คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #10 : การฟอร์แมตแผ่นดิสก์เก็ต (Diskette Formatting) บน Windows 95/98
การฟอร์แมตแผ่นดิสก์เก็ต (Diskette Formatting) บน Windows 95/98
กล่าวนำ
ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งที่บ้านที่ทำงาน ส่วนใหญ่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Windows95 หรือ 98 เกือบทั้งสิ้น อาจจะมีระบบปฏิบัติการ DOS เหลืออยู่บ้าง แต่ก็คาดว่าคงไม่มากนัก บางคนอาจไม่รู้จักเลยก็มี
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการใด เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง มักจะมีส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลหลักที่เหมือนกัน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันจะต้องติดตั้งมาพร้อม เมื่อเราซื้อ ก็คือ Hard Disk, Floppy Disk Drive(ใช้บันทึก/อ่านข้อมูล จากดิสก์เก็ต) และ CD Drive สื่อที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลเหล่านี้ ก่อนจะนำมาใช้บันทึกข้อมูลได้ จะต้องผ่านกระบวนการฟอร์แมต (Format) ก่อน
กระบวนการในการฟอร์แมต (Format) สื่อเหล่านี้ เช่น ดิสก์เก็ต ฮาร์ดดิสก์และ CD ในปัจจุบันมักจะทำสำเร็จเรียบร้อยมาจากโรงงานผู้ผลิตแล้ว ซึ่งจะต่างจากเมื่อประมาณ สามสี่ปีก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผ่นดิสก์เก็ต ผู้ใช้จะต้องนำมาฟอร์แมตเองก่อนใช้งาน แต่ปัจจุบันทางโรงงานผู้ผลิตทำมาให้เรียบร้อยพร้อมใช้งานได้เลย (สังเกตได้จากข้างกล่องจะมีข้อความว่า Formatted)จึงทำให้ผู้ใช้หน้าใหม่ในช่วงหลังๆ ไม่รู้จักกระบวนการนี้ และก็ทำไม่เป็น
ถ้าจะถามว่า เมื่อเขาทำมาให้แล้ว เราจำเป็นต้องทำอีกหรือไม่ ต้องรู้วิธีการอีกไหม คำตอบก็คือ เรายังควรต้องรู้วิธีการและทำให้เป็น เพื่อว่าเมื่อใช้งานไปแล้ว เกิดเหตุการณ์จำเป็นต้องทำการฟอร์แมตสื่อเหล่านี้ใหม่ เช่น ดิสก์เก็ตติดไวรัส ไม่สามารถทำลายได้ ดิสก์เก็ตมี Bad Sector หรืออื่นๆ เป็นต้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ แผ่นดิสก์เก็ต เพราะเป็นสื่อที่ในระดับผู้ใช้ User)ทั่วๆไปสัมผัสอยู่ ส่วน ฮาร์ดดิสก์ และ CD นั้นควรเป็นหน้าที่ของช่างเทคนิคหรือผู้ที่รู้ลึกลงไปอีกระดับหนึ่ง เป็นผู้ดำเนินกา
กระบวนการฟอร์แมต (Format) คืออะไร ?
กระบวนการฟอร์แมต คือกระบวนการในการจัดรูปแบบของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นดิสก์เก็ต ฮาร์ดดิสก์ ให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับระบบฮาร์ดแวร์ที่ใช้(หมายถึง ชนิด ขนาด ความจุ ของ Drive ที่เป็นตัวอ่าน-เขียน) ให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับระบบปฏิบัติการที่ใช้ เช่น DOS Windows OS2 Unix เป็นต้น เพื่อให้สื่อเหล่านั้นสามารถ อ่าน-เขียนข้อมูลได้ถูกต้องหรืออีกนัยหนึ่ง กระบวนการฟอร์แมต เป็นกระบวนการในการจัดเตรียมพื้นที่ในการเก็บข้อมูลบนแผ่นดิสก์เก็ต หรือ ฮาร์ดดิสก์
กล่าวคือแผ่นดิสก์เก็ต หรือ ฮาร์ดดิสก์ ใหม่ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการฟอร์แมตมาก่อน จะมีลักษณะเหมือนเป็นแผ่นกระดาษเปล่าๆที่ไม่มีเส้นบรรทัด เมื่อผ่านกระบวนการฟอร์แมตแล้ว พื้นที่ว่างเหล่านั้นจะถูกแบ่งออกเป็นช่องใหญ่ ซอยย่อยออกเป็นช่องเล็ก ชึ่งในทางเทคนิค เรียกว่าเป็นการแบ่ง แทร็ก (Track) และ เซ็คเตอร์ (Sector) เพื่อใช้เป็นช่องในการจัดเก็บข้อมูลต่อไป
กระบวนการฟอร์แมตดิสก์นี้ จะทำเมื่อไหร่?
