ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เปิดแฟ้มตำนานช็อก

    ลำดับตอนที่ #15 : สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ตอนที่.3 กรณีวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยหลักการ

    • อัปเดตล่าสุด 17 ก.ย. 49


    สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ตอนที่.3 กรณีวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยหลักการ
    ในบางกรณี หากวิเคราะห์ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับการหาบสาบสูญของเรือเดินสมุทรและเครื่องบินในบริเวณ
    สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา จะพบว่าหาเป็นเรื่องประหลาดลึกลับแต่อย่างใดไม่เพราะเครื่องบินแต่ละลำ เมื่อนำ
    ไปเปรียบเทียบกับความกว้างใหญ่สุดคณานับของพื้นมหาสมุทรโลกแล้ว ก็เปรียบเสมือนฝุ่นละอองที่ล่อง
    ลอย อยู่ในห้องโถงใหญ่ น้ำในมหาสมุทรก็ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่มีการเคลื่อนไหว กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์
    สตรีมมีอัตราความเร็วกว่าสี่ไมล์ต่อชั่วโมง  ในท้องทะเลนอกฝั่งบาฮามัสมีสิ่งแปลกประหลาดอยู่สิ่งหนึ่งที่
    นักประดาน้ำ มักจะพบเห็นอยู่บ่อย ๆซึ่งพวกเขาเรียกว่า "ปล่องน้ำเงิน" จะปรากฏอยู่ตามหุบผาใต้น้ำและ
    แล่งหินประการังมีลักษณะเป็นอุโมงค์หรือปล่องใต้ทะเล โดยทั่วไปเป็นที่อยู่ของปลาที่ไม่ค่อยได้พบกันที่
    ผิวน้ำ ปล่องเหล่านี้เชื่อว่า เกิดจากถ้ำหินประการังถูกกัดกร่อนด้วยกระแสน้ำใต้ทะเลมาเป็นเวลานับหมื่นปี
    เคยมีนักประดาน้ำดำลงไป สำรวจปล่องต่าง ๆ นี้พบว่าปล่องจำนวนมากต่างมีทางแยกออกไปในหลายทิศ
    ทางทำให้ปลาที่ว่ายวน อยู่ในนั้นเกิดสับสนถึงกับว่ายเอาครีบท้องขึ้นสู่เบื้องบน
                                
    เรือกูดนิว ซึ่งเป็นเรือลากจูงเครื่องดีเซล ซึ่งได้ทำสงครามชักคะเยอ กับพลังลึกลับในสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา และสามารถรอดพ้น
    อันตรายมาได้

    ยิ่งกว่านั้นยังพบว่ากระแสน้ำไหลเชี่ยวแรงเข้าสู่ส่วนลึกคล้ายถูกดูดด้วยกำลังอันมหาศาลซึ่งเป็นอันตราย
    ต่อนักประดาน้ำมาก และลักษณะการณ์เช่นนี้ทำให้น้ำบริเวณปากปล่องไหลวนเข้าไปภายในอย่างรวดเร็ว
    ก่อให้เกิดการหมุนเป็นกรวยเหนือพื้นน้ำในลักษณะของวังน้ำวน    ซึ่งสามารถจะดึงดูดเรือเล็กพร้อมด้วย
    คนบนเรือ ลงสู่ก้นอย่างรวดเร็ว
                                
    เครื่องบินแบบเดียวกับเครื่องบินทั้ง 5 ลำ ของฝูงบินที่ 19 ที่หายสาบสูญไปทั้งฝูง พร้อมทั้งชีวิตนักบินและพลเรือนประจำ
    เครื่องรวม 14 นาย ในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 1945

    อีกทฤษฏีหนึ่ง เป็นทฤษฏีเกี่ยวกับลมพายุทอนาโดซึ่งเกิดเป็นครั้งคราว จะกวาดเรือและเครื่องบินให้จมลง
    สู่ก้นมหาสมุทรได้ไม่ยากพายุทอร์นาโดเป็นพายุหมุนปั่นเอาน้ำทะเลหมุนเป็นเกลียวสูงนับร้อยๆฟุตกลาง
    อากาศและหากมันเกิดตอนกลางคืน เครื่องบินที่บินอยู่ระดับต่ำอาจถูกกระแทกตกลงสู่ทะเลได้ เพราะนัก
    บินไม่สามารถจะมองเห็นได้ในระยะไกล ส่วนเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่จมหายนั้น เชื่อว่าอาจจะเกิดจาก
    กระแสคลื่นมหึมาที่เป็นผลมาจากแผ่นดินไหวใต้ทะเลก็ได้ เพราะคลื่นที่เกิดจากปรากฏการณ์เช่นนี้จะมี
    ปรากฏารณอย่างหนึ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อเครื่องบินได้ คื่อากรผันแปรของอากาศอย่างทันทีทันใดที่เรียก
    กันว่า "แค๊ท" (Cat - clear air turbulenec) โดยทั่วไปแล้ว "แค๊ท" จะเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่อาจจะ
    คาดคะเนหรือทำการพยากรณ์ได้เช่นเดียวกับลักษณะภูมิกาศโดยทั่วไปมันจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกส
    ภาวะอากาศสาเหตุของปรากฏการณ์นี้ยังไม่ทราบกันแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าหากมันเกิดขึ้นขณะที่กระแสลม
    พัดแรงและรวดเร็วจะทำให้เกิดสูญญากาศบริเวณนั้นทันที ซึ่งหากเครื่องบินได้บินเข้าสู่บริเวณของมันก็
    อาจจะตกดิ่งสู่ทะเลได้ง่ายแต่อย่างไรก็ดี การผันแปรวิปริตของบรรยากาศทันทีทันใดในลักษณะเช่นนี้นั้น
    จะต้องไม่ใช่สาเหตุการหายสาบสูญของเครื่องบินทุกลำในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเป็นแน่ เพราะปรา
    กฏาการณ์ "แค๊ท" จะไม่เป็นผลต่อการทำงานของเครื่องวัดต่าง ๆ และระบบการติดต่อทางวิทยุบนเครื่อง
    บอน แต่ทุกครั้งที่เกิดเหตุ จะปรากฏว่าการติดต่อทางวิทยุได้เงียบหายไป
                                
    เป็นเหตุบังเอิญที่แปลกมาก เมื่อเรือพาณิชย์ของอังกฤษที่ชื่อไซคอป เหมือนกันได้หายสาบสูญทางตอนเหนือของสามเหลี่ยม
    เบอร์มิวดา ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง


    การแปรผันของสนามแม่เหล็กโลก ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องบินตกได้เช่นเดียวกัน เพราะมันจะทำ
    ให้เกิดการผิดพลาดในการทำงานของเครื่องวัดระดับและเข็มทิศประจำเครื่อง ในกรณีเช่นนี้นักบินไม่มี
    ความสามารถพอก็อาจจะนำเครื่องบินดิ่งลงสู่มหาสมุทรได้ ยิ่งกว่านั้นปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติ
    อีกมากมายที่เราไม่อาจจะอธิบายหรือทราบสาเหตุของมันได้

                                                           

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×