ลำดับตอนที่ #17
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #17 : ว่าด้วยเรื่อง :: กฏหมายอาญา1
กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่รวมเอาลักษณะความผิดต่าง ๆ และกำหนดบทลงโทษมาบัญญัติขึ้นและมีวัตถุประสงค์จะรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคมการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศถือว่าเป็นความผิดทางอาญาหากปล่อยให้มีการแก้แค้นกันเองหรือปล่อยให้ผู้กระทำผิดแล้วไม่มีการลงโทษจะทำให้มีการกระทำความผิดทางอาญามากขึ้นสังคมก็จะขาดความสงบสุข
หลักผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร ต้องรับโทษตามกฎหมาย
เช่นนายเอกยิงนายโทที่พาหุรัด นายเอกกระทำความผิดในราชอาณาจักรนายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมาย
--------------------------------------------------------------------------
กรณีให้ถือว่ากระทำในราชอาณาจักร
1.การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทยขณะที่อยู่นอกราชอาณาจักรให้ถือว่ากระทำในราชอาณาจักร
เช่นนายเอกยิงนายโทบนสายการบินไทยขณะที่อยู่เหนือน่านฟ้าเวียดนาม(สังเกตว่าอยู่นอกราชอาณาจักร)แต่ นายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย เพราะการกระทำความผิดบนอากาศยานไทยหรือเรือไทยกฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดในราชอาณาจักร
2.ความผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำในราชอาณาจักร
เช่นนายเอก(คนไทย)ยิงนายโท(คนลาว) ขณะที่นายเอกอยู่จังหวัดหนองคายส่วนนายโทอยู่เวียงจันทร์เช่นนี้การกระทำของนายเอกส่วนหนึ่งได้เกิดในราชอาณาจักรไทยกฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดในราชอาณาจักรดังนั้นนายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
3.ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักรโดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร
เช่นนายเอก(คนลาว) ยิงนายโท(คนไทย) ขณะที่นายเอกอยู่เวียงจันทร์ส่วนนายโทอยู่จังหวัดหนองคาย เช่นนี้ผลของการกระทำของนายเอกได้เกิดในราชอาณาจักรไทยคือนายโทตาย กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดในราชอาณาจักรดังนั้นนายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
4.ในกรณีการตระเตรียมการหรือพยายามกระทำการใด ซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดแม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักรถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักรให้ถือว่าการตระเตรียมการหรือพยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร
เช่นนายเอก(คนลาว) ยิงนายโท(คนไทย) ขณะที่นายเอกอยู่เวียงจันทร์ส่วนนายโทอยู่จังหวัดหนองคาย แต่นายโทหลบทัน (ดังนั้นเป็นกรณี พยายามกระทำความผิด)เช่นนี้ถ้าเกิดเป็นผลสำเร็จคือนายโทหลบไม่ทัน แล้วตายเห็นได้ว่าผลของการกระทำจะเกิดในราชอาณาจักรไทยกฎหมายให้ถือว่าการพยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำลงในราชอาณาจักรดังนั้นนายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย (นั่นก็คือพยายามฆ่า)
5. ความผิดใดที่ได้กระทำในราชอาณาจักรหรือที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักรแม้การกระทำของผู้เป็นตัวการด้วยกันของผู้สนับสนุนหรือของผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักรก็ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุนหรือผู้ใช้ให้กระทำได้กระทำในราชอาณาจักร
เช่นนายสอง(คนลาว) ได้ว่าจ้างให้ นายเอก(คนลาว) ยิงนายโท(คนไทย)ที่จังหวัดหนองคาย เช่นนี้แม้การใช้ให้กระทำความผิดเกิดขึ้นที่นอกราชอาณาจักรแต่ความผิดที่เกิดจากการใช้ได้กระทำลงในราชอาณาจักร ดังนั้นกฎหมายให้ถือว่าการใช้ให้กระทำความผิดเกิดในราชอาณาจักรดังนั้นนายสองจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรและความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักรคือ
-ความผิดเกี่ยวกับเพศ
-ความผิดต่อชีวิต
-ความผิดต่อร่างกาย
-ความผิดฐานทอดทิ้งเด็กคนป่วยเจ็บหรือคนชรา
-ความผิดต่อเสรีภาพ
-ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์
-ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์
-ความผิดฐานฉ้อโกง
