ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ฝึกวาดการ์ตูน (กับบ่าวเบิ้ม)

    ลำดับตอนที่ #7 : ฝึกการ์ตูน เลเวลอัพ 1

    • อัปเดตล่าสุด 6 ก.ค. 54


    ในที่สุดผมก็ได้มีโอกาศเรียบเรียงบทนี้เสียที หลังจากที่เคยเกริ่นเอาไว้นานแล้ว  งั้นเรามาเริ่มกันเลยนะครับ

    จากบทที่ผ่านๆมาผมได้เขียนเกี่ยวกับสัดส่วนขั้นพื้นฐาน ฝึกเส้นขึ้นพื้นฐาน และทัศษนีวิทยา(perspective)ขั้นพื้นฐานกันไปแล้ว ต่อจากบทนี้เป็นต้นไปจะเริ่มเข้มข้นขึ้นสู่การฝึกในระดับที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ  และก็ต้องขอกล่าวต่อผู้ที่เข้ามาอ่านบทความ "ฝึกวาดการ์ตูนกับนายบางเบิด"นี้ว่า การที่ผมมาเขียนฮาวทูตัวนี้นั้นได้มีจุดประสงค์หลักๆอยู่สองอย่าง
    อย่างแรกเลยก็คือ เป็นการเรียบเรียงประสปการณ์และความรู้มาจากหลายๆที่ ทั้งจากตัวบุคคล หนังสือ และตัวผมเอง หลายๆอย่างเป็นการลักจำ ลองผิดลองถูก ตั้งแต่ที่เริ่มเขียนฮาวทูครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว ตอนนั้นเริ่มจากการเขียนบันทึกสิ่งที่ได้เข้าใจมา สรุปง่ายๆก็คือ การสรุป หรือเช็กตัวเองว่าเข้าใจอะไรมากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง แต่ก็คิดว่ามันน่าจะเอาไปแชร์ให้คนอื่นได้อ่านกันด้วย จึงเกิดเป็น ฝึกวาดการ์ตูนกับนายบางเบิดนี่ขึ้น (ฝึกวาดไปพร้อมกับผมไง อิอิ)
    อย่างที่สอง หลังจากที่ลงบทความไปแล้ว และตัวผมเองก็ได้ผ่านความคิดอะไรที่มันหลากหลายมา จึงเกิดความคิดว่า อยากจะปูพื้นฐานให้น้องๆที่สนใจในที่นี้ นี่เห็นว่ามีบางโรงเรียนเอาลิ้งนี้ไปใช้เป็นการบ้านฝึกสอนนักเรียนด้วย ผมเองถึงกับร้องเหวอออกมาเลย เพราะมันยังมีอะไรที่ผมทำไว้ผิดๆหลายอย่าง ก็กลัวน้องๆจะสับสน (บทต่อไปก็จะเรียบเรียงให้ดีขึ้นละกันครับ เดี๋ยวจะไปส่งเทียบเชิญผู้มีความรู้ด้านนี้จริงๆมาช่วยแก้ใข ถ้าเขาจะกรุณามาอะนะ) 
    ...........................................(^_^).........................................
    เริ่มกันจริงๆละนะ

    ยกระดับ Lavel 1

    เริ่มส่วนที่หนึ่งกันเลย
    ในส่วนนี้เราจะมาเจาะเข้าไปเกี่ยวกับเส้นกันเพรียวๆเลยครับ
    ไม่ทราบว่ายังจำบทแรกๆที่ให้ฝึกควบคุมมือ และฝึกเขียนเส้นกันได้ไหมเอ่ย...คราวนี้เรามาฝึกกันในขั้นนี้ใหม่ แต่จะยากกว่าเก่าอีกนิดหน่อย
     (ก็ที่ให้วาดรูปใข่ แล้วก็สัญลักษณ์บนปุ่มแผงควบคุมเกมส์เพลไงละก๊าบ อะยังมีวาดเส้นไส้เดือนยึกยือด้วยนะ หวังว่าคงฝึกกันมาพอดูแล้วนะครับ)


