ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    CoMPuTer 2(SofTwEaR)

    ลำดับตอนที่ #1 : ภาษาคอมพิวเตอร์

    • อัปเดตล่าสุด 3 พ.ย. 50


    ภาษาของคอมพิวเตอร์นั้น มีหลายภาษา ซึ่งแต่ละภาษาก็จะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แตกต่างกันไปตามการใช้งาน โดยแยกเป็น 3 แบบ คือ

    ภาษาที่ใช้ทั่วๆ ไป
      ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่ใช้กันมากที่สุดสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ผู้คิดค้นคือ DARTMOUTH COLLEGE เนื่องจากว่าเป็นภาษาที่สามารถใช้โต้ตอบไปมาระหว่างกันได้ทันที จึงง่ายสำหรับผุ้ที่ใช้ที่จะเริ่มต้นจะเรียน หรือต้องการจะเรียนรู้หรือทำการแก้ไข และแก้ไขซินแทกซ์เออเร่อส์ได้ง่าย
      ภาษาโคบอล ย่อมาจากคำว่า Common Business Oriented Language เหมาะที่จะใช้กับการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ และการสร้างแฟ้มข้อมูลสำหรับงานต่างๆ ใช้ได้กับระบบคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป

    ภาษาหลักอื่นๆ
      ภาษาปาสคาล ผู้คิดค้นคือ KINKLAUS WIRTH ระหว่างปี ค.ศ. 1969-1971 ออกแบบขึ้นมาโดยใช้structure โปรแกรมมิ่งเทคนิคเข้าช่วย เพื่อให้โปรแกรมมีความเป็นมาตรฐานและง่ายแต่การแก้ไขโดยใช้คำสั่ง IF-THEN-ELSE และ DO-WHILE ปาสคาลเป็นภาษาที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
      ภาษาพีแอลวัน ย่อมาจาก Programming Language/1 เป็นภาษาที่รวมเอาข้อดีของภาษาฟอร์แทนเข้ามารวมกับข้อดีของภาษาโคบอล

    ภาษาพิเศษ
      ภาษาซี ยูนิกซ์ จะเป็นออเปอเรติ้งซิสเต็มที่เขียนอยู่ในรูปของภาษาซี ผู้คิดค้นได้แก่ BELL LABS ภาษาซีจะใช้ในการจัดทำโอเอสและโปรแกรมระบบงานสำหรับงานด้านวิจัยและธุรกิจ
      ภาษาฟอร์ท พบใน ค.ศ. 1970 ใช้กับงานที่มีลักษระที่เป็นงานด้านวิศวกรรม ในเริ่มแรกได้รับการเรียกว่า Fourth ทั้งนี้เพราะว่าเป็น Fourth-Generation Language และใช้ IBM1130 ในการประมวลผล ซึ่งยินยอมให้ใช้เพียง 5 ตัวอักษร สำหรับการตั้งชื่อใดๆ ก็ตามจึงต้องเปลี่ยนมาเป็น forth โดยปริยาย forth เหมาะสำหรับระบบเล็กๆ สามารถจัดทำโดยโอเอสได้และมักจะใช้กับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
      ภาษาโลโก้ พบเมื่อ ค.ศ. 1970 ใช้สอนเด็กในการฝึกหัดโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โลโก้ใช้ในการจัดทำกราฟฟิก วาดภาพได้ ปกติใช้กันมากในโรงเรียน ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์
      ภาษาซิมูเลชั่น ภาษาซิมมูเลชั่นที่ใช้ในการจัดทำโมเดล จะได้แก่ GPSS ที่มีชื่อเต็มว่า General Purpose System Simulator และ SIMULA ซึ่งมีชื่อย่อมาจาก Simulation Language

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×