-ความผิดฐานยักยอก
-ความผิดฐานรับของโจร
-ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
หลักบุคคลมี 2 กรณีดังนี้
(ก) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทยและรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
เช่นนายเอกคนไทยไปเรียนต่อที่ลาว นายเอกไม่พอใจที่นายดำมาแย่งแฟนของตนนายเอกจึงยิงนายดำตาย เช่นนี้เป็นกรณีที่ความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรโดยแท้แต่นายเอกผู้กระทำความผิดเป็นคนไทย หากรัฐบาลประเทศลาวร้องขอให้ลงโทษเช่นนี้นายเอกก็ต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
(ข) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าวและรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
เช่นนายเอกคนไทยไปเรียนต่อที่ลาวนายดำไม่พอใจที่นายเอกมาแย่งแฟนของตน นายดำจึงยิงนายเอกตายเช่นนี้เป็นกรณีที่ความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรโดยแท้แต่นายดำผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าว หากรัฐบาลประเทศไทยร้องขอให้ลงโทษเช่นนี้นายดำก็ต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
ผู้ใดกระทำความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้นอกราชอาณาจักรจะต้องรับโทษในราชอาณาจักรคือ
1.ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
2.ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
3.ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
4.ความผิดเกี่ยวกับเพศ
5.ความผิดฐานชิงทรัพย์และความผิดฐานปล้นทรัพย์ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง
ตัวอย่าง
กัปตันแจ็คร่วมมือกับกัปตันบาบารามอสรวมทั้งสมุนกว่า 20 ชีวิต ปล้นทรัพย์ในทะเลหลวง แม้ว่ากัปตันแจ็คกับบาบารามอสไม่ใช่คนไทยและผู้เสียหายจะไม่ใช่คนไทยก็ตามแต่ในเมื่อทั้งสองกระทำความผิดสากลคือปล้นทรัพย์ในทะเลหลวงทั้งสองจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
***ต่อๆๆ
หลักสำคัญของกฎหมายอาญาปรากฎอยู่ในสุภาษิตละตินโบราณว่า
Nullum crimen nulla poena sine lege
หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า
"No crime, no punishment without a previous penal law"
หรืออาจแปลเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
ไม่มีความผิด ไม่มีโทษเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
ปรากฎอยู่ในกฎหมายไทยมาตรามาตรา 2 ประมวลกฎหมายอาญาซึ่งวางหลักไว้ว่า
“บุคคลจักต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ”
เมื่อบุคคลใดได้กระทำการอย่างใดลง และในขณะนั้นการกระทำนั้นไม่ถือเป็นความผิดอาญาย่อมไม่อาจจะบัญญัติย้อนหลังไปได้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด
หลักดังกล่าวนี้เป็นหลักสภาพบังคับทางอาญาที่สำคัญซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นหัวใจของกฎหมายอาญา หลักนี้ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาไว้ 4ประการคือ
1.กฎหมายอาญาต้องชัดเจนแน่นอน
2.ห้ามใช้กฎหมายจารีตประเพณีลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
3.ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
4.กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง
Nullum crimen nulla poena sine lege
หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า
"No crime, no punishment without a previous penal law"
หรืออาจแปลเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
ไม่มีความผิด ไม่มีโทษเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
ปรากฎอยู่ในกฎหมายไทยมาตรามาตรา 2 ประมวลกฎหมายอาญาซึ่งวางหลักไว้ว่า
“บุคคลจักต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ”
เมื่อบุคคลใดได้กระทำการอย่างใดลง และในขณะนั้นการกระทำนั้นไม่ถือเป็นความผิดอาญาย่อมไม่อาจจะบัญญัติย้อนหลังไปได้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด
หลักดังกล่าวนี้เป็นหลักสภาพบังคับทางอาญาที่สำคัญซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นหัวใจของกฎหมายอาญา หลักนี้ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาไว้ 4ประการคือ
1.กฎหมายอาญาต้องชัดเจนแน่นอน