• เมื่อดิสก์เก็ต หรือ ฮาร์ดดิสก์ ที่ซื้อมาใหม่ยังไม่ผ่านกระบวนการฟอร์แมตมาก่อน
• ดิสก์เก็ตเก่าติดไวรัส ไม่สามารถจะทำลายไวรัสนั้นได้
• ดิสก์เก็ตเก่า แต่ต้องการจัดรูปแบบใหม่ ในกรณีนี้ต้องระวังหากดิสก์เก่านั้นมีข้อมูลบบรรจุอยู่ เมื่อทำการฟอร์แมตแล้ว ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกลบไปด้วย
• ดิสก์เก็ตเก่าที่กำลังใช้งานอยู่ อาจมีเสียหายเป็นบางส่วน(Bad Sector) ซึ่งอาจเกิดจากการผิดปกติของกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ไฟฟ้าตก หรือการทำงานของคอมพิวเตอร์ขัดข้อง
วิธีการฟอร์แมตแผ่นดิสก์เก็ตบน Windows 95/98
• ในหน้าต่าง Desktop ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน My Computer จะได้กรอบหน้าต่างแสดงไอคอนใน My Computer ดังรูป
• ใส่แผ่นดิสก์เก็ตที่ต้องการฟอร์แมตเข้าไปในดิสก์ไดรว์ ตามขนาดของดิสก์เก็ต ในที่นี้สมมุติว่าต้องการฟอร์แมตดิสก์เก็ตขนาด 3.5" ในไดรว์ A
• ในหน้าต่าง My Computer ให้เลื่อนเมาส์ไปที่ไอคอน 3.5 Floppy[A:] แล้วคลิกปุ่มขวาของเมาส์ หนึ่งครั้ง จะปรากฎกรอบรายการคำสั่งขึ้นมา ดังรูป
• ในกรอบคำสั่ง ให้คลิกเมาส์เลือกคำสั่งFormat จะปรากฏกรอบหน้าต่างสำหรับกำหนดรายละเอียดของการฟอร์แมตดิสก์ขึ้นมาดังรูป
รายการต่างๆที่มีให้เลือกในกรอบ Format-3.5 Floppy [A:] มีดังนี้
• ในช่อง Capacity: เป็นช่องสำหรับเลือกขนาดความจุ ของแผ่นดิสก์เก็ตที่ต้องการฟอร์แมต ซึ่งต้องเลือกให้ตรง เช่นแผ่นดิสก์เก็ตขนาด 3.5 นิ้ว จะมีความจุ 1.44 MBและถ้าเป็นแผ่นดิสก์เก็ตขนาด 5.25 นิ้ว จะมีความจุ 1.22 MB แต่อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้ว Windows จะตรวจสอบให้เองและกำหนดเป็นค่าเริ่มต้น (Default) ให้โดยอัตโนมัติ
• ในช่อง Format type จะเป็นช่องรายการให้เลือกกำหนดรูปแบบในการฟอร์แมต (เลือกได้ครั้งละหนึ่งรายการ) ดังนี้
Quick (erase) เป็นการกำหนดให้ทำการฟอร์แมตอย่างรวดเร็ว รูปแบบนี้จริงๆแล้วเป็นเพียงแค่การลบแฟ้มข้อมูล และไดเร็คทอรี่ ต่างๆที่มีอยู่ในแผ่นเท่านั้นเอง ไม่ได้เป็นการจัดโครงสร้างใหม่ ตัวเลือกนี้จะขึ้นเป็นค่าเริ่มต้นให้ในกรณีที่แผ่นดิสก์ที่จะฟอร์แมต เคยผ่านกระบวนการฟอร์แมตมาก่อนแล้ว หากเราไม่ต้องการรูปแบบนี้ก็สามารถยกเลิกได้โดยการคลิกเลือกรูปแบบอื่นแทน
