ครั้งแรก ณ มาเลเซียและสิงคโปร์ไม่เคยลืมเลือน..
เอ้กอีเอ้กเอ้ก.ณ เวลา 5 นาฬิกา รถบัสคันใหญ่ได้เคลื่อนตัวออกจากมหาวิทยาลัยโดยมีจุดมุ่งหมายไปทัศนศึกษา ณ ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม - 4 กรกฎาคม 2554 พร้อมคณาจารย์และนักศึกษาหลากหลายคณะ การเดินทางครั้งจะไม่พิเศษอะไรเลย ถ้ามันไม่ใช่ค
ผู้เข้าชมรวม
70
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
17.00 น. รถบัสคันใหญ่จอดลง ทุกคนในรถตื่น ตาเบิกกว้าง แล้วมองไปรอบๆ โดยไกด์ให้เวลาเราซึมซับบรรยากาศประมาณครึ่งชั่วโมง ดิฉันกับเพื่อนๆแทบระรอไม่ไหวแล้ว และแล้วเท้าของดิฉันก็เหยียบลงบนพื้นดินในมาเลเซียเป็นครั้งแรก นี่เราฝันไปหรือป่าวเนี่ย ดิฉันบอกตัวเอง สถานนี่แห่งนี้ประดับไปด้วยธงชาติมาเลเซียเต็มไปหมด หลังจากตื่นตาตื่นใจไปสักพักต่อมาถึงมาทราบว่าที่นี้มีชื่อว่า จตุรัสเมอร์เดก้า( Merdeka Square) จตุรัสกลางเมืองหลวงของมาเลเซีย อันเป็นสถานที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งวันนั้นเราโชคดีมากเพราะวันที่เราไปคือวันที่ 31สิงหาคม ซึ่งตรงกับวันชาติของมาเลเซีย สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่จัดพิธีคืนความเป็นเอกราช หลังจากตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกนานถึง 446 ปี มีพิธีสวนสนามและเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่ มีประชาชนชาวมาเลเซียร่วมในพิธีหลายหมื่นคน แต่ตอนที่เราไปถึงงานพิธียังไม่เริ่ม ผู้คนจึงไม่พลุกพล่าน ฝั่งตรงข้ามจัตุรัสเมอร์เดก้า จะเป็นตึกสุลต่านอับดุลซามัด เป็นหนึ่งในอาคารประวัติศาสตร์ อาคารแห่งนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1897 โดยตั้งชื่อตามพระนามขององค์สุลต่านผู้ปกครองรัฐ และเป็นที่ตั้งของหน่วยงานรัฐบาลในสมัยที่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ส่วนรูปแบบของอาคารเป็นแบบมาโฮเม็ตหรือซาราเซ็นสมัยใหม่ ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐที่มีขนาดใหญ่สุดในสมัยนั้น ปัจจุบันอาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งของศาลฎีกาและพิพิธภัณฑ์สิ่งทอ สิ่งที่โดดเด่นของอาคารนี้ก็คือ หอนาฬิกายอดโดมปลายแหลมด้านหน้า ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพของพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษ ครั้งเมื่อทรงเสด็จมาเปิดอาคารหลังนี้ในปี 1897 นอกจากนี้ยังมีหอนาฬิกาที่มีความสูงถึง 41.2 เมตร จนได้ชื่อว่าเป็น บิ๊กเบนแห่งมาเลเซีย ในปัจจุบันนี้มาเลเซียแบ่งการปกครองออกเป็น 13 รัฐ และสามดินแดนสหพันธ์ โดยประชาการส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนร้อยละ 23.7 และมีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียอีกร้อยละ 7.1 ของประชาการ มาเลเซียมีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยทางรัฐ กลันตัน เประ ปะลิส และเกดะห์
ผลงานอื่นๆ ของ คนนี้รักเทอหมดจัย ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ คนนี้รักเทอหมดจัย
ความคิดเห็น