2.ห้ามใช้กฎหมายจารีตประเพณีลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
3.ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
4.กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง
อำนาจอธิปไตย หมายถึงอำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ
ดังนั้นสิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยหาได้ไม่อำนาจอธิปไตยนั้น
โดยหลักสากล แต่ละรัฐจะมีองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอยู่ 3 องค์กร ได้แก่
1.องค์กรฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล
2.นิติบัญญัติหรือรัฐสภาและ
3.ตุลาการหรือศาล
อำนาจนิติบัญญัติคืออำนาจในการตรากฎหมายขึ้นบังคับใช้ซึ่งโดยหลักแล้วสามารถตรากฎหมายขึ้นบังคับใช้ได้ภายในราชอาณาจักรของตนเท่านั้นไม่สามารถออกกฎหมายใด ๆ ไปบังคับนอกราชอาณาจักรได้
อำนาจอธิปไตยนี้นับเป็นองค์ประกอบของสำคัญที่สุดของความเป็นรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้นนอกจากต้องประกอบด้วย อาณาเขต ประชากร และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอำนาจอธิปไตยด้วยกล่าวคือ ประเทศนั้นต้องเป็นประเทศที่สามารถมีอำนาจสูงสุด (อำนาจอธิปไตย)ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า "รัฐ" ได้
ดังนั้นสิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยหาได้ไม่อำนาจอธิปไตยนั้น
โดยหลักสากล แต่ละรัฐจะมีองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอยู่ 3 องค์กร ได้แก่
1.องค์กรฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล
2.นิติบัญญัติหรือรัฐสภาและ
3.ตุลาการหรือศาล
อำนาจนิติบัญญัติคืออำนาจในการตรากฎหมายขึ้นบังคับใช้ซึ่งโดยหลักแล้วสามารถตรากฎหมายขึ้นบังคับใช้ได้ภายในราชอาณาจักรของตนเท่านั้นไม่สามารถออกกฎหมายใด ๆ ไปบังคับนอกราชอาณาจักรได้
อำนาจอธิปไตยนี้นับเป็นองค์ประกอบของสำคัญที่สุดของความเป็นรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้นนอกจากต้องประกอบด้วย อาณาเขต ประชากร และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอำนาจอธิปไตยด้วยกล่าวคือ ประเทศนั้นต้องเป็นประเทศที่สามารถมีอำนาจสูงสุด (อำนาจอธิปไตย)ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า "รัฐ" ได้
ในเมื่ออำนาจนิติบัญญัติคืออำนาจในการตรากฎหมายขึ้นบังคับใช้ซึ่งโดยหลักแล้วสามารถตรากฎหมายขึ้นบังคับใช้ได้ภายในราชอาณาจักรของตนเท่านั้นไม่สามารถออกกฎหมายใด ๆ ไปบังคับนอกราชอาณาจักรได้ จึงต้องมาทำการศึกษากันว่ากฎหมายอาญามีขอบเขตการใช้เพียงไร
การพิจารณาว่าขอบเขตการใช้กฎหมายอาญามีเพียงให้พิจารณา 3 หลักเกณฑ์ดังนี้
1.หลักดินแดน
2.หลักบุคคล
3.หลักความผิดสากล
การพิจารณาว่าขอบเขตการใช้กฎหมายอาญามีเพียงให้พิจารณา 3 หลักเกณฑ์ดังนี้
1.หลักดินแดน
2.หลักบุคคล
3.หลักความผิดสากล
หลักผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร ต้องรับโทษตามกฎหมาย
เช่นนายเอกยิงนายโทที่พาหุรัด นายเอกกระทำความผิดในราชอาณาจักรนายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมาย
--------------------------------------------------------------------------
กรณีให้ถือว่ากระทำในราชอาณาจักร
1.การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทยขณะที่อยู่นอกราชอาณาจักรให้ถือว่ากระทำในราชอาณาจักร
เช่นนายเอกยิงนายโทบนสายการบินไทยขณะที่อยู่เหนือน่านฟ้าเวียดนาม(สังเกตว่าอยู่นอกราชอาณาจักร)แต่ นายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย เพราะการกระทำความผิดบนอากาศยานไทยหรือเรือไทยกฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดในราชอาณาจักร
2.ความผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำในราชอาณาจักร
เช่นนายเอก(คนไทย)ยิงนายโท(คนลาว) ขณะที่นายเอกอยู่จังหวัดหนองคายส่วนนายโทอยู่เวียงจันทร์เช่นนี้การกระทำของนายเอกส่วนหนึ่งได้เกิดในราชอาณาจักรไทยกฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดในราชอาณาจักรดังนั้นนายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
3.ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักรโดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร
