ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    'นิติศาสตร์ 54

    ลำดับตอนที่ #19 : ว่าด้วยเรื่อง :: กฏหมายอาญา3

    • อัปเดตล่าสุด 11 ต.ค. 53


    โครงสร้างความรับผิดในทางอาญาโครงสร้างแรก (ตอนที่7)
    ก่อนที่จะอธิบายต่อขออธิบายเรื่องเดิมเน้นย้ำอีกครั้งว่า

    บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อ

    โครงสร้างแรก การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
    โครงสร้างสองการกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด
    โครงสร้างสามการกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ

    ซึ่งทั้งสามโครงสร้างนี้เรียกว่าโครงสร้างความรับผิดในทางอาญา

    และตอนนี้ ... ได้อธิบายมาถึงโครงสร้างแรก

    แต่ที่เคยบอกแล้วว่าโครงสร้างแรกนั้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบดังนี้
    1.
    มีการกระทำ
    2.
    การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายนอก
    3.
    การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายใน
    4.
    มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล

    ได้อธิบายองค์ประกอบที่ 1 และ 2 แล้ว

    ------

    ต่อไปผมจะอธิบายองค์ประกอบที่ 3 การกระทำนั้นต้องครบองค์ประกอบภายใน

    องค์ประกอบภายใน ตามหลักกฎหมาย คือเรื่องเจตนา

    เจตนาตามกฎหมายอาญาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

    1. เจตนาตามความเป็นจริง คือเจตนาประสงค์ต่อผล, เจตนาย่อมเล็งเห็นผล

    1.1
    เจตนาประเภทประสงค์ต่อผล ทางตำราเรียกว่า เจตนาโดยตรงประสงค์ต่อผลหมายความว่ามุ่งหมายจะให้เกิดผล ถ้าเกิดผลก็เป็นความผิดสำเร็จถ้าผลไม่เกิดก็เป็นผิดพยายาม

    ตัวอย่าง
    แดงต้องการทำลายแจกันใบละล้านของนายเด่น แดงจึงแกล้งทำเป็นชนแจกันนั้นตกลงมาแตกเช่นนี้นายแดงเจตนาประสงค์ต่อการทำให้เสียทรัพย์ของนายเด่น

    1.2
    เจตนาเล็งเห็นผล เจตนาโดยอ้อมคือเล็งเห็นว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนเท่าที่จิตใจของบุคคลในฐานะเช่นนั้นจะเล็งเห็นได้

    ตัวอย่าง
    แดงต้องการฆ่าดำ แดงใช้ปืนยิงดำซึ่งยืนติดกับขาวปืนที่ใช้เป็นปืนลูกซองกระสุนถูกดำและแผ่กระจายไปถูกขาว ทั้งดำและขาว ตายในกรณีเช่นนี้เมื่อนายแดงต้องการฆ่าดำ นายแดงจึงมีเจตนาประเภทประสงค์ต่อผลต่อนายดำแต่การฆ่านายดำโดยใช้ปืนลูกซองนั้นนายแดงย่อมเล็งเห็นว่ากระสุนของปืนลูกซองจะต้องแผ่กระจายไปยังบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงอย่างแน่นอนนายแดงจึงมีเจตนาประเภทเล็งเห็นผลต่อนายขาว

    ตัวอย่าง
    นายแดงนั่งกินไวน์ราคาขวดละ 18 ล้านบาท ที่โต๊ะหินอ่อนหน้าบ้านขวดไวน์ตั้งอยู่ข้างหน้านายแดง นายแดงเห็นนายขาวและนายดำเดินผ่านมาด้วยความสนิทกับนายขาว นายแดงจึงเรียกนายขาวดื่มไวน์เพียงคนเดียวนายดำจึงรู้สึกอิจฉามากที่ไม่ได้กินไวน์