    การฝึกในขั้นนี้เรียกว่า "ตีกรอบขังเส้น" เป็นวิชาที่กระผมได้รับคำชี้แนะมาจากคุณไซโอ
    กระบวนท่า
    1. ให้วาดรูปทรงอะไรก็ได้ครับ 3เหลี่ยม 4เหลี่ยม หรือวงกลม
    2. ขีดเส้นตรงทีละเส้นให้อยู่ภายในกรอบที่เราวาดไว้ โดยการขีดนั้นต้องขีด หรือลากเส้นไปทางเดียวกัน เช่นถ้าขีดลงล่าง ก็ให้ขีดลงล่างทุกๆเส้น ขีดจนเต็มกรอบที่เราวาดไว้เลยครับ และเส้นต้องไม่เกินออกนอกกรอบที่วาดไว้
    กติกา
    เส้นที่ขีดจะต้องมีความห่างเท่าๆกัน เส้นไม่หงิกงอ ต้นและปลายของเส้น ต้องไม่เกินกรอบที่ตีไว้ ออ ขนาดของกรอบนั้นให้เริ่มจากช่องเล็กๆขนาดสามนิ้ว สี่นิ้วไปก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มขนาดกรอบไปเรื่อยๆ รูปทรงก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ (ถ้าเข้าใจแล้วฝึกไปเรื่อยๆครับ  วันหนึ่งอย่างน้อยสามหน้ากระดาษA4 ถึง5แผ่นครับ) ตรงนี้เป็นการฝึกสมาธิ และให้สมองของเราจดจำวิธีการไว้ครับ และยังเอาไปใช้กับการสานเส้นในอนาคตได้ครับ

    ดูรูปครับ



    เคล็ดวิชา
    ควบคุมลมหายใจเข้าออกช้าๆ ขีดอย่างใจเย็น เพราะเวลาเราหายใจ ร่างกายเราจะขยับ มันจะเกิดความคลาดเคลื่อนได้ ดั่งนั้นจึงต้องฝึกบ่อยๆครับ

    แรกๆอาจเป็นอบบนี้



    อย่างที่บอกครับ ฝึกวันหนึ่งอย่างตำ5แผ่น แล้วจะได้อย่างข้างล่างนี่แน้ครับ


    ถ้าถามว่าจะฝึกไปทำไม ก็คงตอบว่าฝึกไว้จะได้มีความใจเย็น เขียนเส้นได้อย่างแม่นยำ และต้องเอาไปใช้สานเส้นด้วย ดูรูปด้านล่างครับ มันเป็นรูกที่ผมลองวาดดูอย่างไม่ค่อยรู้วิธีสานเส้น เลยออกมาอย่างที่เห็น แล้วก็ได้คุณไซโอมาชี้แนะ ถึงต้องมานั่งฝึกอีกที (การสานเส้นมีวิธีบอกอยู่ในภาพครับ)






    .................................................................................
    การเขียนภาพที่มีรายละเอียด


         การเขียนภาพที่มันละเอียดนั้นเราสามารถเขียนมันไปได้เลย ถ้าฝีมือเรามีพอ นั้นหมายถึงอยู่ในระดับมืออาชีพแล้ว แต่ถ้ายังจะลองแบบผมก็ได้นะครับ

    1 ร่างภาพขึ้นมาคร่าวๆ (มันเป็นการจัดองค์ประกอบภาพ ว่าจะมีอะไรอยู่ในหน้านี้ อะไรอยู่ตรงไหน ส่วนเรื่องการจัดองค์ประกอบ จะมีในบทต่อๆไปครับ)




    2.ใส่รายละเอียดลงไปให้ครบทุกอย่าง

    3.ใช้ยางลบ ลบเส้นที่มันดูมั่วๆออก โดยลบไปทีละนิด ให้เหลือเส้นลางๆ แล้วใช้ดินสอเขียนเส้นขึ้นมาใหม่ โดยเก็บรายละเอียดให้เหมือนกับตอนตัดเส้นด้วยหมึกเลย


