ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    'นิติศาสตร์ 54

    ลำดับตอนที่ #14 : ความรู้ข้อสอบนิติศาสตร์ ไม่มีเม้ม!

    • อัปเดตล่าสุด 17 ต.ค. 53


    จากบทความนี้และต่อๆไป เป๋อจะเอาความรู้ทางกฎหมายที่จะเอาไปใช้สอบนิติศาสตร์มาลงให้เพื่อนๆเผื่อจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนที่จะลงสนามสอบนิติศาสตร์ มธ.ปีนี้ด้วยกัน ^^

    ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ Hanayo Boyz (ผู้เขียนบทความ)ค่ะ





    ว่าด้วยเรื่อง ระบบกฎหมายโลก

    ระบบกฎหมายโลก มี 2 ระบบได้แก่

    1.ระบบจารีตประเพณี (Common Law System)

    ระบบจารีตประเพณีมีกำเนิดมาจากอังกฤษเป็นระบบที่ใช้กันในเครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกาโดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณาจะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมากจึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง (อย่าลืมว่าระบบจารีตประเพณีนั้นมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร)การพิจารณาคดีของศาลในระบบจารีตประเพณี มีลูกขุน (Jury) ทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนผู้พิพากษา (Judge) จะทำหน้าที่วางหลักกฎหมายและชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมายในระบบจารีตประเพณีกล่าวคือศาลเป็นผู้สร้างกฎหมายขึ้นจากการตัดสินคดีของศาล

    ดังนั้นระบบกฎหมายนี้จึงให้ความสำคัญกับวิธีการพิจารณาคดีของศาลเป็นอย่างมากและถือเอาคำพิพากษาศาลสูงที่ได้พิจารณาคดีในเรื่องคล้ายคลึงกันหรือแนวเดียวกันมาเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในภายหลัง

    ที่มาของกฎหมายในระบบจารีตประเพณีนั้นสามารถแยกพิจารณาออกเป็น 5 ประการ ดังนี้คือ

    1.คำพิพากษาของศาลการยึดถือคำพิพากษาซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากจารีตประเพณีโดยนำมาเป็นแนวทางในการตัดสินคดีต่อๆ ไปที่มีข้อเท็จจริงที่เหมือนหรือใกล้เคียงกันและตัดสินตามแนวทางเดียวกัน

    2.จารีตประเพณีเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจึงเป็นที่ยอมรับของคนเป็นจำนวนมากและจารีตประเพณีถือเป็นรากฐานอันสำคัญ ในระบบกฎหมายจารีตประเพณี

    3.ศาสนามีหลักเกณฑ์และคำสอนที่กล่าวไว้ในลักษณะเดียวกันว่าให้ทุกคนทำความดี ละเว้นความชั่วและมนุษย์ในสังคมก็ได้พยายามปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาสืบต่อกันมาตามความเชื่อของตนเองและสังคมนั้นๆจนกลายเป็นการนำหลักเกณฑ์ทางศาสนามากำหนดไว้ว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษเพื่อใช้ลงโทษผู้กระทำความผิดศาสนาจึงเป็นที่มาของกฎหมายในระบบจารีตประเพณีอีกประการหนึ่ง

    4.หลักความยุติธรรมกล่าวคือผู้พิพากษาสามารถตัดสินคดีต่างๆ โดยอาศัยหลักความเป็นธรรมไม่จำเป็นต้องยึดถือคำพิพากษาฎีกาเก่าๆเป็นแนวในการตัดสินหรือไม่จำเป็นต้องตัดสินตามจารีตประเพณีทั้งนี้เพื่อแก้ไขความบกพร่องของ Common law เพราะการใช้หลักของจารีตประเพณีเป็นการยึดถือหลักการที่มีมาเป็นเวลาช้านานแล้วดังนั้น เมื่อนำมาใช้กับเหตุการณ์ต่างๆ ในปัจจุบันซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงไปจากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตการนำหลักจารีตประเพณีมาใช้บางครั้งจึงไม่เหมาะสมและไม่เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามการใช้หลักความยุติธรรม นั้นก็เป็นการใช้ควบคู่ไปกับระบบจารีตประเพณีเพื่อให้ความเป็นธรรมมากขึ้นนั่นเอง

    5.ความเห็นของนักนิติศาสตร์ความเห็นของนักนิติศาสตร์ก็สามารถเป็นที่มาของกฎหมายได้เช่นกันหากเป็นความเห็นของบุคคลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการนิติศาสตร์ทั้งนี้เป็นเพราะความเห็นเหล่านั้นศาลเองก็อาจต้องนำไปพิจารณาและทำให้ผลการตัดสินคดีเปลี่ยนแปลงไปได้

    ------------------------------------------------------------------------------------

    2.ระบบลายลักษณ์อักษรหรือ ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System)

    เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรป เช่น เยอรมันฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ รวมถึงประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยโดยผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อนดังนั้น จึงมีการตรากฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นมาเพื่อบังคับใช้และวางหลักกฎหมายที่มีลักษณะทั่วไป สามารถนำไปปรับใช้กับกรณีต่างๆที่เกิดขึ้นได้ส่วนการพิจารณาคดีของศาลในประเทศที่ใช้ระบบลายลักษณ์อักษร นั้นจะมีผู้พิพากษาทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้นไม่มีลูกขุน

    ที่มาของกฎหมายในระบบประมวลกฎหมายนั้นมีที่มา 3 ประการคือ

    1.กฎหมายลายลักษณ์อักษรซึ่งจะมีการบัญญัติขึ้นมาโดยมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้คือ
    1.1 รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายใดจะขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญย่อมมิได้
    1.2 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่บัญญัติที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกำหนดรายละเอียดต่างๆของรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนยิ่งขึ้นหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพระราชบัญญัติที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อเป็นตัวขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองหรือว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เป็นต้น
    1.3 พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์อันเกิดจากคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
    1.4 พระราชกำหนด ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรีซึ่งแตกต่างจากพระราชบัญญัติ
    1.5 พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เช่นพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร์ เป็นต้น
    1.6 กฎกระทรวงเป็นกรณีที่รัฐมนตรีเป็นผู้ออกให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทกำหนดไว้ให้ออกเป็นกฎกระทรวง
    1.7 กฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ข้อบัญญัติ หรือข้อบังคับต่างๆเป็นต้น ที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ

    2.จารีตประเพณีซึ่งก็คือสิ่งที่ปฏิบัติกันมาเป็นเวลานานแล้วจนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย เช่น การที่นักมวยขึ้นสังเวียนสาธารณชนย่อมเข้าใจว่านักมวยที่ขึ้นชก ไม่ได้กระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายคงเป็นเพราะเป็นจารีตประเพณีที่รู้สึกกันโดยทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย เป็นต้น

    3.หลักกฎหมายทั่วไปศาลจะเป็นผู้ค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปซึ่งอาจได้จากสุภาษิตกฎหมายต่างๆ เช่นหลักผู้ซื้อต้องระวัง เป็นต้น










    ***มีต่อคร้าบ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×