    นายดำจึงนำปืนลูกซองที่บ้านของตนมาซุ่มยิงขวดไวน์ทิ้งแต่เมื่อยิงขวดไวน์แล้ว กระสุนกลับกระจายไปโดนนายแดงและนายขาวตายคาที่เช่นนี้นายดำจึงมีเจตนาประเภทประสงค์ต่อทรัพย์ต่อนายแดง (ต้องการยิงขวดไวน์)แต่นายดำย่อมเล็งเห็นว่ากระสุนของปืนลูกซองจะต้องแผ่กระจายไปยังบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงอย่างแน่นอนนายแดงจึงมีเจตนาประเภทเล็งเห็นผลต่อนายแดงและนายขาว

    2. เจตนาโดยผลของกฎหมายคือการกระทำโดยพลาด
    กฎหมายอาญาวางหลักว่า ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่งแต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไปให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นเพราะฐานะของบุคคลหรือเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้ายมิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น
    โปรดสังเกตคำว่าให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาซึ่งอธิบายได้ว่าที่จริงแล้วการกระทำเช่นนี้ไม่เป็นเจตนาเพราะการพิจารณาว่าบุคคลใดกระทำโดยเจตนาหรือไม่ให้พิจารณาว่าบุคคลนั้นกระทำโดยเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเจตนาย่อมเล็งเห็นต่อผลแต่เพื่อความเป็นธรรมต่อผู้ที่ได้รับผลร้าย กฎหมายจึงให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาจึงอาจเรียกได้ว่าเป็นเจตนาโดยผลของกฎหมาย

    ตัวอย่างประกอบการพิจารณาเรื่องเจตนาโดยพลาด

    กรณีที่ 1.

    นายแดงซุ่มยิงนายขาว เมื่อนายขาวเดินมา นายแดงลั่นไกปืนแต่ด้วยความโชคร้าย นายขาวหลบไม่ทัน กระสุนกลับไปเฉี่ยวไปถูกหน้าอกของนายขาวนายขาวตายคาที่ และกระสุนได้แฉลบไปถูกนายดำที่นั่งกินก๋วยเตี๋ยวอยู่ตายคาที่เช่นกัน เช่นนี้ นายแดงกระทำความผิดฐานฆ่านายขาวโดยประสงค์ต่อผลส่วนนายแดงต้องรับโทษต่อนายดำหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่า นายแดงเจตนาประสงค์ หรือเล็งต่อผล ต่อนายดำหรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า นายแดงไม่มีเจตนาประสงค์ หรือเล็งต่อผลเลย อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่งแต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไปให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้นดังนั้นจึงถือว่านายแดงมีเจตนากระทำความผิดต่อนายดำ(ผู้ได้รับผลร้าย)ด้วยซึ่งในทางกฎหมายเรียกว่า เจตนาโดยพลาด สรุปได้ว่านายแดงต้องรับผิดฐานฆ่านายดำโดยพลาด

    กรณีที่ 2.

    นายแดงซุ่มยิงนายขาวเมื่อนายขาวเดินมา นายแดงลั่นไกปืน แต่ด้วยความช่างสังเกตของนายขาว นายขาวหลบทันแต่กระสุนกลับไปถูกนายดำที่นั่งกินก๋วยเตี๋ยวตาย เช่นนี้นายแดงกระทำความผิดฐานพยายามฆ่านายขาวโดยประสงค์ต่อผลส่วนนายแดงต้องรับโทษต่อนายดำหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่า นายแดงเจตนาประสงค์ หรือเล็งต่อผล ต่อนายดำหรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า นายแดงไม่มีเจตนาประสงค์ หรือเล็งต่อผลเลย อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่งแต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไปให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้นดังนั้นจึงถือว่านายแดงมีเจตนากระทำความผิดต่อนายดำ(ผู้ได้รับผลร้าย)ด้วยซึ่งในทางกฎหมายเรียกว่า เจตนาโดยพลาด สรุปได้ว่านายแดงต้องรับผิดฐานฆ่านายดำโดยพลาด

    กรณีที่ 3.