    จากนั้นก็ตัดเส้นให้เรียบร้อยครับ โดยที่ตัดลงไปบนเส้นดินสอที่เราร่างไว้อย่างละเอียด มันจะง่ายเมื่อตอนเราตัดเส้น


         มันสำคัญอยู่ที่การวาดด้วยดินสอครับ ถ้าเราวาดละเอียดชนิดที่ว่า สามารถตัดเส้นด้วยหมึกทับลงไปแล้ว แทบไม่ต้องลบเส้นดินสอเลย นั้นหมายความว่า เราเริ่มมีความละเอียดกับงานมากขึ้นแล้ว (การตัดเส้นเดี๋ยวสอนข้างล่าง)








    ................................................................................................................................
     การตัดเส้น      (เดี๋ยวมีรูปเมื่อไหร่ค่อยเอามาแปะให้ดูครับ)
      ในบทนี้ผมเขียนในระดับที่สูงกว่าขั้นพื้นฐาน เพราะงั้นเราจะใช้ปากกาแบบจุ่มหมึก หรือที่เขาเรียกว่า G-pen ซึ่งมันจะมีหลายรุ่นหลายยี่ห้อ (สามารถสั่งซื้อได้ที่ www.siam-marketing.com หรือจะไปที่ร้านเขาก็ได้นะ ชั้น3 เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ โฆษณาให้ฟรีๆเลยครับ)

    หลังจากที่เราร่างภาพเสร็จแล้ว เราก็มาตัดเส้นกันเลย

    1.จุ่มหมึกชนิดอินเดียอิงค์ (จิ้มหมึกสักครึ่งเซ็นฯก็พอครับ แล้วลองเขียนดูก่อนกับกระดาษที่ไม่ได้ใช้งาน ในที่นี้ต้องใช้ความแม่นยำพอควรครับ และต้องควบคุมมือ และลมหายใจให้สมำเสมอด้วย)

    2.ตัดเส้นลงไปบนเส้นดินสอ (มันจะง่ายมาก หากเราร่างเส้นดินสอเอาไว้ให้มีรายละเอียดที่ครบถ้วน สมบูรณ์ ชนิดที่ว่า พอเราตัดเส้นเสร็จ ก็แทบไม่ต้องลบดินสอเลย เพราะหมึกนั้นทับหมดพอดี)

    3.ลบดินสอออก (มันต้องมีส่วนเกินบ้างละ เขียนมากๆมันจะดีขึ้นมาเอง ส่วนเกินก็จะลดลงไปเรื่อยๆ และการฝึกสานเส้น"ตีกรอบ ขังเส้น" ก็ช่วยเรื่องตัดเส้นได้มากทีเดียว

    เคล็ดวิชา(Tip*)
    เวลาตัดเส้นนั้น ให้ผู้ฝึก ฝึกขีดเส้นซ้ำเส้นเดิม ลากไปเรื่อยๆ แต่ละครั้งที่ลากเส้น ไม่ต้องลากยาว สัก1นิ้ว สองนิ้ว แล้วซ้ำของเก่าครึ่งหนึ่ง ที่ใหม่ครึ่งหนึ่ง ซ้ำไปเรื่อยๆ เส้นมันจะคมหมึกจะไม่ซึม เส้นก็จะไม่แตกหากฝึกบ่อยๆ
     (ขอขอบคุณ พี่เอ้ พัชราภา ศรีชราชัย ผู้เขียนแมดสแควร์ และ วอร์คาฟ ที่สอนเทคนิกส์นี้กับผมครับ) (ออ ขอบคุณพี่บอย หรือ ชาตรี ผาสุข เจ้าของผลงาน คู่แสบวัยซ่า จากค่าย ไทยคอมมิคส์ ผู้แนะให้ผม"พยายาม"วาดเค้าโครงก่อนร่างภาพครับ)

    จบเคล็ดวิชาไปยกหนึ่ง

    มีลิ้งการลงน้ำหนัก และการใช้เส้นอย่างถูกต้องแล้วครับ เข้าที่นี่ได้เลย
       http://thaicomic.com/forum/viewtopic.php?t=4183

    (ขอขอบคุณ Mr.mad ผู้ทำฮาวทูตัวนี้ครับ)

    ..................................................................................................................................................................

