ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    'นิติศาสตร์ 54

    ลำดับตอนที่ #13 : [นิติศาสตร์]เนื้อหาข้อสอบ การคำนวณ และ ภาษาไทย

    • อัปเดตล่าสุด 11 ต.ค. 53


    โครงการรับตรงคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ
    คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2552
     
    ขอบเขตและเนื้อหาข้อสอบ
    (เฉพาะส่วน)
    การคำนวณ การใช้เหตุผล และ ภาษาไทย
    ส่วน การคำนวณ
                ขอบเขตข้อสอบครอบคลุมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ดังนี้
     
              อัตราส่วน ของผสม ร้อยละ กำไร-ขาดทุน รูปทรงทางเรขาคณิต 2-3 มิติ (เส้นตรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หลายเหลี่ยม ปริซึม ทรงกระบอก กรวยกลม ทรงกลม ฯลฯ) ระยะทาง-เวลา-ความเร็ว ความยาว เส้นรอบรูป พื้นที่ ปริมาตร หน่วยวัดและมาตรา ฟังก์ชันและความสัมพันธ์แบบเส้นตรง พาราโบลา พหุนาม ยกกำลัง สมการ อสมการ ระบบจำนวนจริง (จำนวนนับ จำนวนเต็ม เศษส่วน ทศนิยม จำนวนตรรกยะ อตรรกยะ) ตรรกวิทยา ค่าความจริง-เท็จของการกระทำระหว่างประพจน์ (และ  หรือ  ถ้า-แล้ว  ก็ต่อเมื่อ  นิเสธ) ลำดับและอนุกรม (เลขคณิต เรขาคณิต ฮาโมนิค แบบผสม) การเลือกหมู่ การเรียงลำดับ (โยนเหรียญ ทอดลูกเต๋า หยิบไพ่ เรียงอักษร-สัญลักษณ์) สถิติเบื้องต้น การอ่านกราฟและแผนภูมิ
    ค่ากลาง (ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม) การวัดการกระจาย (พิสัย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวน) ตารางแจกแจงความถี่ของข้อมูล
     
    ส่วน การใช้เหตุผล
              ขอบเขตข้อสอบครอบคลุมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์เหมือนส่วนการคำนวณ เพียงแต่ว่าการตอบคำถามจะมุ่งเน้นแค่ตอบคำถามได้หรือไม่โดยไม่ต้องหาค่าคำตอบว่าได้เท่าใด
             
              ลักษณะโจทย์การใช้เหตุผล
     
              กำหนด        ข้อมูลที่ 1)    นาย ก. สูงกว่า นาย ข.
                                 ข้อมูลที 2)    นาย ข. สูงกว่า นาย ค.
              คำถาม         จงหาว่าใครสูงที่สุด
     
              ตัวเลือกคำตอบ       มี  5  ตัวเลือก คือ
                (  ) ก.              (  ) ข.              (   ) ค.              (   ) ง.               (   ) จ.
     
              ตอบ ก.          เมื่อ ข้อมูลที่ 1) เพียงลำพัง เพียงพ่อต่อการตอบคำถาม
                                        แต่ ข้อมูลที่ 2) เพียงลำพัง ไม่เพียงพ่อต่อการตอบคำถาม      
                ตอบ ข.          เมื่อ ข้อมูลที่ 2) เพียงลำพัง เพียงพ่อต่อการตอบคำถาม
                                        แต่ ข้อมูลที่ 1) เพียงลำพัง ไม่เพียงพ่อต่อการตอบคำถาม      
    ตอบ ค.          เมื่อ ต้องใช้ทั้งข้อมูลที่ 1) และ ข้อมูลที่ 2) ร่วมกัน จึงจะเพียงพอ
    ต่อการตอบคำถาม คือไม่สามารถใช้ข้อมูลเพียงข้อเดียวไม่ว่าข้อใด ๆ ในการตอบคำถาม  
              ตอบ ง.          เมื่อใช้ข้อมูลใด ๆ เพียงลำพังข้อเดียว ก็สามารถตอบคำถามได้
    กล่าวคือ ใช้แค่ข้อมูลที่ 1) เพียงลำพังก็เพียงพอตอบคำถามได้ หรือ            ใช้แค่ข้อมูลที่ 2) เพียงลำพังก็เพียงพอตอบคำถามได้
    ตอบ จ.          เมื่อใช้ทั้งข้อมูลที่ 1) และ ข้อมูลที่ 2) ร่วมกันไม่เพียงพอ ก็ยัง
    ต่อการตอบคำถาม
     
