ลำดับตอนที่ #5
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : เรียงความ ย่อความ
โหมดเป๋อขอมีสาระ
ความหมาย
ของการเรียงความและการย่อความ
เรียงความ
คือการรวบรวมความคิดและถ่ายทอดหรือเรียบเรียงความรู้ ความคิดตลอดจนความรู้สึกและความเข้าใจ
ของตนให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจในสิ่งผู้เขียนเรียงความต้องการสื่อสาร
ดังนั้น การเขียนเรียงความจึงเป็นกระบวนการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถเพื่อถ่ายทอดและเรียบเรียง
เรื่องราวอย่างมีแบบแผนและมีศิลปะแห่งการใช้ถ้อยคำภาษา มีคุณค่าควรแก่การอ่าน
ย่อความ
คือการเก็บใจความหรือแนวคิดสำคัญของเรื่องที่ได้อ่านหรือฟังแล้วนำมาเรียบเรียงใหม่
ด้วยภาษาที่สั้นกะทัดรัด แต่คงความหมายของเรื่องเดิมไว้ได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์
จุดประสงค์ของการย่อความ มีดังนี้
1.มุ่งเก็บเนื้อเรื่อง คือเก็บใจความสำคัญของเรื่องมาทั้งหมดและสมบูรณ์
พอที่จะทำให้คนอ่านนั้นเข้าใจได้ดีโดยตลอด โดยไม่ต้องรู้เรื่องเดิมมาก่อน
ส่วนขยายหรือผลความนั้นตัดออก
2.มุ่งเก็บความคิด คือพยายามอ่านว่าผู้เขียนเรื่องแสดงความคิดไว้อย่างไรบ้าง
อาจจะแสดงไว้ชัดเจน หรือเป็นทำนองเปรียบเทียบซึ่งจะต้องดึงความคิดของผู้เขียนออกมาให้ได้
เรื่องที่จะต้องเก็บความคิดนั้น มักจะเป็นบทความ หรือบทวิจารณ์ต่าง ๆ
3.มุ่งเก็บความรู้เพื่องานวิจัย คือการมุ่งเก็บเฉพาะข้อมูลที่จะใช้ในงานวิจัยแต่ละเรื่องเท่านั้น
ไม่จำเป็นต้องเก็บเนื้อเรื่อง หรือความคิดโดยสมบูรณ์ของเรื่องนั้น
แต่เก็บเพียงเนื้อเรื่องหรือความคิดบางส่วนที่ต้องการนำมาใช้ในเรื่องที่ค้นคว้าโดยเฉพาะเท่านั้น
ของตนให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจในสิ่งผู้เขียนเรียงความต้องการสื่อสาร
ดังนั้น การเขียนเรียงความจึงเป็นกระบวนการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถเพื่อถ่ายทอดและเรียบเรียง
เรื่องราวอย่างมีแบบแผนและมีศิลปะแห่งการใช้ถ้อยคำภาษา มีคุณค่าควรแก่การอ่าน
ย่อความ
คือการเก็บใจความหรือแนวคิดสำคัญของเรื่องที่ได้อ่านหรือฟังแล้วนำมาเรียบเรียงใหม่
ด้วยภาษาที่สั้นกะทัดรัด แต่คงความหมายของเรื่องเดิมไว้ได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์
จุดประสงค์ของการย่อความ มีดังนี้
1.มุ่งเก็บเนื้อเรื่อง คือเก็บใจความสำคัญของเรื่องมาทั้งหมดและสมบูรณ์
พอที่จะทำให้คนอ่านนั้นเข้าใจได้ดีโดยตลอด โดยไม่ต้องรู้เรื่องเดิมมาก่อน
ส่วนขยายหรือผลความนั้นตัดออก
2.มุ่งเก็บความคิด คือพยายามอ่านว่าผู้เขียนเรื่องแสดงความคิดไว้อย่างไรบ้าง
อาจจะแสดงไว้ชัดเจน หรือเป็นทำนองเปรียบเทียบซึ่งจะต้องดึงความคิดของผู้เขียนออกมาให้ได้
เรื่องที่จะต้องเก็บความคิดนั้น มักจะเป็นบทความ หรือบทวิจารณ์ต่าง ๆ
3.มุ่งเก็บความรู้เพื่องานวิจัย คือการมุ่งเก็บเฉพาะข้อมูลที่จะใช้ในงานวิจัยแต่ละเรื่องเท่านั้น
ไม่จำเป็นต้องเก็บเนื้อเรื่อง หรือความคิดโดยสมบูรณ์ของเรื่องนั้น
แต่เก็บเพียงเนื้อเรื่องหรือความคิดบางส่วนที่ต้องการนำมาใช้ในเรื่องที่ค้นคว้าโดยเฉพาะเท่านั้น
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น