คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับมัคคุเทศก์
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ในประเทศ
1. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (Ministry Of Tourism and Sports)
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง
กรม พ.ศ.2545 หมวด 5 ตามมาตรา 14 กำหนดให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษา ด้านกีฬา
นันทนาการ และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ให้อำนาจหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีส่วนราชการตามมาตรา 15 ดังต่อไปนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ
(4) สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
ตามพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ส่วนที่ 4 มาตรา 22 ถึงมาตรา 26 ให้โอนทรัพย์สิน สิทธิ งบประมาณหนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกระทรวง
ศึกษาธิการในส่วนกรมพลศึกษา (ยกเว้นกองยุวกาชาดและกองการลูกเสือ) มาเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มาตรา 27 ให้โอนงานส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในสำนักงานพัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ มาเป็นสำนักงานพัฒนา
การท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มาตรา 28 ให้โอนอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีในการดำเนินงานเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐดังต่อไปนี้มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(1) การกีฬาแห่งประเทศไทย
(2) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มาตรา 29
นอกจากโอนอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้แจ้งชัดแจ้งชัดที่อื่น ให้โอนอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี ในการดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายดังต่อไปนี้ มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(1) พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ.2542
(2) พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551
(3) พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
(1) สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว มีภารกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในการพัฒนามาตรฐานการบริการด้านท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการสนับสนุนการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
และเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย รวบรวมข้อมูลสถิติด้านการท่องเที่ยว และแนวทางการดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ
2. จัดทำแผนพัฒนาบริการการท่องเที่ยว รวมทั้งประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนด
3. จัดทำแผนพัฒนาทะเบียนธุรกิจทำเที่ยวและมัคคุเทศก์ รวมทั้งประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด
4. จัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนด
5. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
6. ติดตามและประเมินผลงานด้านพัฒนาการท่องเที่ยว
7. ส่งเสริมสนับสนุนกิจการภาพยนตร์ ทั้งภาคการผลิต การบริการ และกิจการที่เกี่ยวข้อง
8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
(2) สำนักงานการบริการท่องเที่ยว
1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยสภาพปัญหาและความต้องการการพัฒนาบริการแหล่งท่องเที่ยว เพื่อกำหนดมาตรฐานการบริการท่องเที่ยว
2. ติดต่อประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาด้านบริการท่องเที่ยว การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย
(3) สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
1. ดำเนินการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตต่ออายุใบอนุญาต สั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต การรับชำระค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ รวมทั้งการวางหลักประกันของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และการออกใบอนุญาตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
2. ดำเนินการจัดทำ เก็บรักษา บันทึกและติดตามแก้ไขข้อมูลและประวัติของธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
3. ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
4. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และคณะ
อนุกรรมการที่คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์แต่งตั้ง
5. ปฏิบัติงานร่วมมือ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย
มัคคุเทศก์จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว โดยเฉพาะส่วนของสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ในเรื่องที่จะเอื้อประโยชน์ในการทำบัตรหรือต่ออายุบัตรประกอบวิชาชีพมัคคุเทศก์ การสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต นอกจากนี้มัคคุเทศก์ยังสามารถร้องทุกข์กับสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เกี่ยวกับเรื่องบริษัทนำเที่ยวทำผิดข้อตกตงกับทางมัคคุเทศก์ อาจเป็นเรื่องค่าตอบแทนหรือเรื่องการทำผิดจรรยาบรรณต่อมัคคุเทศก์หรือนักท่องเที่ยว และสามารถร้องทุกข์ในเรื่องการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ไม่ถูกไม่ควรของมัคคุเทศก์ สามารถดูลายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสำนักพัฒนาการท่องเที่ยวได้ที่ http://www.tourism.go.th หรือโทร 02-219-4028 และรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดูได้ที่ http://www.mots.go.th หรือโทร 02-356-0746
2. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลสมัยนั้นได้เพิ่มกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็ขึ้นตรงต่อกระทรวงดังกล่าว มีหน้าที่ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางต่อเนื่อง ทำให้เกิดอาชีพและรายได้ รวมทั้งมีหน้าที่ในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวอีกด้วย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มาตรา 8 ททท. มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. ส่งเสริมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตลอดจนการประกอบอาชีพของคนไทยในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
2. เผยแพร่ประเทศไทยในด้านความงามของธรรมชาติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การกีฬาและวิวัฒนาการของเทคโนโลยี ตลอดจนกิจการอย่างอื่นอันจะเป็นการชักจูงให้มีการเดินทางท่องเที่ยว
3. อำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
4. ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความเป็นมิตรไมตรีระหว่างประชาชนและระหว่างประเทศโดยอาศัยการท่องเที่ยว
5. ริเริ่มให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยว และเพื่อพัฒนาปัจจัยพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว
ในส่วนของมัคคุเทศก์ที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คงเป็นเรื่องที่มัคคุเทศก์สามารถใช้บริการ ททท. เป็นแหล่งค้นคว้า หาข้อมูลในการนำเที่ยวไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ของ ททท. หรือห้องสมุดการท่องเที่ยวการเสนอแนวคิดด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ด้านการตลาดท่องเที่ยว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ที่ http://www.tat.or.th หรือโทร 1672
3. บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือ ทอท. (Airport of Thailand Public Company Limited)
จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มีหน้าที่บริหารงานท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่สำคัญ 6 แห่ง คือ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยทุกท่าอากาศยานจะมีภาระหน้าที่หลักในการดำเนินงาน 4 ประการ ได้แก่
1) กิจการจัดตั้งสนามบิน หรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน
2) การจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวก ในการเดินทาง
3) การให้บริการทางอากาศ
4) การอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ให้บริการด้านต่าง ๆ อันเนื่องมาจากการเดินทางด้วยอากาศยาน เช่น บริการรับส่งผู้โดยสาร สินค้า พัสดุภัณฑ์ เป็นต้น
ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ (ดอนเมือง)