Full เป็นการกำหนดให้ทำการฟอร์แมตแบบเต็มรูปแบบ กล่าวคือให้จัดโครงสร้างใหม่ทั้งหมด หากเป็นแผ่นเก่าที่เคยฟอร์แมตมาแล้ว โครงสร้างเก่า ข้อมูลเก่าที่บรรจุอยู่จะถูกลบออกจนหมดสิ้น แล้วจัดแบ่ง Track, Sector ใหม่หมดวิธีการนี้จะใช้เวลาในการฟอร์แมตต่อแผ่น ประมาณเกือบสองนาที รูปแบบนี้จะใช้กับแผ่นดิสก์ที่ยังไม่เคยฟอร์แมตมาก่อน หรือ แผ่นเก่าที่ติดไวรัส หรือมีปัญหาเรื่อง Bad Sector
Copy system files only เป็นรูปแบบของการฟอร์แมตที่มีการ Copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้สำหรับบูทระบบ(System files for boot system such as Command.com) ลงไปในแผ่นด้วยจะทำให้แผ่นดิสก์ที่ผ่านการฟอร์แมตในรูปแบบนี้สามารถนำมา เปิด (Boot) เครื่องคอมพิวเตอร์ได้
• ในช่อง Other options (เลือกได้มากกว่าหนึ่งรายการ)
• ในช่อง Label เป็นช่องสำหรับพิมพ์ label หรือชื่อของแผ่นดิสก์
• No label คลิกเลือกเมื่อไม่ต้องการใส่ Label
• Display summary when finished คลิกเลือกเมื่อต้องการให้โปรแกรมแสดงผลหลังการฟอร์แมตเสร็จสิ้น เช่น ได้พื้นที่ในการจุข้อมูลเท่าไร เสียไปเท่าไร เหลือเท่าไร เป็นต้น
• Copy system files คลิกเลือกเมื่อต้องการให้สำเนาโปรแกรมระบบลงในแผ่นด้วย จะสัมพันธ์กับรายการ m Copy systemfiles only ในช่อง Format type
เมื่อเลือกรายการต่างๆตามความต้องการแล้ว ก็เริ่มต้นฟอร์แมตโดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start โปรแกรมจะทำการฟอร์แมต โดยแสดงแถบ สีในการทำงาน ดังรูป ให้รอจนกว่าจะฟอร์แมตครบ 100 %
เมื่อฟอร์แมตเสร็จ หากมีการคลิกเลือกรายการ Display summary when finished ไว้โปรแกรมจะแสดงกรอบหน้าต่าง Format Results-3.5 Floppy[A:] แสดงรายละเอียดต่างๆ คลิกที่ปุ่ม Close เพื่อปิดกรอบหน้าต่างนี้ ถือ เป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการฟอร์แมต โปรแกรมจะกลับมาที่กรอบหน้าต่าง Format 3.5 Floppy [A:] ดังเดิม หากต้องการฟอร์แมตแผ่นดิสก์อื่นต่ออีกก็เอาแผ่นดิสก์ที่ฟอร์แมตเสร็จแล้วออก ใส่แผ่นใหม่เข้าไปแทน แล้วเริ่มตามขั้นตอนเดิม แต่หากต้องการเลิกงานก็ให้คลิกที่ปุ่ม Close ดังรูป
ความคิดเห็น