เช่นนายเอก(คนลาว) ยิงนายโท(คนไทย) ขณะที่นายเอกอยู่เวียงจันทร์ส่วนนายโทอยู่จังหวัดหนองคาย เช่นนี้ผลของการกระทำของนายเอกได้เกิดในราชอาณาจักรไทยคือนายโทตาย กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดในราชอาณาจักรดังนั้นนายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
4.ในกรณีการตระเตรียมการหรือพยายามกระทำการใด ซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดแม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักรถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักรให้ถือว่าการตระเตรียมการหรือพยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร
เช่นนายเอก(คนลาว) ยิงนายโท(คนไทย) ขณะที่นายเอกอยู่เวียงจันทร์ส่วนนายโทอยู่จังหวัดหนองคาย แต่นายโทหลบทัน (ดังนั้นเป็นกรณี พยายามกระทำความผิด)เช่นนี้ถ้าเกิดเป็นผลสำเร็จคือนายโทหลบไม่ทัน แล้วตายเห็นได้ว่าผลของการกระทำจะเกิดในราชอาณาจักรไทยกฎหมายให้ถือว่าการพยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำลงในราชอาณาจักรดังนั้นนายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย (นั่นก็คือพยายามฆ่า)
5. ความผิดใดที่ได้กระทำในราชอาณาจักรหรือที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักรแม้การกระทำของผู้เป็นตัวการด้วยกันของผู้สนับสนุนหรือของผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักรก็ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุนหรือผู้ใช้ให้กระทำได้กระทำในราชอาณาจักร
เช่นนายสอง(คนลาว) ได้ว่าจ้างให้ นายเอก(คนลาว) ยิงนายโท(คนไทย)ที่จังหวัดหนองคาย เช่นนี้แม้การใช้ให้กระทำความผิดเกิดขึ้นที่นอกราชอาณาจักรแต่ความผิดที่เกิดจากการใช้ได้กระทำลงในราชอาณาจักร ดังนั้นกฎหมายให้ถือว่าการใช้ให้กระทำความผิดเกิดในราชอาณาจักรดังนั้นนายสองจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรและความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักรคือ
-ความผิดเกี่ยวกับเพศ
-ความผิดต่อชีวิต
-ความผิดต่อร่างกาย
-ความผิดฐานทอดทิ้งเด็กคนป่วยเจ็บหรือคนชรา
-ความผิดต่อเสรีภาพ
-ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์
-ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์
-ความผิดฐานฉ้อโกง
-ความผิดฐานยักยอก
-ความผิดฐานรับของโจร
-ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
หลักบุคคลมี 2 กรณีดังนี้
(ก) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทยและรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
เช่นนายเอกคนไทยไปเรียนต่อที่ลาว นายเอกไม่พอใจที่นายดำมาแย่งแฟนของตนนายเอกจึงยิงนายดำตาย เช่นนี้เป็นกรณีที่ความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรโดยแท้แต่นายเอกผู้กระทำความผิดเป็นคนไทย หากรัฐบาลประเทศลาวร้องขอให้ลงโทษเช่นนี้นายเอกก็ต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
(ข) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าวและรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
เช่นนายเอกคนไทยไปเรียนต่อที่ลาวนายดำไม่พอใจที่นายเอกมาแย่งแฟนของตน นายดำจึงยิงนายเอกตายเช่นนี้เป็นกรณีที่ความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรโดยแท้แต่นายดำผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าว หากรัฐบาลประเทศไทยร้องขอให้ลงโทษเช่นนี้นายดำก็ต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
ผู้ใดกระทำความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้นอกราชอาณาจักรจะต้องรับโทษในราชอาณาจักรคือ
1.ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
2.ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
3.ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
4.ความผิดเกี่ยวกับเพศ
5.ความผิดฐานชิงทรัพย์และความผิดฐานปล้นทรัพย์ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง
ตัวอย่าง
กัปตันแจ็คร่วมมือกับกัปตันบาบารามอสรวมทั้งสมุนกว่า 20 ชีวิต ปล้นทรัพย์ในทะเลหลวง แม้ว่ากัปตันแจ็คกับบาบารามอสไม่ใช่คนไทยและผู้เสียหายจะไม่ใช่คนไทยก็ตามแต่ในเมื่อทั้งสองกระทำความผิดสากลคือปล้นทรัพย์ในทะเลหลวงทั้งสองจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
***ต่อๆๆ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น