         การ์ตูนนั้นมีเคล็กวิชามากมาย แต่ผู้ที่รู้เพียงเคล็ดวิชา แต่ไม่รู้กระบวนท่า ยังไม่ถือว่าสำเหร็จวิชานั้นๆ และหนึ่งในวิชา ฝึกวาดการ์ตูนกับ
    นายบางเบิดก็คือ การเอาวิชาคนอื่นมาเป็นวิชาของตัวเอง  กระบวนท่าของวิชานี้อาจต้องพึงเคล็ดของขั้นตอนถัดไป แต่เราลองมาฝึกเคล็ดวิชาของขั้นนี้กันก่อน เคล็ดนี้มีชื่อว่า "ของของเขา เราทำเอง" (ฮ่าๆมั่วไปงั้นแหละเรา)(ให้เสียงภาคโดย แมงกุดจี่ เบิ้ม!!!) (ทำจริงๆซ่ะทีซิ ยืดอยู่ได้) (อยากยืดอะมีไรป่ะ โอ๊ย...!!! ตีนใครฟ่ะ)

        อย่าไปสนใจพวกนั้นเลยครับ มาต่อกันดีกว่า ในที่นี้ให้น้องๆหาหนังสือการ์ตูนที่มันมีรายละเอียดเยอะๆที่น้องชอบมาสักเล่มหนึ่ง แล้วหาสักหน้า ที่มีรายละเอียดครบถ้วน แล้วเขียนลอกมันให้เหมือนของจริงเดะๆ เอาให้เหมือนกับถ่ายเอกสารมาเลยครับ
    (ในหนังสือการ์ตูนที่เป็นพกเก็ตบุค ขนาดจะถูกย่อขนาดจาดต้นฉบับจริง และมีการติดสกรีนโทน ก็ให้มองข้ามสิ่งนั้นไป สังเคราะห์เอาแต่เส้นเพรียวๆ แล้ววาดลงบนกระดาษA4ก็พอครับ ) 

    เอาละไปฝึกกันได้แล้วครับ

    ..............................................................................................................
         ถ้าไม่รู้จะเอาการ์ตูนเรื่องไหนมาลองลอกดู ผมแนะนำ วากาบอนด์ (Vagabond), คิโอมารุ ,รุกกี้,angel heart(ซิตี้ฮันเตอร์ภาคสอง หรือF compoก็ได้ เพราะผมชอบ ฮ่ะๆ)

           มีน้องคนหนึ่งถามผมว่า  "พี่ๆ ผมไม่รู้จะเอาหน้าไหนมาลอกดี"

            "งั้นน้องลองใช้วิธีหลับตาสุ่มเอา แบบว่าเปิดได้หน้าใหนก็วาดมันหน้านั้นแหละ"   สองวันผ่านไป น้องคนนั้นเอางานมาให้ดู
     
              "เฮ้ยน้อง! มำไมมันมีแต่ตัวหนังสือละนี่"
       
               "ก็ผมสุ่มได้หน้าสารบันมานะ"

                      ".......??"  โอ้..นี่เราแนะนำเขาไม่ดี หรือเราไม่เข้าใจอะไรกันแน่นะ
     
          มีคนถามผมอีกครับว่า ทำไมต้องฝึกวาดอะไรที่มันยากๆ และมีรายละเอียดมากๆด้วยครับ?
          ตอบ ถึงแม้ว่าเราอยากจะเขียนการ์ตูนที่มันวาดง่ายๆ อย่างวันพีช ,เรฟ, โดราเอม่อน,หรือการ์ตูนเด็กเล็ก แต่ว่าเราควรที่จะฝึกงานละเอียดให้มากๆก่อนจะดีกว่า เพราะตอนที่เราเอาไปใช้งานจริง  เราจะมีสมาธิมากกว่าคนที่ไม่ได้ฝึกในระดับที่มีรายละเอียมาก่อน    