การเดินทางไปและกลับจากสนามบิน ถนนวิภาวดีรังสิตเป็นถนนหลัก เชื่อมต่อระหว่างสนามบินและตัวเมืองกรุงเทพฯ ผู้โดยสารสามารถใช้บริการทางด่วนสำหรับการเดินทาง ไปยังใจกลางเมืองเพื่อความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น มีสถานีรถไฟบริการอยู่ตรงข้ามสนามบิน และสามารถเชื่อมถึงกันโดยสะพานข้าม รถไฟจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีสู่ใจกลางเมืองกรุงเทพ ทางเลือกอื่นๆสำหรับบริการด้านการขนส่งเช่น รถลีมูซีน ซึ่งจัดให้บริการโดย บริษัทท่าอากาศยานร่วมกับบริษัทการบินไทย และบริการรถเช่าอื่นๆ รถแท็กซี่มิเตอร์ รวมถึงรถประจำทางของทางสนามบิน เคาน์เตอร์บริการตั้งอยู่ที่อาคารผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ สำหรับบริการรถลีมูซีนและแท็กซี่ จะมีบริการเช่นกันที่อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ
ข้อมูลจำเพาะของท่าอากาศยาน ท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นท่าอากาศยานที่มีการให้บริการด้านการบินมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีสายการบินให้บริการมากกว่า 80 สายการบิน ผู้โดยสารมากกว่า 25,000,000 คน เที่ยวบินกว่า 160,000 เที่ยว รวมถึงบริการขนถ่ายสินค้ากว่า 700,000 ตัน ตั้งอยู่ที่ลองจิจูดที่ 100° 36' 30" เเละละติจูดที่ 13° 54' 52", อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 9 ฟุต ท่าอากาศยานดอนเมือง ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพไปทางทิศเหนือ 24 กิโลเมตร อาคารอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 1 มีเคาน์เตอร์เช็กอิน 124 จุด และอาคารผู้โดยสารภายในประเทศมี เคาน์เตอร์เช็กอิน 43 จุด
ท่าอากาศยานเชียงใหม่
การไปและกลับจากสนามบิน การเข้าสู่สนามบินผ่านถนนหลวงเชียงใหม่ ถนนฮอด จุดบริการยานพาหนะ มีบริการรถลีมูซีน และรถเช่าภายในสนามบิน ผู้โดยสารควรติดต่อที่เคาน์เตอร์บริการด้านยานพาหนะ บนชั้น ตรงข้ามกับบริเวณที่พักคอยผู้โดยสารขาเข้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ณ จุดนี้สามารถสอบถามตารางการเดินรถประจำทาง และการเช่ารถตู้ การเช่ารถลีมูซีน จำหน่ายตั๋วที่เคาน์เตอร์ลีมูซีนในอาคารผู้โดยสาร บนชั้นตรงข้ามกับที่พักคอยผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศและภายในประเทศ การเช่ารถ มีบริการใกล้กับเคาน์เตอร์รถลีมูซีน บริการรถขนส่งสาธารณะ ณ ปัจจุบัน สนามบินไม่อนุญาตให้รถสามล้อหรือรถเเท็กซี่ที่ไม่มีผู้โดยสารเข้ามาในบริเวณอาคารผู้โดยสาร กรุณาผ่านทางออกจากสนามบิน เพื่อไปใช้บริการรถจักรยานเเละรถยนต์ สำหรับเเขกของทางโรงเเรม จะมีรถลีมูซีนของทางโรงเเรมมารอให้บริการทุกเที่ยวบิน
ข้อมูลจำเพาะของท่าอากาศยาน ท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็นหนึ่งในหกสนามบิน ภายใต้การกำกับดูเเลของ บริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) เช่นที่ได้กล่าวไว้ว่า ท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็นประตูหลักสู่ดินเเดนที่สวยงาม เเละเต็มอิ่มไปด้วยวัฒนธรรมทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริม เรื่องของการท่องเที่ยวทั่วภูมิภาคตอนเหนือ โดยมีสายการบินบริการ 9 สายการบินผู้โดยสารมากกว่า 2,000,000 คนเที่ยวบินกว่า 15,000 เที่ยวบิน เเละบริการขนถ่ายสินค้ามากกว่า 16,000 ตัน ตั้งอยู่ที่ ลองจิจูด 98° 57' 58" เเละ ละติจูด 18° 46' 18" อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,035 ฟุต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองเชียงใหม่ ไปทางตอนใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร
ท่าอากาศยานหาดใหญ่
การไปและกลับจากสนามบินทางหลวงหมายเลข 4135 (ถนน สนามบินพานิชย์) เชื่อมเข้าสู่ท่าอากาศยานตาม ถนน เพชรเกษม จุดบริการยานพาหนะ ท่าอากาศยานมีบริการจัดหายานพาหนะสำหรับผู้โดยสาร เช่นบริการรถลีมูซีน บริการรถเช่า เเละบริการรถขนส่งสาธารณะ ผู้โดยสารสามารถติดต่อขอใช้บริการที่เคาน์เตอร์ให้บริการ บริเวณชั้น 1 ในอาคารผู้โดยสาร การเช่ารถลีมูซีน มีเคาน์เตอร์บริการรถลีมูซีน 4 จุดภายในบริเวณอาคารผู้โดยสาร การเช่ารถ เคาน์เตอร์บริการรถเช่าตั้งอยู่ในบริเวณอาคารผู้โดยสารขาเข้าภายในประเทศใกล้กับเคาน์เตอร์บริการรถลีมูซีน
