คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : บทที่3 วาดตัว และสัดส่วนโดยรวม (แก้ใขภาพแล้ว)
บทที่3 วาดตัว และสัดส่วนโดยรวม
มาถึงบทที่3แล้ว..บทนี้จะมาฝึกวาดในส่วนลำตัวกัน การวาดตัวนั้นไม่ยาก หากรู้หลักการหรือพื้นฐาน งั้นเรามาวาดกันในท่ายืนก่อน เพื่อเข้าใจในสัดส่วน และอวัยวะของคนกันว่า อะไรอยู่ตรงส่วนไหนของร่างกายกัน (เดี๋ยววาดมืออยู่ที่หู แล้วหูอยู่หน้าตรงหน้าอก รูปคงสวยพิลึกละ)
1. ขั้นแรกเรามาเริ่มวาดจากส่วนหัว ที่ซึ่งได้ฝึกกันในบทที่แล้ว แต่ในคราวนี้เรายังไม่ต้องใส่รายละเอียด โดยให้วาดแค่เพียงเค้าโครง เพื่อเป็นตัวกะสัดส่วนในส่วนอื่นๆ
2. เมื่อวาดเค้าโครงหัวเสร็จแล้ว ให้วัดระยะจากกลางกระหม่มลงมาจนถึงปลายคาง ว่ายาวเท่าไหร่ จากนั้นให้ขีดเส้นต่อๆไปโดยเอาค่าจากที่วัดส่วนหัวมาขีดเส้นต่อไป เพื่อให้ได้เส้นที่เท่ากันมา8เส้น เพราะร่างกายคนเราจะเท่ากับส่วนหัว7ส่วน รวมหัวด้วยเป็นแปด (จริงๆคนเอเชียจะอยู่ที่7.5 คนฝรั่ง8 โดย7.5ของคนเอเชียนั้นวัดจากหัวลงมา และส่วนที่มีอยู่ครึ่งนั้นให้เป็นส่วนของตาตุ่ม ไปจนถึงฝ่าเท้าพอดี แต่เพื่อง่ายต่อการวาดการ์ตูน เราจึงไม่จำเป็นที่ต้องวาดให้ละเอียดขนาดนั้น)
แล้วเส้นแต่ละเส้นจะอยู่ส่วนไหนของร่างกายละ?
ตอบ. ให้นับจากข้างบนลงมา และกำหนดให้เส้นที่1คือเส้นที่คาง
เส้นที่2. หน้าอก (นม)
เส้นที่3. สะดือ
เส้นที่4. อวัยวะเพศ
เส้นที่5. ขาอ่อน(อยู่ระหว่างอวัยวะเพศกับหัวเข่า แต่จะลงไปทางเข่ามากกว่า)
เส้นที่6. ไต้หัวเข่า
เส้นที่7.หน้าแข้ง
เส้นที่8. ฝ่าเท้า
แต่การวาดนั้นให้เราร่างภาพขึ้นมาคร่าวๆก่อน โดยวาดดั่งรูปที่1นี้
...........................................................................................................................................
เราสามารถวาดส่วนต่างๆเป็นรูปทรงกระบอก ที่ต่อๆกัน และตามส่วนที่เป็นข้อพับให้ใส่ลูกวงกลมเพื่อเป็นจุดหมุน
หรือจะวาดรูปทรงที่คล้ายๆกระดูก เพื่อกำหนดโครงร่าง แล้วค่อยใส่พื้นผิวที่เป็นกล้ามเนื้ออีกทีก็ได้เช่นกัน
แต่ถ้าใครจะวาดเป็นรูปทรงเหลี่ยมๆแบบโพลีก่อนก็ได้เช่นกัน และเมื่อวาดเค้าโครงเสร็จแล้วให้มองจากระยะห่างๆ เพื่อสำหรวจดูว่าได้รูปทรงตามต้องการรึยัง (ในที่นี้วาดแค่ให้รู้สัดส่วนโดยรวมเท่านั้น)
..................................................................................................................................
เมื่อวาดโครงร่างเสร็จแล้วให้สำหรวจดูภาพโดยรวมว่าเข้าที่รึยัง แล้วจึงใส่กล้ามเนื้อเข้าไป ศึกษา สังเกตุ และทำความเข้าใจกับการบีบขยายของกล้ามเนื้อให้เข้าใจไปพร้อมๆกับวาดท่าทางที่ซับซ้อนต่อไป
..........................................................................................................................................
Tip* การฝึกวาดนั้นให้นึกภาพท่าทาง หรือจะหารูปภาพ เพื่อมาเป็นแบบก็ได้เช่นกัน และฝึกวาดบ่อยๆ เพื่อให้สมองเล็กๆของเราจดจำภาพเหล่านั้นใว้ในสมอง
(ของเรามันขี้เลื่อยละ แม่ผมมักจะว่าเราเสมอว่า เป็นคนไม่เอาถ่าน โห่..แม่.เดี๋ยวนี้นะเค้าใช้แก็สกันหมดแล้วนะแม่....ว่าแล้วม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่แม่ผมถืออยู่ก็ปลิวหวือมาที่ผมอย่างแรง แต่ขอโทษ....เพราะเรามันอัจฉริยะ ในด้านการหลบหลีก ดั่งนั้นวันนั้นทั้งวันพวกเราทั้งบ้านก็อดข้าวกันทั้งวัน ฮือๆใครซื้อหม้อใหม่ให้ที่เดะ )
.................................................................................................................................................