    ...................................................................................
       ขออธิบายหน่อยครับ
        การลอกในที่นี้ไม่ใช่ลอกเพื่อเอาไปใช้งานจริง แต่เป็นการลอกเพื่อนเรียนรู้รูปแบบและวิธีการ ซึ่งมันก็เป็นบทแรกๆของบทเรียนที่ใช้สอนวาดการ์ตูนในญี่ปุ่นเลยทีเดียว(แต่ผมยังไม่เคยทำแบบนั้นเลยนะ อยากลองทำดูบ้างจังเลย)
    อีกสิ่งที่อยากจะเล่าครับ มันคือเรื่องของการแยกแยะ ระหว่างดูสิ่งที่ชอบ กับทำสิ่งที่ชอบ
    ผมมีเพื่อนคนหนึ่ง เป็นผู้ชาย อายุเท่าๆกัน โตมาด้วยกัน ในวันที่แข่งกีลา เพื่อนผมคนนี้ไปเห็น สาวน้อยน่ารักเดินควงคฑา นำขบวนพาเรดเดินรอบสนามฟุตบอล เขาตกหลุมรักเธอทันที เพราะเธอเป็นคนน่ารัก เพื่อนผมเฝ้ามองเธอบ่อยๆ แล้วหลังจากนั้นเพื่อนผมก็เริ่มกลายเป็นกระเทย ผมเองพยายามจะเข้าใจว่าความสวยที่เพื่อนผมชอบนั้นมันคืออะไร  ปัจจุบันเพื่อนคนนี้เป็นผู้หญิงเข้าไปทุกทีแล้ว แต่เขาก็ยังไม่เคยชอบผู้ชาย (ผมก็สับสนกับมันเหมือนกัน)
    ..................................................................................

    วาดเสร็จก็เอามาให้ผมช่วยดูก็ได้ครับ จะได้รู้ว่าลอกได้เหมือนแค่ไหน

    ................................................................................

    ความเป็นไทย
    การ์ตูนที่ดีนั้นมันบ่งบอกเรื่องวัฒนธรรมของชนเผ่าของตนได้เช่นกัน ลองมาดูตัวอย่างกันครับ

    การ์ตูนญี่ปุ่น


    การ์ตูนญี่ปุ่นนั้นผมแทบจะไม่ต้องอธิบายว่ามันเป็นยังไง เพราะแทบทุกคนเคยอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นกันมาแล้ว การ์ตูนญี่ปุ่นนั้นจะบ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของลายเส้นที่ดูสะอาด สวยงาม แต่ในสมัยนี้การ์ตูนญี่ปุ่นส่วนมาก หันมาขายความน่ารัก ความโมแอะ และที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของการ์ตูนยุ่นคือ การ์ตูนผู้หญิง เพำราะมันค่อนข้างแพรหลาย และรูปแบบซ้ำๆกันมาก ส่วนการ์ตูนที่เป็นเอกลักษณ์ของคนเขียนนั้นก็มีไม่น้อยเช่นกัน แต่ผมจะขอแยกเป็ฯการ์ตูนสากลแทน เพราะมีใช้กันแพร่หลาย ทั่วโลก