ข้อมูลท่าอากาศยาน ท่าอากาศยานหาดใหญ่ เป็นหนึ่งในท่าอากาศยานสำคัญที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด มหาชน โดย ท่าอากาศยานหาดใหญ่ตั้งอยู่ในโซนธุรกิจการค้าทางภาคใต้ เป็นเสมือนประตูทางเข้าสำหรับผู้ที่ต้องการติดต่อธุรกิจการค้า หรือ ท่องเที่ยว ทางตอนใต้ของประเทศไทย รวมถึงเป็นเสมือนช่องทางการเดินทางสำหรับชาวมุสลิมในการเดินทางไปเเสวงบุญที่ นครเมกกะ ปัจจุบันมี 3 สายการบินให้บริการ ผู้โดยสารมากกว่า 800,000 คน เที่ยวบิน 9,500 เที่ยว เเละบริการขนถ่ายสินค้ามากกว่า 12, 000 ตัน ต่อปี ตั้งอยู่ที่ ลองจิจูด 100° 23' 55" เเละ ละติจูด 06° 55' 46" อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 92 ฟุต ห่างจากตัวเมืองหาดใหญ่ 9 กิโลเมตร
ท่าอากาศยานภูเก็ต
การไปและกลับจากสนามบิน ออกจากสนามบินวิ่งเข้าถนนใหญ่เทพกษัตรีสู่ตัวเมือง จุดบริการยานพาหนะ มีบริการรถลิมูซีนและรถเช่าที่ท่าอากาศยาน ผู้โดยสารสามารถติดต่อ ขอใช้บริการที่เคาน์เตอร์บริการยานพาหนะที่ อาคารผู้โดยสารขาเข้า และที่นี่ผู้โดยสารสามารถรับข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ ตารางเวลาในการให้บริการรถบัส รถบัสขนาดเล็ก และ ไมโครบัส การเช่ารถลีมูซีน ตั๋วเช่ารถลีมูซีนมีจำหน่ายที่จุดเช่ารถ บริเวณชั้น 1 อาคารผู้โดยสารขาเข้า การเช่ารถ จุดให้บริการเช่ารถมี 2 เเห่ง คือ ทางทิศเหนือสุด เเละทิศใต้สุดของอาคารผู้โดยสารขาเข้า
ข้อมูลท่าอากาศยาน ท่าอากาศยานภูเก็ตรองรับนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางภาคใต้เเละทั่วประเทศไทย ในปัจจุบันมีสายการบินที่ให้บริการอยู่ถึง 10 สายการบิน ผู้โดยสารมากกว่า 2,900,000 คน มีเที่ยวบิน 27,000 เที่ยว เเละการบรรทุกสินค้า 12,000 ตัน ให้บริการที่ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานภูเก็ตตั้งอยู่ลองจิจูด 98° 18' 45" เเละละติจูด 08° 06' 38" อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 82 ฟุตเเละอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต 32 กิโลเมตร
ท่าอากาศยานเชียงราย
การไปและกลับจากสนามบิน สามารถใช้ถนนพหลโยธินซึ่งเป็นถนนสายหลักเชื่อมต่อระหว่างตัวเมืองเชียงรายและท่าอากาศยาน จุดบริการยานพาหนะ สำหรับผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะเดินทางไปตัวเมืองเชียงรายสามารถใช้บริการรถเช่า หรือใช้บริการแท็กซี่ ซึ่งสามารถติดต่อได้ที่จุดบริการชั้น 1 ห้องโถงผู้โดยสารขาเข้าบริการเช่ารถ ผู้โดยสารสามารถใช้บริการโดยติดต่อที่จุดบริการบริเวณห้องโถงผู้โดยสาร บริการแท๊กซี่ จุดบริการแท็กซี่ตั้งอยู่ใกล้กับจุดบริการรถเช่าสำหรับผู้โดยสารที่จะเข้าตัวเมือง, หรือทัวร์นำเที่ยวจังหวัด และบริเวณรอบๆตัวเมือง บริการขนส่งมวลชน ณ ปัจจุบัน ท่าอากาศยานนานาชาติไม่อนุญาตให้รถสามล้อ หรือรถสองแถวที่ไม่มีผู้โดยสารเข้ามาในบริเวณสนามบิน สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการใช้บริการจักรยานหรือรถรับส่ง สามารถใช้บริการได้บริเวณทางออกไปนอกบริเวณสนามบิน สำหรับแขกของโรงแรม สามารถใช้บริการรถลีมูซีนโรงแรมได้
ท่าอากาศยานเชียงราย ตั้งอยู่เลขที่ 404 หมู่ 4 ตำบลบ้านดู่/ริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายห่างจากถนนพหลโยธิน (เส้นทางเชียงราย แม่จัน) ทางทิศตะวันออกประมาณ 2.6 กิโลเมตรและห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 8 กิโลเมตร ท่าอากาศยานเชียงราย เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2535 สังกัดกรมการบินพาณิชย์ (บพ.) กระทรวงคมนาคม ต่อมา บพ.ได้โอนท่าอากาศยานเชียงราย มาขึ้นอยู่กับการบริหารของ “การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2541 และ “การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย” ได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามแนวนโยบายของรัฐบาล ภายใต้ชื่อ “บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)” เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2545 ถึงปัจจุบัน ปัจจุบันท่าอากาศยานเชียงราย มีบริษัทสายการบินทำการบินรวม 5 สายการบิน ซึ่งให้บริการ ผู้โดยสารมากกว่า 700,000 คน/ปี มีเที่ยวบินให้บริการวันละ 12 เที่ยวบิน, อาคารคลังสินค้าสามารถรองรับการ ขนถ่ายสินค้าได้มากกว่า 5,000 ตัน/ปี และอาคารผู้โดยสารมีขนาด 22,960 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารในชั่วโมง คับคั่งได้ถึง 1,240 คน ท่าอากาศยานเชียงราย ตั้งอยู่แลตติจูดที่ 19 องศา 57 ลิปดา 08 ฟิลิปดาเหนือ ลองติจูด 099 องศา 52 ลิปดา 59 ปิลิปดาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,279 ฟุต หรือ 390.23 เมตร
(ข้อมูลจาก http://www.airportthai.co.th)
ความคิดเห็น