ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความขัดแย้ง และการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ (:

    ลำดับตอนที่ #10 : ความขัดแย้งทางอารยธรรม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 327
      0
      10 ธ.ค. 54

     10.ความขัดแย้งทางอารยธรรม

           
    10.1 ความขัดแย้งทางอารยธรรมในประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เกิดจากชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวัฒนธรรมถือว่าอารยธรรมของตนสูงกว่าชนชาติอื่น ๆ และดูหมิ่นชาติที่ล้าหลังด้อยความเจริญว่าเป็นพวกป่าเถื่อน เช่น จีนในสมัยโบราณถือว่าตนเป็นอาณาจักรกลาง” (หรือจงกว๋อ) ของโลก

           10.2 เหตุการณ์ความขัดแย้งทางอารยธรรมในช่วงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ คือ สงครามฝิ่น (ค.ศ.1839-1842) ระหว่างอังกฤษกับจีน โดยพ่อค้าอังกฤษลับลอบนำฝิ่นเข้ามาขายในจีนจึงถูกทางการจีนปราบปรามและขยายตัวเป็นสงคราม จีนเป็นฝ่ายแพ้ สงครามฝิ่นจึงเป็นตัวอย่างของความขัดแย้งระหว่างอารยธรรมตะวันตกกับอารยธรรมตะวันออก กล่าวคือ
     
                 
    (1)   ฝ่ายจีนต้องการให้อังกฤษเข้ามาติดต่อค้าขายในฐานะ รัฐบรรณาการ คือ ยอมอ่อนน้อม และนำเครื่องบรรณาการมาถวายพระจักรพรรดิจีน (ระบบจิ้มก้อง) 

               
     (2)   การเข้าเฝ้าจักรพรรดิจีนต้องปฏิบัติตามธรรมเนียมจีน คือ คุกเข่าและคำนับให้หน้าผากจรดพื้น แต่ทูตอังกฤษถือว่าชาติตนมีอารยธรรมสูงกว่าจึงไม่ยอมทำตาม จีนจึงไม่ยอมเจรจาด้วย 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×