อ่ะๆๆๆ ที่สำคัญอย่าลืมเรื่องของท่าทางที่เป็นธรรมชาติด้วยนะครับ เพราะมนุษย์เราหลีกหนีไม่พ้นแรงโน้มถ่วงของโลก ดั่งนั้นเราจึงต้องคำนึงถึงความสมดุลของร่างกาย เอาลูกดิ่งเป็นหลักว่าร่างกายคนเราจะยืนได้เมื่อมีจุดรับน้ำหนักเป็นคานตั้ง และอีกอย่างคือธรรมชาติของข้อพับของร่างกายเรา ที่มีขีดจำกัดก็ไม่ควรมองข้าม(การเล่นโยคะ ก็ยังมีขีดจำกัดเลยนะท่าน หวังว่าตัวละครที่ท่านวาดจะไม่สามารถเอาเท้ามาเหยียบหัวตัวเองได้นะท่าน..(ถ้าทำได้ก็เป็นการ์ตูนที่แปลกดี อาจมีคนชอบก็ได้นะ สงสัยต้องลองวาดดูสักที!)
............................................................................................................................................................
ภาพที่3 เป็นเส้นแสดงการบิดตัว
..................................................................................
รูปที่4. ที่5. แสดงถึงการบิดตัว ที่อยู่บนพื้นฐานของแรงดึงดูดของโลก
....................................................................................................................
..............................................................................................................................
ว่าแล้วก็ต้องโชว์สักหน่อย... ผมจะลองวาดให้ดูรูปหนึ่งแบบง่ายๆละกัน
ตามรูปเลย
. เริ่มแรกให้น้องๆคิดในใจ หรือหาภาพต้นแบบเพื่อเอามาใช้เป็นแบบวาดกันก่อน เมื่อมีภาพต้นแบบ หรือคิดท่าทางได้คร่าวๆแล้ว เราก็วาดจากสิ่งที่ได้บอกไปแล้วตั้งแต่ต้น
1. ร่างรูปทรงคร่าวๆเพื่อให้มองเห็นสัดส่วนโดยรวม เมื่อเสร็จขั้นนี้แล้วให้ตรวจสอบโดยการมองแบบกว้างๆ ถอยออกมาอีกนิด ขยับออกมาอีกหน่อย อาจจะพลิก แล้วส่องกับแสงไฟ เพื่อดูจากข้างหลังกระดาษก็จะเห็นผลลับที่บิดเบี้ยวได้ดีที่เดียว (แก้ใขซ่ะ)
2. เพิ่มเติมรายละเอียดลงไปตามจุดต่างๆ หูตา จมูก ปาก ส่วนเว้าส่วนโค้ง สังเกตุดูว่าในรูปที่ผมวาด ผมจะขีดเส้นตัดเส้นหนึ่ง แล้วเขียน HL.ไว้ Herizonline แปลว่า เส้นระดับตา เส้นนี้ผมมักจะขีดก็ต่อเมื่อรูปที่ผมวาดนั้นมีฉากประกอบหรือเป็นภาพที่วาดจากมุมมองไกลๆ
3. เติมรายละเอียดให้ชัดเจน และสมบูรณ์ขึ้น จงอย่ากดดินสอแรงเกินไป หรือขีดซ้ำมากเกินไป เพราะจะทำให้กระดาษช้ำ เวลาลงเส้นจะทำให้เส้นไม่คม หมึกจะซึมออกรอบๆเส้น แล้วภาพจะดูไม่สะอาด นอกจากนั้น คาบอร์นจากดินสอ อาจทำให้เวลาลงเส้นด้วยปากกาพิกม่า อาจลงเส้นไม่ติด ในที่นี้ผมใช้กระดาษA4ธรรมดา หนา80 แกรมในการวาด เพราะผมฝึกมานานจนเริ่มถนัดแล้ว แต่สำหรับมือใหม่ ถ้าจะวาดแล้วลงเส้น น่าจะใช้กระดาษที่มีความหน่าไม่ต่ำกว่า150แกรมขึ้นไปจะดีกว่าครับ และควรเป็นกระดาษที่มีความละเอียดสูงๆหน่อย หากอยากให้เส้นที่ตัด(วาดด้วยหมึก)คม ไม่ซึมไปข้างๆ (จริงๆหากเป็นการเขียนแบบปกติ ผมจะสะเก็ตรายละเอียดน้อยกว่านี้ แต่นี่เป็นการวาดให้ดู ผมเลยต้องร่างให้ละเอียดไว้ เพราะตอนที่น้องๆเริ่มฝึกวาดใหม่ๆ น้องๆควรวาดรายละเอียดลงไปให้มากๆ ก่อนการตัดเส้นจริง จะช่วยให้เรามีความละเอียดขึ้นในการเขียนของเราในอนาคต และเมื่อเราฝึกจนชินแล้ว ต่อไปก็ไม่ต้องร่างลายละเอียดมากแบบนี้แล้ว เพราะเพียงแค่มองเห็นเค้าโครงก็สามารถลงรายละเอียดด้วยปากกาได้เลย)
ขอแก้ใขนิดหน่อยครับ เนื่องจากบทนี้เขียนมาตั้งแต่ยังรู้อะไรไม่มากนัก ในการร่างภาพนั้นมันขึ้นอยู่กับงาน ถ้าจะเขียนงานที่มีรายละเอียดสูงๆ ก็ให้ร่างภาพด้วยดินสอ แบบเหมือนกับตัดเส้นเลย ซึ่งมีเขียนเอาไว้อย่างละเอียดอยู่ในบทที่7ขึ้นไป ซึ่่งตั้งแต่บทที่เจ็ด ผมจะเน้นไปทางเขียนการ์ตูนเป็นหลัก ถึงจะอัพช้าไปสักนิด แต่จะเขียนด้วยประสปการณ์จริงๆครับผม
................................................................................................................................................