    สรุป   ตอบ ก.          เมื่อใช้ แค่ข้อมูลที่ 1) ก็เพียงพอ   ( แค่ข้อมูลที่ 2) ไม่เพียงพอ )
    ตอบ ข.          เมื่อใช้ แค่ข้อมูลที่ 2)  ก็เพียงพอ   ( แค่ข้อมูลที่ 1) ไม่เพียงพอ)
    ตอบ ค.          เมื่อใช้ ทั้งข้อมูลที่ 1) และ ข้อมูลที่ 2) ร่วมกันจึงเพียงพอ
    ตอบ ง.          เมื่อใช้ ข้อมูลใด ๆ (เพียงข้อเดียว)ก็เพียงพอ
    ตอบ จ.          เมื่อใช้ ทั้งข้อมูลที่ 1) และ ข้อมูลที่ 2) ร่วมกันก็ยังไม่เพียงพอ
     
    ตัวอย่างโจทย์ 1.     จงหาว่าใครสูงที่สุด
                            ข้อมูลที่ 1)     นาย ก. สูงกว่า นาย ข.
                            ข้อมูลที 2)     นาย ข. สูงกว่า นาย ค.
                ตอบ   ค.         เพราะ   ต้องใช้ทั้งข้อมูลที่ 1) และ ข้อมูลที่ 2) ร่วมกันจึงจะตอบ
    ได้ว่า นาย ก. สูงที่สุด
     
    ตัวอย่างโจทย์ 2.     จงหาค่า X
                       ข้อมูลที่ 1)    2X + 1             =  5
                       ข้อมูลที่ 2)    10 – 2X           =  4
     
    ตอบ ง.     เพราะ     ถ้าใช้แค่ข้อมูลที่ 1)   2X + 1 =  5     ก็ เพียงพอ ที่จะตอบ
    ได้ว่า X = 2
     
          หรือ          ถ้าใช้แค่ข้อมูลที่ 2)   10 – 2X =  4  ก็ เพียงพอ ที่จะตอบ
    ได้ว่า X = 2   เช่นเดียวกัน
    ส่วน ภาษาไทย
    ขอบเขตข้อสอบจะครอบคลุมเนื้อหาทางภาษาไทยดังนี้
     
    เขียนคำได้ถูกต้อง อ่านคำสะกดคำได้ถูกต้อง เขียนข้อความได้ถูกต้อง 
    ใช้ภาษาได้ถูกต้อง เรียงวลีข้อความได้ถูกต้อง อ่านจับใจความสำคัญได้ถูกต้อง 
    จับลักษณะความสัมพันธ์ของกลุ่มคำ-คู่คำได้ถูกต้อง สำนวน คำพังเพย ราชาศัพท์
     
     
    จำนวนข้อสอบ         โจทย์ปรนัย 5ตัวเลือก (ก ข ค ง จ) รวม 3ส่วน ทั้งหมด 40ข้อ
    ( แบ่งเป็น       คำนวณ12ข้อ   การใช้เหตุผล 16ข้อ  และ   ภาษาไทย 12ข้อ )
    เวลาที่ให้ทำข้อสอบ  (รวม 3ส่วน  40ข้อ)  60นาที
     
     
    สงวนสิทธ์          ห้ามนำข้อความส่วนใด ๆ ของเอกสารแจ้งขอบเขตและเนื้อหาข้อสอบโครงการรับสมัครตรงสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปสำเนาตีพิมพ์เผยแพร่หารายได้เชิงพาณิชย์   ยกเว้น
    การนำไปใช้เฉพาะบุคคลที่สมัครสอบ และ หน่วยงานวิชาการด้านแนะแนวและส่งเสริมการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
     
                                                              คณะนิติศาสตร์        ม.ธ.
                                                                            12 กันยายน  2551




    **อาจจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคร้าบ :) (ยิ้มๆ)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×