    การ์ตูนจีน
     


    การ์ตูนจีน

    หรือการ์ตูนฮ่องกง  การตูนฮ่องกงนั้นจะบ่งบอกถึงลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นจีนได้ดี ถึงแม้หลักๆของอุสาหกรรมการ์ตูนของจีนนั้น จะมาจาก หวงหยี่หลาง (โทนี่ ว่อง) และ(จำไม่ได้วุ้ย) สองสตูดิโอใหญ่ๆนี่เริ่มดังมาจากเกมส์ในอดีต จนปัจจุบันนี้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ของฮ่องกงไปแล้ว แต่เพราะสตูดิโอของการ์ตูนฮ่องกง มักใช้รูปลักษณ์เดิมๆ ที่มาจากสตูดิโอเดียวกัน ความเป็ฯเอกลักษณ์ของตัวผู้เขียนจึงไม่ค่อยหลากหลายนัก

    การ์ตูนฝรั่ง


    การ์ตูนฝรั่ง หรือชาติตะวันตก เป็นผู้ริเริ่มการ์ตูนขึ้นมา และมีการพัฒนาเทคโนโลยี่ใหม่ๆขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ในด้านคอมมิคส์ การ์ตูนของฝรั่งนั้นรูปลักษณ์ไม่ค่อยแต่กต่างกับของจีนนัก (แต่เขาเริ่มก่อนนะ) ที่ว่าไม่แตกต่างคงเป็นเรื่องการใช้คำบรรยายประกอบ

    ยังมีอีกหลายชาติ แต่ความรู้ผมยังไม่เข้าใจของชาติอื่นๆนัก
    มาด้านของไทย ผมอยากทิ้งโจทน์ข้อนี้ไว้ให้น้องๆเอาไปคิดกันเอง ว่าการ์ตูนไทย หรือการ์ตูนที่น้องๆกำลังจะเขียน หรือเขียนกันอยู่นั้น มันจะเป็นเช่นไร  พวกเราเป็นคนไทย และเป็น ไท เรามีชาติเป็ฯของตัวเอง มีภาษาของตัวเอง ผมว่าคนไทยนี้เก่งนะ เพราะงั้นจงเป็นไทย
    ยามูไร/นินจา แล้วไทยละ ........

    การ์ตูนไทย


    ผมไปตั้งกระทู้เกี่ยวกับด้านความแตกต่างนี่มาเช่นกันครับ ไปดูกันได้
      http://thaicomic.com/forum/viewtopic.php?t=4157

    .......................................................

    บททิ้งท้าย การวางกรอบช่องการ์ตูน

    การวางช่องที่ถูกต้อง

    (แก้ไข6 ก.ค.54) กรอบกระดาษสามารถเข้าไปโหลดแล้วปริ๊นต์ใช้งานได้ในบทที่16ครับ
     

    การจัดช่องที่ผิด

    ตรงนี้มีลิ้งค์เพิ่มเติมครับ สามารถเข้าไปอ่านคำขยายความได้ที่นี่เลย  http://thaicomic.com/forum/viewtopic.php?p=60867#60867


    ------------------------------------------------------------------
    ------------------------------------------------------------------
    ------------------------------------------------------------------



              ใครที่อ่านมาตั้งแต่บทแรก จนมาถึงบทนี้ รวมทั้งลิ้งค์ต่างๆที่แปะไว้จนหมด ผมเชื่อเลยว่า คุณนั้นรู้เรื่องการวาดการ์ตูนไม่น้อยไปกว่าผมแล้วละ แต่ถ้าใครที่อ่านแล้ว ฝึกด้วย ขอบอกเลยนะ ว่าคนๆนั้นเก่งกว่าผมแน่นอน เพราะผมยังไม่ค่อยได้มีเวลาฝึกกับเขาสักเท่าไหร่ ต้องทำงานกันตายก่อน )
             บทต่อไปจะเป็นการเจาะลึกเรื่องการตีกรอบทำเลเอาต์ วางช่อง และตัดตก รวมทั้งการจัดองค์ประกอบภาพครับ  รวมถึงการทำสตอรี่บอร์ดด้วย อาจจะช้าสักหน่อยนะครับ 
    ( /)
    ( . . )
    C(")(")
    จบบท
    (ไม่ว่าเราจะคิดอะไรมันจะเป็นได้แค่คิด หากเราไม่ทำ)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×