    นายแดงซุ่มยิงนายขาวเมื่อนายขาวเดินมา นายแดงลั่นไกปืน นายขาวหลบไม่ทันกระสุนกลับไปเฉี่ยวไปถูกหน้าอกของนายขาว นายขาวตายคาที่แต่กระสุนกลับไปถูกนายดำที่นั่งกินก๋วยเตี๋ยวได้รับบาดเจ็บ เช่นนี้นายแดงกระทำความผิดฐานฆ่านายขาวโดยประสงค์ต่อผลส่วนนายแดงต้องรับโทษต่อนายดำหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่า นายแดงเจตนาประสงค์ หรือเล็งต่อผล ต่อนายดำหรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า นายแดงไม่มีเจตนาประสงค์ หรือเล็งต่อผลเลย อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่งแต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไปให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้นดังนั้นจึงถือว่านายแดงมีเจตนากระทำความผิดต่อนายดำ(ผู้ได้รับผลร้าย)ด้วยซึ่งในทางกฎหมายเรียกว่า เจตนาโดยพลาด สรุปได้ว่านายแดงต้องรับผิดฐานพยายามฆ่า(เพราะไม่ตายเพียงได้รับบาดเจ็บเท่านั้น)นายดำโดยพลาด

    ข้อสังเกต

    1.
    ปกติแล้วการกระทำโดยพลาดจะมีบุคคล 3 ฝ่าย
    1.1.
    บุคคลที่กระทำความผิด (นายแดง)
    1.2.
    ผู้เสียหายฝ่ายที่ 1 (นายขาว)
    1.3.
    ผู้เสียหายฝ่ายที่ 2 (นายดำ)

    2.
    บุคคลที่กระทำความผิด (นายแดง) ต้องการจะกระทำความผิดต่อผู้เสียหายฝ่ายที่ 1 (นายขาว) เท่านั้น แต่ผลของการกระทำดังกล่าว ไปเกิดแก่ผู้เสียหายฝ่ายที่ 2 (นายดำ) ด้วย

    3.
    ผู้เสียหายฝ่ายที่ 1 (นายขาว)อาจได้รับผลร้ายเท่ากับ ผู้เสียหายฝ่ายที่ 2 (นายดำ) ก็ได้ เช่นกรณีที่ 1

    4.
    ผู้เสียหายฝ่ายที่ 1 (นายขาว) อาจได้รับผลร้ายน้อยกว่าผู้เสียหายฝ่ายที่ 2 (นายดำ) ก็ได้ เช่นกรณีที่ 2

    5.
    ผู้เสียหายฝ่ายที่ 1 (นายขาว) อาจได้รับผลร้ายมากกว่า ผู้เสียหายฝ่ายที่ 2 (นายดำ)ก็ได้ ดังเช่นกรณีที่ 3
     

    โครงสร้างความรับผิดในทางอาญาโครงสร้างแรก (ตอนที่8)
    จากโครงสร้างความรับผิดในทางอาญาโครงสร้างแรก (ตอนที่7) สามารถสรุปได้ว่า เจตนาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

    1.
    เจตนาตามความเป็นจริง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
    1.1.
    เจตนาโดยประสงค์ต่อผล
    1.2.
    เจตนาย่อมเล็งเห็นผล
    2.
    เจตนาโดยผลของกฎหมายหรือเรียกว่าเจตนาโดยพลาด

    -----------------------------------------------------------------------------------

    หลักต่อมาที่ต้องพิจารณาคือ
    ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้

    อาจสรุปเป็นหลักสั้น ๆได้ว่า

    ไม่รู้(องค์ประกอบภายนอกของความผิด) ไม่มีเจตนา

    กรณีที่ 1. นายเอกไปซ้อมยิงปืนที่ป่าช้าแห่งหนึ่ง โดยใช้โลงศพเก่ามาทำเป็นเป้ายิงปืนเมื่อนายเอกเริ่มซ้อมยิงปืน ปรากฏว่ามีสับปะเหร่อนอนอยู่ในนั้นกระสุนของนายเอกจึงไปถูกสัปเหร่อตายคาที่ เช่นนี้ นายเอกไม่รู้ว่าข้างในนั้นเป็นคนจึงไม่ทราบว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการฆ่าผู้อื่นจึงเป็นกรณีที่นายเอกมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดดังนั้นจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้นายเอกจึงไม่มีเจตนาเมื่อนายเอกไม่มีเจตนาแล้วจึงขาดองค์ประกอบที่ต้องรับผิดในทางอาญาแล้วจึงขาดองค์ประกอบที่ต้องรับผิดในทางอาญา

