ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความขัดแย้ง และการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ (:

    ลำดับตอนที่ #4 : ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 423
      1
      10 ธ.ค. 54

    4. ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจ

           ความแตกต่างในอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ กลายเป็นสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งในหมู่มนุษยชาติ ดังนี้
           
           4.1 อุดมการณ์ทางการเมือง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โลกมีความแตกต่างและความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างชาติมหาอานาจ 2 ค่าย ดังนี้

                 (1) ค่ายประชาธิปไตย มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ

                 (2) ค่ายคอมมิวนิสต์ มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ


           4.2 ระบบเศรษฐกิจ ประเทศต่างๆในโลกมีระบบเศรษฐกิจแตกต่างกันจึงเป็นสาเหตุทาให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้ ระบบเศรษฐกิจที่สาคัญจาแนกได้ 3 ระบบใหญ่ๆ ดังนี้

          (1) ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งรู้จักกันในชื่อต่างๆ เช่น ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) และระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด (Market Economic System) โดยให้เอกชนมีเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐจะไม่เข้าแทรกแซง หรือแทรกแซงแต่น้อย

          (2) ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialistic Economic System) หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง (Central Planning System) โดยรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตต่างๆ และเป็นผู้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สาคัญเสียเอง เช่น การธนาคาร การอุตสาหกรรม การสื่อสารและโทรคมนาคม และการ สาธารณูปโภคอื่นๆ

           (3) ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economic System) มีลักษณะผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมกับระบบสังคมนิยม โดยเอกชนยังคงมีเสรีภาพ ในการผลิตแต่รัฐจะผูกขาดดาเนินกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจที่สาคัญบางอย่าง เช่น ไฟฟ้า ประปา การคมนาคม และสาธารณูปโภคอื่น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×