคมนาคมสะดวกรวดเร็ว
อุปสรรค
1. การปรับราคาของค่าโดยสารเครื่องบิน รถทัวร์และค่าใช้จ่ายด้านที่พัก/โรงแรม
2. แหล่งท่องเที่ยวบางแห่งที่มีผู้ไปใช้บริการจำนวนมากขาดการปรับปรุงพัฒนาทำให้มีสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม
3. การจราจรในกรุงเทพค่อนข้างหนาแน่น ติดขัดโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน
4. ปัญหาความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว
ประเภทของใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. เฉพาะพื้นที่ ได้แก่ การประกอบธุรกิจนำเที่ยวไปยังสถานที่ใดในจังหวัดหนึ่งจังหวัดใด ที่สำนักงานตั้งอยู่และจังหวัดที่มีพื้นที่
ติดต่อกับจังหวัดนั้น
2. ในประเทศ ได้แก่ การประกอบธุรกิจนำเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งสถานที่ใดภายในราชอาณาจักร (DOMESTIC)
3. ต่างประเทศ ได้แก่ การประกอบธุรกิจนำเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งสถานที่ใดในต่างประเทศ (OUTBOUND) หรือนำเที่ยวให้แก่
นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ(INBOUND) และรวมถึงการนำเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งสถานที่ใดในราชอาณาจักร(DOMESTIC)
(ฉันทัช วรรณถนอม, 2546:113) ได้อธิบายประเภทของบริษัทนำเที่ยวเพิ่มเติมจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไว้ดังนี้ คือ
1. บริษัทนำเที่ยวที่เน้นบริการนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Package tour) เป็นบริษัทที่มักมีบริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทุกรูปแบบ ไม่ว่า
จะเป็นการรับจองที่พัก ร้านอาหาร ตั๋วเครื่องบิน สถานที่เข้าชม ยานพาหนะ ฯลฯ บริษัทนำเที่ยวเหมาจ่ายจะนำบริการเหล่านี้มาคิดรวมเป็น
ราคาเบ็ดเสร็จเพื่อเสนอขาย
2. บริษัทนำเที่ยวที่มีความชำนาญพิเศษเฉพาะด้าน จะมีขอบเขตการจัดนำเที่ยวแคบกว่าประเภทแรก โดยมากจะจัดนำเที่ยวใน
ประเทศ และอาจจัดนำเที่ยวเป็นครั้งคราวหรือตามความต้องการของลูกค้า เช่น การจัดทัวร์แบบผจญภัยในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การล่องแก่ง
การเดินป่า การดำน้ำลึก การปีนหน้าผา เป็นต้น ในบางกรณีอาจจัดนำเที่ยวไปยังต่างประเทศ เช่น การจัดนำเที่ยวไปชมการแข่งขันกีฬาเอ
เชี่ยนเกมส์ที่เกาหลีใต้ ฯลฯ
3. บริษัทนำเที่ยวภายในประเทศ จะดำเนินการจัดนำเที่ยว ไปในสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในประเทศ โดยการขายบริการนำเที่ยวจะ
เป็นการขายตรง หรืออาจเป็นการขายผ่านบริษัทตัวแทนก็ได้
4. บริษัทนำเที่ยวที่เน้นบริการเฉพาะชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว บริษัทเหล่านี้มักอาศัยตัวแทนนำเที่ยวในต่างประเทศ
เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาแล้วจะทำหน้าที่รับช่วงต่อในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวระหว่างพักอยู่ในประเทศ โดยมาเป็นบริษัทที่
มีที่ตั้งสำนักงานสาขาในประเทศต่าง ๆ หรือเป็นบริษัทใหญ่ ๆ ในประเทศไทยที่ดำเนินการรับช่วงต่อโดยรับดำเนินการบริการนักท่องเที่ยว
จากหลาย ๆ บริษัททัวร์ใหญ่ในต่างประเทศที่มีการทำสัญญากัน
หน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัทนำเที่ยว
(พวงบุหงา ภูมิพานิช, 2539:11) กล่าวว่า บริษัทนำเที่ยวมีหน้าที่ความรับผิดชอบสรุปดังนี้
1. จัดโปรแกรมนำเที่ยวโดยขายตรงให้กับลูกค้าทั่วไป หน่วยงานต่างๆ ซึ่งการจัดโปรแกรมนำเที่ยวโดยตรงนี้บริษัทนำเที่ยวมีหน้าที่ต้องดำเนินงานทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การตลาด การขาย การติดต่อธุรกิจบริการท่องเที่ยวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการนำเที่ยว
2. จัดโปรแกรมนำเที่ยวโดยขายผ่านตัวแทนนำเที่ยวโดยจัดโปรแกรมนำเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อส่งให้
บริษัทตัวแทนท่องเที่ยวขายให้กับลูกค้าทั่วไปหรือองค์กรต่างๆ โดยบริษัทนำเที่ยวจะสนับสนุน ช่วยเหลือและให้ความร่วมมือในการส่งเสริมการขาย
3. จัดโปรแกรมนำเที่ยวผ่านทางบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศ โดยให้บริษัทนำเที่ยวที่อยู่ต่างประเทศซึ่งเป็นตัวแทน(Agent) เป็นผู้จัด
รายการนำเที่ยวภาคพื้นดิน(Land Arrangement) ให้และบริษัทนำเที่ยวนำมาขายให้กับลูกค้าทั่วไปหรือองค์กรต่างๆ
4. จัดนำเที่ยวตามความต้องการของหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ โอกาสไม่ได้เดินทางมีน้อย บริษัทนำเที่ยวจะตัดปัญหาเรื่องการประชาสัมพันธ์ และการขายหน้าร้าน มีหน้าที่จัดโปรแกรมนำเที่ยวให้เป็นที่พอใจของลูกค้า ซึ่งเป็นองค์กรต่างๆ เพื่อต้องการให้กลับมาใช้บริการอีกในโอกาสต่อไป
5. จัดโปรแกรมการศึกษาภาษาต่างประเทศ ภาคฤดูร้อน ณ ต่างประเทศ เป็นการจัดหลักสูตรระยะสั้นให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษาพร้อมทั้งจัดนำเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ของประเทศจุดหมายปลายทาง ซึ่งทำให้ได้ทั้งความรู้และได้ท่องเที่ยวในเวลาเดียวกัน
จริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
ตามมาตรฐานธุรกิจนำเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวควรมีจริยธรรม ดังนี้
1. ยึดหลักศีลธรรมของสังคม คือ การยึดแนวทางหรือวิธีการบริหารจัดการของบริษัท โดยที่เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วไม่มีสิ่งใดที่มีผล
ทางลบต่อศีลธรรมที่ดีงามต่อสังคม
2. ปฏิบัติด้วยจิตสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบ คือ บริษัทมีวิธีการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงาน มีการสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน มีการยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด และกระทำด้วยความรับผิดชอบโดยไม่เลือกปฏิบัติ
ความคิดเห็น