    กรณีที่ 2. นายเอกเข้าไปบ้านนายโทเพื่อร่วมฉลองงานวันเกิดของนายโท ระหว่างที่นายเอกเต้นนั้นนายเอกทำแหวนตก ตอนใกล้เวลากลับบ้าน นายเอกรู้ตัวว่าทำแหวนตกจึงรีบทำการค้นหาแต่นายเอกพบแหวนของนายโทวางอยู่ นายเอกคิดว่าเป็นของตน จึงหยิบเอามา เช่นนี้นายเอกไม่รู้ว่าแหวนนั้นเป็นของผู้อื่น (นายเอกคิดว่าเป็นของตน)จึงไม่ทราบว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการลักทรัพย์ของผู้อื่นจึงเป็นกรณีที่นายเอกมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด(ฐานลักทรัพย์)ดังนั้นจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้นายเอกจึงไม่มีเจตนาเมื่อนายเอกไม่มีเจตนาแล้วจึงขาดองค์ประกอบที่ต้องรับผิดในทางอาญา
     
     
    การกระทำโดยประมาทเป็นความผิดได้หรือไม่

    เมื่อกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่าบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนาเว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาทในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท

    ดังนั้นบุคคลใดจะต้องรับผิดทางอาญาจะต้องปรากฏว่า บุคคลนั้นกระทำโดยเจตนาไม่ว่าเจตนาตามความเป็นจริง(เจตนาประสงค์หรือเล็งเห็นผล)หรือเจตนาโดยผลของกฎหมาย(เจตนาโดยพลาด)

    หากบุคคลนั้นกระทำโดยประมาทโดยปกติแล้วไม่ต้องรับผิดทางอาญา เช่นประมาททำให้เสียทรัพย์อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทเช่นประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสเป็นต้น ในกรณีเช่นนี้บุคคลนั้นต้องรับผิด แม้กระทำโดยประมาท

    หลักของประมาทโดยสรุปคือ

    การกระทำโดยมิได้เจตนาแต่ปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ซึ่งระดับความระมัดระวังนั้นไม่อยู่นิ่งตายตัวขึ้นและลงตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์

    เช่นขณะที่นายเอกอยู่ศูนย์การค้าแห่งหนึ่ง นายเอกได้หยิบปืนขึ้นมาทำความสะอาด ขัดถูไปขัดถูมา ปรากฏว่าปืนลั่นไปถูกนายดำตาย และกระสุนยังแฉลบไปโดนนาฬิกาของบริษัทนาฬิกาสวย จำกัด เรือนละล้านบาท ทำให้นาฬิกาแตกละเอียด

    ถามว่านายเอกมีการกระทำหรือไม่ ต้องตอบว่ามี เพราะว่านายเอกหยิบปืนขึ้นมาทำความสะอาดโดยรู้สึก

    แต่การกระทำนั้นไม่มีเจตนา(ทั้งเจตนาประสงค์หรือเล็งเห็นผล)ที่จะทำให้นายดำตายหรือไม่มีเจตนาทำให้นาฬิกาของบริษัท นาฬิกาสวย จำกัดแตก

    แต่ความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการกระทำของนายเอกที่ปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะวิสัยและพฤติการณ์เช่นเดียวกับนายเอกคงไม่นำปืนหยิบขึ้นมาขัดถูไปมาในขณะอยู่ที่ศูนย์การค้าซึ่งมีคนจำนวนมาก

    ดังนั้นนายเอกจึงต้องรับผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแต่นายเอกไม่ต้องรับผิดประมาททำให้เสียทรัพย์เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
     
     
     
    โครงสร้างความรับผิดในทางอาญาโครงสร้างแรก (ตอนที่10)
    ผู้อ่านที่ติดตามมาตลอดคงจำได้ขึ้นใจแล้วว่า

    บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อ

    โครงสร้างแรก การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
    โครงสร้างสองการกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด
    โครงสร้างสามการกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ

    ซึ่งทั้งสามโครงสร้างนี้เรียกว่าโครงสร้างความรับผิดในทางอาญา

    และตอนนี้ ... ผมได้อธิบายมาถึงโครงสร้างแรก ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบดังนี้
    1.
    มีการกระทำ
    2.
    การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายนอก
    3.
    การกระทำนั้นครบองค์ประกอบภายใน
    4.
    มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล

    ผมได้อธิบายองค์ประกอบที่ 1 2 และ 3 แล้ว

    ------

    ต่อไปผมจะอธิบายองค์ประกอบที่ 4 การกระทำสัมพันธ์กับผลของการกระทำ

    ในกรณีที่เป็นความผิดซึ่งสามารถแยกผลออกจากการกระทำได้นี้เมื่อมีผลของการกระทำเกิดขึ้น ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลหรือไม่ มีหลักคือ

    1.
    ถ้าผลนั้นเป็นผลโดยตรงผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลนั้นถ้าผลนั้นไม่ใช่ผลโดยตรงผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลนั้นซึ่งในทางกฎหมายใช้ทฤษฎีเงื่อนไขมาอธิบาย อาจอธิบายได้ว่าถ้าไม่มีการกระทำของจำเลยผลก็ไม่เกิดขึ้น จึงต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุของผลนั้น

    หากนายเอกใช้ไม้ตีนายโทที่หัว หากนายเอกไม่ตี นายโทก็ไม่บาดเจ็บดังนั้นนายเอกจึงมีความผิดฐานทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย

    2.
    ถ้าผลโดยตรงทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นผลโดยตรงนั้นจะต้องเป็นผลธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยถ้าเป็นผลผิดธรรมดาผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลที่ทำให้ตนต้องรับโทษหนักขึ้นนั้น

    เช่นกฎหมายอาญาฐานทำร้ายร่างกายวางหลักว่าผู้ใดทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษ …”

    แต่หากว่าการทำร้ายร่างกายนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส(เช่นตาบอด, มือขาด, แขนขาด) ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น
    หากนายเอกใช้ไม้ตีนายโทที่หัว นายโทได้รับบาดเจ็บหัวแตกเย็บ 1 เข็มนายเอกมีความผิดทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย

    หากนายโทตาบอดต้องพิจารณาว่า หากนายเอกไม่ตีนายโทคงไม่บาดเจ็บและตาบอด อีกทั้งการตาบอดนั้นวิญญูชน(บุคคลทั่วไปในสังคม)พึงคาดหมายได้ว่าหัวเป็นศูนย์รวมประสาท หากตีไปที่หัวผู้เสียหายอาจตาบอดได้ จึงเป็นผลธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้นายเอกจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสซึ่งมีระวางโทษหนักกว่าความผิดฐานทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย

    3.
    ถ้าผลโดยตรงนั้นไม่ใช่ผลที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นแต่เป็นผลที่เกิดจากเหตุแทรกแซงผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลายที่เกิดจากเหตุแทรกแซงนั้นก็ต่อเมื่อผลในบั้นปลายเกิดจากเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้ถ้าวิญญูชนคาดหมายไม่ได้ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลายนั้น

    เช่นนายเอกใช้ปืนปลอมเล็งยิงนั้นแล้วนายโทตกใจกลัวจนถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของนายเอกป็นผลโดยตรงจากนายเอกกระทำความผิดเพราะนายเอกไม่ใช้ปืนปลอมขึ้นเล็งความตายของนายโทก็จะไม่เกิดต้องถือว่าความตายเกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากนายเอกกระทำความผิดและต้องถือว่าเป็นเหตุแซกแชงที่เกิดจากตัวผู้เสียเป็นเหตุอันควรคาดหมายได้เพราะผู้ใดโดนปืนจ่อยิงย่อมต้องตกใจเป็นธรรมดาดังนั้นนายเอกจึงต้องรับผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา



    .

    ***ต่อคร้าบ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×