ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    'นิติศาสตร์ 54

    ลำดับตอนที่ #15 : ว่าด้วยเรื่อง :: สิทธิหน้าที่ ความรับผิด

    • อัปเดตล่าสุด 11 ต.ค. 53


    สิทธิหน้าที่ ความรับผิด
    เครื่องมือของกฎหมายที่ใช้ในการจัดความสัมพันธ์ของคนในสังคมคือสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด

    สิทธิ
    หมายถึงอำนาจหรือประโยชน์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองให้หรือความสามารถในการที่จะกระทำการใดๆได้โดยมีกฎหมายรับรองโดยไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น

    หน้าที่
    หมายถึงกิจที่ควรหรือต้องทำ เช่นหน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งหน้าที่ในการชำระหนี้เมื่อเจ้าหนี้เรียกร้องเป็นต้น
    ความรับผิดหมายถึงความมีหน้าที่ผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระหนี้ หรือกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

    สิทธิหน้าที่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

    1.สิทธิ หน้าที่ทางเอกชน


    คำว่า "สิทธิ"ตามกฎหมายเอกชน หมายถึงความเป็นเจ้าของความมีอำนาจเหนือหรือความสามารถในการจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดแบ่งออกเป็น

    1.
    สิทธิเหนือทรัพย์สิน(ทรัพยสิทธิ)และ
    2.
    สิทธิเหนือบุคคล(บุคคลสิทธิ) (ผู้เขียนจะอธิบายถึงทรัพยสิทธิและบุคคลสิทธิโดยละเอียดในภายหน้า)

    ส่วนคำว่า "หน้าที่" ตามกฎหมายเอกชน หมายถึงความผูกพันที่บุคคลจะต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามสิทธิหรือประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลหน้าที่นี้โดยปกติจะเป็นของคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นลูกหนี้ซึ่งจะต้องทำการชำระหนี้โดยการกระทำการงดเว้นกระทำการหรือส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ของตน

    คู่กรณีบนความสัมพันธ์ของสิทธิทางเอกชน
    คือ เอกชน กับ เอกชนอาจเรียกกฎหมายที่มีสิทธิทางเอกชนเป็นเครื่องมือในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนว่ากฎหมายเอกชน

    ดังนั้น กฎหมายเอกชน (Private Law) คือกฎข้อบังคับเกี่ยวกับความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวพันทางกฎหมายระหว่างเอกชนด้วยกัน

    ตัวอย่างกล่มกฎหมายเอกชน
    กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บุคคลทรัพย์ ครอบครัว มรดก นิติกรรม ละเมิด) เป็นต้น


    2.สิทธิหน้าที่ทางมหาชน

    สิทธิ ตามกฎหมายมหาชน หมายถึงอำนาจหรือโอกาสที่มีการรับรองและคุ้มครองและมีทางเลือกว่าจะทำหรือไม่ก็ได้ใช้ควบคู่กับคำว่า "เสรีภาพ" ซึ่งหมายถึงความอิสระที่จะกระทำหรืองดเว้นกระทำการรับรองหรือคุ้มครอง

    สิทธิเสรีภาพที่กระทำโดยกฎหมายมหาชน เช่นสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาสิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในครอบครัวเกียรติยศชื่อเสียง ความเป็นอยู่ส่วนตัว เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในเคหะสถานเสรีภาพในการนับถือศาสนา

    คำว่า "หน้าที่" ตามกฎหมายมหาชน หมายถึงสิ่งที่ต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งหน้าที่ของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ หมายถึงสิ่งที่ประชาชนต้องปฏิบัติในฐานะที่เป็นคนไทย อาทิ หน้าที่ป้องกันประเทศหน้าที่รับราชการทหาร หน้าที่ในการเรียกภาษีอากร ฯลฯเป็นต้น

    คู่กรณีบนความสัมพันธ์ของสิทธิทางเอกชน
    คือรัฐ กับ เอกชนอาจเรียกกฎหมายที่มีสิทธิทางเอกชนเป็นเครื่องมือในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนว่ากฎหมายมหาชน

    ดังนั้น กฎหมายมหาชน (Public Law) ได้แก่กฎข้อบังคับที่กำหนดสภาพและฐานะของผู้ปกครองอำนาจกับหน้าที่ของผู้ปกครองและความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง คือ รัฐ กับผู้ถูกปกครอง (คือพลเมือง)

    ตัวอย่างกลุ่มกฎหมายมหาชน
    กฎหมายอาญากฎหมายปกครอง กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายแรงงาน กฎหมายวิธีพิจารณาความกฎหมายที่ดินเป็นต้น

    ***ข้อสังเกต
    กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้กำหนดความสัมพันธ์ของบุคคลระหว่างประเทศซึ่งก็คือรัฐและองค์การระหว่างประเทศ(เช่น องค์การสหประชาชาติ)กฎหมายระหว่างประเทศเริ่มเกิดขึ้นในรูปของจารีตประเพณี และมีพัฒนาการมาเป็น



    ***ต่อโลด
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×