4. ใช้ปากกาพิกม่าสีดำลงเส้น หรือจะใช้ปากกาแบบจุ่มหมึกก็แล้วแต่ความถนัด (ในที่นี้ผมใช้ปากกาG-pen แบบจุ่มหมึก โดยการลงเส้นด้วยปากกาแบบจุ่มหมึกนั้นน้องๆควรเตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่ใช้สักหนึ่งแผ่นวางใว้ใกล้ๆกระดาษที่เราจะลงเส้นด้วย และหมึกก็ต้องเป็น หมึกอินเดียร์อิงค์เท่านั้น (แล้วอย่าลืมเขย่าละ เพราะบางที่มันอาจจะนอนก้นก็ได้)
4.1 จุ่มหมึกลงไปครึ่งครึ่งหัวปากกา แล้วลองเขียนดูบนกระดาษที่ไม่ได้ใช้ที่เตรียมไว้ เพื่อกันไม่ให้หมึกหยด หรือเกิดความผิดพลาดลงบนงานที่เราจะเขียนจริง โปรดจำไว้ว่าการลงหมึกนั้นไม่มีคำว่า อันดู เหมือนกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (นี่หละขอเสียของคนทำงานกับคอมพ์อย่างผม บางทีก็คิดว่าพลาดไปไม่เป็นไร เดี๋ยวundoได้ แบบว่าลืมงะ...แย่แล้ว...นี่มันไม่ใช่คอมพ์นี่หว่า...ง่า....ต้นฉบับตู...กว่าจะร่างแบบเสร็จเกือบสองชั่วโมง.....หมดกัน......ง่า....(อีกที).(ไกล้บ้าแล้ว. )
4.2 ให้ลงเส้นที่เป็นวัตถุที่ยืดยุ่นได้ให้หมด เช่นเสื้อผ้า เนื้อหนัง เส้นผม ลูกตาเป็นต้น ส่วนที่เป็นฉาก หรือเป็นวัตถุที่ไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบได้ ก็ให้เว้นใว้ก่อน(ในที่นี้เป็นเก้าอี้ ที่ไม่ใช้สิบอี้) แต่ถ้าเป็นพวกต้นไม้ ผ้าม้าน พวกแบ็คกราวด์แบบนั้น ถ้ามีสมาธิก็ลงไปเลย
5. ใช้ปากกาเขียนแบบ หรือปากกาพิกม่า และเท็มเพลตช่วยในการวาดฉาก อาจต้องใช้หลักperspectiveเข้ามาร่วมด้วย และแสงเงาต้องเข้าใจก่อนการลงหมึก (เท็มเพลต คือแผ่นพลาสติกที่เป็นรูปทรงต่างๆ เช่นวงรี โค้ง งอ เหลี่ยม เป็นต้น) เมื่อลงเส้นเสร็จแล้วอาจจะใช้พู่กันลงสีผม หรือจะใช้การติดสกรีนโทนด้วยมือ แล้วใช้ปลายมีดตัตเตอร์ขูด หรือจะใช้คอมพ์ก็แล้วแต่สะดวกละท่านพี่น้องที่เคารพ แล้วอย่าลืมเลือกผมเป็นนายกละท่าน นะโยบาย ตายก่อนเกิดนะท่านนะ (ง่า....)
......................................................................................................................................
ขอแถมอีกนิด.... ในรูปที่5หัวใหล่ด้านซ้ายมือ ลายเส้นดูหยิกๆ ด้วยความที่นางแบบของผมค่อนข้างที่จะน่ารัก เวลาวาดมือเลยสั่น แล้วก็มีเลือดกำเดาหยดติ๋งๆเป็นระยะๆ....ง่า.....(ก็แก้ตัวกันปาย..)....(!?)
ก็มีอีกรูปครับที่วาดโชว คือรูปนี้ ถ้าอยากดู กดที่นี่ เพื่อเข้าไปชมการวาดปืน (ในบล๊อคเอ็กทีนครับ)
ความคิดเห็น