ปกรณัมราชันย์กัลปพฤกษ์ - นิยาย ปกรณัมราชันย์กัลปพฤกษ์ : Dek-D.com - Writer
×

    ปกรณัมราชันย์กัลปพฤกษ์

    โดย Regain

    เรื่องราวของชีวินทร์ อดีตช่างภาพสารคดีผู้สละชีวิตของตนให้สิงโตภูเขาแม่ลูกอ่อนผู้บาดเจ็บกิน ได้รับพรให้ไปเกิดเป็นต้นกัลปพฤกษ์เดินได้ ในอนาคตอีก ๓๐๐ ปีข้างหน้า

    ผู้เข้าชมรวม

    35,854

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    20

    ผู้เข้าชมรวม


    35.85K

    ความคิดเห็น


    1.27K

    คนติดตาม


    1.15K
    หมวด :  ผจญภัย
    จำนวนตอน :  115 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  24 ต.ค. 62 / 17:27 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



    หายไปรับจ๊อบเป็น Ghost Writer มาครับ
    จะกลับมาต่อแล้วคร้าบบบ
    ^m^"


    --------------------------------


    ในที่สุดก็ขึ้นที่ ๑ หมวดวิทย์จนได้
    แถมไม่ต้องรอนานจนครบเดือนเสียด้วย เย้~!
    ^0^
    ยังไงตอนนี้ก็ย้ายมาอยู่ผจญภัยแล้ว
    ขอบคุณนักอ่านทั้งใหม่และเก่าทุกท่าน
    ที่แวะเข้ามาชมมาอ่านกันนะครับ
    เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนมากมายมหาศาลเลยทีเดียวเชียว
    จะพยายามรักษาคุณภาพงานต่อไปครับผม
    ^/\^
    Regain


    ----------------------------------------------------------


    อะไรเป็นอะไรในปกรณัม


    ภูต

                   หรือที่เรียกเต็มๆ ว่า ภูตพิทักษ์ฝูง หมายถึงสัตว์ที่สืบเผ่าพันธุ์กันมายาวนาน และเหลือรอดมาจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่ ๖ ซึ่งเกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงโดยน้ำมือมนุษย์ และวิวัฒนาการจนเริ่มยืนสองขาได้ 

                   ในแต่ละเผ่าจะยืนสองขาไม่ได้ทุกตัว และปรกติจะต้องกลายร่างกลับไปกลับมา และทำได้ไม่นานนัก ฉะนั้น ยิ่งกลายร่างได้นานเท่าไหร่ ก็จะยิ่งถูกจัดให้อยู่ในระดับสูงของเผ่า ทั้งนี้ยังคงมีลักษณะของเดรัจฉานอย่างเด่นชัด เช่น กระบอกปาก มีขาหลังแบบกระดูกสามส่วน จึงยืนไม่ตรงนัก หากเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมักหลังค่อม แต่หากมาจากประเภทนกมักหลังแอ่น โดยทั่วไปแล้วจะเป็นคู่อริกับสัตว์ระดับพราย เทียบได้กับการเหยียดชนชั้นในยุคปัจจุบัน

     

    พราย

                   คือ ภูตระดับพราย มักเรียกสั้นๆ ว่า พราย หมายถึงสัตว์ชั้นสูงที่พัฒนาไปไกลกว่าภูต มีลักษณะเด่นที่รูปหน้าแบบมนุษย์ มีเส้นผมบนศีรษะ สีของเส้นผมมักเป็นไปตามสีขนในธรรมชาติ มีขนหรือเกล็ดตามลำตัวเพื่อปิดของสงวนและสร้างความงามในยามปรกติ มีขนตามท่อนแขนท่อนขาคล้ายถุงมือถุงเท้า ยืนได้หลังตรงด้วยกระดูกขาแบบสองส่วน แต่ยังคงปรากฏลักษณะเด่นตามเผ่าพันธุ์ เช่น หาง เขา กีบเท้า เล็บกีบนิ้วมือ อุ้งมือ และกรงเล็บ เป็นต้น

                   ทั้งนี้ กลุ่มตัวเอกที่ใช้เดินเรื่องในภาคนี้ จะเป็นสัตว์ระดับพราย ส่วนที่ใช้ภูตเป็นตัวเดินเรื่อง ติดตามอ่านได้ในนิยายเรื่อง กำแพงมาร (Demon Frontier) 

                   อนึ่ง นิยายทั้งสองเรื่องนี้เป็นภาคแยกของกันและกัน และเกิดในคนละช่วงเวลา ซึ่งห่างไกลกันในระดับหลายพันปี ส่วนต้นกำเนิดของทั้งสองเรื่อง โปรดติดตามนิยายเรื่อง Crisis of the beasts : Incubation

                  


    สัตว์อสูร 

                   เป็นกลุ่มสัตว์โบราณที่วิวัฒนาการมายาวนาน แต่ยังไม่พัฒนาภาษาพูดเหมือนสองจำพวกแรก โดยมากมักเป็นพวกแมลง แต่มีร่างกายใหญ่ยักษ์ ยังคงมีสัญชาตญาณดุร้ายเหมือนยุคดึกดำบรรพ์ (ยุคปัจจุบันนี่แหละ อิพอิ)


    สัตว์เทพ และเหล่าทวยเทพ

    จะทยอยกล่าวถึงในเนื้อเรื่อง


    แอนิเมเซีย

                   เป็นดินแดนแห่งสรรพสัตว์ มนุษย์ยุคปัจจุบันอาจเรียกทวีปนี้ว่า แพนเจียพร็อกซิม่า เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกที่กลับมาชนกันใหม่ในอนาคตอันยาวไกลถึงสามร้อยล้านปี กระนั้นก็ไม่ได้มีลักษณะเหมือนที่แบบจำลองของมนุษย์คาดการณ์ไว้ทุกประการ

     

    โอฆีน่า

                   ห้วงมหรรณพที่อยู่ล้อมรอบมหาทวีปแอนิเมเซีย เป็นห้วงน้ำล้ำลึกดุจไร้ก้นบึ้ง มีเกาะแก่งต่างๆ ผุดปรากฏด้วยอิทธิพลของภูเขาไฟเกิดใหม่หลายลูก โดยใต้น้ำยังมีเผ่าพันธุ์ทั้งระดับภูต และพรายอีกมากมาย


    ปล. ๑ เรื่องนี้ตั้งใจทำออกมาเป็นไลท์โนเวล (แต่ภาษายังเป็นแบบนิยายทั่วไป) แต่ละตอนจึงมีเนื้อหาที่ค่อนข้างสั้น และยังไม่ได้รีไรต์ครั้งสุดท้าย หากพบข้อผิดพลาดประการใด แจ้งได้เลยนะครับ จักเป็นพระคุณอย่างสูง ^^


    ปล. ๒ คาดว่าจะลงสัปดาห์ละอย่างน้อย ๒ - ๓ ตอน

    พอดีเห็นว่าเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลกพอดี เลยรีบเอามาเจิมก่อนครับ ^w^


    ปล. ๓ หากใครจะคอมเม้นต์ เรียนเสนอว่าช่วยลงในหน้าหลักจะดีที่สุดครับ 

    เพราะหากผู้เขียนรีอัพใหม่หลังจบภาค การลบตอนแล้วลงใหม่ จะมีปัญหาคอมเม้นต์หายครับ

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น